งูเขียวกินตับตุ๊กแก?

อ่านข่าวใน “มติชนออนไลน์” พบข่าวงูเขียวพระอินทร์กินตุ๊กแก (เนื้อข่าวตามลิ้งค์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357974706&grpid=01&cat...) เมื่อตอนเป็นเด็กอยู่ต่างจังหวัด เคยได้ยินผู้ใหญ่บอกเล่าเรื่องงูเขียวกินตับตุ๊กแกว่า ตุ๊กแกเมื่อตัวโตมากขึ้น ตับจะแก่ ต้องร้องว่า “ตับแก่ ตับแก่” เรียกงูเขียวให้มากินตับ เมื่องูเขียวเลื้อยมาถึง ตุ๊กแกก็จะอ้าปากให้งูเขียวมุดเข้าไปกินตับในท้อง และผู้ใหญ่ยังบอกอีกว่า ถ้าเอาก้านมะละกอสีเขียว(ตัดใบออก)ยื่นเข้าไปหาตุ๊กแก ตุ๊กแกก็จะอ้าปาก เพราะคิดว่าเป็นงูเขียวจะมากินตับจึงอ้าปากให้ เรื่องนี้เคยทดลองด้วยตนเองที่บ้านต่างจังหวัดเมื่อตอนเป็นเด็ก ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ผู้ใหญ่ยังบอกต่ออีกว่า ถ้าอยากจับตุ๊กแก ให้เอายาเส้นฉุนๆชุบน้ำปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าปลายนิ้ว ยัดไว้ที่ปลายก้านมะละกอ แล้วยื่นไปหาตุ๊กแก เมื่อตุ๊กแกอ้าปาก ก็แหย่ปลายก้านมะละกอที่มียาเส้นนั้นเข้าไปในปากตุ๊กแก ตุ๊กแกก็จะงับและอมไว้ สักพักตุ๊กแกจะเมายาเส้น หล่นลงมาให้จับ(เรื่องนี้ไม่เคยทดลองทำด้วยตนเอง) เรื่องงูเขียวกินตับตุ๊กแกนี้ เมื่อมาทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ เคยคุยกับลูกน้องที่มาจากต่างจังหวัด ลูกน้องก็เชื่อตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ว่าเมื่อตุ๊กแกตับโต ก็จะร้องเรียกงูเขียวให้มากินตับ เมื่องูเขียวกินตับไปแล้ว ต่อมาตุ๊กแกตับโตขึ้นมาอีก ก็จะร้องเรียกงูเขียวให้มากินตับอีก ลูกน้องบอกว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะเคยเห็นมากับตาตนเอง เห็นงูเขียวเลื้อยไปหาตุ๊กแก ตุ๊กแกก็อ้าปากให้ งูเขียวก็ฉกเข้าไปในท้องตุ๊กแกอย่างรวดเร็ว แล้วก็เลื้อยจากไป และตุ๊กแกก็ยังเป็นปกติอยู่ ผมยังโต้แย้งลูกน้องไปเลยว่า ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ตุ๊กแกเมื่อโดนกินตับไปแล้วทำไมยังไม่ตาย ซึ่งตอนเด็กก็ยังไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ แต่เมื่อได้ยินลูกน้องยืนยันหนักแน่นว่าเคยเห็นมากับตาตนเองจริงๆ ก็เลยเป็นปัญหาสงสัยคาใจมาจนปัจจุบันนี้ เมื่ออ่านพบข่าวดังกล่าว ก็ถึงบางอ้อ หายสงสัย แท้จริงแล้วงูเขียวต้องการกินตุ๊กแก ไม่ใช่กินตับตุ๊กแก แต่ตุ๊กแกเมื่อเห็นงูเขียวเลื้อยเข้ามาใกล้ ก็จะอ้าปากเพื่อขู่หรือเตรียมต่อสู้ป้องกันตัวตามสัญชาติญาณ เมื่องูเขียวฉกเข้าไปเพื่อจะกินตุ๊กแก ตุ๊กแกก็งับอมหัวงูเขียวเอาไว้ งูเขียวเมื่อถูกอมหัวเอาไว้ หายใจไม่ออก ก็ดึงหัวถอยออกมา แล้วเลื้อยหนีจากไป เพราะคิดว่าตุ๊กแกก็เป็นอันตรายเหมือนกัน แต่ตุ๊กแกในภาพโชคร้ายพลาดท่า ถูกงูเขียวกัดรัดไว้ได้ ต้องตกเป็นเหยื่อของงูเขียวไป ดูในภาพ งูเขียวพระอินทร์ตัวนี้ก็ขนาดใหญ่ไม่เบาเหมือนกัน คำถามเล็กๆหนึ่งข้อ งูเขียวพระอินทร์ กับ งูเขียวดอกหมาก เป็นงูเขียวตัวเดียวกัน แต่เรียกคนละชื่อใช่หริอไม่? คติธรรมฯ (แก็ต)

