แก้จิตตก ที่ตามพรลิงค์ (เลียนแบบบ้าง)

ช่วงนี้สภาพจิตไม่ค่อยปกติดี เนื่องจากความผิดหวังในบางสิ่ง ก็เลยหาเรื่องเข้าป่า เดินทางเพื่อหวังป่าช่วยสร้างความตื่นเต้นให้ลืมบางเรื่องนั้นไปบ้าง ถึงแม้ว่าจะแค่ชั่วคราว

ซึ่งก็ได้พบสิ่งที่ต้องการตามที่หวังไว้ในทริปนี้จริงๆ โดยต้องแลกมาด้วยเลือดทีเดียว (เพราะทากกัด เลือดไหลข้นกว่าจะหยุด)

ในการนี้เรา 3 คน ซึ่งประกอบด้วยท่านหอยทากชราไปเดินกันเองโดยได้เจ้าถิ่นช่วยชี้เป้าไว้ให้

Comments

ความเห็นที่ 1

เรื่มกันที่พวกเห็ดราก่อนละกันครับ
ไลเคนสูงขึ้นเป็นต้นสร้างอับสปอร์ที่ปลาย เห็ดสีส้ม คอยตัดกับสีเขียวของมอส และใบไม้

ความเห็นที่ 2

ไล่ตามมาด้วยพวกพืชโบราณ
เส้นเขียวๆยังกับตะไคร่เส้นผม ไม่รู้ว่าเหลืองๆกลมๆคือเห็ดหรืออับสปอร์ของมัน ข้าวตอกฤาษี? อันนี้ไม่รู้ว่าเรียกอะไร แต่น่าจะยังเป็นมอสอยู่ เพราะขึ้นก้านสปอร์เหมือนกัน ต้นสามร้อยยอด พวกหญ้ารังไก่? รู้แต่ว่าเป็นพวกซีแลกจีเนลลา

ความเห็นที่ 2.1

อันแรกเคยเจอที่แก่งกระจานแถวๆน้ำตกทอทิพย์

ความเห็นที่ 3

เฟิร์นโบราณๆ ที่ระดับความสูงเก้าร้อยกว่าเมตรแห่งนี้
มหาสดำ พบอยู่กลาดเกลื่อนมาก ชอบจริงๆ บัวแฉกใหญ่ เป็นต้นที่พลาดถ่ายรูปไม่ได้อีกต้นนึงของที่นี่ ใบอ่อนบัวแฉกใหญ่ (ไม่มียอดอ่อนม้วนงอให้ถ่ายช่วงที่ไป)

ความเห็นที่ 3.1

บัวแฉกจริงๆเกือบจะโพสต์มุมเดียวกับพี่นณณ์แล้ว ไปดูกระทู้เก่าปุ๊บ เปลี่ยนภาพดีกว่า

ปล. พิมพ์มหาสดำผิด แต่ระบบไม่ให้แก้ซะงั้น

ความเห็นที่ 4

พวกพืชดอก

ไข่ปู เหมือนไข่ปูน้ำจืดจริงๆ ว่านไก่แดง? น่าจะเป็นต้นพิศวง เสียดายไม่เจอดอก ต้นอะไรครับ ล่อผีเสื้อมากินน้ำหวานได้ดีเลย ต้นนี้คุ้นๆว่า คุณ aha หรือใครสักคนเอามาถาม ที่พันอยู่กับยอดมหาสดำด้วนๆ แล้วตกลงคือต้นอะไรครับ เป็นไม้ป่าหรือเปล่า

ความเห็นที่ 5

ปูในทริปนี้เจออยู่ 3 ชนิด แต่ยังมีปูในตำนานทั้งจากคำบอกเล่า และจากในรายงานเก่าๆให้ตามหากันอีก

ไม่แน่ใจว่าจะเรียกปูป่า หรือปูน้ำตก เนื่องจากออกมาอยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำไหลเลยครับ Stoliczia sp. หนึ่งในเป้าหมายที่ไปตาม Phricotelphusa aedes ปูชนิดนี้ ไม่รู้จักชื่อไทยครับ แต่ละที่ที่เจอก็ไม่ได้อยู่ในแหล่งน้ำไหลเลย เพิ่งได้เจอะเจอกันครั้งแรก อีกหนึ่งที่ไปตามหา ปูแสมภูเขาใต้ Geosesarma cf. foxi

