ฝากสัตว์เหล่านี้ ลง Species Index หน่อยครับ

ภาพจากพี่กุลพัฒน์ครับ ต้องเซฟแล้วเอาไปโหลดใหม่นะครับ ไม่งั้นมันไม่เข้าระบบครับ

สแกนสไลด์ด้วย ตู้ปลา และ microsoft word ไม่เลวเลยใช่ไหม????

Comments

ความเห็นที่ 1

งามขนานักแล ^^

ความเห็นที่ 2

ขอเดาชื่อผีเสื้อหน่อยแล้วกันนะครับ

ภาพแรก  ผีเสื้อดุ๊กเขียว?????
ภาพสอง  ผีเสื้อนางพญาพม่า

ธงจะหักไหมหนออ...?

ความเห็นที่ 3

รูปปาดเดาว่า ปาดเขียวตีนลาย ครับ
ส่วนกบข้างล่าง เดาว่ากบหลังจุดครับ

ความเห็นที่ 4

อ้อ ขอเดาคางคกด้วยว่า เป็นคางคกต้นไม้ครับ รอผู้รู้มาช่วยแก้ไขและยืนยันครั้บ

ความเห็นที่ 5

สงสัยว่ากบหลังลายจุดเนี่ย จริง ๆ มันขึ้นต้นไม้หรือเปล่าครับ?
เพราะที่เคยเห็น (ภาพ) มันจะอยู่บนพื้นนะครับ

ความเห็นที่ 6

ภาพแจ่มมากๆ

ว่าแต่ "สแกนสไลด์ด้วย ตู้ปลา และ microsoft word" มันอะไรยังไง

ความเห็นที่ 7

แจ่ม ดูไม่ออกเลยนะเนี่ย

ความเห็นที่ 7.1

ดูที่ฝุ่นครับ เก็บไม่หมดจริงๆ บางสไลด์อายุเกือบ 20 ปี ราขึ้นแล้วอ่ะ  

ความเห็นที่ 8

หุ หุ เป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นเนื่องจาก
1. จ้างเค้าสแกนแพงมากและไม่ถูกใจ
2. ไม่อยากซื้อสแกนเนอร์มาใช้
3. หาซื้อโต๊ะไฟดูสไลด์ไม่ได้ 

เดี๋ยวคืนนี้ทำบทความสอนวิธีการ อิ อิ 

ความเห็นที่ 9

สวยสุด ๆ ยังไม่เคยเห็นเลย ได้ข่าวว่าเขาน้ำค้างมีมากมาย ขุนไปดูดิ

ความเห็นที่ 10

เข้าได้แล้วครับ nonn.. คุณ nantone ครับกบหลังลายจุดตัวนี้ผม ถ่ายที่ฮาลาบาลาครับ ที่ขึ้นต้นไม้เพราะตอนนั้นไปเจอน้อง วณศาสตร์ เขาเก็บข้อมูลกันอยู่..ตัวนี้น้องๆเขาจับมาตอนกลางคืนครับเพื่อมาถ่ายรูปไว้ศึกษาตอนกลางวัน..ก่อนปล่อยตอนตัวมันยังแห้งๆ..ผมเลยขอยืมเขาแป๊ปนึง..น้องเขาก็เอามาวางแหมะที่ต้นไม้หน้าบ้านพักครับ..มันคงอยู่ตามพื้นอย่างที่คุณ nantone ว่าครับ..

ความเห็นที่ 10.1

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมครับผม  :)

ความเห็นที่ 11

ข้อมูลเพิ่มเติมครับ..ปาดเขียวตีนลาย..ถ่ายที่ทุ่งใหญ่ฝั่งตะวันตก..หน่วยทิคอง..มันผสมพันธ์กันครับ..จำได้ว่าสิบกว่าปีที่แล้วเป็นเรคคอร์ดแรกๆที่เจอใอ้เจ้านี่ครับ

ความเห็นที่ 12

ผีเสื้อที่ว่าดุ๊กเขียวหรือเปล่าไม่แน่ใจครับ..ถ่ายเมื่อแปดปีที่แล้วตรงด่านสองดอยอินทนนท์ครับส่วนผีเสื้อนางพญาถ่ายที่ยอดพะเนินทุ่ง..แก่งกระจานครับ..

