เอามายั่วก่อน....พรุ่งนี้เปิดแล้วววว...

1 พฤศจิกายน อุทยานฯ ทั่วประเทศก็ได้เวลาเปิดให้ผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวกันแล้ว เราโชคดีหน่อยที่ตลอดสามเดือนได้เข้าไปทำงานในป่า เลยเจออะไรได้ง่าย เพราะไม่มีคนเข้าไปรบกวนพวกเขา ลองดูละกัน
ผ่านโป่งพรม เห็นเขาหมอบอยู่ข้างบ่อน้ำขัง

Comments

ความเห็นที่ 1

ช่วงกลางคืนที่บ้านกร่างครับ
resize_wizard-8.jpg resize_wizard-9.jpg

ความเห็นที่ 1.1

โอ้ว เจ้าตัวนี้แถบขาวด้วย แถวบ้านผมแถบแดงแฮะ

ความเห็นที่ 2

งานอยู่ที่พะเนินทุ่ง บ้านกร่างเลยแค่ผ่าน เจอแมลงน่าสนใจเยอะครับ แต่ถ่ายไม่ค่อยดี
resize_wizard-1.jpg resize_wizard-2.jpg resize_wizard-4.jpg

ความเห็นที่ 2.1

รูปแรกด้วงงวงมะพร้าวครับ แต่ผมเคยเจอมันอยู่ในลำไม้ไผ่เลยเจาะกินต้นไผ่จนต้นไผ่ตาย ถือเป็นแมลงศัตรูพืชเลยครับ

ความเห็นที่ 3

มาดูจั๊กจั่นตัวเล็ก (เล็กกว่าฝ่ามือนิดเดียวเอง..)
resize_wizard-28.jpg resize_wizard-3.jpg

ความเห็นที่ 4

แมลงที่เหลือครับ
resize_wizard-5.jpg resize_wizard-7.jpg resize_wizard-13.jpg resize_wizard-16.jpg resize_wizard-18.jpg resize_wizard-29.jpg resize_wizard-33.jpg

ความเห็นที่ 4.1

#1 Tricondyla annulicornis ด้วงเสือปีกหลอมค่อม
#2 Lyssa zampa ผีเสื้อค้างคาว
#5 Stratioceros princeps ด้วงหนวดยาวขอบขาว

รอผู้รู้จริงมายืนยันอีกทีครับ.

ความเห็นที่ 5

เจออีเห็นอะไรไม่รู้ครับ เห็นแต่ลูกตา กับชะนีผอมๆ
resize_wizard-14.jpg resize_wizard-30.jpg

ความเห็นที่ 5.1

อีเห็นเครือ กับ ชะนีมือขาว ครับ

ความเห็นที่ 6

เก็บจิ้งจกมาถามชื่อครับ ตัวแรกจิ้งจกหินสีจาง
ตัวที่เหลือไม่ทราบครับ ดูจากลักษณะหัวแล้ว ผมว่ามันน่าจะเป็นคนละชนิดนะครับ
resize_wizard-24.jpg resize_wizard-25.jpg resize_wizard-26.jpg resize_wizard-27.jpg

ความเห็นที่ 6.1

ตัวแรกจิ้งจกหินสีจาง
ตัวที่ 2, 4 จิ้งจกบ้านหางหนาม
ตัวที่ 3 จิ้งจกบ้านหางแบน

ความเห็นที่ 6.1.1

ตัวที่ ๓ น่าจะเป็นจิ้งจกแม่หม้ายครับ

ความเห็นที่ 6.1.1.1

ครับ ดูผิดครับพอตอบแล้วไปเห็นอาจารย์น็อตเฉลยอยู่ข้างล่าง แต่แก้คำตอบไม่ได้แล้ว

ความเห็นที่ 7

มาดู ง.งู ตัวแรกครับ
เจ้าหน้าที่พบว่ามันมั่วกันอยู่ในห้องน้ำ จะตีมันเพราะคิดว่ามีพิษ พวกผมเลยอาสาจับไปปล่อย
คาดว่าเป็น กาบหมากดำ ตัวใหญ่คิดว่าเป็นตัวเมียใช่ไหมครับ
ขณะกองรวมกัน จะเห็นตัวเล็ก ตัวใหญ่แยกมาทางขวา ตัวที่จับได้ เป็นตัวเล็ก