ความเห็นที่ 6

พวกขาข้อบนบกกันบ้าง เริ่มจากกลุ่มตะขาบ กิ้งกือ
เจอเป็นซากอยู่ เลยถ่ายมาฝากคุณตะขาบยักษ์ครับ กิ้งกือกระบอกขนาดพอโต เทียบกับมือ กระบอกอีกชนิด ทั้งสองกระบอกไม่ชอบขดม้วนตัว เจ้าตัวนี้หนักหน่อย ชอบดิ้นตวัดหาง เจ้าหลังแบน บางทีเรียกกิ้งกือเหล็ก อาจจะอยู่ในสกุล Platyrachus

ความเห็นที่ 6.1

ขอบคุณครับสำหรับของฝากเป็นตะขาบชนิด Scolopendra subspinipes dehaani น่าจะตายเองเหมือนจะบวมน้ำตาย อาจจะเคยตกน้ำมาก่อน ดูจากขาแห้งหลุดแล้วแต่ตัวยังบวมดูสดใสอยู่

ความเห็นที่ 6.2

กิ้งกือกระบอกนี้ ที่ไม่ขดม้วนตัว แต่ดิ้นพล่านแทน มีสาเหตุมาจากว่ามันเป็นตัวผู้ครับ น้องที่จุฬาฯที่ทำกิ้งกือกลุ่มนี้บอกมาอีกที

ความเห็นที่ 6.2.1

เรานึกว่ามันมันพยายามจะพลิกตัวให้คว่ำลง จะได้เดินสะดวกซะอีก

ความเห็นที่ 7

แมงมุม ได้ถ่ายมาแต่เจ้าขายาวกลุ่มเดียวกับขายาวบ้าน




ไม่แน่ใจว่าชนิดใหน อาจจะคนละตัวกับขายาวบ้าน สีสันเป็นฟอร์มนี้ทั้งหมด ซึ่งเคยเห็นในป่าที่อื่นมาเหมือนกัน

ความเห็นที่ 8

มะลง แมลง
แมลงปอหาหาตัวไม่ค่อยเจอ เจอแต่ไอ้โม่งตัวโตๆ แต่ลืมถ่ายรูปมาฝาก

ตัวอะไรหว่า นี่ก็หางแนวหนีบๆ แมลงปอตามที่โล่งเจอก็แต่ตัวนี้ ตัวนี้ก็คงเป็นแมลงปอเข็มน้ำตกพันธุ์จีนอีกตามฟอร์ม แต่สีมันทึมๆ ไม่ค่อยสดใส อาจจะเพราะสภาพมืดในลำธาร

ความเห็นที่ 8.1

แมลงปอตัวแรก แมลงปอบ้านแผ่นปีกกว้าง Pantala flavescens ตัวเมียครับ 
ตัวที่สอง เป็น แมลปงอเข็มน้ำตกใหญ่หน้าขาว Echo modesta ตัวเมียครับ
ตัวอ่อนตัวใหญ่ๆ เดาไว้เลยว่าคงเป็นของแมลงปอยักษ์ไม่ก็แมลงปอเสือครับ อยากเห็นเป็นที่สุด 

ความเห็นที่ 8.1.1

แป่วเลย เดาผิดทั้ง 2 ตัว แฮ่ะๆ

ความเห็นที่ 8.1.1.1

อย่างที่ว่ามาถูกแล้วนะขอรับ แมลงปอบ้านแผ่นปีกกว่าง เจอบินในที่โล่งๆบ่อยมากครับ พบทั่วประเทศเลยครับ

ความเห็นที่ 9

ด้วงๆ

สงสัยจะกว่างสามเขาจันท์ Chalcosoma caucasus เหมือนของพี่นณณ์ ด้วงเต่า? แดงดำ ด้วงคีม?

