มารู้จักตะขาบกันเถอะ

                            

      ตะขาบเป็นสัตว์ที่หลายๆ คนกลัว แต่หลายๆคนก็หลงใหลในความสวยงามของสีสันและความลี้ลับของมัน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักมัน วันนี้เรามาลองทำความรู้จักกับตะขาบกันเถอะ

      ตะขาบ (Centipede) จัดอยู่ในไฟลั่มอาร์โธพอด หรือสัตว์ขาข้อ อยู่ในชั้น Chilopoda เป็นสัตว์บกพบว่ามีถิ่นอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายทั้งในเขตป่าร้อนชื้น, ทะเลทราย จนถึงเขตขั้วโลก

      Centipede มาจากภาษาละตินคำว่า Centi ที่แปลว่า 100 กับคำว่า pes, pedis ที่แปลว่า เท้า เมื่อรวมกันจึงหมายถึง “100 เท้า”หรือเรียกให้สุภาพไปอีก คือ “100 บาทา”นั่นเอง

ลักษณะโดยทั่วไป

      ตะขาบเป็นสัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ จำนวนปล้องมีตั้งแต่ 15-150 ปล้อง จำนวนขาจึงมีถึง 30-300 ขา ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Centipede จำนวนคู่ของขาตะขาบจะเป็นจำนวนคี่ เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการจำแนกชนิดของตะขาบ ตะขาบมีส่วนหัวที่กลมและแบน มีหนวด 1 คู่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเสาอากาศตรวจจับความเคลื่อนไหวและแรงสั่นสะเทือน ตะขาบมีการมองเห็นที่ไม่ดีนักบางชนิดมองไม่เห็นเลย มีขากรรไกรล่าง 1 คู่ และมีส่วนขากรรไกรบนหรือเขี้ยว 1 คู่ยื่นพ้นปากออกมา เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวด เป็นอัมพาตหรือตายได้ ต่อจากส่วนหัวเป็นส่วนปล้องของลำตัว 15 ปล้องหรือมากกว่านั้น แต่ละปล้องมีขา 1 คู่  2ปล้องสุดท้ายจะมีขนาดเล็กและมีขาที่เล็กด้วย ถึงแม้มันจะมีขาเยอะแต่การเคลื่อนที่ของขาก็สัมพันธ์กัน ทำให้ตะขาบมีการเคลื่อนที่และเปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็วมาก ด้านข้างของลำตัวในแต่ละปล้องจะมีรูเปิดใช้ในการตรวจจับความสั่นสะเทือนและตรวจจับความเคลื่อนไหวรอบๆตัว ปล้องสุดท้ายประกอบด้วยหางซึ่งเปลี่ยนรูปมาจากขาคู่สุดท้าย บางครั้งก็เรียกว่า “ขาคู่สุดท้าย”ยื่นออกไปทางด้านหลัง ในตะขาบบางชนิดจะมีส่วนของอวัยวะตรวจจับความสั่นสะเทือนอยู่ด้วย ปล้องสุดท้ายนี้ยังมีส่วนของอวัยวะเพศของตะขาบอยู่ด้วย

                                                              

                                    

                                                                       

      โดยปกติตะขาบจะมีสีออกน้ำตาลแดง แต่ตะขาบบางชนิดก็มีสีสันที่สดใส สวยงามแตกต่างกันออกไป เช่นตะขาบในเขตร้อนชื้น วงศ์ Scolopendromorphaตะขาบมีหลากหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กเพียงไม่กี่มิลลิเมตร อย่างตะขาบวงศ์ Lithobiomorpha และ วงศ์ Geophilomorpha จนถึงขนาดใหญ่ในตะขาบวงศ์ Scolopendromorpha อันได้แก่ตะขาบชนิด Scolopendra gigantea หรือที่รู้จักในนามของ “ตะขาบยักษ์อเมซอน”ที่มีสถิติใหญ่ที่สุดยาวถึง 30 เซนติเมตร

                               

