ตามหาปลาหมึก ฉึกๆ ที่สตูล

หลังจากกลับจากลังกาวี ข้ามมาสตูลก็มาแวะหาตัวอย่างปลาหมึกฉึกๆ กันที่อ.ทุ่งหว้า จ.สตูลต่อ เป็นแพปลาริมคลองแห่งหนึ่ง ได้ตัวปลาหมึกกระดองลายเสือ Sepia pharaonis สดๆ กลับไป ลายยังเข้มอยู่เลย

Comments

ความเห็นที่ 1

อีกชนิดนึงตัวโตๆนั่นเป็นปลาหมึกหอม Sepioteuthis lessoniana สดระดับเม็ดสี หรือรงควัตถุยังวิ่งพล่าน
Bigfin reef squid

ความเห็นที่ 2

ที่ใต้แพ ซึ่งเป็นบ้านไม้ริมคลอง เป็นชายคลองเลน เลยมีพวกปูแบบนี้ให้ดู เป็นปูก้ามหักก้ามฟ้า Macrophthalmus pacificus
Sentinel crab

ความเห็นที่ 3

ปลาตีนต่างชนิดต่างไซส์กัน ไม่ค่อยตื่นคนบนบ้านเท่าไหร่ คงอยูกันมาจนชิน ตัวเล็กเป็น Boleophthalmus boddarti ชนิดเดียวกับกระทู้ลังกาวีภาคป่าชายเลนที่กำลังสู้กัน อีกชนิดเป็น Periophthalmodon schlosseri ชนิดแรกกินอิทรียสารจากดิน อีกชนิดเป็นผู้ล่า
Mud skipper

ความเห็นที่ 4

บริเวณกระชังใกล้ๆ กับแพปลาเราได้ไปสำรวจหาปลาหมึกแคระกันอีกที หลังจากพลาดหวังจากลังกาวีมาครั้งนึงแล้ว แล้วคราวนี้ก็สมหวัง ได้เจอกันสักที
ปลาหมึกแคระชนิดที่เจอนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Idiosepius pygmaeus เป็นสัตว์กลุ่มปลาหมึกที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่จับได้ครั้งนี้ยาวจากตัวถึงปลาหนวดโตสุดก็ราว 2 ซ.ม.เท่านั้น กินสัตว์น้ำขนาดเล็กพวกลูกกุ้งลูกปลาเป็นอาหาร แม้เหยื่อจะขนาดโตกว่ามันมันก็สามารถจับกินได้ โดยแทะกินเฉพาะบางส่วนแล้วก็ทิ้งส่วนที่เหลือไป น่าจะเป็นกลุ่มที่อาศัยในระดับน้ำที่เค็มต่ำกว่าหมึกกลุ่มอื่นสุดแล้ว

ครูนกซึ่งเป็นเจ้าถิ่นทางสตูลของเว็บเรา เคยเล่าให้ฟังว่าที่แถบทางสตูลเขากินกันด้วย โดยคัดมาจากการรุนเคย นำไปคั่วทีละเยอะ ก็พอกินได้อิ่มกันอยู่ เขาทำกินกันเอง ไม่ได้ทำขายหรอกครับ ก็น่าลิ้มลองอยู่เหมือนกัน
Two-toned pygmy squid Two-toned pygmy squid

ความเห็นที่ 4.1

ผมสงสัยมานานเเล้วครับว่า หมึกกะตอย ตัวเล็กๆที่เขาตากแห้งขายให้เราซื้อมาทอดกินกันเนี่ยมันคือลูกปลาหมึกวัยอ่อนหรือโตเต็มวัยของหมึกชนิดใดครับ ใช่ชนิดเดียวกับหมึกจิ๋วที่ลงให้ดูหรือเปล่า

ความเห็นที่ 4.1.1

หมึกกระตอย เป็นชื่อของกลุ่มปลาหมึกกล้วยที่มีขนาดเล็ก จัดอยู่ในสกุล Loliolus ครับ อยู่ในกลุ่มที่ห่างกับปลาหมึกแคระเยอะครับ ขนาดก็ต่างกับปลาหมึกแคระอย่างที่ผมได้บอกขนาดไปแล้ว นั่นเป็นตัวเต็มวัยแล้วครับ

ความเห็นที่ 5

ไปที่ลำคลองจุดอื่นดันไม่เจอ หรือว่าคนละคลองกันนี่แหละครับ
p1540184.jpg

ความเห็นที่ 6

ที่นี่ไปเจอปูแสมหินฟันเลื่อย Metopograpsus latifrons เกาะเสาท่าเรือไม้อยู่
ก็ลากันด้วยภาพนี้เลยครับ
Climber crab