ความเห็นที่ 9.1

#1 กว่างสามเขาจันท์ Chalcosoma caucasus เพศเมีย
#4 ด้วงคีมร่องขนานใหญ่ Aegus parallelus เพศผู้

รอลุ้นตั้งนานแหน่ะครับว่าจะมีด้วงมั้ย(ฮา)
เห็นแล้วอยากไปจริงๆครับ

ความเห็นที่ 9.1.1

ทำไมผมขึ้นไปไม่เจอพวกคีมเลย

ความเห็นที่ 9.1.1.1

มันมาป้วนเปี้ยนแถวที่พักน่ะ

ความเห็นที่ 9.1.1.1.1

ตัวสุดท้ายหาไม่ง่ายนะครับนั่น แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปครับ.

ความเห็นที่ 10

ผีเสื้อ และแมลงอืนๆ

เหมือนใบไม้แห้งมาก เห็นมันร่วงลงมา มอธตัวนี้เข้ามาที่ที่พัก ตัวนี้ก็ที่พัก ? ตั๊กแตน ? แมลงสาบป่า บนต้นนี้เจอหลายตัวเลย แมลงกิ่งไม้ หน้าตาออกแนวเพลี้ย แต่ตัวโต

ความเห็นที่ 10.1

ภาพสุดท้าย เป็นเพลี้ยในวงศ์ Cercopidae ชื่อไทยไม่แน่ใจ แต่ผมกับน้องๆ เรียกกันว่า เพลี้ยกบ   ชื่อสามัญคือ froghoppers หรือ spittlebugs ครับ

ความเห็นที่ 11

หอยที่นี่เจออยู่สัก 11 ชนิดเห็นจะได้

หอยเวียนซ้าย Dyakia sp. ไม่ค่อยมั่นใจชนิดครับ รอผู้เชียวชาญดีกว่า หอยเขี้ยวอะไรนี่แหละ จำไม่ได้ แฮ่ะๆ หอยห่อเปลือก ไม่ทราบชนิด ทากดินแปลกๆ ตัวสีดำเลียนแบบใบไม้แห้งที่เก่าจนเป็นสีดำ โผล่ตามาแล้ว เทียบขนาดกับมือครับ แล้วก็มีตัวสีเหลือง ที่แบ่งพื้นที่กับตัวสีดำชัดเจน ไม่เห็นมีปะปนกัน กลุ่มทากตัวสวยๆ

ความเห็นที่ 11.1

ทากสวยมากและหลากหลายมากเลยครับ ชอบบบบๆๆ

ความเห็นที่ 11.1.1

ต้องรอท่านหอยทากชรา ใน 11 ชนิดน่าจะมีภาพครบ

ความเห็นที่ 11.2

มาชมหอย ครับ
ตัวาสุดท้ายเดาว่าน่าจะเป็นพวก Meghimatium

ความเห็นที่ 11.3

เข้ามากรี๊ดดดๆๆ...ทาก งามมากครับท่าน

ความเห็นที่ 12

worm
หนอนตัวแบนบนต้นไม้ ผู้รับบริจาคเลือด เจ้าตัวนี้กินจนอิ่มอยู่ใต้ตาตุ่มแบบไม่รู้สึกตัวเลย รู้ตัวอีกทีก็ใต้เท้าเหนอะหนะด้วยเลือดข้น เอามาถ่ายรูปเสร็จก็ปล่อยไปข้างทาง กลัวหนีไม่ทันมีการอ๊วกเลือกออกมาอีก

ความเห็นที่ 12.1

มีไส้เดือนที่ชอบโดดดีดตัวหนีด้วย แต่ถ่ายภาพไม่ทันครับ มันไวมาก สงสัยอยู่ว่า จะเป็นพวกไส้เดือนผู้ล่า ที่กินไส้เดือนอื่นเป็นอาหาร

ความเห็นที่ 13

Amphibian

ปาดตีนเหลือง (ตัวไหน) ปาด Polypedates sp. ไม่แน่ใจเหมือนพี่นณณ์ จงโคร่ง? อึ่งกรายหัวมน ปาดแคระ Philautus sp. ?

ความเห็นที่ 13.1

ขอลองวัดความรู้ตัวเองนะครับ

#2 ปาดบ้าน Polypedates leucomystax
#3 ตัวนี้ผมก็สับสนกับคางคกแคระอยู่ครับ แต่ขอตอบจงโคร่ง Phrynoidis aspera เพราะต่อมพิษกลมๆครับ.

