ไปเที่ยวบราซิล รัฐ Mato Grosso do Sul

ช่วงเดือนที่แล้วได้มีโอกาสไปดูงานที่ประเทศบราซิลกับบริษัทครับ ใช้เวลาอยู่แถวๆเมือง Sao Paulo อยู่ 9 วันก่อนที่จะแยกจากกลุ่มออกมากับน้องชาย (ครั้งแรกที่สองพี่น้องเที่ยวป่าด้วยกัน) สมทบกับเพื่อนชายไทยที่บ้าบินตามไปอีกสองคน จักรกับพี่โทนี่ เพื่อบินไปสู่รัฐ Mato Grosso do Sul แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า รัฐที่มีพุ่มไม้รกทึบทางใต้ รัฐนี้อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศบราซิล ติดกับประเทศโบลิเวียและปารากวัย ต้องบอกว่ารัฐนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับแม่น้ำอเมซอนเลย เพราะอเมซอนอยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปอีกไกลมากครับ

เป้าหมายมีอยู่สองแห่ง แห่งแรกเป็นเมืองเล็กๆชื่อว่า โบนิโต (Bonito) เป็นเมืองที่อยู่ในพื้นที่ๆเรียกว่า Cerado เป็นเหมือนทุ่งหญ้าสะวันน่าในเขตที่ราบสูงของประเทศบราซิลซึ่งอยู่ในระแวกนี้ของประเทศเค้า พื้นที่ตรงนี้มีเขาหินปูนมากมาย น้ำที่ไหลซึมผ่านเขาหินปูนเมื่อผึดกลับขึ้นมาผ่านชั้นหินและละลายเอาแคลเซียม คาร์บอเนตจากหินปูนมาด้วย ทำให้น้ำที่นี่ใสราวกับกระจก คาร์บอนไดออกไซด์ที่ขึ้นมาด้วยจากใต้ดินก็ทำให้ต้นไม้น้ำอุดมสมบูรณ์กลายเป็นแหล่งดำน้ำจืดที่มีชื่อเสียงของโลก จากนั้น เมื่อเลยขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ แผ่นดินจะยุบตัวลงไปกลายเป็นแอ่งลองรับน้ำจาก Cerado รอบๆ ทำให้มันกลายเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณภาคอีสานของประเทศไทย เรียกกันว่า Pantanal (ภาษาโปรตุเกศ แปลว่า พรุ) พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ใหญ่โตถึงขนาดว่านักสำรวจและทำแผนที่สมัยก่อน เข้าใจว่ามันเป็นทะเลที่อยู่ใจกลางทวีป บางคนเรียกมันว่า Xaraes Sea ตามชื่อชนเผ่าพื้นเมืองในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันไม่เหลืออยู่แล้ว 

Comments

ความเห็นที่ 1

เช้าวันแรกไกด์สาวสวยชาวบราซิลมารับเพื่อเดินทางไปดำน้ำที่ Rio Sucuri (แปลว่าแม่น้ำอนาคอนด้า) ที่นี่แต่ละคนเป็นเจ้าของที่ดินกันเป็นหมื่นๆไร่ พวกแม่น้ำพวกนี้อยู่ในที่เอกชนทั้งนั้น มีระบบจัดการเฉพาะของเค้า ที่อนุญาตให้เอกชนเป็นเจ้าของอนุรักษ์พื้นที่ธรรมชาติ และได้รับการสนับสนุนทางด้านภาษีจากรัฐบาล

ดำน้ำที่นี่จัดการกันอย่างดี ไปถึงเค้าจับเปลี่ยน wetsuit ที่มีบริการให้ครบทุกขนาด ให้หน้ากาก ให้รองเท้า จากนั้นพาขึ้นรถไป จนถึงแนวชายป่าแล้วให้เดินต่อเข้าไปจนถึงแม่น้ำ ใครดำไม่เป็นก็สอนให้คร่าวๆก่อน กฏเหล็กที่ขัดใจคนไทยเป็นอย่างมาก แต่ก็เข้าใจเค้าคือ
1. ห้ามหยุดต้องลอยไปเรื่อยๆ
2. ห้ามตีขา
3. ห้ามเอาขาเอามือหรือส่วนใดๆแตะพื้นน้ำเด็ดขาด