ความเห็นที่ 7

จบแล้วหรอเนี่ย ท่านพี่?  เคยเห็นเหมือนกันครับสำหรับปลาหมึกที่จับมาแล้วเม็ดสียังวิ่งพล่าน น่าอัศจรรย์ดีสำหรับการเปลี่ยนแปลงเม็ดสีของปลาหมึก

ความเห็นที่ 7.1

ตัวมันนิ่งไม่ไหวติงอะไรแล้ว มีแต่เม็ดสีนี่แหละ ที่แสดงว่าเซลล์มันยังไม่ตาย

ที่สตูลภาพน้อยหน่อยอ่ะ ไปถึงก็ตอนบ่ายแก่ๆ แล้ว

ความเห็นที่ 8

หนึกตัวเล็กๆ นี้ ที่ตรังเยอะมากกกกกก....

ความเห็นที่ 8.1

ใช่ๆ

ความเห็นที่ 9

ล่าสุดไปสีชังกันมากับครอบครัวและคณาญาติ เขาตกหมึกกัน
ตกได้มาปุ๊ป ล้างน้ำเอามีดหั่น จิ้มวาซาบิกิน (ขนาดเป็นชิ้นยังขยับได้อยู่เลย)

ไม่รู้รสอร่อยแค่ไหน เพราะผมไม่กล้ากิน angry ไม่อยากตกด้วย

ความเห็นที่ 9.1

อยากกินบ้างจัง

แต่ว่ารูป lot นี้น้อยจังเลย ค้าง ๆ ไงไม่รู้

ความเห็นที่ 9.1.1

ก็อย่างที่บอกว่ามันน้อยๆด้วย เลยลังเลว่าจะโพสต์ในนี้ดีหรือเปล่า

ความเห็นที่ 10

ดีมากๆที่รู้ว่าหมึกกะตอยเป็นตัวเต็มวัย เพราะลังเลที่จะกินมัน คิดว่ามันเป็นลูกหมึก

ว่าแต่เจ้าหมึกจิ๋วนี่มันลอยกันเด่งๆกลางน้ำแบบ คคห.ที่ ๔ นั้นเลยหรือท่าน?  นึกว่ามันตัวเล็กๆนิ่มๆแล้วจะต้องคอยหลบซ่อนเสียอีก

จะน้อยจะมากก็เอามาแปะเหอะพี่น้อง

ว่าแต่หมึกน้อยนี่มันเลี้ยงยากไหม??

ความเห็นที่ 10.1

Idiosepius pygmaeus  เลี้ยงง่าย โตไว ออกไข่เร็ว แล้วก็ตาย ฮ่าๆๆๆ

ความเห็นที่ 11

ปลาหมึกแคระปกติมันจะแปะติดอยู่กับวัสดุอย่างรากไม้ ใบไม้น่ะครับ ครีบเล็กๆของมันดัดแปลงมาเพื่อการนี้ ได้ยินว่ามันใช้วิธีสร้างกาว สงสัยจะเป็นเมือกเหนียว เอาไว้ช่วยการยึดเกาะ

แต่ก็คงมีช่วงที่มันต้องเดินทาง ไหลไปตามน้ำแบบนี้บ้าง แต่ก็พยายามพรางตัวให้ดูรูปร่างยากแล้ว เพียงแต่ยังไม่เกินสายตาของพวกเรา ตอนช่วงที่มันลอยอยู่นี้เป็นช่วงน้ำขึ้นด้วย คงตามอาหารพวกกุ้งปลาตัวน้อยเข้าไป เห็นมันตัวเล็กๆอย่างงี้มันก็พ่นหมึกสำหรับป้องกัน อำพรางตัวเป็นนะครับ ถ้าเลี้ยงในตู้เล็กหลายๆตัว หมึกนี้น่าจะสร้างปัญหาได้อยู่เหมือนกัน

เลี้ยงเจ้าตัวนี้ควรจะมีกุ้งเคย หรืออาร์ทีเมียตัวโตก็ได้ ให้มันกิน ลูกปลาทางนี้เคยลองเลี้ยงแบบให้กินปลาหางนกยูงเป็น ปรากฏว่ามันแทะแต่ตรงพุงแล้วก็ทิ้งไป (ปลาตัวโตกว่าหมึกแคระ)

ปริมาณในธรรมชาติ เวลาเจอที่ใหนก็เจอปริมาณเยอะทีเดียว ก็ตัวมันเล็กนี่แหละมั้งครับ เลยเป็นแบบโตเร็ว ขยายพันธุ์เร็ว เน้นลูกเยอะๆไว้


ความเห็นที่ 11.1

แล้วชาวบ้านแถวนั้นเขาเอาเจ้าหมึกแคระมาทำไรกินกันครับ อร่อยไหม^^"

ความเห็นที่ 11.2

ตัวเล็กกว่าปลาหางนกยูง !!!

