ป่าเหนือเมื่อหน้าดอกไม่บาน...

การไปป่าเหนือครั้งนี้มีเหตุโน้นนำจากการไปสัมมนาที่เชียงราย แล้ววางแผนไปขอนแก่นต่อ แต่มีเหตุที่ต้องเปลี่ยนแผนลอยลำทางเหนือต่ออีกสักระยะแล้วจึงไปงานทำบุญบ้านของยายข้าพเจ้าที่ลำปาง
เดิมทีก็จะหาโอกาสเดินเล่นที่เชียงราย แต่ด้วยโดนน้องฝน ลูกผู้มีอิทธิพลในขณะนั้นรั้งตัวให้ขลุกอยู่ในโรงแรม มีเวลาเพียงแว๊บๆให้ได้เห็นเดือนเห็นตะวันบ้าง จนมาวันหนึ่งต้องตัดสินใจทิ้งน้องฝนข้ามจังหวัดเผื่อพบโลกที่สดใสกว่า ณ แห่งนี้

ลป. ผู้มีอิทธิพลขณะนั้นชื่อ "VICENTE"

Comments

ความเห็นที่ 1

ระหว่างเดินทาง ก็ยังไม่เห็นน้องฝนจะตามมา ลยชะล่าใจแวะหาพี่สาวโรงเรียนพี่สักหน่อย ก็มีเด็กๆออกมาต้อนรับเล็กน้อย ตัวแรกแอบในรูเสาไฟ ตัวต่อไปหากินริมบ่อกบ
0-dscn0382.jpg 0-dscn0390.jpg

ความเห็นที่ 2

พอขึ้นดอยได้สักพัก ปรากฎว่าน้องฝนก็ตามมาพยายามรั้งตัวไว้อีก แต่..คราวนี้ไม่ยอมแล้ว เป็นไงเป็นกัน
ลำธารริมบ้านพัก น้ำเย็นน่าเล่นจริงๆ น้องฝน พาพี่หมอกมารั้งตัวไว้ แต่ไม่สำเร็จ

ความเห็นที่ 3

ยังไงก็รั้งไม่อยู่ เพราะ จนท.โชว์ภาพถ่ายจากมือถือให้ดู เป็นภาพกิจกรรมใหญ่สามัญประจำปีของเจ้าถิ่นบนดอยสูงนี้ แม้ฝนตก แต่เป็นไงเป็นกัน กล้องพังก็ซื้อใหม่ได้ แต่โอกาสที่เหมาะเจาะแบบนี้ไม่รู้ว่าจะเจออีกเมื่อไหร่

พอเข้าไปยังหมายก็...
จึ๋ยๆ อืม..ก็ไม่กี่ตัว มองไรเพ่.. ยังๆๆๆ ไม่ใช่แค่นี้

ความเห็นที่ 3.1

โหหห !!!!!

ความเห็นที่ 3.2

หึ้ยยยยยย... แอะๆ

ความเห็นที่ 4

เคยได้ยินแต่ต้นนารีผล แต่นี่..ต้นปาดผลหรือกระไร
ออกผลเต็มไปหมด โฟมไข่ใหญ่มากกก ไต่เรียงแถว โอ้ว...

ความเห็นที่ 4.1

อลังการสุด ๆ

ความเห็นที่ 4.2

กรี๊ดดดดดดดด

ความเห็นที่ 4.3

โอ้โห นี่มันปาร์ตี้ชัด ๆ 

ความเห็นที่ 4.4

มันเยอะมากกกก

ความเห็นที่ 5

นึกว่าเจออีหงิกครับพี่

ความเห็นที่ 5.1

ถ้าเจอน้องหงิกมาอยู่แบบนี้ คาดว่าคนคงตื่นเต้นจนหงิกต่อหน้าต่อตาน้องหงิกแน่ๆขอรับ

ความเห็นที่ 6

ใช้เวลาอยู่กับที่ที่เดียวโดยแทบไม่เดินไปไหนเลยกว่าสามชั่วโมง ภาพที่ถ่ายมาได้นั้นไม่สามารถถ่ายทอดมุมมองที่เห็นจริงๆ และความรู้สึกขณะนั้นได้ พอน้องฝนรุกหนักเข้า คราวนี้เรายอมล่าถอยก่อน

