วิกฤตหนัก!ชาวบ้านแห่ใช้สารเคมีจับกุ้ง



วิกฤตหนัก!ชาวบ้านแห่ใช้สารเคมีจับกุ้ง

แม่น้ำบางปะกงวิกฤตหนัก หลังชาวบ้านแอบใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเทลงแม่น้ำเพื่อจับกุ้งก้ามกราม บางรายซื้อไปบริโภคเกิดอาการแพ้ยา-อาเจียน วอนผู้เกี่ยวข้องแก้ปัญหา

 

                       7 มิ.ย.55 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในเขตอำเภอบางคล้าว่า มีกลุ่มชาวบ้านจำนวนมาก ที่จับสัตว์น้ำในแม่น้ำบางปะกงโดยเฉพาะกุ้งก้ามกราม ด้วยวิธีลักลอบใช้สารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืช เทลงแม่น้ำลักษณะเหมือนเบื่อยา เมื่อกุ้งก้ามกรามได้กลิ่นหรือสัมผัสกับตัวยาจะเกิดอาการเมายา แล้วลอยตัวหนีเข้าตลิ่ง ก่อนใช้มือจับได้อย่างง่ายดาย บางตัวสัมผัสกับยามากเกินไปก็นอนตายอยู่ใต้น้ำ สร้างผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำตัวเล็กที่ลอยตาย



ส่วนชาวบ้านที่ใช้วิธีจับกุ้งแบบนี้ จะใช้เรือเล็กติดเครื่องยนต์เป็นพาหนะ จะได้กุ้งก้ามกรามครั้งละ 5-10 กิโลกรัม จากนั้นนำไปขายให้พ่อค้าแม่ค้า ในตลาดสดหรือตามร้านอาหาร ในราคากิโลกรัมละ 250-300 บาท เคยมีผู้บริโภคซื้อไปเผาหรือย่างกิน เกิดอาการเมายา อาเจียน ต้องไปหาหมอก็มี และเป็นเช่นนี้มานานหลายปีแล้ว ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปดำเนินการอย่างจริงจัง หากปล่อยทิ้งไว้ อาจจะทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกุ้งก้ามกรามที่เคยชุกชุมในแม่น้ำบางปะกงอาจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้านี้

                       หลังได้รับข้อมูลผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปตรวจสอบ ที่บริเวณท่าน้ำวัดคุ้งกร่าง ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน สังเกตุเห็นชายคนหนึ่ง ซึ่งดับเครื่องลอยเรืออยู่อีกฝั่งตรงกันข้าม มีพฤติกรรม ลักษณะท่าทางตรงกันกับที่ได้ข้อมูลมาว่าเป็นชาวบ้านที่ใช้ยากำจัดศัตรูพืชเบื่อกุ้ง แต่เมื่อชายคนนั้นสังเกตเห็นผู้สื่อข่าว ก็รีบติดเครื่องเรือและขับหนีไปทางเกาะลัดอย่างรวดเร็ว

                       ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากชาวบ้านในตำบลบางตลาด อำเภอคลองเขื่อนคนหนึ่ง ที่มีประสบการณ์เคยใช้วิธีเทสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อจับกุ้งในแม่น้ำบางปะกง ว่า ยาที่ใช้ชื่อ เดซิส 3 มีชื่อสามัญว่า เดลทาเมทริน(DELTAMETHRIN) หาซื้อได้ตามร้านขายยากำจัดศัตรูพืชทั่วไป ราคาขวด 300 บาท มีคุณสมบัติเป็นสารไพรีทรอยต์ ที่มีความบริสุทธิ์ของสารออกฤทธิ์สูง ออกฤทธิ์เฉียบพลันทั้งถูกตัวตายและกินตาย กำจัดเพลี๊ยและหนอนได้กว่า 200 ชนิด มีกลิ่นเหม็นฉุนรุนแรง ไม่เป็นอันตรายต่อปลา ยกเว้นกุ้งและปูเท่านั้น ชาวบ้านที่ยึดอาชีพจับกุ้งก้ามกรามด้วยวิธีนี้ มีจำนวนไม่น้อย เรียกได้ว่าทั้งตลอดสองฝั่งแม่น้ำบางปะกงตั้งแต่อำเภอบางปะกงลงมาถึงอำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้าและอำเภอคลองเขื่อน วิธีการก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร เพียงแต่ไปซื้อยามาจากร้าน มีขวดเล็กใหญ่ตามความต้องการ เมื่อถึงเวลาน้ำขึ้นหรือน้ำลงก็จะพายเรือไปตามริมฝั่งแม่น้ำ หรือในคลองเพื่อดูพื้นที่ สำหรับการเทยาก็มีหลายวิธี คือ อาจจะเทยาใส่ภาชนะผสมกับน้ำเพื่อให้เจือจาง แล้วก็สาดลงที่ผิวน้ำ บางรายก็ผสมกับทรายสาดลงไปในน้ำ บางรายที่ต้องการผลเร็วก็เทยาจากขวดลงไม่น้ำเลย ปล่อยให้น้ำยาลอยไปตามน้ำที่ไหล ปล่อยระยะเละประมาณ 5-10 นาที โดยจะมีคนคอยจับกุ้งหรืองมกุ้งตามหลังมา หลังเทยาพักเดียว จะสังเกตุได้ว่า มีสัตว์น้ำตัวเล็กๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะกุ้งตะเข็บ กุ้งฝอยหรือปลาตัวเล็ก กระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำ บางตัวกระโดดขึ้นฝั่ง นอนตายก็มี ส่วนกุ้งก้ามกรามตัวใหญ่ ก็มีอาการเช่นเดียวกัน แต่จะใช้การคลานถอยหลังหนีเข้าฝั่ง คนที่งมตามหลังมาจะจับกุ้งเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย แต่มีบางตัวที่เมายาไม่มาก ก็ดีดตัวหนีไปในน้ำได้ทัน แต่หากเทยามากเพื่อหวังผลเร็ว แม้กุ้งตัวใหญ่ๆ หรือปูทะเล ก็ไม่สามารถคลานหนีเข้าฝั่งได้ ก็นอนตายอยู่ใต้น้ำ รวมทั้งสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดอื่นๆ ด้วย