ความเห็นที่ 8

ช่วงเย็นวันต่อมา
เอ๊ะ !! อะไรแว๊บๆ
นึกว่าท่อนไม้ พอเข้าไปใกล้ เลยตั้งท่าเตรียมพร้อม ขณะเลื้อยเข้าป่า

ความเห็นที่ 8.1

สวยมากครับ ผมยังไม่เคยเห็นตัวเป็น ๆ ในธรรมชาติเลย

ความเห็นที่ 9

งูที่เหลือครับ
ตัวแรก ตลอดอาทิตย์ มันขยับเปลี่ยนที่ไม่เกินเมตร เฝ้ารอเหยื่อรึเปล่าครับ
ตัวสอง งูเขียวปากแหนบ ตัวนี้ทำไมสีมันนวลจังครับ
resize_wizard-15.jpg resize_wizard-6.jpg

ความเห็นที่ 10

ปิดท้ายด้วยดอกไม้และวิวหลังครัว ครับ
resize_wizard-17.jpg resize_wizard-32.jpg

ความเห็นที่ 10.1

ดอกบน ขิงสกุล Etlingera ไม่กล้า ID ชนิดครับ

ความเห็นที่ 10.1.1

มะ มา ได้ไง... ถ้าเพิ่งถ่ายวันที่ 1 พ.ย. 53 จะงง มาก เพราะว่าเจ้าตัวนี้จะออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม ค่ะ

ชื่อชนิดไม่ชัวร์ เพราะหนังสือกะ paper อยู่หอก๊าบ

ความเห็นที่ 10.1.1.1

จริงๆแล้วผมถ่ายเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 ครับ ยังไงมันก็ออกนอกฤดูอยู่ดีใช่ไหมครับ
ยังมีอีกหลายอย่างที่ออกไม่ตรงกับเอกสาร เช่นกล้วยไม้ที่สำรวจ เป็นต้น

ความเห็นที่ 11

งามงด งดงาม

ความเห็นที่ 12

โห สุดยอดเลยครับ สรรพชีวิตแห่งป่าแก่งกระจาน กาบหมากหางนิลในห้องน้ำ....สุดยอดครับ

ความเห็นที่ 13

R_W-9 Trimeresurus (Cryptelytrops) albolabris เขียวหางไหม้ท้องเหลือง ตัวผู้
R_W-24 Gehyla mutilata จิ้งจกหินสีจาง นั่นแหละครับ
R_W-25,27 Hemidactylus frenatus จิ้งจกหางหนาม
R_W-26 Hemidactylus garnotii จิ้งจกหางเรียบ หรือจิ้งจกแม่หม้าย
R_W-15 Trimeresurus (Popeia) popeiorum เขียวหางไหม้ท้องเขียว ตัวผู้
R_W-6 Ahaetulla prasina เขียวปากจิ้งจก

ส่วนกาบหมากหางนิลคู่นี้น่าสนใจตรงที่ว่าที่แก่งกระจานน่าจะเป็นชนิดย่อย Othriophis taeniurus helfenbergeri แต่ไอ่คู่นี้ดันดูภาพรวมคล้าย O. t. ridleyi ซะงั้น ประชากรแถบนี้ค่อนข้างทำให้ผมมึนพอสมควร ผมเลยขอไม่ฟันธงจากการแพร่กระจาย ถ้ามีรูปตอนมันขู่จะช่วยได้มากเลยครับ




 

ความเห็นที่ 13.1

พี่ครับ แล้วเจ้าเหลือง กับเขียว ในกระทู้นี้ ดูที่หัวเอาใช้ป่ะครับ ทรงหัวต่างกัน แต่ดูยากจังแฮะ

ความเห็นที่ 13.1.1

ถ้าได้เห็น ได้ดูบ่อยๆ จะจับความรู้สึกความต่างได้ง่ายขึ้นครับ แต่ถ้ามีโอกาสถ่ายรูปงามๆมุมด้านข้างหัวแล้วขยายดูเกล็ดที่จมูกได้ จะใช้ฟันฉับได้เลย เพราะเจ้าท้องเขียวนั้น เกล้ดริมฝีปากบนกับเกล็ดจมูกจะแยกเป็นคนละชิ้น ส่วนท้องเหลืองจะมีส่วนที่เชื่อมติดกันเป็นชิ้นเดียว แม้ว่าจะมีรอยบาก แต่ยังไง๊ยังไงก็ไม่แยกจากกันทั้งหมดครับ
resize_wizard-15_0-1.jpg

