เยื่อนสถานที่โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ > แก่งลานนกยูง

ไปทำงานที่กำแพงเพชร พอดีได้ข่าวว่ามีการปลุกผีโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เลยแวะเข้าไปเยี่ยมชมเสียหน่อย บริเวณแก่งลานนกยูง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ชื่อไม่ดังของจังหวัด เป็นรอยต่อของนครสวรรค์และกำแพงเพชรครับ ทางสะดวกลาดยางจนเกือบจะถึงแก่งเลยทีเดียว แดดจ้าน้ำใสดีแต่ก็ติดเหลืองๆตามสไตล์น้ำแถวนั้นครับ เริ่มจากดูวิวด้านบนก่อนก็แล้วกัน สวยงามมาก คงน่าเสียดายมากถ้าพวกนี้จะต้องจมอยู่ใต้น้ำ

These pictures were taken from Larn Nok Yoong Rapid, Mae Wong National Park, Kamphaengphet Province, in lower Northern Thailand.  There is a proposed dam project at this very site and I was there to see what we -and the future generation- would missed if the dam (kidda small ineffective dam for irrigation and flood control) is being built.  I'm against building dam in the middle of so pristine forest like this and will fight til the end to stop it.  

Comments

ความเห็นที่ 1

ปลาไม่หลากหลายอย่างที่คิด แต่มีจำนวนมากทีเดียว คาดว่าเจ้าตัวดีที่ทำให้ความหลากหลายน้อยคงเป็นเจ้าปลากระสูบ ซึ่งเป็นปลาล่าเหยื่อที่ค่อนข้างปราดเปรียว มีเยอะและเชื่องมาก ว่ายตามคอยให้เราทำหินพลิกเพื่อคอยตามเก็บกินแมลงและสัตว์น้ำเล็กๆที่หลบอยู่ข้างใต้ แทบจะต้องคอยปัดออกเลยทีเดียว
็Hampala macrolepidota Hampala macrolepidota

ความเห็นที่ 2

อีกชนิดที่พบบ่อยคือปลาบัว ตัวนี้จิกกินตะไคร่น้ำและสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร เผลอๆมันก็มาตอดขนหน้าแข้งด้วยเลย เป็นปลาที่ดุมาก ไม่สามารถนำมาเลี้ยงในตู้เล็กๆร่วมกับปลาชนิดใดๆได้เลยครับ สำหรับเจ้าพวกนี้
lobocheilus.jpg lobocheilus2.jpg lobocheilus3.jpg

ความเห็นที่ 3

ปลาเล็กน่ารักๆ ปลาค้อลายแถบ พวกนี้หลบอยู่ใต้หิน เพราะกลัวปลากระสูบ จะออกมาเฉพาะบริเวณแก่งน้ำตื้นๆที่ปลากระสูบไม่เข้ามา ต้องนอนตะแคงถ่าย น้ำเข้าหูทรมานทรกรรมพอสมควร
์Nemacheilus binotatus nemacheilus_binotatus1.jpg

ความเห็นที่ 4

ชนิดนี้ชอบแก่งตามธรรมชาติ เลียหินลายแถบ กินตะไคร่น้ำและสัตว์เล็กๆที่เกาะติดตามพื้นผิว เป็นชนิดที่กระจายพันธุ์กว้าง และพบได้บ่อยครับ
Garra cambodgiensis garra_cambodgiensis1.jpg garra.jpg

ความเห็นที่ 5

ตะพาก (ชนิดไหนครับ?) เจอตัวใหญ่ๆหลายตัว แต่ค่อนข้างตื่น นอนดักได้ตัวกลางๆมา
hypsibarbus.jpg hypsibarbus1.jpg hypsibarbus2.jpg

ความเห็นที่ 6

ปลาซิวสกุล Rasbora ชนิดใดครับ?  พวกนี้หลบมุมอยู่ตามแอ่งเล็กๆ

ตะเพียนน้ำตกตัวแบบนี้ เปลี่ยนชื่อจนผมงงแล้ว
rasbora.jpg rasbora1.jpg puntius.jpg pristolepis.jpg

ความเห็นที่ 7

อย่างอื่นที่อยู่ใต้น้ำบ้างครับ
หอยเชอร์รี่มาแล้ว ตัวนี้ถ่ายเสร็จก็จับโยนขึ้นบกไป อโหสิกรรมให้ด้วยนะ สองฝา ฟองน้ำน้ำจืด สีเขียวสวยเชียว

ความเห็นที่ 7.1

กรี๊ดดดดดดดด กับฟองน้ำแสนสวย

ความเห็นที่ 7.1.1

รอบๆ นี่เป็น blue-green มันน่าจะเขียวจากตัวนี้แหล่ะพี่จูน ฮิฮิ

ความเห็นที่ 7.2

ชักจะสนใจถ่ายใต้น้ำกะเขามั้งละ

ความเห็นที่ 7.3

จริงๆต้อง ตื้บ....ด้วย เดี๋ยวมันก็คลานกลับลงมาอีก พวก IAS นี่ทนชิบ..เหมือนนักการเมืองเลวๆ ที่ตายยาก อายุก็ยืนอีก