ความเห็นที่ 12.1

หา อินทนนท์ ต้องตามไปค้นหาหน่อยแล้ว

ความเห็นที่ 13

รูปบนสุดน่าจะคางคกต้นไม้ตัวเมียครับ..เจออยู่บนยอดไม้ที่หน่วยพันธ์ไม้..ฮาลาบาลาครับ

ความเห็นที่ 14

โอ้ย............ป่าฮาลาบาลา กับ พรุโต๊ะแดงเนี้ยะ มันอาถรรพ์ดีแท้ 
เมื่อไรจะได้ไปเยือนสักทีเรา - -*

ความเห็นที่ 15

เมื่อไหร่ไปฮาลาฯ ล่ะท่าน บอกบ้างเน้อ จะเอาใจช่วย 555

ความเห็นที่ 16

ปาดนั่น ตอนนี้เป็น ปาดเขียวตีนลาย หรือ ปาดเขียวคิโอ Rhacophorus kio ครับผม
ส่วนกบหลังจุด Pulchrana signata นั้น ผมคิดว่ามันคงไต่ตามยอดไม้เตี้ยๆ ริมลำธาร ได้ด้วยละครับ อันเป็นนิสัยของกบในสกุลนี้อยู่แล้วครับผม

ความเห็นที่ 17

บนสุดเป็นคางคกต้นไม้ Pedostibes hosii เพศผู้ ครับ
เพศเมีย มีจุดสีเหลือง กระจายตามตัว และตัวออกสีเขียวตองเหลืองครับผม
ส่วนตัวผู็ สีน้ำตาลอ่อน หรือ เข้ม

ความเห็นที่ 18

เอารูปมาเพิ่มให้ใน Species Index ครับเป็น digital แล้ว..เพื่อนในfb คงเห็นกันบ้างแล้ว..อีเห็นเครือหรืออีเห็นหน้านวล Masked Plam Civet ครับ

dsc_5698-iiehnekhruue.jpg

ความเห็นที่ 19

นางอาย-ลิงลมครับ
dsc_4462-rr51-2.jpg

ความเห็นที่ 20

ตัวนี้ไม่ทราบครับ..พะเนินทุ่ง..แก่งกระจานครับ
amp-1.jpg

ความเห็นที่ 21

บริเวณเดียวกันครับ
amp-2.jpg

ความเห็นที่ 22

ภาพของเพื่อนรุ่นพี่ครับ..ยินดีเผยแพร่ครับ

k12-copy.jpg

ความเห็นที่ 22.1

กระแตถ่ายจากที่ไหนครับ?

ความเห็นที่ 22.1.1

แก่งกระจานครับ

ความเห็นที่ 22.2

ลิ้นห้อยเลยแฮะ

ความเห็นที่ 23

บ้นกร่างครับแถวเถาวัลย์ถล่ม
_dsc7090.jpg

ความเห็นที่ 24

แมลงครับภาพมันปนๆกัน..ถ่ายไปรื่อยครับ
_dsc4142.jpg

ความเห็นที่ 25

งูที่เขาใหญ่ครับ
sk1x.jpg

ความเห็นที่ 26

ขอโทษครับลงรูปผิด
ss27.jpg

ความเห็นที่ 26.1

พี่กั๊ก เอาภาพแบบมีชื่อมาก็ดีแล้วครับพี่ ไม่งั้นผมก็ต้องไปใส่ให้พี่อยู่ดีครับ

ความเห็นที่ 27

พรุ่งนี้มาupdateใหม่นะครับ..ไปค้นรูปก่อน

ความเห็นที่ 27.1

ห่างหายไปจากแก่งกระจานนานเลยนะครับพี่กั๊ก..

ความเห็นที่ 28

20-21.ปาดตีนเหลือง Rhacophorus bipunctatus 
22. ลิ้นห้อยเลยอ่ะ...

ความเห็นที่ 28.1

งูตัวนี้พี่มั่นใจว่านายรู้จัก แต่พรุลองอธิบายลักษณะจำแนกเท่าที่เห็นโดยไม่ใช้พื้นที่มาช่วยตัดสินหน่อยดิ ขาดเหลืออะไรพี่จะเสริมให้

ความเห็นที่ 29

ขอบคุณครับพี่Kokkak

ความเห็นที่ 30

สำหรับผม ผมดูจากทรงหัวที่แบน แหลมของเขียวไผ่เอาครับ และชนิดนี้ ปลายหางเป็นสีขาว สลับดำ ไม่ใช่สีแดงอย่างท้องเขียว
สีจาสีส้มเหลือง หรือ เทา ดูจากหัวอาจคล้ายกับ ท้องเขียวถิ่นใต้ แต่ ท้องเขียวถิ่นใต้ เกล็ดข้างแก้มเป็นสันเห็ฯชัดเจนเรียงกันไป
ขาดอะไร หรือ ผิด รบกวนชี้แนะ เพิ่มเติมด้วยครับพี่

ความเห็นที่ 31

ที่จริงพี่ให้อธิบายจากภาพที่เห็นเท่านั้น ซึ่งไม่เห็นปลายหางแต่อย่างใด และไม่ต้องเปรียบเทียบกับชนิดอื่นๆเลย แต่ไม่เป็นไรหรอกน้อง พี่ก็อยากลองดูอะไรสักหน่อยเพื่อหาทางเติมเต็มให้เท่านั้น

