กำลังลองทำวิจัยข้อมูล พรรณไม้ และสัตว์ต่างๆในพื้นที่ภาคกลาง สมัยอยุธยาตอนปลาย จะเริ่มยังไงดี

Comments

ความเห็นที่ 1

ลองอ่าน
- นิโกลาส แชร์แวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม.  เป็นบันทึกฝรั่ง ในปลายอยุธยา

- หรือ ภาพสยามของ อองรี มูโอต์ ประมวลภาพลายเส้นเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ จากหนังสือ Travel in the Central Parts of Indo-China(Siam,Cambodia,and Laos during the Years 1858,1859 and 1860 ฝีมือ เมอสิเออร์ อองรี มูโอต์ (M. Henri Mouhot) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส  ที่ได้พรรณนาเรื่องเมืองไทยและดินแดนใกล้เคียงเช่น ลาว และกัมพูชา  ถึงแม่ว่าจะสำรวจสมัย ร.4 แต่สภาพสัตว์ป่า คงไม่ต่างจากสมัยอยุธยาตอนปลายนัก  แต่ระวัง  ภาพเหล่านี้  ผ่านจินตนาการชาวต่างชาติ

นึกออกจะมาบอกอีก



 

ความเห็นที่ 2

อยากอ่านครับพี่ ผมไม่มีแบบนี้ในชั้นหนังสือเลย

ความเห็นที่ 3

พวกหนังสือต้นฉบับเก่าๆของฝรั่งลองดูใน google book น่ะ บางทีเขาแสกนเป็น pdf ไว้ให้โหลดฟรี

ความเห็นที่ 4

ความเห็นที่ 4.1

อ่านไม่ออก blush

ความเห็นที่ 4.1.1

ให้อากู๋แปลเป็นภาษาอังกฤษให้อีกที

ความเห็นที่ 4.2

จะ load อย่างไรให้ได้เป็นสี ลอง laod แล้วได้ภาพขาวดำ

ความเห็นที่ 4.2.1

อ้อ ผมไม่ได้สังเกตเลยครับ ว่าในนี้เป็นสี แต่ pdf ที่โหลดมาเป็นขาวดำ เพิ่งได้ย้อนไปดูตอนคุณ Amphidromus บอกเลยครับ

ความเห็นที่ 5

โฮ๊ะ..งานยากเหมือนกันนะเนี่ย แฮะๆ

ความเห็นที่ 6

ลองอ่านนิราศต่างๆครับ ของท่านสุนทรภู่บรรยายสัตว์ต่างๆที่พบระหว่างทางไว้เยอะเหมือนกัน

ความเห็นที่ 7

ผมคิดว่า ชนิดพรรณพืชและสัตว์ตอนนั้นกับตอนนี้ก็เหมือนกันนะครับ แต่ที่สำคัญต้องเป็นพืชพื้นเมืองของไทย (อาจจะมีพืชปลูก หรือสัตว์เลี้ยงที่นำเข้ามาอยู่บ้าง ถ้าเป็นตามชุมชนนะครับ)
ส่วนระบบนิเวศแถบภาคกลางก็คงมีลักษณะเหมือนๆกัน น่าจะขึ้นกับว่า
เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง หรือที่ดอน ผมว่าลองดูหนังสือ ป่าไม้ของประเทศไทย
 
ของกรมป่าไม้ดูครับ

ความเห็นที่ 8

สมัยนั้นอาจจะมีพรรณพืช/สัตว์ป่าชายเลนที่หลงตกค้างอยู่เยอะกว่าสมัยนี้นะครับ

ความเห็นที่ 8.1

ในสมัยนั้น  สัตว์ป่าอย่าง ละมั่ง หรือ สมัน น่าจะเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ง่ายมาก  
ส่วนพวกสัตว์เล็กๆคงตามสืบยากครับ เพราะไม่เป็นที่สนใจของผู้คนเท่าไหร่
เอาแค่พวก"นก"หลายๆชนิด เรายังไม่รู้เลยว่า มันเคยมีชื่อภาษาไทยมาก่อนด้วยหรือไม่? เช่น นกคัคคูต่างๆ(ยกเว้นนกดุเหว่า) นกปีกลายสก๊อต(ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อที่ใช้เรียกมันในสมัยโบราณแน่ๆ)

ความเห็นที่ 9

ภาพวาด จิตกรรมตามวัด ตามถ้วยชามต่างๆ หนังสือสมุดไทยในหอสมุดแห่งชาติ หรือไม่ก็จากเอกสารของต่างชาติ ตามที่หลายท่านแนะนำ

ความเห็นที่ 9.1

ไทยเราไม่มีธรรมเนียมวาดภาพเหมือนจริงนะซิครับ  เพิ่งมาเริ่ม ๆ สมัย ร.3-4 นี่เอง

ความเห็นที่ 9.1.1

ภาพวาดที่ปรากฏคงไม่ใช่ภาพเหมือนจริง แม้แต่จองฝร่งที่วาดเหมือนก็ไม่ค่อยเหมือนสักเท่าไหร่ แต่ภาพเหล่านี้พอจะให้ idea เรื่อง diversity ของสัตว์หรือพืชกลุ่มต่างๆ ได้ และก็เทียบเคียงกับจากชื่อสามัญในท้องถิ่น ตามตำนาน พงศาวดาร ต่างๆ เอาก็น่าได้ประโยชน์ไม่น้อย อย่างน้อยก็พอจะทราบในระดับวงศ์หรือสกุลก็เป็นได้ (ไม่เคยลองครับ ยังไม่เคยเจอ) มันคงต้องมีหลักฐานหลงเหลือและเชื่อมโยงกันได้บ้าง เป็นจุดบรรจบของวิทยาสาสตร์และประวัติศาสตร์ น่าสนใจมากๆ ผมเคยได้ยินว่าท่าน ศ ทศพร สามารถ identified ปลาจากนิราศของสุนทรภู่ได้ อะไรประมารนี้ครับ
ทำต่อนะครับน่าสนใจจริงๆ

ความเห็นที่ 10

ผมขอเสนอความคิดอีกทีนะครับ (เฉพาะด้านพืชนะครับ)
1.พืชที่พบกระจายทั่วไปในภูมิภาค
2.พืชที่พบเฉพาะระบบนิเวศแบบภาคกลางของไทย (น่าจะมีในหนังสือป่าไม้เมืองไทย ของดร.ธวัชชัย สันติสุข)
3.พืชที่พบเฉพาะถิ่นแถบลุ่มแม่น้ำภาคกลางครับ (พวกหนังสือพืชหายาก พืชเฉพาะถิ่น)
แล้วเอา 3 ส่วนนี้มีรวมกันครับ