แล้วตูจะถ่ายรูปยังไงงงงงงงงงง๊ 
sucuri_sign1.jpg ระหว่างทาง สภาพถนนเป็นเช่นนี้ อารมณ์ข้างทาง เป็นแบบนี้ตลอดครับ ปุเรงๆมาได้เกือบชั่วโมง เริ่มเห็นป้าย คลับเฮาซ์ ทางเดิน ด้านขวามือของภาพจะเห็นทราบปุดๆขึ้นมา เป็นจุดที่น้ำผุดขึ้นมาจากใต้ดิน แค่มองจากด้านบนก็ใจละลายแล้ว

ความเห็นที่ 1.1

นึกถึงท่าปอมเลยครับ

ความเห็นที่ 2

เริ่มกิจกรรมลอยน้ำกันหล่ะครับ
วิวตรงจุดเริ่ม คุณไกด์สาวสวยไม่ยอมดำด้วย แต่คอยพายเรือต้อน โดยมีกระผมรั้งท้ายขบวน โดนเธอเอาเรือโขกกระบาลเป็นช่วงๆ ฺ​Brycon hilarii เป็นปลาใหญ่ที่เจอเยอะที่สุด เป็นปลากินพืชครับ ตัวนี้ไม่รู้ หน้าตาเหมือนปลาตะเพียน คุณไกด์ถ่ายให้ tetra_blacktail.jpg characidium3.jpg brycon_view.jpg

ความเห็นที่ 2.1

1,2,6] Brycon hillarii
3] Steindachnerina brevipinna 
4] Bryconops melanurus
5] Characidium cf. zebra

ความเห็นที่ 3

วันแรกยังไม่คุ้นเคยกับการทำงานของกล้องใหม่ครับ Panasonic TS3 ภาพยังไม่ได้เรื่องได้ราวเท่าไหร่ แถมยังโดนต้อนตลอด!!!! 
tetra_redtail.jpg brycon_view2.jpg cichlide.jpg

ความเห็นที่ 3.1

1] Bryconamericus cf. exodon
2] Brycon hillarii
3] cichlid = Cichlasoma dimerus, red tetra = Hyphessobrycon eques

ความเห็นที่ 3.2

1] Bryconamericus cf. exodon
2] Brycon hillarii
3] cichlid = Cichlasoma dimerus, red tetra = Hyphessobrycon eques

ความเห็นที่ 4

สรุปว่าวันแรกค่อนข้างล้มเหลวกับการถ่ายภาพปลา มื้อบ่ายกินกันที่ร้านอาหารในเมือง สเต็กและปลา เป็นหลักรสชาติดีครับ แต่ที่เด็ดสุดคือขนม ไส้ของมันทำมาจากน้ำจากลูก Guavira (Campomanesia pubescens) เป็นผลไม้พื้นเมืองของทางนั้น หอมหวานชื่นใจ
wolffish_tony.jpg petit_guavila.jpg pen_birds.jpg

ความเห็นที่ 5

ตอนเย็นเดินเล่นในป่าแถวโรงแรม ลองดำน้ำที่ Rio Formosa ซึ่งอยู่แถวๆโรงแรมเช่นกัน มีปลาน่าสนใจบ้าง แต่น้ำมันข้นๆแปลกๆ ถ่ายภาพไม่ได้ครับ
formosa.jpg formosa1.jpg formosa2.jpg

ความเห็นที่ 6

มื้อเย็นกลับเข้าไปกินในเมือง เป็นเมืองเล็กๆ ตึกทั้ง่หมดอยู่บนถนนเส้นเดียว ส่วนใหญ่ก็ขายของชำร่วยต่างๆ เสื้อยืด นกแกะสลักจากไม้ อะไรพวกนี้
bonito_dinner.jpg nonn.jpg bonito_jeep.jpg bonito_tony.jpg bonito_girls.jpg

ความเห็นที่ 6.1

ท่าทางน่าจะอร่อยนะคะ ดูแต่ละคน อิอิ

ความเห็นที่ 7

เช้าวันรุ่งขึ้น วันนี้มีไปสองหมายครับ หมายแรกคือ Buraco das Araras หรือ หลุมมาคอร์ เป็นทางเดินสั้นๆระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ก็ถึง หลุมยุบแห่งนี้เกิดจากการสลายตัวของหินทรายครับ กลายเป็นหน้าผาขนาดใหญ่มีมาคอร์ปีกเขียวมาทำรังอยู่หลายคู่ ที่นี่ก็เป็นพื้นที่อนุรักษ์ของเอกชนครับ ภาพตัวบินสวยๆเอาลงให้ดูไปแล้วนิ

buraco_sign.jpg macaw_hole_walk.jpg macaw_hole.jpg bromeliad.jpg macaw_greenwing.jpg macaw_greenwing4.jpg ฺBuff-necked Ibis ทำรังอยู่ในรูเหมือนกัน ibis_buffnecked.jpg