ความเห็นที่ 12

สงสัยมั้ยครับว่า ทำไมพวกปลาหมึกกล้วยหรือปลาหมึกกระดอง จึงไม่มีสวนสัตว์ทะเลที่ไหนเอามาเลี้ยงไว้โชว์เลย?...จะมีเลี้ยงไว้ก็แต่พวกหมึกสาย หมึกยักษ์ เท่านั้น?
แสดงว่ามันน่าจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่ยุ่งยากแน่ๆ ในการดูแลปลาหมึกกลางน้ำพวกนั้น

ความเห็นที่ 12.1

ที่ภูเก็ตก็เคยเลี้ยงอยู่พักนึงครับ แต่พอมันตายๆไปก็ต้องเปลี่ยน มันไปอุดติดรูระบบกรองน้ำอยู่

ความเห็นที่ 12.2

อย่างที่ผมบอกไปละครับ เลี้ยงง่าย โตไว ออกไข่เร็ว แล้วก็ตาย ฮ่าๆๆ

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่นำมาโชว์ส่วนใหญ่จะเป็นทางภาคใต้ครับ
ภูเก็ต ตรัีง สงขลา นำมาจัดแสดงเรื่อยๆ ครับ
ประจวบนำมาจัดแสดงเป็นครั้งคราว

สาเหตุที่ไม่ค่อยน้ำมาจัดแสดงโชว์อย่างแพร่หลาย อาจเป็นได้อย่างพี่นกกินเปี้ยวบอก
ว่ามันอาจตายแล้วเข้าไปในระบบกรอง หรืออุดตันที่ระบบกรอง ทำให้มีปัญหา

ความเห็นที่ 12.2.1

เขาบอกหมึกกล้วยหมึกกระดอง

ส่วนของพี่ลืมระบุว่ากำลังพูดถึงหมึกกระดอง

ความเห็นที่ 12.2.2

แปลว่าพวกหมึกสายอายุยืนกว่า? หรือเปล่าครับ?
เพราะเห็นนำมาเลี้ยงเพื่อแสดงได้หลายๆที่

ความเห็นที่ 12.2.2.1

ใช่ครับ ลองไปค้นมาดูปลาหมึกหอมกับปลาหมึกกระดองอายุไขราวร้อยกว่าวัน ส่วนเจ้าพอล ปลาหมึกสาย มันตายตอนอายุ 2 ปี 9 เดือนน่ะครับ

ความเห็นที่ 13

สัตว์ทุกชนิดก้มีรายละเอียดวิธีเลี้ยงต่างกันเป้นธรรมดา วิธีเลี้ยงปลาหมึกแต่ละกลุ่มยังต่างกัน เลี้ยงไม่ยากอย่างที่คิดครับ เพียงแต่ต้องทำความรู้จักกับเค้า รู้นิสัยใจคอ กันก่อนบ้างน่ะครับ

อ้อ...เลี้ยงให้อายุยืน ตัวโตกว่าปกติก้ได้ ถ้ารู้ใจ

ความเห็นที่ 13.1

คุณพ่อปลาหมึกมาเองเลย

แต่ถ้าจะให้ขาวๆอวบๆ ต้องลอกหนังแล้วเอาไปฟอก..

ความเห็นที่ 13.1.1

เหวอออออ............น้อตเบี่ยงเบน.....

ความเห็นที่ 13.2

อย่างที่อาจารย์บอกครับ เลี้ยงง่าย นิดเดียว หุๆๆ ^^

ความเห็นที่ 14

อา.. อาจารย์มาช่วยให้ความรู้แล้ว

ความเห็นที่ 15

กลุ่มปลาหมึกแคระ นักศิรบาทวิทยาทั้งหลายกำลังพิจารณากันว่า จะจัดเป็นชนิดพันธุ์ที่แหล่งที่อยู่อาศัยกำลังถูกคุกคาม หรือเปล่า 

ความคิดส่วนตัว ตอนนี้กลัวเจ้าตัวน้อยพวกนี้จะถูกกว้านให้อพยพไปอยู่ตามสวนจตุจักรมากกว่า

ความเห็นที่ 16

ขอโทษที่นอกเรื่องครับ คุณ jaruwat.n คือท่านอาจารย์ จารุวัฒน์ นภีตะภัฏ หรือเปล่าครับ?