      ตะขาบเป็นนักล่าที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่บนบก เป็นสัตว์กินเนื้อ มีส่วนช่วยควบคุมระบบนิเวศในถิ่นที่มันอาศัยอยู่ ในเวลากลางวันตะขาบจะซ่อนตัวอยู่ในที่ชื้นเย็น ใต้ก้อนหิน ในดิน ใต้กองใบไม้ หรือตามท่อนไม้ผุๆ เนื่องจากตะขาบไม่มีผิวหนังอย่างแมลงจึงทำให้มันสูญเสียน้ำได้ง่าย เมื่อถึงเวลากลางคืน ตะขาบจะออกล่าเหยื่อ อาหารของตะขาบได้แก่ จิ้งจก, ตุ๊กแก, กบ, นก, หนู, แมลง, แมงมุม หรือแม้กระทั่งค้างคาว โดยสามารถดักจับค้างคาวที่บินอยู่กลางอากาศได้ เมื่อเจอเหยื่อตะขาบจะเข้าจู่โจมโดยการเข้ากอดรัดเหยื่อและใช้เขี้ยวพิษกัดเหยื่อเพื่อให้เหยื่ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตแล้วจึงค่อยจัดการกินเหยื่ออย่างช้าๆ

                               

                                 

     ทั่วโลกมีตะขาบอยู่ถึง 8,000 ชนิด ในปัจจุบันที่มีการสำรวจและบันทึกไว้อย่างเป็นทางการมีประมาณ 3,000 ชนิด พบว่ามีถิ่นอาศัยกระจายอยู่ทั่วไปในเขตร้อนชื้น, ทะเลทราย และยังพบในเขตขั้วโลกด้วย

วงจรชีวิตของตะขาบ

                               

     ตะขาบเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ตัวผู้จะเข้ากอดรัดตัวเมีย เมื่อได้จังหวะก็จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศของตัวเมียซึ่งอยู่ในปล้องสุดท้ายของลำตัว เสร็จแล้วตัวผู้จะรีบหนีโดยเร็วทิ้งให้ตัวเมียอยู่เพียงลำพัง เมื่อพร้อมที่จะวางไข่ตัวเมียจะหาที่มิดชิดและปลอดภัยวางไข่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน ในช่งเวลานั้นเรามักจะไม่ค่อยพบเห็นตะขาบ

                                                        

                                            

     ตะขาบวงศ์ Lithobiomorpha และวงศ์ Scutigeromorpha จะวางไข่ในหลุมดิน เมื่อวางไข่เสร็จตัวเมียจะกลบหลุมแล้วจากไป วางไข่ครั้งละประมาณ 10-15 ฟอง ระยะเวลาในการออกจากไข่ของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมโดยปกติจะใช้เวลา 2-3 เดือนหรืออาจนานกว่านั้น ใช้เวลา 3 ปีจึงโตเต็มวัย

     ตะขาบวงศ์ Geophilomorpha และ Scolopendromorpha ได้ชื่อว่าเป็นคุณแม่ที่รักลูกมาก เมื่อถึงช่วงวางไข่ตัวเมียจะหาที่มิดชิดและปลอดภัยในการวางไข่ จะวางไข่ในหลุมดินหรือในโพรงไม้ผุๆ วางไข่ครั้งละ 15-60 ฟอง เมื่อวางไข่แล้วตัวเมียจะคอยกอดไข่ไว้เพื่อให้ความอบอุ่น ในช่วงนี้แม่ตะขาบจะไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว เมื่อไข่ฟักเป็นตัวตัวเมียก็จะคอยกอดลูกอ่อนทั้งหมดเอาไว้จนกว่าลูกจะพร้อมออกเผชิญโลกกว้างเอง   แต่ถ้าในระหว่างที่ดูแลไข่หรือลูกอ่อนอยู่แม่ตะขาบถูกรบกวนหรือถูกจู่โจมมันก็จะทิ้งไข่หรือตัวอ่อนทันที หรือบางครั้งแม่ตะขาบก็จะกินไข่หรือลูกของมันเอง

                                

     ตะขาบใช้เวลาในการเจริญเติบโตนาน ลอกคราบ 8-10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3-5 ปี เมื่อลอกคราบแต่ละครั้งจำนวนปล้องและจำนวนขาก็จะเพิ่มขึ้น ขาส่วนที่เสียหายหรือขาดไปก็จะงอกขึ้นมาใหม่ ตะขาบชนิด Scutigera coleoptrata หรือที่เราเรียกว่าตะขาบขายาวเมื่อออกจากไข่จะมีขาเพียง 4 คู่ เมื่อลอกคราบครั้งแรกขาจะเพิ่มเป็น 5 คู่ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 7, 9, 11, 15, 15, 15 และ 15 คู่ ก็พร้อมที่จะผสมพันธุ์