                       “มีการเทยาจับกุ้งก้ามกรามในแม่น้ำบางปะกงไม่เว้นแต่ละวัน โดยจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนสถานที่สลับกันไป ส่วนพาหระที่ใช้นั้นเป็นเรือสองตอนเล็ก ติดเครื่องยนต์ และที่สำคัญต้องใช้ความระมัดระวังสังเกตุดูความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ หากพบเห็นเรือหรือ คนผิดสังเกตุ จะรีบทิ้งยา และกุ้งลงไม่น้ำแล้วขับเรือหลบหนีในทันที ที่ผ่านมาก็ไม่มีชาวบ้านคนไหนถูกจับกุมแต่อย่างใด มันง่ายและมีรายได้มากกว่าวีธีอื่นๆ ถ้าเราไม่ทำ คนอื่นเขาก็ทำเหมือนกัน” ชาวบ้านคนเดียวกันกล่าว

                       น.ส.อุไรวรรณ ผุยผันชาติ อายุ 26 ปี บ้านเลขที่ 247 ตลาดบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา กล่าวว่า เคยไปซื้อกุ้งก้ามกรามจากตลาดสด ครึ่งกิโลกรัม ราคา 200 บาท แล้วนำมาย่าง พอรับประทานไปได้ 2-3 ตัว โดยเฉพาะส่วนหัวของกุ้ง ก็เกิดอาการลิ้นชา ปากชา มึนงง ในที่สุดก็ต้องหยุดกินเพราะเริ่มอาเจียร และไปหาหมอในที่สุด โดยหมอบอกว่า กินอาหารที่มีสารเคมีจำพวกยาตกค้างเจือปนในกุ้ง พร้อมให้ยามารับประทานแล้วนอนพักผ่อน ส่วนกุ้งที่เหลือต้องนำไปทิ้งและไม่กล้ารับประทานต่อไปอีก เชื่อว่าอาการที่เป็นเพราะกินกุ้งเข้าไป

                       ด้านนายศักดิ์สิทธิ์ วิบูลสุข ประมงจังหวัดฉะเชิงเทรากล่าวว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจ ที่ผ่านมามีการเฝ้าระวังและตรวจจับ แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก สถิติการจับกุมน้อยมาก แต่มีชาวบ้านแจ้งเบาะแสมากกว่าจริง ว่าตรงไหน มีใครใช้ยาเทเบื่อกุ้ง ชาวบ้านที่ให้เบาะแสก็เกรงกลัวถูกทำร้าย ซึ่งเมื่อเราทราบข้อมูล ก็ใช้วิธีเจรจาขอร้องกันเท่านั้น ส่วนจับคาหนังคาเขาทำได้ยากมาก บางครั้งเราอกไปตรวจ พบแต่มีการทิ้งหลักฐานก่อนไปถึง ก็ไม่สามารถทำอะไรเขาได้ เขาก็อ้างว่า พายเรือผ่านมาเห็นกุ้งลอยน้ำก็จับใส่เรือ ส่วนยาที่ใช้ก็ไม่พบ สิ่งที่จะทำได้คือ การสร้างหรือปลูกจิตสำนึกให้แก่ชาวบ้าน ให้เห็นแก่สิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำ โดยเฉพาะกุ้งก้ามกรามที่ใช้วิธีจับที่ผิดกฎหมาย ได้ไปเพียงส่วนน้อยแต่ที่ตายไปเพราะยามีจำนวนมากกว่า กุ้งจำนวนมากตั้งท้องกำลังจะวางไข่ แต่มาถูกจับไปก่อน น่าเสียดายมาก

ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20120607/132220/วิกฤตหนัก!ชาวบ้านแห่ใช้สารเคมีจับกุ้ง.html

Comments

ความเห็นที่ 1

แล้วมันจะไปเหลืออะไร้ crying

ความเห็นที่ 2

นั่นสิพี่ 

ความเห็นที่ 3

หากินแบบวิบัติฉิบหาย คนซื้อไปกินป่วยเดี๋ยวก็เล่ากันปากต่อปาก แล้วก้ไม่มีคนซื้อกิน กรรมก็กลับมาสนองตัวเองจนลงๆ

ความเห็นที่ 4

ตัวเล็กตัวน้อยไปหมด...