Comments

ความเห็นที่ 1

เขียวพระอินทร์กับเขียวดอกหมาก คือตัวเดียวกันครับ

ความเห็นที่ 1.1

ขอบคุณมากครับ

คติธรรมฯ (แก็ต)

ความเห็นที่ 1.2

เขียวพระอินทร์, เขียวร่อน = Chrysopelea paradiseas พบในป่าภาคใต้ และตะวันตก
เขียวดอกหมาก = C. ornata พบในสวน บ้าน ทั่วประเทศ

ความเห็นที่ 1.2.1

จากข้อมูลของคุณ waterpanda ข้างต้นแสดงว่า งูขียวพระอินทร์, เขียวร่อน กับ งูเขียวดอกหมาก เป็นงูคนละ Species (คำว่า "คน" ใช้เป็นคำแทน สัตว์ สิ่งของ ได้ทุกอย่าง ก็แปลกดีเนาะ) ก็เลยค้นดูข้อมูลเพิ่มเติมใน SI, ข้อมูลใน SI งูกลุ่มนี้มี 3 Species ดังนี้

ชื่อสกุล (Genus) ไทย (ท.) งูสกุลดอกหมาก, สามัญ (ส.) Flying Snake, วิทยาศาสตร์ (ว.) Chrysopelea
1) Species ที่ 1: ท. งูเขียวพระอินทร์, ส. Ornated Tree Snake, ว. C. Ornata
ถิ่น: ทั่วประเทศ
มี 1 Sub-species: ท. งูเขียวพระอินทร์, งูทางมะพร้าว(ใต้), ส. Golden Tree Snake, ว. C. ornata ornatissima, ถิ่น: พบทุกภาคของประเทศไทย มักพบในบ้านคนใน กทม.

2) Species ที่ 2: ท. งูเขียวร่อน, งูเขียวดอกหมาก, ส. Paradise Tree Snake, ว. C. paradisi
ถิ่น: ภาคใต้ของประเทศไทย
มี 1 Sub-species: ท. งูเขียวร่อน, งูเขียวดอกหมาก, งูเขียวดอกจิก, ส. Paradise Tree Snake, ว. C. paradisi paradisi, ถิ่น: ถาคใต้ของประเทศไทย

3) Species ที่ 3: ท. งูดอกหมากแดง, ส. Red Tree Snake, Twin Bared Tree Snake, ว. C. pelias
ถิ่น: ภาคใต้ตอนล่าง บนเขาสูง, ป่าแก่งกระจาน

จากข้อมูลข้างต้น งูเขียวพระอินทร์ ที่มักพบใน กทม. ก็จัดอยู่ในสกุล Flying Snake (งูบิน) ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ทราบว่างูเขียวพระอินทร์ที่มักพบใน กทม. ดังกล่าว บิน(พุ่ง) ได้หรือเปล่า

คติธรรมฯ (แก็ต)



 


ความเห็นที่ 1.2.1.1

งูเขียวพระอินทร์ ก็สามารถร่อนได้เหมือนกันครับ แต่ใช้การทิ้งตัวแล้วร่อน (เท่าที่ผมเคยเห็น) ดังนั้นระยะการร่อนจึงไม่ไกลนัก และไม่ค่อยร่อนอีกต่างหาก อาจเป็นเพราะปกติมันไม่ได้ขึ้นต้นไม้ที่สูงมากนัก ระยะการร่อนจึงไม่ค่อยมีจึงใช้เพียงการทิ้งตัวลงเฉยๆ(ไม่ต้องร่อน)ก็เพียงพอในการหลบหนีผู้ล่า แต่ก็ยังพอร่อนให้เห็นบ้างในที่เปิดโล่งมากๆ ส่วนงูเขียวร่อนเป็นงูที่ใช้การพุ่งไปข้างหน้าแล้วร่อน มักขึ้นต้นไม้ที่สูงมากๆ ดังนั้นมันจึงใช้การร่อนบ่อยขึ้นเนื่องจากผู้ล่าทางอากาศเห็นมันสะดวก แต่เมื่ออยู่ต้นไม้ที่ไม่สูงมากนักก็ยังติดนิสัยร่อนหนี ผนวกกับเป็นงูที่ดูจะขี้ระแวงมากกว่าจึงเพิ่มโอกาสการร่อนหนี แม้กระทั่งเมื่อมีลมพัดแรงๆก็ตาม