ความเห็นที่ 8

ดำน้ำที่ Prata ติดไว้ก่อนแล้วกันครับ ไว้มาแปะต่อ วันนี้พอใช้กล้องเป็นแล้ว แถมคุณไกด์สาวต้องดำนำหน้า ไม่มาคอยพายเรือต้อน ค่อยมีเวลาหน่อยครับ
การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าหลังจากการอนุรักษ์ที่แม่น้ำ Prata brycon_good.jpg

ความเห็นที่ 9

อย่างงามอ่ะ  ^^

ความเห็นที่ 10

น้ำใสมากกกกกกกกกกกก   ไม่อยากคิดว่าถึงหน้าน้องปอแล้ว จะพรึ่บขนาดไหนนะครับนี่
ภาพงามหลายคร้าบบ

ความเห็นที่ 11

คห 2: 1] Brycon hillarii
2] Steindachnerina brevipinna 
3] Bryconops melanurus
4] Characidium cf. zebra

คห 3: 1] Bryconamericus cf. exodon
2] Brycon hillarii
3] Cichlasoma dimerus & Hyphessobrycon eques

ความเห็นที่ 12

คุ้มค่าที่ตั้งหน้าตั้งตาคอยจริงๆครับ คอยชมภาคต่อไปนะครับ ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 13

ดินแดนในฝันแห่งหนึ่ง...ชอบมากทริบแบบนี้ครับ

ความเห็นที่ 14

เสียดายที่พี่นณณ์ไม่ได้ถ่ายกุ๊ดจี่ตัวจิ๋วมาครับ..

ความเห็นที่ 15

คนละนิดละหน่อยครับ เจ้ากุ๊ดจี่น้อยตกลงถ่ายมาแหะ
Cattleya nobilior ฝากชาวกล้วยไม้ กุ๊ดจี่น้อย มันไกลครับ ตัวเล็กกว่าเปื้อนส้มนิดหนึ่ง Hemidactylus mabouia จากเอเชียเข้าใจว่าเป็นเอเลี่ยนของแถวนั้น

ความเห็นที่ 15.1

แมลงนูนหรือกินูนขอรับท่าน.

ความเห็นที่ 15.2

แมลงปอสีแดงแบบนี้คล้ายกับหลายสกุลอยู่ครับ พี่นณณ์  แต่เท่าที่ดูน่าจะอยู่ในสกุล Erythemis นะครับ

ความเห็นที่ 16

ไป Rio da Prata กันต่อครับ แม่น้ำสีเงิน คราวนี้เดินป่าไกลเชียว เลยเอากล้องใหญ่ไปไม่ได้ ก็ต้องติดแต่กล้องเล็กไป ไม่ได้ถ่ายวิวข้างบนเลยอ่ะ
จุดรับแขกครับ Amazona aestiva กึ่งๆนกเลี้ยง บินได้ ไม่ได้ล่ามได้อะไร แต่ไม่ไปไหน วนๆอยู่แถวนั้นครับ Aratinga aurea บินไปบินมา กินน้ำจากฝักบัวเฉย brycon_view3.jpg crenicichla_lepidota1.jpg crenicichla_fry1.jpg crenicichla.jpg crenicichla_line4.jpg crenicichla_linexl.jpg

ความเห็นที่ 16.1

1] Brycon hillarii again
2-4] Crenicichla lepidota
5-6] Crenicichla vittata ตัวโตเต็มวัยเวลาฮีทปากและท้องจะเหลืองหรือส้มแดง

ความเห็นที่ 17

ปลาต่อไปเรื่อยๆครับ ชื่อปลาตามชื่อไฟล์ครับ เท่าที่ผมรู้ ถูกผิดฝากพี่โทนี่จัดต่อด้วยนะครับ
leporellus_vittatus2.jpg leporinus_macrocephalus3.jpg leporinus_striatus.jpg pacu_brycon.jpg brycon2.jpg pacu_view.jpg prata_view.jpg

