ซิวสมพงษ์ ติดหนึ่งใน 100 สิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ของโลก

Comments

ความเห็นที่ 1

ปลาเทพาก็ติดด้วยนะครับ ^^

ความเห็นที่ 2

มีอยู่ในไทย 6 ชนิด สูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศ 3 ชนิด
 Batagur baska สูญพันธุ์ในธรรมชาติ
 Dicerorhinus sumatrensis สูญพันธุ์
 Pangasius sanitwongsei
 Rhinoceros sondaicus สูญพันธุ์
  Sterna bernsteini สูญพันธุ์
  Trigonostigma somphongsi

ความเห็นที่ 2.1

อะไรคือเหตุหลัก ที่ทำให้ ปลาในรายชื่อนี้จึงสูญพันธุ์ไปจากประเทศครับ ?

คนจับปลา ? (กินๆๆๆ) แหล่งที่อยู่ถูกทำลาย ? (ทำลายแม่น้ำธรรมชาติ ทำลายตลิ่ง เขื่อน ฝาย) มลพิษ ?

ความเห็นที่ 3

สำหรับ ปลาเทพา มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสูญพันธุ์อย่างไรครับ

ความเห็นที่ 3.1

เทพา ยังใม่สูญพันธุ์ แต่ CR

ความเห็นที่ 4

เทพา เป็นปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่มากครับ กินปลา กินซากสัตว์ที่ตกลงในน้ำ ขนาดโตได้ถึง 200 กิโลกรัม เป็น top predator ชนิดหนึ่งของน้ำจืดไทย จึงต้องการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก และเป็นไปตามธรรมชาติคือมีจำนวนไม่มากตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ปัจจุบันเลยสูญพันธุ์ไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แต่ยังมีจำนวนพอสมควรในแม่น้ำโขงครับ ยังจับตัวใหญ่และลูกปลาได้ทุกปี ปัจจุบันเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงได้มากแล้วด้วย จริงๆไม่น่าเป็นหวงนัก

ส่วนซิวสมพงษ์ (ผมยังไม่เคยได้อ่าน original description paper ซึ่งเข้าใจว่าเป็นภาษาเยอรมัน) ตัวอย่างเป็นปลาจากในตู้เลี้ยง ในธรรมชาติมาจากไหนก็ไม่รู้ ส่งออกไปอยู่พักหนึ่ง มีภาพจากนิตยสารต่างประเทศพอสมควรสักเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว แล้วมันก็หายไป โผล่กลับมาอีกทีที่เยอรมัน เป็นปลาหลงรวมไปกับปลาซิวหนูจากเมืองไทย(มั๊ง) เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ขอกลับมาเพาะได้พอสมควร แต่เสร็จแล้วรุ่นลูกที่เพาะได้ในไทยไม่ยอมผสมพันธุ์ต่อ ไม่รู้ทำไม เลยหมดไปจากไทย เข้าใจว่ายังเหลืออยู่ในเยอรมัน แต่ตามหาตัวคนมีอยู่จริงๆไม่เจอ คนที่เคยขอเค้ามาก็ขาดการติดต่อไปแล้ว ส่วนในธรรมชาติในไทย ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ หาไม่เจอ ตามไม่เจอ มั่นใจลึกๆว่ายังเหลือ แต่ไม่รู้อยู่ไหน... 

ความเห็นที่ 4.1

แปลว่าเทพานี่ดุกว่าบึกใช่ไหมครับ? เพราะเท่าที่เคยทราบมา ปลาบึกกินพืชมากกว่ากินสัตว์

ความเห็นที่ 5

ที่เทพาหายไปจากเจ้าพระยานี่เพราะอาหารหายด้วยรึเปล่าครับ (ฝูงปลาสร้อย ฯลฯ ที่เคยมีมหาศาลแต่หายไปนานแล้ว)

ความเห็นที่ 5.1

เรื่องเดียวกันกับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำครับ 

ความเห็นที่ 5.2

แม่น้ำโกลก แม่น้ำสายสั้น ที่ผ่านที่ราบลุ่ม และ ป่าพรุ ในอำเภอสุไหงปาดี สุไหงโกลก รวมทั้ง พื้นที่ฝั่งกลันตัน ยังสามารถ พบผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น ปลาเค้าดำ ได้นะครับ

ความเห็นที่ 6

เขาขาดหางไหม้ไทย Balantiocheilos ambusticauda ไป จริงๆ แล้ววิกฤติกว่าเทพาและสมพงษ์อีก เพราะหาตัวเป็นๆไม่มีแล้ว

ความเห็นที่ 7

หมดประเทศไม่เหลือ TT

ความเห็นที่ 8

Batagur baska ผมยังเชื่อว่าในแม่น้ำกระบุรียีงมีอยู่ครับ (ตามหาในคลองละอุ่น กับคลองสาขาต่างๆทางพม่าในปัจจุบัน) ส่วนประชากรอื่นๆในประเทศไทย(อันดามันตอนล่างถึงช่องแคบมะละกา และอ่าวไทย) เป็น B. affinis ครับ 

มีเรื่องสารภาพเรื่องนึง คือ ตอนผมมาอยู่ระนองใหม่ๆ ก็เห็นลูก B. baska ด้วย แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าเป็นลูกเต่าจาน ได้แต่มัวสงสัยว่ามันเป็นเต่าอะไรสักอย่างที่ไม่คุ้นตา เอามาขายในตลาดสด แต่ตอนนี้ร้านนั้นเลิกขายแล้ว เลยไม่เจออีกเลย

ความเห็นที่ 9

ส่วนเรื่องการลดจำนวนลงของซิวสมพงษ์ ถ้ามันเคยพบอยู่แถว กาญจนบุรี ราชบุรีจริง ก็คงเกิดจากการ สร้างเขื่อน ซึ่งทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป และอีกส่วนอาจจะเพราะถูกจับขายด้วย เป็นกรณีเดียวกับ ปลาหมูอารีย์ และทรงเครื่อง ที่การหายไปอยู่ในช่วงไล่เลี่ยกับการสร้างเขื่อน 3 เขื่อนในลุ่มน้ำแม่กลองครับ 

ปลาที่หายากมากของไทยอีกชนิดคือ หวีเกศ แปลกใจว่าตัวนี้ทำไมไม่ติด?  หรือว่าตีว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว?