 

พิษของตะขาบกับคน

     โดยปกติตะขาบจะหนีคนมากกว่า จะกัดคนก็เพราะตกใจหรือป้องกันตัว เมื่อถูกกัดจะพบรอยเขี้ยว 2 รอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ถูกกัด พิษของตะขาบทำให้มีการอักเสบ ปวดบวม แดงร้อน ชา เกิดอัมพาตตรงบริเวณที่ถูกกัด อาจเป็นแผลไหม้อยู่ 2-3 วัน

 

อันดับและวงศ์ของตะขาบ

     ตะขาบแบ่งออกเป็น 5 วงศ์ ได้แก่

                               

     Scutigeromorpha หรือ กลุ่มของตะขาบขายาว แยกออกเป็น 3 วงศ์ คือ Pselliodidae, Scutigeridae, Scutigerinidae เป็นตะขาบที่มีขา 15 คู่ เป็นสัตว์ที่ว่องไวมาก สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 15 ช่วงตัวต่อวินาที มีตาแบบตาประกอบเหมือนแมลง ทำให้มีการมองเห็นเหมือนแมลง มีขายาว

                               

     Lithobiomorpha แยกออกเป็น 2 วงศ์ คือ Henicopidae และ Litobiidae เป็นตะขาบที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของตะขาบทั่วไปอย่างเด่นชัด มีลำตัว 15 ปล้อง ไม่มีตาประกอบ แต่มีกลุ่มตาบบเซลรับแสงเข้ามาแทน มีรูเปิดอยู่ที่ด้านข้างลำตัวทุกปล้องทั้ง 2 ข้างทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือน

                               

     Craterostigmomorpha  เป็นตะขาบกลุ่มที่แตกแขนงออกไปน้อยที่สุด มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น เนื่องจากจะพบตะขาบทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ในสภาพแวดล้องในแทสมาเนียและนิวซีแลนด์เท่านั้น เมื่อลอกคราบครั้งแรกแล้วจะมีจำนวนปล้อง 12-15 ปล้อง แล้วจะคงอยู่อย่างนั้นตลอดไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก

                               

     Scolopendromorpha แยกออกเป็น 3 วงศ์ คือ Cryptopidae, Scolpopendridae และ  Scoloporyptopidae เป็นกลุ่มที่มีจำนวนปล้องของลำตัว 21 ปล้องขึ้นไปมีขา 1 คู่ทุกปล้อง มีส่วนของอวัยวะตรวจจับแรงสั่นสะเทือนทุกปล้อง มีตาแบบเซลรับแสงข้างละ 4 ดวง

                               

     Geophilomotpha เป็นตะขาบกลุ่มใหญ่ที่สุด และมีขามากที่สุดคือ 27 คู่หรือมากกว่านั้น ตะขาบกลุ่มนี้จะตาบอด แต่จะมีรูเปิดซึ่งเป็นอวัยวะรับความสั่นสะเทือนอยู่ทุกปล้องของลำตัว มีลักษณะพิเศษต่างจากตะขาบในอันดับอื่นๆ ที่จะมีการเพิ่มปล้องลำตัวเป็นจำนวนคู่ ตะขาบในอันดับนี้มีถึง 1,260 ชนิด ตะขาบชนิดที่ใหญ่และมีขาเยอะที่สุดก็อยู่ในกลุ่มนี้ มีขามากกว่า 29 คู่

                               

      

Comments

ความคิดเห็น

ความเห็นที่ 1

ตอนจบต้องโหลดภาพใส่ช่องด้านล่างสักภาพหนึ่งครับ เพราะภาพนั้นจะเป็นภาพที่ถูกดึงไปเป็น thumpnail ด้านหน้าบทความครับ

ความเห็นที่ 2

"ภาพแม่ตะขาบให้ความอบอุ่นกับไข่" เป็นภาพที่เวปนั้นก็อปจากสยามเอนซิสของเราไปครับ

ถ้าจะให้เครดิตก็ให้ทางสยามเอนซิสเลย หรือถ้าจะเอารูปไฟล์เต็มไม่ crop ก็ติดต่อมาทางกระผม