ความเห็นที่ 13.1.1.1

ขอบคุณมากครับสำหรับคำชี้แนะที่่จะทำให้มือใหม่มั่นใจมากขึ้น

ความเห็นที่ 14

สองภาพนี้พอใช้ได้มั๊ยครับอาจารย์น๊อตฯ
กำลังขู่ เห็นเกล็ดหัว

ความเห็นที่ 14.1

ยิ่งดูยิ่งไปทาง ridleyi ครับ

ความเห็นที่ 14.1.1

แก่งฯมีอะไรให้งงเสมอ

ความเห็นที่ 14.1.1.1

มี วลี หนึ่งที่นักดูนกให้ไว้เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว
" อะไรก็เกิดขึ้นได้ ที่แก่งกระจาน " เมื่อคราวพบนกกะลิงเขียดหางหนาม (2537)
คงเป็นเพราะที่ตั้งของพื้นที่มั้งครับ เลยเป็นศูนย์กลางของเหนือและใต้ ติดกับพม่าอีกต่างหาก

ความเห็นที่ 15

เห็นพวกงูทีไร ขนลุกซู่ทุกที แก่งกระจานคงได้ไปเยือนเร็วๆ นี้ครับ

ความเห็นที่ 16

แจ่ม

ความเห็นที่ 17

อยากไปแก่งฯ จริง ๆ เลย

ความเห็นที่ 18

อยากไปแก่งฯ มากกกกกกกกก มากกกกกกกกก

ขอภาพบางส่วนไปทำ Species Index ได้ไหมครับ? 

ความเห็นที่ 18.1

ด้วยความยินดีครับคุณนณณ์

ความเห็นที่ 19

เอ..ระหว่างไปกาญฯ กับแก่งฯ จะไปไหนดีหว่า ช่วงปลายๆเดือนนี้

ความเห็นที่ 19.1

จะไปที่ไหนก็ตาม แต่ผมไปด้วยนะ

ความเห็นที่ 20

ออกเช้าวันเสาร์นะ แวะบางตะปูนออกไปดูปลาวาฬบรูด้า กลับมาตอนเย็นเข้าบ้านกร่าง ค้างหนึ่งคืน ตอนเช้าวันอาทิตย์เดินป่าจนเย็นแล้วค่อยกลับ โฮ้ววววว ฝันไป.....

ความเห็นที่ 20.1

ต้องระวังสะดุดเถาวัลย์ด้วยเปล่าครับ สงสัยจะแห้วไปเมืองกรุง (แล้วแว่บ) ซะแล้ว เฮ้อ..

ความเห็นที่ 20.1.1

สรุปว่าจะมาเมื่อไหร่ครับ เผื่อจะได้ตามไปหาความรู้..

ความเห็นที่ 20.2

พี่นณณ์ครับ ฝากดู Pyrops oculata ด้วยครับ มีรายงานแบบไม่เป็นทางการว่าพบที่แก่งกระจานเมื่อเร็วๆนี้

ความเห็นที่ 20.2.1

หน้าตามันเป็นยังไงครับ เผื่อเคยเห็น รบกวนแปะรูปหน่อยครับ

ความเห็นที่ 20.2.1.1

ใช่แบบนี้หรือเปล่าครับ คุณนณณ์
cchakcchanngwng.jpg

ความเห็นที่ 21

โฮ๊ะ ตัวอะไรไม่รู้ รู้แต่เทพแน่ๆ

ความเห็นที่ 21.1

ผมเอาชื่อวิทย์ฯ ที่พี่กวิวัฎให้มา ไปเสิร์ชในกูเกิล มันมีแต่รูปพวกนี้ เลยลองไปหาภาพเก่าเก็บครับ
เท่าที่ผมจำได้ ผมมีรูปจั๊กจั่นงวงประมาณ 4 ลาย แต่คอมฯเดิมมันเจ๊ง ไม่รู้จะกู้ได้หรือเปล่างานในนั้นเพียบเลยครับ หากมีอะไรเพิ่มเติม ยินดีเสมอครับ (ถ้าไม่ได้อยู่ในป่า)