ความเห็นที่ 1.2.1.1.1

ขอบคุณมากครับ

คติธรรมฯ (แก็ต)

ความเห็นที่ 2

ลองหาดูกระทู้ งูกินตับตุ๊กแก ในกระทู้เก่าของสยามเอนสิสดูครับ มีฮาครับ

ความเห็นที่ 2.1

ประมาณ วัน เดือน ปี ไหนครับ จะลองค้นหาดูครับ

คติธรรม (แก็ต)

ความเห็นที่ 2.2

ลองใช้  Key Words Search ดูแล้วครับ เจอกระทู้ข่าวแบบนี้เพียบเลย และรู้สึกว่าคนไทยยังเชื่อว่างูเขียวกินตับตุ๊กแกจริงๆอีกเยอะเลย

คติธรรมฯ (แก็ต)

ความเห็นที่ 2.2.1

กระทู้ที่1355ครับ

ความเห็นที่ 3

หาในกูเกิลเลยครับวงเล็บสยามเอนสิส

ความเห็นที่ 4

หาในกูเกิลเลยครับวงเล็บสยามเอนสิส

ความเห็นที่ 5

หาในกูเกิลเลยครับวงเล็บสยามเอนสิส

ความเห็นที่ 6

ระบบมีปัญหาอีกแล้ว เบิ้ลไป 3 

ความเห็นที่ 7

อ้าวซะงั้นกดทีเดียวได้สามกำไรสุดๆ

ความเห็นที่ 8

ในประเด็นเรื่องตุ๊กแกเป็นสัตว์สังคมหรือไม่นั้น

เมื่อช่วงปี 2549-2550 ช่วงที่ผมไปประจำอยู่ที่ Site Office แถวหนองแขม กทม. อาคาร Site Office ดังกล่าวเป็นอาคารที่ปล่อยทิ้งร้างมาก่อน แล้วมาปรับปรุงทำเป็น Site Office ชั่วคราวในภายหลัง ฝ้าเพดานในห้องน้ำชายชั้นล่างที่มุมห้องน้ำมีรอยแตก มีตุ๊กแกตัวเมียและลูกตุ๊กแกอีกตัวหรือสองตัวอาศัยอยู่ด้วยกัน ตอนนั้นลูกตุ๊กแกตัวโตขนาดนิ้วก้อยได้ อยู่ต่อมาอีกไม่นานมากนัก ก็มีลูกตุ๊กแกตามมาอีกรุ่น และตามมาอีกหลายๆรุ่นในเวลาห่างกันไม่กี่เดือน จนตุ๊กแกฝูงนี้มีจำนวนรวมกันประมาณ 10 ถึง 11 ตัว แต่ลูกตุ๊กแกที่เห็นตั้งแต่รุ่นแรก โตจนเกือบเท่าตัวแม่ โตประมาณนิ้วหัวแม่ตีน ก็ยังอยู่รวมกัน ไม่ได้แยกไปหากินอยู่ที่อื่น ที่ผมสังเกตเห็นเช่นนี้ได้ เพราะทุกเย็นเวลาประมาณ 5-6 โมงเย็น เมื่อพนักงานทุกคนกลับหมดแล้ว ฟ้าเริ่มมืดและเงียบเสียงแล้ว ตุ๊กแกฝูงนี้ก็จะเริ่มออกมาจากรอยแตกที่ฝ้า แล้วคลานตามผนังห้องน้ำไปออกทางช่องบานเกล็ดระบายอากาศข้างห้องน้ำ เพื่อออกไปหากินข้างนอกรอบๆผนังอาคารและบนหลังคาอาคาร เมื่อได้เวลาที่ตุ๊กแกจะออกไปหากิน ผมก็จะเข้าไปนั่งซุ่มรอดักถ่ายรูปเป็นประจำโดยปิดไฟและนั่งรออยู่เงียบๆ เพราะหากเปิดไฟสว่างหรือมีเสียงดัง ตุ๊กแกก็จะไม่กล้าออกมา บางครั้งทดลองเปิดไฟสว่างและนั่งรออยู่นาน ตุ๊กแกก็ยังไม่กล้าออกมา ยกเว้นบางครั้ง ที่ลูกตุ๊กแกตัวเล็กอาจจะทนหิวไม่ไหว ทำใจกล้าวิ่งผ่านหน้าอย่างรวดเร็วไปออกทางช่องระบายอากาศ อาจจะเป็นเพราะว่าความหิวมากกว่าความกลัว แต่ตุ๊กแกตัวใหญ่ โดยเฉพาะตัวแม่ จะไม่ยอมออกมาจนกว่าจะมืดและเงียบจริงๆ ก็นึกสงสารที่ทำให้พวกเขาต้องทนหิวเพราะความกลัว ก็ต้องหลบออกไปจากห้องน้ำให้พวกเขาได้ออกไปหากิน ที่มีโอกาสได้ถ่ายรูป ก็ตอนที่ผมเข้าไปในห้องน้ำในช่วงที่ตุ๊กแกเพิ่งจะออกมาจากรอยแตกของฝ้าและยังเกาะอยู่บนผนังห้องน้ำในระหว่างที่จะไปออกทางช่องระบายอากาส พวกลูกตุ๊กแกเมื่อเห็นผมเข้ามาในห้องน้ำ จะหยุดนิ่งและจ้องมองมาที่ผม ทำให้ผมมีโอกาสถ่ายรูป แต่ตัวแม่ หากอยู่ใกล้ช่องระบายอากาศ ก็จะวิ่งออกไปทางช่องระบายอากาศไปเลย หรือหากอยู่ใกล้รอยแตกของฝ้า ก็จะวิ่งกลับเข้าไปในรอยแตกของฝ้าเหมือนเดิม พฤติกรรมที่สังเกตเห็นอีกอย่างคือ ตุ๊กแกจะถ่ายอุจจาระที่ผนังห้องน้ำก่อนจะออกไปหากิน แสดงว่าตุ๊กแกจะไม่ถ่ายอุจจาระในบริเวณที่หลบนอน เพราะฉะนั้นที่พื้นห้องน้ำข้างประตูห้องน้ำ จะมีขี้ตุ๊กแกอยู่ทุกเช้า บางครั้งก็เป็นกองโตมาก แสดงว่าเป็นของแม่ตุ๊กแก ประเด็นคำถามคือ

