เขื่อนมา ปลาจมน้ำ บทเรียนจากแม่น้ำโขงตอนบนในประเทศจีน

เรียบเรียง: ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์
ภาพ: Fengren

วันนี้เพื่อนนักอนุรักษ์ชาวจีนส่งภาพชุดหนึ่งมาให้ผมดู บอกว่าเป็นภาพที่แชร์ต่อกันมาจากเว็บไซด์ weibo.com (ประมาณ twiitter เวอร์ชั่นจีน) ในภาพจะเห็นปลาชนิดหนึ่งนอนตายเกลื่อน ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่มากๆขนาดหนักตั้ง 40 กว่ากิโลกรัมก็มี ปลาเหล่านี้พบตายอยู่ในแม่น้ำโขงในเขตมณฑลยุนนานในประเทศจีน ผู้แปะภาพคนแรกคิดว่าเป็นโรงงานปล่อยน้ำเสีย แต่มีอีกคนมาให้ความเห็นน่าสนใจว่าปลาที่ตายเกิดจากการขาดออกซิเจน (Hypoxia) เพราะน้ำโขงไหลช้าและมีปริมาณน้อยลง เนื่องจากการกักน้ำของเขื่อน Jinghong เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งอยู่เหนือจากบริเวณที่ปลาเหล่านี้ตายออกไปไม่ไกลนักที่เริ่มดำเนินการและกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นในช่วงนี้พอดี

ปลาที่เห็นในภาพเกือบทั้งหมดรวมทั้งปลาตัวใหญ่ที่สุดในภาพคือปลาแค้ยักษ์ (Bagarius yarrelli) ซึ่งจัดเป็นปลาล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในแม่น้ำโขง (เป็นรองก็แต่กระเบนราหู และ ปลาเทพาเท่านั้น) ปลาชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามแก่งที่น้ำไหลแรง โดยปลาจะหันหน้าทวนน้ำ ใช้หนวดแข็งๆที่มีลักษณะคล้ายสมอยันไม่ให้ตัวเองถูกน้ำพัดไป แล้วอ้าปากให้น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นการหายใจโดยไม่ต้องขยับเหงือก เมื่อน้ำไหลไม่แรงพอเนื่องจากถูกเขื่อนกั้น ปลาเหล่านี้จึงขาดอากาศและจมน้ำตายในที่สุด เนื่องจากปลาแค้เป็นกลุ่มปลาที่ว่ายน้ำไม่เก่ง จึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้

ทั้งนี้ เขื่อนไซยะบุรี ซึ่งกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างในเขตประเทศลาว จะเริ่มสร้างกั้นแม่น้ำโขงในปีพ.ศ.2558 ถ้าหยุดการสร้างไม่ได้ เรื่องแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะไซยะบุรี ห่างจากไทยไม่ไกลนัก

อ่านเพิ่มเติม กรณีเขื่อนในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
1. เขื่อนในมุมมองความมั่นคงทางอาหาร
2. จดหมายเหตุ: ตะพาบหัวกบ ก่อนจะเหลือเพียงความทรงจำ
3. 14 ตัวเลขน่าสนใจ กรณี 12 เขื่อนแม่โขงตอนล่าง
4. เขื่อนไซยะบุรี และอีก 14 พี่น้อง เมื่อคนไทยเห็นแก่ตัว?
5. ลาก่อน ดอนสะโฮง
 







 

Comments

ความคิดเห็น

ความเห็นที่ 1


      เกิดจากการใช้ธรรมชาติ เกินควรของมนุษย์แท้ๆ ต้องใช้เวลาเท่าไรที่เขาจะโตได้ขนาดนี้

ความเห็นที่ 2

ปลาตัวใหญ่มากๆคะ  ธรรมชาติสมบูรณ์สุดๆ >> slotxo