พอเช้า เราเข้าไปดูต่อว่ามันเป็นยังไงต่อ พบว่าปาดส่วนใหญ่ลอยคอในน้ำ กับเกาะตามต้นไม้ มีเล็กน้อยที่อยู่ที่โฟมไข่ แต่พอมองฝั่งตรงข้าม ปรากฎว่ากิจกรรมของมันยังดำเนินต่อไป ตัวที่เสร็จกิจก็โดดลงน้ำ บางตัวก็ยังเพิ่งหาคู่ในน้ำ ตัวที่สำเร็จกิจแล้วก็รอเวลากลับที่พักในตอนกลางคืน แต่..มีบางตัวกลับไม่ถึงบ้าน
โฟมไข่นี้ตอนนี้ดูเหงาๆ แต่เมื่อคืนคึกคักมาก ตัวนี้ข้ามถนนไปอย่างปลอดภัยหลังเสร็จกิจ ตัวเมียตัวนี้ หมดภาระกิจการเป็นผู้ให้กำเนิด..ตลอดไป แต่ภาระกิจเป็นผู้ต่อชีวิตยังดำเนินต่อ

ความเห็นที่ 7

พอฟ้ามืด เรากลับไปที่เดิมอีกครั้ง เพื่อดูว่ากิจกรรมยังคึกคักเหมือนเดิมหรือไม่ ปรากฎว่าเงียบ.. สักพักเราได้ยินเสียงแห่งกิจกรรมเบาๆ แล้วก็เงียบอีก พอเดินไปถึงหมาย พบว่าปาดแทบทุกตัวอยู่ในอาการสงบนิ่ง เกาะนิ่งๆ ลอยน้ำนิ่งๆ สักพักก็ได้ยินเสียงผู้ล่าอยู่ตามต้นไม้ ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าตัวอะไร เพราะเสียงไม่คุ้นเคย จนเสียงนั้นหายไป ปาดทั้งหลายก็เริ่มดำเนินกิจกรรมต่อ แต่น้อยกว่าคืนแรกนัก
รอคอย มองไปยังเป้าหมาย

ความเห็นที่ 7.1

สังเกตภาพบนเนี่ย บนตัวมันจะมีตุ่มสากแข็งนี่มันตัวผู้รึครับ ? น่าสนว่ามันเอาไว้ทำอะไรอ่ะ มีเฉพาะที่ด้วยนะเนี่ย

ความเห็นที่ 7.1.1

ตัวผู้ครับ แต่ยังไม่เข้าใจมันเหมือนกัน หรือจะให้ตัวผู้ตัวอื่นช่วยเกาะด้วยหว่า ส่วนตัวเมียหลังเรียบๆ ตัวผู้กอดบริเวณรักแร้ตัวเมีย

ความเห็นที่ 8

เมื่อเวลาเหลือ ก็เดินเล่นต่ออีกสักหน่อย ก็ยังพอมีเจ้าบ้านมาต้อนรับเล็กน้อย

งูลายสาบภูเขาสีน้ำตาล (Amphiesma khasiense)
งูปากจิ้งจก (Ahaetulla prasina)
Amphiesma khasiense Ahaetulla prasina

ความเห็นที่ 9

จักกิ้มน้ำ ตอนแรกเห็นสองตัว พอเห็นภาพนี้ทำให้เห็นว่าที่จริงมักออกมาอย่างน้อยสามตัว
0-dscn4218.jpg

ความเห็นที่ 10

ไปดอยหน้านี้ ดอกไม้เด่นๆไม่บานเลย ก็ยังพอเหลือดอกไม้หน้าฝนไม่กี่ชนิดที่บานแบบไม่ค่อยเต็มใจนัก
0-dscn4072.jpg 0-dscn4036.jpg

ความเห็นที่ 11

ไปป่าหน้าฝนแล้วหวังเจอดอกไม้งามทั้งดอย ก็คงต้องผิดหวัง แต่..ความงามนั้น ไม่ว่าเวลาไหนก็ย่อมมีความงามในตัวเสมอ เพียงแต่เราจะมองแล้วเห็นความงามนั้นหรือไม่ หากเราปิดใจแค่ความงามคือดอกไม้บาน เราจะสูญเสียโอกาสเห็นความงามในแง่มุมอื่นอย่างน่าเสียดาย
0-dscn3996.jpg 0-dscn4000.jpg 0-dscn4027.jpg 0-dscn4051.jpg

