Betta ‘Mahachai’ is a distinct species

Comments

ความเห็นที่ 1

ผมอ่านภาษาอังกฤษได้ไม่ค่อยดีนัก ได้บทสรุปไงหรือครับ ปลากัดมหาชัย เป็นปลากัดชนิดใหม่ของโลก หรือเปล่าครับ ถ้าใช่ได้ชื่อวิทย์ว่า ยังไงหรือครับ ผมคนมหาชัย เคยจับปลากัดแถวมหาชัยสมัยเด็กๆ หลายครัง ถ้าเป็นชนิดใหม่ผมจะพยายามช่วยประกาศความภาคภูมใจนี้ให้คนสมุทรสาสาครรับทราบครับ

ความเห็นที่ 2

Hello Stuporman, welcome to third genration siamensis.org! 

ครูเล็กครับปลากัดแถวมหาชัยที่จับตอนเด็กๆ หน้าตามันเหมือนกับ มหาชัยตอนนี้ไหมครับ

ความเห็นที่ 3

คิดถึงป่าจากน้ำเน่า cheeky

ความเห็นที่ 4

มารอฟังคำตอบด้วยคนครับ

 

ผมอยากทราบเหมือนกันว่าพี่มหาฯตัวโตสุดๆได้ขนาดไหน

บางทีเห็นโตมากซะจนไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเป็นป่าแท้

ความเห็นที่ 5

อยากได้ตัวเต็มมาอ่าน พี่นณณ์พอจะมีบ้างไมครับ??

ความเห็นที่ 6

ลองเมลไปขอเปเปอร์สิครับ ที่มหิดลเขาทำน่ะ(แม้ตีพิมพ์เมืองนอก) ไม่อยากให้เราคิดแต่รอนณณ์ไปขอเปเปอร์น่ะ โดยเฉพาะพวกที่เรียนสูงกว่าปริญญาตรี เพราะในการทำวิทยานิพนธ์ ข้อมูลบางอย่างต้องประสานกับผู้เชี่ยวชาญ หรือชำนาญมากกว่าเราด้วยตัวเอง พอได้แล้วก็สามารถแจกจ่ายด้วยวิถีที่ไม่ขัดต่อลิขสิทธิ์ให้คนอื่นได้

 

เอาเป็นว่าฝากนณณ์เลยแล้วกันครับว่าเปเปอร์นี้ขอให้น้องไผ่พี่ขอเปเปอร์เอง แล้วช่วยแจกจ่ายด้วยแล้วกัน ถ้านณณ์มีแล้วก็เก็บเงียบๆไว้ก่อนนะครับ จะได้ฝึกน้องไปด้วย

ความเห็นที่ 7

ใช้ปุ่มตอบกลับไม่ได้

ครูเล็กครับปลากัดแถวมหาชัยที่จับตอนเด็กๆ หน้าตามันเหมือนกับ มหาชัยตอนนี้ไหมครับ

เหมือนหรือเปล่าจำไม่ได้แล้ว เกือบ 40 ปีแล้ว ตอนนั้นเราเรียกกันว่าป่ากัดป่าอย่างเดียว เข้าไปหาก้นซอยสี่มิตร ซึ่งเป็นป่าจาก ป่าแสม เดี๋ยวนี้เป็นหมู่บ้านหมดแล้ว

ความเห็นที่ 8

 


 

คร่าวๆนะครับ เท่าที่ผมอ่าน เดี๋ยวรายละเอียดคงมีคนมาเพิ่มอีกที
 
ผู้วิจัยใช้หลักฐานทางชีววิทยาโมเลกุล (DNA ส่วน ไมโตรคอนเดรีย * เป็นส่วนที่มีความแปรผันสูงครับ) ศึกษาความแปรผันของกลุ่มปลากัดแล้วพบว่ามันแยกกันค่อนข้างชัดเจนจาก Betta spendens ผู้วิจัยเลยให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นชนิดใหม่ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ตั้งเป็นชนิดใหม่ครับ ให้ความเห็นไว้เฉยๆ
 
ส่วนตัวแล้วผมเป็นห่วงเรื่องการอนุรักษ์มากกว่าครับ เห็นได้ว่าอยู่ใกล้กรุงเทพและแหล่งอุตสาหกรรมมากๆ น่าเป็นห่วงว่าจะสูญหายไปในไม่ช้า หากยังไม่เร่งศึกษาทั้งการกระจาย และทางพันธุศาสตร์ประชากร ถึงแม้จะไม่ได้เป็นอีกชนิดก็ตาม แต่ก็มีความสำคัญมากๆ หากต้องการรักษาความหลากหลายระดับพันธุศาสตร์ไว้

ความเห็นที่ 9

มาอยู่ม.อ.โหลดได้ซะงั้น
 

ความเห็นที่ 9.1

งั้นส่งเปเปอร์เต็มมาโลด อิ อิ

ส่วน อ.plateen น่าใช้เปเปอร์นี้กู้วิกฤติเลยนะขอรับ

ความเห็นที่ 10

ในมุมมองผม คิดว่าสมควรแยกได้นะ...อย่างน้อยมันก็มี Phenotype ต่างกับ B.splendens ชัดเจนยิ่งกว่า B.imbellis เสียอีก

ส่วนเรื่อง Genotype ถ้าจะเอาเรื่องนี้เป็นเกณฑ์  แล้วทำไมไก่ฟ้าสีทองกับไก่ฟ้าเลดี้อาเมอร์ส  หรือนกยูงไทยกับนกยูงอินเดีย ยังจัดเป็นคนละสปีชีส์เลย ทั้งที่มันสามารถ Crossbreed แล้วให้กำเนิด Offspring ที่สืบพันธุ์ต่อได้