ความเห็นที่ 8

ที่ริมน้ำ
ตัวนี้เห็นบ่อยและ แต่จำชื่อไม่ได้หรอก แมลงปอเสือดำ? ไก เก็บมาฝากเจ้าพ่อตะไคร่น้ำ เป็นเฟิร์นที่ทนแล้งได้ดีจริงๆครับ สวยดีด้วย

ความเห็นที่ 8.1

แมลงปอเข็มน้ำตกใหญ่จีนตัวเมีย Neurobasis chinensis  กับแมลงปอบ้านเสือลายเขียว Orthetrum sabina sabina เป็นแมลงปอบ้านไม่ช่แมลงปอเสือ ส่วนเฟินน่าจะเป็นเฟินหางนาคบก Adiantum caudatum ทนแล้งได้ดีบนหินร้อนๆ ยังทนได้ แต่ถ้าแล้งจัดก็พักตัว (บนก้อนหินกนกนารีแห้งไปแล้ว แต่ยังมีเฟินผักปีกไก่ Pyrrosia adnascens ยังสดอยู่

ความเห็นที่ 8.2

อันนี้ไกครับ กุล Cladophora เส้นจากหยาบสากไม่เหมือนกับเตาที่มีเมือก 
กลายเป็นเจ้าพ่อตะไคร่น้ำไปแล้วเรา 555 เปลี่ยนขื่อ user ดีไหมเนี่ย กรั่กๆ

ความเห็นที่ 9

พักสายตา กับวิวสวยๆและรอยตีนนาก เจ้าหน้าที่ว่ามีมาก สังเกตเป็นหาดในภาพจะมีรอยเท้าและรอยลากหาง (นากเดินบนทรายมีรอยลากหางไหมครับ?) แต่รอยบนทรายมันไม่ชัด มาเจออยู่บนโคลนไม่ห่างนัก ดูจากหนังสือแล้วน่าจะเป็น นากใหญ่ขนเรียบ Lutra perspicillata ส่วนตัวของมัน สาบานว่าเห็นแว่บหนึ่ง ไม่รู้ว่าอุปทานหรือเปล่า แต่ต้องมีแก้มือแน่นอน สำหรับนาก
beachrock.jpg watermark.jpg ลอยเท้านาก จากขนาดน่าจะเป็น ใหญ่ขนเรียบ

ความเห็นที่ 9.1

นากก็เดินลากหางครับ

ความเห็นที่ 10

ต้นไม้บางครับวงศ์กระดังงาแน่ๆต้นนี้แต่ชนิดใด?  ได้มาทั้งดอกทั้งผล
anno_fruit.jpg anno.jpg anno1.jpg

ความเห็นที่ 10.1

น่าจะเป็น

Polyalthia cerasoides (Roxb.) Benth. & Hook. f. ex Bedd.

ครับ

ความเห็นที่ 10.1.1

เห็นด้วยครับ ผมกำลังแยกออกมาเป็นสกุลใหม่ โดยใช้ DNA taxonomy, สัญฐานวิทยา และเรณูวิทยาครับ

ความเห็นที่ 11

โมกหลวง กับ โมกมัน แยกไม่ออกครับ ต้นนี้ชนิดใด? 
writhia.jpg writhia1.jpg ฝาก ID กล้วยไม้อีกต้นครับ

ความเห็นที่ 11.1

น่าจะเป็นพวกโมกหลวงครับ (สกุลนี้เกสรเพศผู้มักไม่โผล่พ้นหลอดดอก ไม่เหมือนสกุลโมกหรือโมกมันครับ)

ความเห็นที่ 11.1.1

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 11.2

กล้วยไม้คือ เอื้องผึ้ง Dendrobium lindleyi ครับ

ความเห็นที่ 11.2.1

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 12

น่าสนใจมาก ว่างๆ ต้องเข้าไปดูบ้างแล้วหละ

ความเห็นที่ 13

สัตว์ปีกบ้าง
ไก่ป่า กระแตแต้แว๊ดหาด!! เดี๋ยวหาว่าเรามาไม่ถึงแก่งนกยูง น่าจะเป็นนกปล่อย แต่ไม่เชื่องเท่าไหร่ครับ นกยูงไทยแท้นิ คอเขียวจุดตั้งเชียว ตัวหางยาวดันเจอตอนเย็นพระอาทิตย์จะตกซ่ะแล้ว แถมสี่ขาไปตัว กระรอกท้องแดง

ความเห็นที่ 14

สรุปว่าปลาน้ำจืดมีความหลากหลายไม่มากนัก แต่มีจำนวนหนาแน่น ดำสำรวจพบอยู่
1. กระสูบขีด
2. ตะพาก (ชนิดใด?)
๓. ตะเพียนขาว
๔. ค้อ Nemacheilus binotatus
๕. ค้อ Schistura sp. เจอแต่ตัวเล็กๆ ถ่ายภาพไม่ได้ จำแนกไม่ออก
๖. กระทิงลาย
๗. หมอช้างเหยียบ
๘. ปลาบัว
๙. ปลาเลียหิน
๑๐. ปลากระทุงเหว
๑๑. ปลาน้ำหมึกโคราช (ชื่อวิทย์มัน koratensis แต่เอาจริงๆเจอทั่วประเทศ)
๑๒. ปลาตะเพียนน้ำตก
๑๓. ปลาซิวควายน้ำตก