ความเห็นที่ 11.1

เฟินใบบางงดงามเหลือหลายครับท่าน ขอเอาไปส่น SI นะครับ

ความเห็นที่ 12

แล้วเราเห็นความงามเหล่านี้อย่างไร
0-dscn3974.jpg 0-dscn3985.jpg 0-dscn4062.jpg 0-dscn4108.jpg 0-dscn4099.jpg 0-dscn4220.jpg

ความเห็นที่ 12.1

มอสขึ้นมอ_ไซค์

ความเห็นที่ 12.2

ตะขาบเป็นตัวนี้ครับ เบื้องต้นตัวนี้ยังไม่มีใน SI เป็น ตะขาบใน
Order: Lithobiomorpha
Family: Henicopidae
Genus: Henicopiinae
ครับส่วนชนิดต้องเห็นส่วนหัวกับตรงก้นชัดๆครับ
ขอรูปไฟล์ละเอียดด้วยครับ หรือถ้ามีภาพมุมอื่นรบกวนอาจารย์ส่งให้ด้วยครับ จะได้เอาไปลงใน SI

แมงมุมเป็นแมงมุมเปลือกไม้ลายประดับขาหน้าหายไปข้างนึง ตัวเมียกำลังเฝ้าไข่เลย สีแดงสวยเชียว

ความเห็นที่ 12.2.1

แก้ไขข้อมูลใหม่ครับเป็นตะขาบใน
Order: Lithobiomorpha
Family: Lithobiidae
Genus: Lithobius
Species: Lithobius peregrinus
ครับ ตัวเล็ก มีข้อปล้องเล็กสลับกับข้อปล้องใหญ่ ส่วนที่ใช้จำแนกคือ หนวด และลำตัวครับ
หนวดของเจ้าตัวนี้จะมีช่วงแรก 10 ข้อใหญ่แล้วจีงเ้ป็นข้อเล็กๆอีกช่วงละ 10 ข้อครับ

ความเห็นที่ 12.3

โอ๊ว..สวดยอด

ความเห็นที่ 13

ขอขอบคุณพี่จิ และเก่ง  ในทุกๆเรื่องในทริปนี้

จบข่าว
0-dscn4056.jpg 0-dscn0532.jpg 0-dscn4078.jpg 0-dscn4076.jpg

ความเห็นที่ 14

โอย โอ่ย โอ้ย โอ๊ย โอ๋ย อยากกรี๊ดพะยะค่ะ heart

ความเห็นที่ 15

เจ็บปวดดดดด เราขึ้นไปอาทิตย์ที่แล้วมีไม่กี่ตัว อาทิตย์นี้ก็นอนอยู่ตีนดอยแท้ๆ แต่ไม่มีโอกาสขึ้นไป เจ็บปวดดดดดดดดดดดดดดดดดมากกกกก

ความเห็นที่ 16

กรี๊ดด ไม่เคยเจอเยอะแบบนี้เลย ฮือๆ

ความเห็นที่ 17

โอ้โห อลังการจริงๆครับ
 

ความเห็นที่ 18

รู้งี้ นั่งเครื่องตามไปก็ดี T T

ความเห็นที่ 19

ง ด ง า ม 

ความเห็นที่ 20

คิดถึงดอยอินท์ >_<

ความเห็นที่ 21

ผมอยากเห็นพวงปาดแบบนี้มานานแสนนานแล้ว แต่พอนึกถึงบริเวณนั้นทีไรลูกตาผมก็จี๊ดขึ้นมาทันที อิจฉาคนโดนทากกัดแล้วไม่เป็นไรจริงๆ เว้ยเฮ้ย angry

ความเห็นที่ 22

เราชวนท่านๆแล้ว หึ หึ

ความเห็นที่ 23

ผมสงสัยพฤติกรรมจับคู่นี้เกี่ยวกับข้างขึ้นข้างแรมไหมครับ คือยกตัวอย่าง อย่างเช่นวันไหนวันพระ วันนั้นจะมีการจับคู่แบบมโหราฬมากๆ คงต้องฝากถามท่านที่ติดตามและขึ้นไปดูทุกวันๆ

ความเห็นที่ 24

ต้องจัดซักทริปซะแล้วครับ ยังไม่เคยเห็นซักที TT'

ความเห็นที่ 25

หึ...ใช่ว่าไปถึงแล้วจะได้เห็นแบบนี้ มันต้องมีดวงด้วย...

