ใช่ งูคุด เปล่าคะ

Comments

ความเห็นที่ 1

อีกรูปค่ะ

IMG_6216resize.jpg

ความเห็นที่ 2

น่าจะเป็นงูปี่แก้วลายแต้ม Oligodon fasciolatus มากกว่าครับ ว่าไปแล้วลายฟอร์มนี้ผมก็ยังไม่เคยเจอเหมือนกัน

ความเห็นที่ 3

ตัวนี้เจอที่ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม ค่ะ

ความเห็นที่ 4

ถ้างั้นยิ่งมั่นใจว่าใช่ชนิดที่บอกไปแหละครับ

ความเห็นที่ 5

ขอบคุณมากค่ะ

ความเห็นที่ 6

ช่วยสอนวิธีแยกงูชนิดนี้หน่อยค่ะ

ว่าจำแนกชนิดยังไง  ทำไมถึงคิดว่าเป็นงูชนิดนี้ มีจุดสังเกตอย่างไรคะ

มันมีคู่เหมือนหรือไม่   แล้วต่างจากงูคุดอย่างไรคะ

ความเห็นที่ 7

ประเด็นแรกที่ทำให้ตัดความเป็นงูคุดออกคือ เกล็ดมีความถี่มาก ซึ่งแสดงถึงจำนวนแถวเกล็ดที่จะเกิน 19 แถว (การใช้วิธีนี้จำเป็นต้องเคยเห็นตัวอย่างเปรียบเทียบมาก่อนแล้วเท่านั้น แล้วจะรู้ว่ามันถี่มากน้อยอย่างไร ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเพ่งนับเกล็ดจากภาพได้)

ประเด็นต่อมา ตั้งแต่เกิดมาก็ยังไม่เคยเห็นงูคุดลายนี้เลย รวมทั้งโทนสีที่จะต้องออกไปทางแดงๆ แดงอมม่วง หรือไปทางน้ำตาลเข้มๆ ลายงูคุดที่พบก็จะมี 2 กลุ่มลาย คือ ลายแต้มใหญ่ๆคล้ายๆกับ O. fasciolatus ที่เป็นฟอร์มหลัก (แต่ก็ไม่เหมือน) กับกลุ่มลายขวาง ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบอยู่เหมือนกันครับ

ต่อมาอีก..งูตัวในรูปแสดงแนวโน้มว่าสีที่ท้องจะเป็นโทนสีอ่อน (ขาวนวลๆ หรืออาจเป็นขาวอมเหลือง) และไม่มีลาย(อย่างน้อยก็ที่ขอบเกล็ดท้อง) ซึ่งเป็นภาคบังคับที่งูคุดต้องมีลายที่ขอบท้อง และท้องมีสีเข้ม(ไม่เห็นสีท้องจากภาพนี้)

ประเด็นสุดท้ายที่ผมใช้ประกอบการพิจารณา ไม่ใช่ตัดสิน คือ การกระจายพันธุ์ครับ ในพื้นที่กำแพงแสนจะมีงูปี่แก้วขนาดใหญ่เด่นชนิดเดียวก็คือเจ้า O. fasciolatus นี่แหละ นอกนั้นจะเป็นงูงอดเล็กๆ ซึ่งการกระจายพันธุ์นั้น ผมไม่ได้พิจารณาที่เขตจังหวัดหรืออำเภอ แต่ดูจาก habitat ของแต่ละพื้นที่เป็นเกณฑ์ครับ

ปล. ข้างบนนี้ผมใช้แยกระหว่างงูคุด (O. purpurascaens) กับ งูปี่แก้วลายแต้ม (O. fasciolatus) เท่านั้น หากจะจำแนกงูสกุลนี้ทั้งหมดของไทย จำเป็นต้องมีพื้นฐานและประสบการณ์กับงูกลุ่มนี้มากพอสมควร หรือสามารถใช้ keys จำแนกของ Pauwels et al., 2002 ร่วมกับ David et al., 2008 (ลองไปค้นๆดู ที่มี Oligodon น่ะ ถ้าไม่สำเร็จช่วยแจ้งด้วย จะช่วยอีกที)