ความเห็นที่ 13.1.1

ตัวแรก ปาดตีนเหลือง Rhacophorus bipunctatus ครับ สีปกติ

*3. จงโคร่งถูกแล้วครับ ต่อมพิษกลมอยู่ด้านบนหัว แล้วลองดูทรงหัวด้วยนะครับ แยกจากคางคกอื่นแน่นอน

ตัวสุดท้าย ปาดแคระ Philautus parvulus เพศผู้ครับ 

ความเห็นที่ 13.1.1.1

งั้นปาดแคระตัวนี้ก็ไม่ยกเว้นภาคใต้อย่างในหนังสือแระ

ความเห็นที่ 13.1.1.1.1

ในภาคใต้พบบนภูเขาสูงครับ อนาคตอาจแตกชนิดออกมาอีกก็ได้นะ

ความเห็นที่ 13.2

ปาดตัวฟ้า ตีนเหลือง งามโฮก  ^^

ความเห็นที่ 14

Reptiles
เริ่มจากจิ้งจกเบลอๆ G. mutilata ? ตื่นคนตื่นแฟลช เลยได้แค่ภาพเดียวนี้ ตุ๊กกาย บ้านพักที่เจอก็เจอเยอะไปหมด ไปชุมนุมกันทีเดียว กิ้งก่า น่าจะไข่กิ้งก่าเขียว งูกินทาก เป็นงูชนิดเดียวที่เจอในทริปนี้

ความเห็นที่ 14.1

งูเป็นดงคาทอง ครับ Boiga drapiezii 

ความเห็นที่ 14.1.1

เปิดหนังสือดูตัวนี้อยู่เหมือนกัน แต่ลืมไปแล้วว่าตอนเปิดคิดว่าเป็นตัวไหน แฮ่ะๆ เลยมาลงเป็นกินทากซะงั้น

ความเห็นที่ 15

เอาภาพวิวมาปิดท้ายอีกทีครับ
ทะเลเมฆ ขุนเขา ต้นไม้ห่มผ้า ป่าเมฆ มอสชะอุ่ม ป่าเมฆ ดงมหาสดำ

ความเห็นที่ 15.1

อุดมสมบูรณ์ดีทีเดียว

ความเห็นที่ 15.2

งามขนานักแลพี่ โดยเฉพาะภาพวิวทะเลเมฆ  ^___^

ความเห็นที่ 16

มหาสดำริมทาง และลำธารต้นน้ำที่ร่มครึ้ม

จบชุดของผมแล้วครับ อาจจะมีชุดของท่านหอยทากชรามาเพิ่มเติมต่อไป

วิวริมทาง ท่านหอยทากชรากำลังก้มหาหอยทาก เทียบกับต้นมหาสดำ ลำธารเล็กๆส่วนต้นน้ำที่เต็มไปด้วยต้นมหาสำ (ลำต้นดำๆนั่นก็ใช่)

ความเห็นที่ 16.1

ลำธารต้นน้ำนี่แหละ  อยากไปเดินสุด ๆ

ความเห็นที่ 16.1.1

ไว้ไปอีกเมื่อไหร่ พาไปเดินกลางคืนด้วยละกัน

ความเห็นที่ 17

มีครบทุกรสชาติ เต็มอิ่มเลย

ความเห็นที่ 18

เห็นภาพแล้วลงไปแดดิ้น อยากไปสัมผัสคร้าบ

ความเห็นที่ 19

อยากไปถ่ายป่ามหาสดำมากๆๆ

ความเห็นที่ 20

เป็นทริปที่น่าสนใจมากๆ ครับพี่
สู้ๆ นะครับ ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ  ^_______^

ความเห็นที่ 21

เขาไหนครับเนี่ย กรุงชิงเหรอครับ

ความเห็นที่ 22

ปาดสีฟ้าสวยง่า

ความเห็นที่ 23

ธรรมชาติบำบัด ไม่ว่าเรื่องอะไรก็หวังว่าจะผ่านไปด้วยดีครับ

ความเห็นที่ 24

ทริปล่าสุดนี่ เจอสุสานหอยที่คิดว่าอยู่ในมหายุคพาลีโอโซอิค รอติดตามชมกันครับ กลับไปจะรีบหาเวลาโพสต์