ความเห็นที่ 17.1

1] large = Leporellus vittatus
2] Leporinus cf. obtusidens. [there are at least 2 species of large Leporinus in the area: one with barred-based color pattern and another with spot-based color pattern]
3] Leporinus striatus
3] red tail = Bryconamericus cf. exodon
5] Brycon hillarii
6] Piaractus mesopotamicus

ความเห็นที่ 18

ปลาๆต่อครับ
prata_view2.jpg prochilodus3.jpg sucker_line.jpg sucker1.jpg ถ่ายอีตัวนี้เกือบขาดใจตายครับ ดำลงไปถ่ายใต้ขอน กล้องไม่ยอมโฟกัส มืดก็มืด มีแอบเปิดหินดูเล็กน้อย เหอ เหอ ราชาแห่งท้องน้ำในแถบนี้ Salminus brasiliensis dorado2.jpg

ความเห็นที่ 18.1

1] bottom half: large = Prochilodus lineatus, 4 small fish = Bryconops melanurus
2] Prochilodus lineatus
3] probably Ancistrus sp.
4-5] Hypostomus cochilodon
6] Pimelodella gracilis 
7-8] Salminus brasiliensis

ความเห็นที่ 19

ตัวเล็กตัวน้อย ถ้าจะมีอะไรให้เจ็บใจ ก็คงจะไปสภาพแสงในวันที่ไปดำน้ำ ไม่ดีเลยครับ ตอนเช้าก่อนออกเดินทางฝนตก แล้วก็คลึ้มๆตลอดวัน ทำให้ถ่ายปลาเล็กแทบไม่ได้เลย เซ็งจิต
mato_grosso.jpg tetar_blackdot.jpg tetra_school.jpg tetra_yellowtail.jpg

ความเห็นที่ 19.1

1] เซเป้ = Hyphessobrycon eques
2] Jupiaba acanthogaster 
3-4] Astyanax asuncionensis 
3] left = Acestrorhynchus pantaneiro
ตกลงไม่ได้รูป Moenkhausia bonita [ไอ้ตัวเล็กสวย] หรือครับ?

ความเห็นที่ 19.1.1

รูปที่ 3 ตัวมุมล่างซ้ายคืออะไรครับ?

ความเห็นที่ 19.1.1.1

The elongate pikelike characin is Acestrorhynchus pantaneiro.  No bigger pic?

ความเห็นที่ 20

ที่ พลาต้า นี่ดำน้ำเย็นๆอยู่ 4 ชั่วโมงได้ครับ ระหว่างนั้นถ้าปล่อยล่องไปเรื่อยๆก็ไม่เท่าไหร่ แต่มีดำผุดดำว่ายถ่ายปลาอยู่หลายจุด กว่าจะจบนี่ตะคริวกินไปทั่วร่างเลยทีเดียว แม้แต่ผมก็ยังดีใจที่มันจบ!!! 
crosso.jpg ไม่รู้ชื่อปลาอะไรเรียกชื่อไฟล์มันตามพฤติกรรมที่เหมือน Crossocheilus ของบ้านเรา crosso1.jpg อาหารอร่อยอีกแล้วครับ

ความเห็นที่ 20.1

Parodon nasus 
ที่ Prata นี่มีปลาหลากหลายกว่าที่อื่นๆที่มีการดำน้ำดูปลาใน Bonito แต่มีพืชน้ำหลากหลายน้อยกว่าที่อื่นด้วย  กลุ่มที่ไปด้วยกันอีกกลุ่มบอกว่าเขามากัน 8 ครั้งแล้ว cool

ชื่อปลาจากเอกสารต่างๆของปลาในลุ่มน้ำนี้และลุ่มน้ำใกล้เคียงมีความสับสนไม่น้อยครับอย่างเช่น Astyanax asuncionensis ใน Uruguay และ Argentina อาจใช้ชื่อ Astyanax bimaculatus แทนเป็นต้นครับ

ว่าแต่ว่าในบ้านเราพอจะทำที่ดูปลาคล้ายๆกันได้มั๊ยนะ (น้ำไม่ต้องใสเท่าก็ได้)

ความเห็นที่ 20.1.1

น้ำว้า แม่จริมไง และก็ น้ำปายตอน ต้นๆ

ความเห็นที่ 20.1.1.1

What kind of fishes over there are colorful/large and allow people to get close?