ความเห็นที่ 16.1

ไม่ขอตอบแทน แค่มาบอกว่าเคยมีคนถามว่าเป็นอะไรกับอาจารย์จารุจินต์มาก่อนแล้วครับ ดีนะที่ย่อที่นามสกุล ถ้าใช้ระบบฝาหรั่ง หลายๆคนอาจขนหัวลุก

ความเห็นที่ 16.1.1

นี่ขนาดไม่ตอบนะเนี่ย........
อย่าเรียก "ท่าน" เลยครับ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆกันทั้งนั้น
น้องเราเห็นนามสกุลพี่เป็นปีศาจไปซะแหล่ว.......นามสกุลระบบฝาหรั่งที่ยาวๆก้เป้นไปตามที่"ท่าน"ตั้งไว้ให้เขียนแบบนั้นน่ะครับ ("ท่าน" ของจริง)

ความเห็นที่ 17

คารวะอาจารย์

ความเห็นที่ 17.1

นี่ก็อีกคน..........พอกันเลยพวก"เลื้อยคลาน"เนี่ย......

ความเห็นที่ 18

เอารูปปลาหมึกแคระ Idiosepius pygmaeus Steenstrup, 1881 ที่ถ่ายเองมาลงให้ชมความน่ารักค่ะ ^^
ตัวนี้ได้มาจาก หงาว ระนอง เป็นตัวเมียขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เราเคยเห็น ตอนได้มายังว่ายน้ำสบายใจอยู่ เราเลยเอาตั้งบน plate ให้มันตายอย่างช้าๆๆ.. จะได้ดองซะเลย.. ( ทำไปก็สงสารไป แต่ถ้าจับโยนลง 90% ethanolเลย ตัวมันจะหดจนลักษณะบางอย่างผิดเพี้ยนไป)

ความเห็นที่ 19

ตอนโพสสต์นี่กล้าๆกลัวๆ เพราะท่าน advisor อยู่แถวๆนี้ ฮี่ๆๆๆ
เทียบกับมือของเราค่ะ (เจ้าแม่กุ้งเต้นบอกว่านี่เอาใส่ในแก้วชอทเหรอ.....นี่มันขวดดองต่างหาก แหม....)

ความเห็นที่ 20

อีกรูปค่ะ ปลาหมึกที่เลี้ยงไว้แสดงในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
ด้วยความอ่อนด้อยประสบการณ์ของเรา หาอาหารให้มันกินไม่ได้ เลยเอาลูกปลาหางนกยูงให้มันกิน มันก็กินนะ แต่กินเฉพาะส่วนท้อง แล้วก็ไม่รู้ว่ามันย่อยไม่ได้ หรือสารอาหารไม่พอ หรือยังไง เจ้าปลาหมึกน้อยก็ค่อยๆทยอยตายไป ...- -*
รูปนี้ 2 ตัว แย่งกินปลาตัวเดียว ได้ชอตเด็ดมาพอดี น่ารักจัง
ปล. ที่หลังของมันมี adhesive organ ใช้ดูดติดวัตถุต่างๆ ในรูปมันติดกับหญ้าทะเลอยู่ค่ะ


ความเห็นที่ 20.1

น่ารักจังเลยครับ :D

ความเห็นที่ 21

ในธรรมชาติกินอะไรหล่ะครับเนี๊ย? 

ความเห็นที่ 22

พวกเคยกกับพวกลูกปลาน่ะครับ เป็นสิ่งที่พบเด่นๆบริเวณปากแม่น้ำ

ความเห็นที่ 23

งั้นทำไมตายเพราะกินปลาหล่ะ?  มีสาเหตุอื่นหรือเปล่า?

ความเห็นที่ 23.1

ตามคคห.ของ marinepig ว่าแหละครับ "แล้วก็ไม่รู้ว่ามันย่อยไม่ได้ หรือสารอาหารไม่พอ หรือยังไง"

ก็ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดเหมือนกัน

ความเห็นที่ 24

ตามที่เรียนมา ปลาหมึกกลุ่มนี้จะชอบกิน crustacean มากกว่าปลา (ย่อย ดูดซึม ได้พลังงานมากกว่า) พอให้กินปลา แล้วดันเป็นปลาหางนกยูงด้วย (มันไม่ได้อยู่ร่วมใน habitat เดียวกันแน่ๆ) มันอาจจะย่อยไม่ได้ ดูดซึมไม่ได้ ทำนองว่า อาหารเป็นพิษ หรือไม่ก็ พลังงานที่ได้ไม่เพียงพอ (มันมี metabolism ค่อนข้างสูง)

สมมติฐานเป็นเยี่ยงนี้ค่ะ