1) ที่ตุ๊กแกอยู่รวมกันเป็นฝูง เพราะว่าตุ๊กแกอาจจะเป็นสัตว์สังคมก็ได้ หรือเป็นเพราะสภาพแวดล้อมบังคับ เพราะอาคารดังกล่าวเป็นอาคารเดียวโดดๆ จึงทำให้ตุ๊กแกยังอยู่รวมกันเป็นฝูง ไม่กระจัดกระจายไปหากินที่อื่น

2) ตุ๊กแกวางไข่ครั้งละ 2 ใบ เหมือนพวกตุ๊กกาย หรือจิ้งจกดินหรือไม่ ที่สังเกตดู ลูกตุ๊กแกแต่ละรุ่นก็มีประมาณ 2 ตัว 

3) ตุ๊กแกวางไข่แต่ละครั้ง ห่างกันนานแค่ไหน เพราะที่เห็น เวลาห่างกันไม่นานนัก ก็มีลูกตุ๊กแกตามกันมาหลายรุ่น

คติธรรมฯ (แก็ต)



ความเห็นที่ 9

ตุ๊กแกไม่ใช่สัตว์สังคมครับ ซุกอยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กัน การวางไข่ในบริเวณเดียวกันเพราะมันรู้ว่าที่นั้นเหมาะสม ที่เห็นเยอะมากจริงๆเกิดจากการวางไข่ซ้ำที่เดิมหลายๆปี เวลาหากินก็ไม่ได้ช่วยกันหากิน อาจแย่งกันด้วยซ้ำ ยังไม่เคยเห็นพฤติกรรมจัดลำดับอาวุโส (ทั้งอายุ และตำแหน่ง) ส่วนเรื่องเปิดไฟแล้วตุ๊กแกไม่กล้าออกนั้น น่าอยู่ที่การเรียนรู้ของมันในแต่ละที่ หากที่ไหนมันคุ้นเคยกับแสงไฟ มันก็ออกมาได้เสมอ ขอให้เงียบๆไม่มีคน (แต่ถ้ามันคุ้นคนๆนั้น ก็ออกมาได้เหมือนกัน)

ตุ๊กแกวางไข่ครั้งละสองฟอง ในรอบปีไม่น่าเกินสองชุดต่อแม่ (ยังเช็คไม่ได้ เพราะที่บ้านผมเป็นแหล่งอาหาร ไม่ใช่แหล่งวางไข่) โดยเทียบเคียงกับกลุ่มจิ้งจกบ้านสกุล Hemidactylus กับตุ๊กแกหินทราย (Gekko petricolus) ที่วางไข่ปีละสองชุดต่อแม่

ตุ๊กแกบ้าน ผมยังไม่ทราบเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นจิ้งจกสกุล Hemidactylus วางไข่ห่างกันประมาณหนึ่งเดือน แล้วก็รอยาวไปจนถึงรอบหน้าเลยครับ

ความเห็นที่ 9.1

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล

คติธรรมฯ (แก็ต)