ความเห็นที่ 21

ขากลับครับ พรุ่งนี้ไปเที่ยวแพนทานอลกันต่อ
cerado.jpg ตัวโปรดครับ หาไม่ยากอย่างที่คิด Ramphastos toco ตัวหายาก แต่ไกลโพ้นเลยเชียว Alipiopsitta xanthops Rhea เป็นญาติของนกกระจอกเทศ amazon_blue.jpg ตัวกินมดยักษ์ เดินหาปลวกกินอยู่ตามทุ่งเลี้ยงวัวนี่แหล่ะครับ จอมปลวกเยอะแยะ ดีใจมากที่เจอมัน

ความเห็นที่ 22

เยี่ยมจริงๆ น้องเอ้ยยยยย

ความเห็นที่ 23

ปลาสวยมากครับ...ทั้งชนิดเล็กชนิดใหญ่ น้ำก็ใสแจ๋วเลย blush
ว่าแต่ยังไม่เห็นรูป King condor หน้าเหมือนไก่งวงตัวนั้นเลย :D

หมายเหตุ > แร้งทุกชนิดในทวีปอเมริกา ล้วนจัดอยู่ในกลุ่มแร้งโลกใหม่(Condor/New world vulture)ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีแร้งแท้เลยสักชนิดเดียว ส่วนเรื่องที่ว่าพวกคอนดอร์มีเชื้อสายใกล้นกกระสามากกว่าเหยี่ยวหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ แต่ทุกเอกสารล้วนยืนยันว่า แร้งแท้(Old world vulture)มีความใกล้ชิดกับเหยี่ยวและอินทรีมากกว่าพวกคอนดอร์ครับ

ความเห็นที่ 24

ช่างอุดมสมบูรณ์สะะนี้กะไร  ^^

ความเห็นที่ 25

เห็น convergence evolution ของปลา Neotropic เทียบกับ SE Asia ได้อย่างชัดเจน

ความเห็นที่ 26

yes

ความเห็นที่ 27

น้ำใสประทับใจมากเลย

ความเห็นที่ 28

สุดยอดทริปมากๆ อยากไปหาแมลงแถวนั้นบ้างจัง

ความเห็นที่ 29

น้ำที่นั้น เป็นกรด หรือ เป็นด่างอย่างไรครับ ทำไมใสได้ขนาดนั้น
 

ความเห็นที่ 29.1

ไหลผ่านหินปูนมา เป็นด่างครับ

ความเห็นที่ 29.1.1

pH 7.5-8
KH 6.5-7.5
GH 10

ความเห็นที่ 30

ถ้าเป็นผม จะแอบเก็บเมล็ดผลไม้แปลก ๆ มาปลูก
5555

ความเห็นที่ 30.1

kookkookkookkkkkk wink

ความเห็นที่ 30.2

รู้ได้ยังไงว่าไม่ได้เก็บหล่ะครับ ฮ่าฮ่า

ความเห็นที่ 30.2.1

ถ้าทำจริงยังจะมาอวดอีกรึ nowinksmileylaugh

ความเห็นที่ 31

ตามมาดู อยากลงน้ำใส ๆ แบบนี้บ้าง

ความเห็นที่ 32

จากวันนี้ คนในกรุงเทพ คงได้อยู่ในพื้นที่น้ำหลาก เตรียมถ่ายภาพใต้น้ำกันดีกว่าครับ!!!!

ความเห็นที่ 33

น้ำใสได้ใจมากๆ เหมือนปลาว่าย (บิน) อยู่ในป่าเลย .. ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม

ความเห็นที่ 34

น่าสนใจมากเลย ธรรมชาติสวยงามมากทีเดียว , ปีหน้าจะมีโอกาสได้ไปเยือนบราซิลกับเพื่อนๆค่ะ 
เห็นกระทู้นี้ของคุณนณณ์แล้วอยากไปมากเลย ไม่ทราบว่าจะพอจะสะดวกให้รายละเอียดได้ไหมคะ
เรื่องติดต่อและการเดินทางนะค่ะ ทราบมาว่าคนที่นู่นไม่ถนัดพูดภาษาอังกฤษกันเท่าไรนัก ถ้าได้ทราบ
ข้อมูลโดยตรงจากคุณนณณ์คิดว่าคงเป็นประโยชน์น่าดู

ขอบคุณค่ะ