ความเห็นที่ 3

"ภาพแม่ตะขาบให้ความอบอุ่นกับไข่" เป็นภาพที่เวปนั้นก็อปจากสยามเอนซิสของเราไปครับ

ถ้าจะให้เครดิตก็ให้ทางสยามเอนซิสเลย หรือถ้าจะเอารูปไฟล์เต็มไม่ crop ก็ติดต่อมาทางกระผม

ความเห็นที่ 4

ทามมายมีข้อมูลน้อยจัง  หาอีกไม่ได้ไง

ความเห็นที่ 5

ทามมายมีข้อมูลน้อยจัง  หาอีกไม่ได้ไง

ความเห็นที่ 6

ทามมายมีข้อมูลน้อยจัง  หาอีกไม่ได้ไง

ความเห็นที่ 7

เนื้อหาสาระดีมากมีข้อมูลละเอียดดีมากแต่อยากทราบรายละเอียดเรื่องของสารก่อปฏิกิริยาต่อร่างกายของพิษตะขาบอย่างละเอียดไม่ทราบพอจะมีข้อมูลบ้างหรือเปล่า

ความเห็นที่ 8

หยึ๋ย!!!!...แต่ดูแล้วน่าสนใจและน่ามหัสจรรย์จริงๆเลยนะsmiley

ความเห็นที่ 9

แล้วตะขาบชนิดไหนมีพิษแรงที่สุดอ่ะคับ

ความเห็นที่ 10

ที่บ้านเป็นทาวน์เฮ้าส์หลังบ้านมีที่หน่อยนึงปลูกหญ้าและต้นไม้ มักจะมีตะขาบตัวใหญ่เข้ามาในบ้านน่ากลัวมาก ติดกันหลังบ้านเป็นคลองเล็กๆมีกำแพงกั้นไว้ อยากทราบว่าทำไมจึงเจอตะขาบบ่อยและจะมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง

ความเห็นที่ 11

cryingcryingcryingcryingangry

ความเห็นที่ 12

เพิ้งโดนกัด...ปวดแสบปวดร้อนตรงจุดที่โดนกัน และมีอาการคันรอบๆแผลที่ถูกกัด..

ความเห็นที่ 13

ถ้าใครแพ้อาจถึงตายเลยนะ เพราะแถวบ้านเรามีคนโดนตะขาบกัดตาย เราโมโหมากเมื่อเห็นตะขาบและกลัวด้วยมันดุบางตัวมันถึงกับกระโดดเข้ากัดมันไม่กลัวอะไรเลย ตอนนี้ถ้าจะจับมาอย่างกับทอดกินให้หมด เคยกินแล้วอร่อยดี

ความเห็นที่ 14

เป็นสัตว์ ที่สุดแสนจะสยอง น่าขยะแขยง มากๆ เลย

ความเห็นที่ 15

หนูโดนกัดแล้วตอนไปเข้าค่ายเข้าโรงพยาบาลไปหมอจับชีดยาชาอ่าตะขาบตัวสีน้ำตาลอ่า
พี่อีกคนชื่อว่าพี่เนยโดนตัวสีดำกัดอยากรู้ว่ามันจะตาบป่าวหนูแพ้แมลงแพ้หญ้าอ่าค่ะ

ความเห็นที่ 16

ตายป่าวตอนนี้หนูหยุดโรงเรียนอ่าค่้ะ

ความเห็นที่ 17

น้องแพรโดนกัดหรอคับนี้พี่เองนะตอนนี้เปนไงบ้าง

ความเห็นที่ 17.1

แพรตะขาบที่กัดตัวใหญ่ป่าวมาโรงเรียนบอกด้วย

ความเห็นที่ 18

ปวดแสบ ปวดร้อน คันตรงแผลแล้วก้อตรงแพรนอนไม่หลับเลยค่ะ

ความเห็นที่ 19

cryingcoolcryingfrownเจ็บอ่าพี่ฟลุค ลิลลี่ เจ็บมากๆๆโดนกัดเต็มๆT^T
angry
crying

ความเห็นที่ 20

อยากทราบ สายพันธุ์ของตะขาบ และการแยกเพศ เพราะข้อมูลมีน้อยมาก 

ความเห็นที่ 21

อยากทราบ สายพันธุ์ของตะขาบ และการแยกเพศ เพราะข้อมูลมีน้อยมาก