ความเห็นที่ 5

"มันง่ายและมีรายได้มากกว่าวีธีอื่นๆ ถ้าเราไม่ทำ คนอื่นเขาก็ทำเหมือนกัน” ชาวบ้านคนเดียวกันกล่าว"

ความมักง่ายของคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ
เหี้ยจริงๆ ความโลภละโมภ สาวได้สาวเอาไม่รู้จักพอ

ความเห็นที่ 6

เลวได้ใจ

ความเห็นที่ 7

จังไรได้โล่

ความเห็นที่ 8

โง่ได้ถ้วย

ความเห็นที่ 9

เก็บไว้ให้ลูกหลาน บ้างเถอะครับ อนาคตจะเอาอะไรกิน 

ความเห็นที่ 10

ขอให้คนทำมันมอดม้วยตามกุ้งไป

ความเห็นที่ 11

จับได้ ก็เอายาเบื่อกุ้งให้มันลองกินดูบ้าง

ความเห็นที่ 12

"กูไม่ทำ คนอื่นก็ทำ" ได้ยินคำนี้ทีไร หายยนะทุกที  เซ็งจริงกับคนที่คิดอย่างนี้แมร่งเอ้ย

ความเห็นที่ 13

เหี้ยอย่างนี้ต้องยิงทิ้งอย่างเดียว ถ้าเป็นที่จีน จับได้ก็ติดคุกอยู่แค่ 4-5 วัน

ความเห็นที่ 13.1

 แต่ไทยรู้ว่าใครทำ ก็ไม่เห็นทำอะไร เหอๆๆ

ความเห็นที่ 14

ภาพมันน่ากลัวไปไหมคะ นั่น 

ความเห็นที่ 15

#14 แรงไปมั้ยอ่ะ

ความเห็นที่ 16

ในความคิดเห็นส่วนตัวของผมผมว่า ปัญหาแบบนี้มันเป็นปัญหาใหญ่ แก้ไขยากถ้าขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  มองในมุมหนึ่งชาวบ้านอาจจะมีฐานะยากจน ต้องหาเลี้ยงชีพจึงทำทุกทางที่จะได้เงิน ประกอบกับชาวบ้านบางคนอาจจะมีความรู้น้อย อาจจะคิดไปไม่ถึงว่าผลเสียตลอดจนผลกระทบในอนาคตที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร มาตามไล่จับทีละคนชาตินี้คงไม่หมดแน่ การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ผมว่าถ้าจะให้หมดไปจริงๆภาครัฐควรจะมาสนใจพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวบ้าน ไม่ใช่มาไล่จับอย่างเดียวอีกไม่นานปัญหามันก้เกิดขึ้นอีก หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาสนใจสอดส่องตรวจตรา ให้ความรู้ ปลูกฝังจิตสำนึกแก่ชาวบ้าน  

ความเห็นที่ 16.1

เป็นแนวคิดที่ดีครับ

คิดเร็วๆ นะครับ
ส่งเสริมให้ชาวบ้านแถบนั้นเลี้ยงกุ้งในกระชัง (มีการเลี้ยงแบบนี้หรือเปล่า?)
ถ้ากุ้งของเขาอยู่ในน้ำ เขาก็คงไม่เอายาเบื่อไปเทลงน้ำ
แถมยังจะคอยสอดส่องไม่ให้ใครทำแบบนั้นด้วย

สร้างจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของ แล้วเขาจะเลิกคิดที่จะตักตวง กอบโกยแต่เพียงอย่างเดียว

ความเห็นที่ 17

ถ้าจะจับจริงๆ ไม่น่าจะยาก
เอากุ้งที่ตลาดมาตรวจ ถ้าพบยา ก็สืบย้อนขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงผู้จับมาขาย
แต่ก็คงไม่มีใครคิดจะทำ

ความเห็นที่ 17.1

ส่วนน้อยครับที่จะตรวจพบจากร้านค้า เพราะยาเหล่านี้สลายได้เร็ว กรณีที่คนมาซื้อแล้วเกิดอาการ พอกลับมาที่ร้านแล้วตรวจสอบอาจตรวจไม่พบแล้ว การจับกุมจึงต้องใช้จับจากความผิดซึ่งหน้าเป็นหลัก ซึ่งก็ไม่ง่ายนัก