ไข่ในหิน

อยากสอบถาม ขอข้อคิดเห็น ข้อสันนิษฐาน หรือเอาเป็นสมมุติฐานเลยก็ได้ครับ…ฮา 

ที่เดาๆได้ก็เป็น ไข่ตุ๊กแกชนิดหนึ่งอยู่ในถ้ำบนเขาหินปูน ไข่ติดเพดานถ้ำ และเจ้าของไข่ (อีกหลายๆ รุ่น) ยังกลับมาไข่ที่เดิมจนกลายเป็นชั้นๆ หลายชั้น เป็นรังแบบรังรวม และไข่ที่เดิมต่อเนื่องกันรวมๆ น่าจะหลายปีมากๆ แล้วแคลไซด์ซึมเข้ามาจนกลายเป็นชั้นหินปูน และหินปูนพอกหนาร่วมสามนิ้ว หากเทียบอายุกับการเกิดหินย้อยยาวสามนิ้วนี่น่าจะได้สักกี่ปีครับ
 
ขนาดไข่และลักษณะการวางไข่เหมือนตุ๊กแกบ้าน สถานที่วางไข่เหมือนที่อยู่ตุ๊กแกสยามตาเขียว  

Comments

ความเห็นที่ 1

พบที่ทุ่งสง สภาพปัจจุบันถ้ำโดนระเบิดกลายเป็นผาหินยังคงมี จิ้งจกหินลายกระ (Gehyra felhmanni)มาวางไข่อยู่ครับ 
taen3018.jpg taen2929.jpg taen2931.jpg taen3019.jpg

ความเห็นที่ 2

ที่พื้น มีสัตว์ผู้ล่าประจำถิ่น งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis) อยู่ชุกชุม
  
taen3022.jpg taen3023.jpg taen3014.jpg

ความเห็นที่ 3

งูหางแฮ่มใต้ครับ

ความเห็นที่ 4

เอ๋า เป็นงูหางแฮ่มใต้  หรืองูเขียวหางไหม้ป่าใต้ (Trimeresurus venustus) ไช่ไหมครับ

ความเห็นที่ 5

อยากเห็นมากครับว่าตุ๊กแกตรงนั้นจะเป็นชนิดไหน 

ความเห็นที่ 5.1

พยายามหาอยู่สองคืน แต่ก็เจอแต่จิ้งจกและงูคู่นี้แค่นั้นเองครับ

ความเห็นที่ 6

เท่าที่เข้าถ้ำในภาคใต้มาหลายโซน ก็พบตุ๊กแกประจำถ้ำเป็น Gekko gecko s.s. ทั้งนั้น ครับ ส่วนกลุ่มชนิดอื่นไม่ได้อยู่กับเขาหินปูนเลย

ส่วนหางแฮ่มใต้ (Trimeresurus venustus) พบชุกชุมมากตามแนวเทือกเขานครศรีธรรมราช ต่อเนื่องเทือกเขาบรรทัด แต่มีพบโดดมาที่ชุมพรตอนกลางด้วย

หางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis) ยังพยายามหาเขตการกระจายพันธุ์นอกเขตกาญจนบุรีอยู่ครับ

ความเห็นที่ 7

ลืม..เปลือกไข่เก่าๆพวกนั้นเป็นของ Gekko gecko s.s. ครับ

ความเห็นที่ 8

ลูกไหนหนอ  ผมเคยเจอหางแฮ้มใต้ที่ถ้ำตลอด กลางเมืองทุงสง

ความเห็นที่ 8.1

ลูก ... ที่อยูทางตะวันออกของทางหลวงเส้น 403 ก่อนถึงที่วังนั่นแหละครับ

ความเห็นที่ 9

มีใครคิดเหมือนผมไหม

โพรงที่พบหินพวกนี้เป็นโพรงที่แคบ ชัน แต่เริ่มมีการก่อตัวของตะกอนคาร์บอเนตเป็นชั้นหินปูนบนเพดาน และเริ่มเป็นหินย้อย เป็นลักษณะถ้ำปฐมวัยและกำลังพัฒนาสู่ถ้ำมัชฌิมวัย การที่เจ้าตุ๊กแกพวกนี้มาวางไข่ที่เดิมซ้อนๆ กันจนตะกอนคาร์บอเนตซึมเคลือบกลายเป็นชั้นหินปูนหนาร่วมๆ สามนิ้วเกาะเพดานอยู่ (กระบวนการทางธรณีนี้น่าจะต้องใช้เวลามากๆ)

