ทริปภูเก็ต-พังงาครั้งแรก หลังออกจากเกาะภูเก็ตไปเรียนโทที่ม.อ.หาดใหญ่

คิดว่าอยู่ในหมวดท่องเที่ยวนะครับ มีปนๆ กันหลายกลุ่มสัตว์ด้วย

ทริปนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเลครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่ภูเก็ตเช่นเดียวกับครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน (จัดปีเว้นปี) ก่อนหน้าการประชุมนี้ก็หมดเรี่ยวหมดแรงอยู่ 2 อาทิตย์ด้วยโรคไข้เลือดออก ที่เป็นเป็นครั้งที่ 2 แต่ต่าง type กับครั้งแรกที่เคยเป็นตอนเด็กๆ (โรคไข้เลือดออกมีอยู่ 4 type)

สำหรับสถานที่แรกของทริปอยู่ที่บริเวณสะพานปลาของภูเก็ต ภาพแรกสังเกตเห็นแมงกะพรุนกองเกลื่อนเลย

Comments

ความเห็นที่ 1

แมงกะพรุนดังกล่าวติดมากับเรือประมงขึ้นมาบนท่าเยอะมาก แต่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นแมงกะพรุนลอดช่อง Lobonema smithi ซึ่งช่วงนี้พบมากในทะเลฝั่งอันดามัน (อ่าวไทยไม่ทราบว่ามีเยอะด้วยหรือเปล่าในช่วงนี้)

06.JPG

ความเห็นที่ 2

เหล่าสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่เจอเหลือจากการคัดที่บริเวณสะพานปลา

ปลาลิ้นควาย? Samaris sp. วงศ์ Pleuronectidae

01.jpg

ความเห็นที่ 3

อีกภาพ

02.JPG

ความเห็นที่ 3.1

ไอ้เส้นขาวๆนี่มันคืออะไรอ่ะ?

ความเห็นที่ 4

ปูแมงมุมขายาว Phalagipus sp. ยังไม่ได้คีย์ตัวอย่างดู

03.jpg

ความเห็นที่ 5

ปูม้าชนิด Portunus gladiator มีใช้เป็นชื่อ Portunus haanii อยู่ช่วงนึง แต่ก็ถูกกลับไปใช้ชื่อเก่า มีคำอธิบายสาเหตุในการให้ชื่อแรกเป็น valid อยู่ในหนังสือ Systema Brachyurorum

04.jpg

ความเห็นที่ 6

ปูหนุมานชนิด Izanami curtispina วงศ์ Matutidae ฝั้งอ่าวไทยน่าจะยังไม่เจอ ตัวนี้ได้จากท่าเรือป.พิชัย ต่างที่จากตัวอื่นๆ ที่ผ่านมา

05.jpg

ความเห็นที่ 7

ต่อจากการเก็บตัวอย่างที่สะพานปลาภูเก็ต ก็เดินทางไปจ.พังงากันต่อ ก็ตระเวณไปตามท่าเรือ สะพานปลาต่างๆ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีเรือออกทำประมงในช่วงนี้ ด้วยมรสุมที่เข้ามาต่อเนื่องในช่วงนี้ ฝนก็ค่อนข้างตกหนัก

หลังจากนั้นในวันกลับก็มีโอกาสได้แวะที่น้ำตกสระนางมโนราห์ ที่อ.เมือง จ.พังงา ซึ่งเป็นเขตวนอุทยาน

06a.JPG

ความเห็นที่ 8

น้ำตกบริเวณนี้มีลักษณะเป็นน้ำตกหินปูน เดินไม่ลื่นสบายๆ แต่ไปลื่นที่พื้นดินแทน

06b.JPG

ความเห็นที่ 9

เจอเจ้ากิ้งกือชนิดหนึ่งในวงศ์ Paradoxosomatidae อยู่บนต้นไม้อยู่บ้าง แต่หอยทากบกนี่ไม่เจอเลย

07.jpg

ความเห็นที่ 9.1

Mr. Paul Decker, ที่มีความรู้มากกยี่วกับ Myriapoda บอกว่ากิ้งกือตัวนี้เป็น Orthomorpha subkarschi. ในเมืองไทยมีอีกอย่างที่คล้ายกับ O. subkarschiคือ Orthomorpha  intercedensแต่ว่าชนิดนั้นไม่เจอที่ภาคใต้