ปิดกระทู้ด้วยภาพนี้ครับ ลองนึกภาพ ว่าถ้าได้นั่งกับคนที่คุณรักตรงนี้ มันจะมีความสุขแค่ไหน?  นี่มันโต๊ะกินข้าวที่มีทำเลดีที่สุดในประเทศไทยตัวหนึ่งเลยทีเดียว อีกสองอาทิตย์ว่าจะพาครอบครัวไปเที่ยวครับ
beachview.jpg

ความเห็นที่ 14.1

Heaven ชัดๆ กูอยากไปม่างงงงงงงง

ความเห็นที่ 15

Building dams is old technology that doesn't fit with 21st century innovation.

ความเห็นที่ 16

ภาพใต้น้ำงาม ^^

ความเห็นที่ 17

ตะพาก Hypsibarbus vernayi (Norman 1925)
บัว Lobocheilos rhabdoura (Fowler 1934)
ซิวควาย Rasbora paviana Tirant 1885
ค้อแถบ Nemacheilus binotatus Smith 1933
กระสูบ Hampala macrolepidota Kuhl & van Hasselt 1823
ตะเพียนน้ำตก Puntius rhombeus Kottelat 2000
น้ำหมึก Barilius koratensis Smith 1931
เลียหิน Garra cambodgiensis (Tirant 1883)

ความเห็นที่ 18

กะทุงเหว Xenentodon canciloides (Bleeker 1854)
หมอช้างเหยียบ Pristolepis fasciata (Bleeker 1851)
กะทิงลาย Mastacembelus favus Hora 1924
ตะเพียนขาว Barbonymus gonionotus (Bleeker 1849)
เอื้องผึ้ง Dendrobium lindleyi Steud 1840

ความเห็นที่ 19

เห็นแล้วก็นึกถึงทริปของตัวเองที่ผ่านๆมา เจอแหล่งน้ำใสตื้นๆ กับปลาเยอะๆ แต่ไม่มีกล้องสำหรับถ่ายภาพใต้น้ำกับเขา เสียดาย
ล่าสุดก็อยากถ่ายปลาบู่สุรินทร์ ว่ายไปมาอยู่ในลำธารตื้นๆ พยายามถ่ายจากข้างบนมาบ้าง แต่ไม่เวิร์คเท่าไหร่

ความเห็นที่ 19.1

พี่ไปเกาะสุรินทร์มาหรอครับ อยากรู้ว่าปลาดุกกับปลานิลมันยังมีเยอะอยู่หรือเปล่า?

ความเห็นที่ 20

ไม่อยากให้ทำเขื่อนเลย

ความเห็นที่ 21

ท่านนณณ์ post ชื่อไทยบ้างดิท่าน สงสารคนความรู้น้อยหน่อยนะ

ความเห็นที่ 21.1

yes



cheeky

ความเห็นที่ 21.2

ชื่อไทยก็มีอยู่ที่เนื้อหาหัวกระทู้ทุกชนิดที่รู้แล้วนี่วุ้ย แล้วก็มีมาสรุปอีกทีข้างล่างด้วยนะ

ความเห็นที่ 21.2.1

อ่ะ ไม่ทันเห็นแฮะ ดูแต่ท้ายรูป 555

ความเห็นที่ 22

เรียน ดร.นณณ์
เนื่องจากมูลนิธิเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะจัดเสวนา “ความสวยงามและคุณค่าของป่าแม่วงก์และป่าแม่ยม” ในวันที่ 22สิงหาคมนี้
เพื่อสร้างบรรยากาศของการเสวนาจึงจัดให้มีการแสดงภาพ เกี่ยวกับแม่เรวา-แก่งลานนกยูงจังหวัดนครสววรค์ และภาพป่าสักแม่ยม แก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ ในงานไม่มีการประกวดหรือให้รางวัล
และจัดแบบเรียบง่าย โดยให้แขกได้แสดงคสามเห็นต่อภาพที่แต่ละท่านประทับใจมากสุด  ผมได้ดูภาพในบทความ "เยือนสถานที่โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ แก่งลานนกยูง" แล้ว รู้สึกว่าเป็นภาพธรรมชาติที่มีความสวยงามมาก หากดร.นณณ์ ยินดีส่งภาพมาร่วมแสดงในงาน
จะขอขอบคุณอย่างยิ่ง  (สามารถส่งมาได้หลายภาพและกรุณาตั้งชื่อของภาพและผู้ถ่ายมาด้วยครับ)
ขอขอบคุณ
เกษม
โทร081-4847733
e-mail:kasem@thinkdd.com