ความเห็นที่ 9.1

ใช่แล้ว Extinct

ความเห็นที่ 9.2

"ส่วนเรื่องการลดจำนวนลงของซิวสมพงษ์ ถ้ามันเคยพบอยู่แถว กาญจนบุรี ราชบุรีจริง ก็คงเกิดจากการ สร้างเขื่อน ซึ่งทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป"

เท่าที่คุยกับคนช้อนปลาซิวหนูขาย ซึ่่งคุณนณณ์ว่่าปลาซิวสมพงษ์ปะปนอยู่กับปลาชนิดนี้ เขาบอกว่าแหล่งที่พบปลาซิวหนูมากคือในคลองขุดที่ขนานไปกับคลองชลประทาน และการช้อนจะได้ปลามากในช่วงต้นฤดูหนาว ทำให้ผมเชื่อว่าปลาชนิดนี้ เป็นปลาทีี่มีความเกี่ยวเนื่องกับน้ำท่วม คือมันสามารถจะขยายพันธุ์ได้ดีในช่วงที่เกิดหรือช่วงหลังน้ำท่วมเล็กน้อย ลูกปลาที่เกิดจะไหลกลับแม่น้ำสายหลัก แต่ว่าพื้นที่รับน้ำท่วมในแ่ม่น้ำแม่กลองตอนนี้กลายเป็นชุมชนและเืมืองไปหมดแล้ว

เขื่อนก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญหาย (ผมว่ามันยังไม่สูญพันธุ์ไปเสียทีเดียว) ของปลาซิวสมพงษ์ด้วย เพราะไปเปลี่ยนวงจรน้ำไม่ให้เกิดการท่วมหลาก ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ผมเชื่อว่ามันเป็นตัวหลักในการทำให้ปลานี้เสี่ยวต่้อการสูญพันธุ์ก็คือ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ปลาชนิดนี้เป็นที่นิยม ปลาถูกจับเพื่อป้อนธุรกิจปลาสวยงามเป็นจำนวนมากจนประชากรตามธรรมชาติลดลงอย่างมาก เช่นเดียวกับปลาหมูอารีย์ และปลาทรงเครื่องครับ ปีหนึ่งๆ เราเอาปลาพวกนี้ออกจากระบบนิเวศน์ของแม่น้ำมากเกินกำลังผลิตของมันตามธรรมชาติ จนมันไม่สามารถสร้างประชากรทดแทนได้ทัน

ปัจจุบัน เท่าที่คุยกับชาวบ้านที่ัจับปลาในแถบลุ่มน้ำแม่กลองบางท่าน เขาบอกว่ายังพอหาปลาหมูอารีย์ได้แต่นานๆ จะพบสักครั้งหนึง ส่วนปลาทรงเครื่อง ยังพอพบประชากรจำนวนไม่มากในลำห้วยขาแข้ง ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ (ทั้งในส่วนของอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า) แต่นั่นก็เป็นการสำรวจเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไบ้าง อาจจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเพราะไม่ถูกล่า หรืออาจจะลดลงเพราะเราไ่ม่ได้กำจัดผู้ล่าตามธรรมชาติ เป็นเรื่องที่น่าเข้าไปศึกษาอีกสักรอบครับ

ความเห็นที่ 9.2.1

อีกข้อที่น่าคิดคือ ระบบนิเวศพรุหญ้า ที่ซิวหนูอยู่นั้น ในลุ่มน้ำแม่กลองยังมีอยู่รึเปล่า???

ความเห็นที่ 10

ถ้าจะเขียนบทความประมาณ Thailand Most Wanted แล้วตามหาปลาซิวสมพงษ์ จะได้ผลไหมครับนี่?  อาจจะมีใครให้ขนมปังกินอยู่ในคลองหลังบ้านทุกวัน หรือจับมาทอดกับไข่เจียวอยู่โดยไม่รู้ว่ามันเป็นปลาหายากก็ได้นะนี่..

ความเห็นที่ 10.1

ลองดูดิ  อาจได้ข้อมูลนะพี่

อาผมบอกว่า  เคยเจอปลาทรงเครื่อง ตัวเล็ก ๆ ติดมาตอนไปตักลูกกุ้ง ในคลองชลประทาน เป็นคลองย่อย ๆ ที่ต่อมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นไปได้ไหมครับ  หรือว่าเป็นปลาอื่น

ความเห็นที่ 10.1.1

เป็นไปได้ครับ ทั้งทรงเครื่องและกาแดง ยังพบได้ในเจ้าพระยา

ความเห็นที่ 11

แถวสมุทรปราการ,ฉะเชิงเทรายังมีพื้นที่ ที่เป็นคลองและแม่น้ำที่ยังพอมีความเป็นธรรมชาติอยู่บ้างอย่างแถวบางบ่อ บางพลี คลองพระองค์เจ้าซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับคลองในฉะเชิงเทราหลายคลองและยังไม่เละเทะเหมือนแถวแม่กลองก็อาจจะเจอได้บ้างนะครับ