ความเห็นที่ 9.1.1

ขอบคุณครับ ในใจผมแอบคิดถึงสกุลนี้อยู่พอดีเลยครับ
 

ความเห็นที่ 10

หอยน้ำจืดที่น้ำตก ชนิดอะไรเอ่ย

08.jpg

ความเห็นที่ 11

ปูน้ำตก Demanietta renongensis วัยรุ่น ก้ามกับขาที่สีส้มแปลกตาในบางข้าง น่าจะมาจากการที่เพิ่งลอกคราบใหม่หลังจากส่วนนั้นถูกสลัดทิ้งไปจากการถูกคุกคาม

09.jpg

ความเห็นที่ 12

อีกมุมหนึ่ง

10.jpg

ความเห็นที่ 13

น่าจะจิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ Sphenomorphus maculatus

11.jpg

ความเห็นที่ 14

จิ้งเหลนเขียว Dasia olivacea ตัวนี้เจอที่บ้านพี่ชายที่พังงา ถ่ายก่อนออกทริปนานแล้ว แต่เอามาแจมไว้ด้วยล่ะกันครับ

12.jpg

ความเห็นที่ 15

อีกภาพ

หมดแล้วครับ

13.jpg

ความเห็นที่ 16

ภาคใต้อุดมสมบูรณ์มากมาย ขอบคุณที่นำภาพมาฝากครับพี่

ความเห็นที่ 17

Dasia น่ารักมากมาย

ความเห็นที่ 18

ว้าววววๆๆ  กิ้งกือสวยจังเลยย  น้องปอผมไม่ออกมาโชว์บ้างหรอครับนี่!?  น่าเสียดายจัง

EBM ... Are you an entomologist?  Big thanks for IDs!

ความเห็นที่ 19

กิ้งกือชนิดนี้ ที่บ้านพี่ชายที่พังงาก็เจออยู่เรื่อยๆ ครับ

ส่วนแมลงปอที่น้ำตกไม่เห็น หรือไม่ก็ไม่ได้บินให้เห็นเตะตา เลยไม่ได้ถ่ายมาเลย มีแต่ตัวธรรมดาๆ ที่บ้านพี่ชายครับ ถ่ายมาวันเดียวพร้อมกับเจ้าจิ้งเหลนเขียว

P1520472.jpg

ความเห็นที่ 19.1

แมลงปอบ้านใหม่เฉียง Neurothemis fluctuans ตัวเมียคร้าบ

ความเห็นที่ 20

หน้าฝน น้ำตกน้ำขุ่นซ่ะแล้ว ไม่งั้นน่าสนใจมากมาย
 

ความเห็นที่ 21

ที่นี่ไม่ค่อยขุ่นนะพี่ เพราะเป็นน้ำตกหินปูน ตกตะกอนเร็ว

ความเห็นที่ 22

หอยน้ำจืดน่าจะเป็น Brotia (Brotia) insolita นะครับ ท่านผู้รู้ช่วยให้ความรู้หน่อยนะครับ
 

ความเห็นที่ 23

เห็นนณณ์เวลาไปเขาวงจะบ่นตลอดเมื่อเห็นปูวิ่งดุีกๆ ว่า "ฆาตกร" เป็นอย่่างไรให้เจ้าตัวมาเล่าแล้วกัน แว่บบบบ
 

ความเห็นที่ 24

แล้วเมื่อคืนได้นับฆาตกรด้วยหรือเปล่าล่ะ

ความเห็นที่ 25

จิ้งเหลนเขียวสวยดีครับ

ขอบคุณที่เอาภาพสวย ๆ มาฝากกันครับผม :)

ความเห็นที่ 26

จับส่งมาให้ผมเลย ฆาตรกร เดี๋ยวผมช่วยพิพากษา

ความเห็นที่ 27

เหอ เหอ เมื่อคืน 69 ตัว บวกกับเขียวบอนในแปลงอีกหนึ่ง ชีวิตลูกพี่น๊อทช่างลำบากลำบน
 

ความเห็นที่ 27.1

แต่ปริมาณก็มากเพียงพอต่อการบริโภคเหมือนกันแฮะ ทางสูญพันธุ์ของมันคงต้องมีใครมาระเบิดเขาลูกนี้กระมัง นับว่าโชคดีที่พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยาน ส่วนน้อยอยู่ในวัด และอาจมีการกระจายพันธุ์มากกว่าที่เป็นห่วง

ความเห็นที่ 28

ภาพสวยมากครับ ภาคใต้อุดมสมบูรณ์จริงๆ laugh