นั่นหมายถึงว่า ตุ๊กแกเหล่านี้ได้กลับมาวางไข่ในที่เดิมๆ นับตั้งแต่เริ่มมีการก่อตัวของชั้นหินย้อยบนเพดานถ้ำ ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยใกล้ๆ ปัจจุบัน (จนเมื่อโพรงถ้ำนี้โดนระเบิดไป)

จึงเดาได้ว่า ตุ๊กแกชนิดนี้มีพฤติกรรมวางไข่แบบรังรวม ซ้ำที่เดิมนับตั้งแต่ยุคบรรพบุรุษ และยังต่อเนื่องเป็นเวลานานมากๆ พอๆ กับอายุของหินย้อยที่ก่อเกิดจากเพดานถ้ำ

สรุปว่า ตุ๊กแกชนิดหนึ่ง (อาจารย์ knotsnke บอกว่าเป็นตุ๊กแกบ้าน) อาศัยอยู่ในถ้ำบนเขาหินปูนที่ทุ่งสง วางไข่ซ้ำที่เดิมหลายๆ รุ่น ต่อเนื่องเป็นเวลานับร้อยนับพันปี

ดังนั้นตุ๊กแกบ้านที่พบโดยทั่วไปน่าจะมีพฤติกรรมการวางไข่ที่ใกล้เคียงกัน คือ วางไข่ซ้ำที่เดิมได้นับพันปีหากไม่มีการรบกวนจากปัจจัยภายนอก

จากภาพประกอบด้านล่าง พบตุ๊กแกบ้านหลายวัย รวมทั้งกลุ่มไข่ (ทั้งที่ฟักแล้วและยังไม่ได้ฟัก) อาศัยอยู่ในซอกหินเล็กๆ ด้วยกันหลายตัว มีพฤติกรรมหนีภัยเหมือนๆ กัน คือ หนีภัยไปทางเดียวกัน ตามกันเป็นกลุ่ม ทั้งที่มีที่หลบภัยบริเวณอื่นก็ไม่ยอมกระจายกันไป

จึงสรุปเป็นครั้งที่สองว่า ตุ๊กแกบ้านอยู่อาศัยแบบรวมฝูง และมีพฤติกรรมเป็น (หรือใกล้เคียงที่จะเป็น) สัตว์สังคม

ผมเดาถูกไหมครับ  



  
ไข่ตุ๊กแกบ้านในซอกหิน บนเขาหินทราย ที่เขาสวนกวาง ตุ๊กแกบ้านที่ยังไม่เต็มวัย พบหลายตัวในซอกหินเดียวกัน ตัวเต็มวัยพบสองตัว (ไม่แม่ก็พ่อ หรือทั้งสองอย่าง จับมาดูไม่ได้)

ความเห็นที่ 10

ตุ๊กแกบ้านวางไข่แบบรังรวม ซ้ำที่เดิมต่อเนื่องเป็นเวลานาน

รูปนี้น่าจะแสดงชัดเจน ถ่ายจากห้องน้ำบนเขา ในวัดเขาผาแดง อำเภอเขาสานกวาง

รังไข่ตุ๊กแกบ้าน

ความเห็นที่ 11

ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นสัตว์สังคมได้หรอกครับ มันเป็นการรวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งแล้วก็แยกย้ายกันไป การวางไข่ร่วมกันน่าจะมีประโยชน์เพื่อให้สัตว์ผู้ล่า ไม่สามารถล่าได้จนหมด มันมีชื่อเฉพาะอยู่ predator satiation ครับ

ความเห็นที่ 12

ตามที่นณณ์บอกไว้ครับ

ความเห็นที่ 13

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 14

อืม ได้ความรู้ๆ