ลักษณะจำแนกของงูตัวนี้จากภาพ
1. การแยกกันโดยสิ้นเชิงของเกล็ดริมฝีปากบนชิ้นแรก (first supralabial) กับเกล็ดจมูก (narsal) ทำให้เหลืองูเขียวหางไหม้ที่จะพิจารณา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหางไหม้ท้องเขียว (subgenus Popeia) กับกลุ่มเขียวไผ่ (subgenus Viridovipera)
2. ตามีขนาดเล็ก (สำหรับตัวเมีย ก็คือตัวนี้แหละ) ไอ่ที่เรียกว่าเล็กก็ดูจากสัดส่วนตาเทียบกับระยะห่างระหว่างขอบตาล่างถึงริมฝีปากบนของมันเอง (Occular-subpralabial interspace) จากภาพก็เห็นว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง(แนวดิ่ง)ของตาก็ได้แค่ประมาณครึ่งนึงของระยะถึงริมฝีปากเท่านั้น ดังนั้นจึงเทใจให้กลุ่มเขียวไผ่ เพศเมีย มาเต็ม
3. ลักษณะเฉพาะที่ความจริงดูแค่จุดนี้ก็ใช้ได้สำหรับกลุ่มเขียวหางไหม้เมืองไทย (และยังไม่เจอในเขียวหางไหม้ชนิดอื่นๆ ที่เป็นเพศเมีย) คือ เส้นขอบล่างของข้างลำตัวที่เป็นสีเหลืองๆชัดๆ พบเฉพาะเขียวไผ่หางเขียว (Trimeresurus [Viridovipera] vogeli) เท่านั้น เขียวหางไหม้เพศเมียชนิดอื่นๆมักไม่มีเส้นนี้ หรือมีจางๆได้ทั้งขาวๆ เหลืองๆ เขียวๆ ไอ่ชนิดที่เห็นชัดๆ มันก็เป็นสีขาว หรือเป็นจุดขาวและแดง เรียงเป็นเส้น (ชนิดหลังก็ submitted แล้ว) แต่ถ้าจะเอาเพศผู้มามั่วด้วยก็ยังมีหลายชนิด

ลป. เขียวไผ่หางเขียวตัวเมีย ไม่จำเป็นต้องมีปลายหางขาวๆเสมอไป   และตัวผู้ก็ไม่จำเป็นต้องมีสีน้ำตาลจางๆที่ปลายหางด้วย เคยเจอปลายหางเขียวเลยทั้งสองเพศครับ

ความเห็นที่ 32

ลป. (ต่อ) ที่ไม่ได้ให้นับเกล็ดแม้ว่าภาพนี้จะใช้ประมาณได้ เพราะสูตรเกล็ดมันไม่ต่างกันเลยในหลายๆชนิด โดยเฉพาะทั้งกลุ่มเขียวไผ่และหางไหม้ท้องเขียว ส่วนที่ต่างคือจำนวนเกล็ดท้อง เกล็ดใต้หาง ฯลฯ ซึ่งภาพนี้ช่วยไม่ได้เลย (และปกติไม่ได้แนะนำให้คนอื่นใช้จำแนกจากภาพมุมทั่วๆไป แต่คนที่ต้องศึกษาจากตัวอย่างนั้น จำเป็นต้องเรียนรู้)

ความเห็นที่ 33

แวะมาเจอและซึมซับครับ ส่วนตัวที่เห็นจากภาพด้านบนรู้แค่เกล็ดจมูกกับ
เกล็ดปากว่าแยกจากกันชัดเจนจะเป็นกลุ่มเขียวไผ่กับท้องเขียว
เอาความรู้เพิ่มเติมยัดใส่สมองอันน้อยนิดต่อครับ cheeky

ความเห็นที่ 33.1

ที่จริงผมพลาดไปนิดนึง คือ กลุ่มที่เกล็ดจมูกกับริมฝีปากแยกกันยังมีกลุ่มงูแก้วหางแดง (subgenus Parias) แต่ลักษณะเกล็ดบนหัวและทรงหัว ฯลฯ มันต่างชัดเลยไม่ได้เอาเกล็ดนี้มาพิจารณา จึงขออภุยมา ณ ที่นี้ด้วย (แต่ยังไม่ขออธิบายเพิ่ม เดี๋ยวจะงง เอาให้แยกชุดแฝดนรกได้ก่อนตอนนี้)

ความเห็นที่ 33.1.1

ผมก็รู้เท่าเจ้าไผ่

ความเห็นที่ 33.1.2

คิดถึงบทความ หัวเขียว จัง

ความเห็นที่ 34

สนใจวิธีสแกนครับ พอดีที่ส่งไปให้นณณ์นั้นจะเป็นยุคหลังที่ถ่ายดิจิตอลซะส่วนใหญ่ครับ มีภาพสไลด์อยู่อีกเยอะเลยครับ เผื่อเอาไปใช้ประโยชน์ได้ครับ ขอบคุณพี่กั๊กที่มาแจ้งข่าวครับ พอดีไม่ได้เข้ามาในนี้นาน ล็อกอินเก่าผม Cobia ครับ ...หายไปแล้ว เข้ามาใหม่...งงๆอยู่พักหนึ่งครับ...555