ความเห็นที่ 25.1

ใช่ ๆ เหมือนคนดวงกุด อยู่ตีนดอยแท้ ๆ แต่อด

ความเห็นที่ 26

คืนที่ peak สุดๆ คือ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ สำหรับทริปนี้ โดยประมาณว่ามันเริ่มกิจกรรมดังกล่าวตั้งแต่ คืนวันที่ ๒๖ ถึง ๒๘ กค. นอกนั้นก็เหลือประปรายไม่นับเข้า peak

ความเห็นส่วนตัว เชื่อว่าอิทธิพลความชื้นในอากาศ และฝนมีส่วนมากกว่าครับ มันอาจพอเหมาะพอดีในช่วงนี้ โดยก่อนหน้านี้ก็มีฝนกระตุ้นมาเรื่อยๆจนมันพร้อมพอดี  ตัวอย่างที่ฝนมีอิทธิพลกระตุ้นการผสมพันธุ์ที่เห็นได้ชัดคือ งูเขียวหางไหม้ท้องเขียวทุกชนิด(อย่างน้อยในไทย) จะผสมพันธุ์ในคืนที่ฝนตกหนักพิเศษของช่วงเวลานั้น(ในช่วงฤดูของมันด้วย คือช่วง ปลาย สค.-ตค.) ซึ่งมีความผันแปรแต่ละปีและชนิด หรือเขียวไผ่หางเขียวจะผสมพันธุ์คืนฝนตกหนักเดือน กค. (มีข้อมูลคู่เดียว ปีเดียว เลยไม่สามารถระบุเป็นช่วงได้) เป็นต้น

ความเห็นที่ 27

น่าจะเป็น 8 ค่ำเดือน 8 ตรงกับวันที่ 26 ซึ่งเป็นวันพระ

ผมจำได้ว่าตอนที่ไปสะแกราชแล้วเจออาการพีคของกบเขียดก็ตรงกับวันพระเช่นเดียวกันครับ ปัจจัยเรื่องฝนก็มีเช่นกัน แต่มันจะช่างเหมาะเจาะและบังเอิญอะไรเช่นนี้

ความเห็นที่ 28

ปาร์ตี้เริ่มตั้งแต่ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ครับ แต่ไม่ใช่วันที่มากที่สุดจริงๆ ส่วนเรื่องปริมาณฝน กับข้างขึ้น/แรม มีความเกี่ยวข้องกันครับ เพราะการไหลเวียนกระแสน้ำมีผลต่อการถ่ายเทความร้อน ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำลมให้พัดพาความชื้นได้ เห็นป่ะว่า สัมผัสดอกไม้ไหว สะเทือนถึงเขื่อนแม่วงก์จริงๆ (เกี่ยวไหมเนี่ย) แต่ข้างต้นที่ผมให้เครดิตความชื้นขึ้นมา เพราะมันส่งผลโดยตรง ส่วนข้องขึ้น/แรม นั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ความสัมพันธ์นี้สั่นคลอนได้ แล้วผมก็ยังไม่สามารถบอกระดับความสัมพันธ์ของแต่ละค่ำได้ แค่รู้ว่าก็พอจะมีผลถึงกันบ้าง ต้องให้ผู้ที่เชี่ยวเรื่องนี้มาช่วยชี้แนะเพิ่มเติมครับ

อ่อ..เที่ยวนี้ ไม่เจอทากสักตัวนะทั่น อุตส่าห์ลากแตะ ขาสั้น ล่อทากอยู่ตั้งหลายชั่วโมง

ความเห็นที่ 29

สติจะแตกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก!!!!!

ความเห็นที่ 30

มาเสริมอีกนิดนึง รูปพี่น๊อตงามแท้เหลา เก็บได้เป็นพวง ๆ เลยอะ
บ้างก็ลอยคอในน้ำ นั่งมองคู่อื่นเค้าจู๋จี๋กัน เอ้า SEX หมู่เลย

ความเห็นที่ 31

คืนแสนสุข
รักสุดใจ ผลผลิต

ความเห็นที่ 32

ภาพสวยมากๆ หาดูยากด้วย
 

ความเห็นที่ 33

สวยงามมากๆเลยครับ  สุดยอดไปเลย

ความเห็นที่ 34

เยอะยังกะมะม่วงน่ะครับ cool

ความเห็นที่ 35

ถึง.......สุดยอดกันพอดี ทั้งกบ ทั้งคน "ริษยา" เปนที่สุด

ความเห็นที่ 36

สุดยอดเลยค่ะ ปีหน้าจะไปดูบ้าง

ความเห็นที่ 36.1

ไปด้วย