นกบ้านๆ
เขียนโดย Gatsby Authenticated user เมื่อ 19 ตุลาคม 2556
เมื่อวานเย๊นจะเอากล้อง Canon 5D Mark III ไปอัพเกรด Firmware ก็เลยถือโอกาสขนเอาเลนส์ประดามีทั้งหลายไปให้ทางร้านล้างทำความสะอาดในคราวเดียวกันเลย (ร้าน Fotofile บริการล้างกล้องและเลนส์ Canon และ Nikon ให้ลูกค้าฟรี) แต่ปรากฏว่าไม่ต้องอัพเกรด Firmware ของ 5D Mark III เพราะ Firmware Version 1.2.1 เป็น Version ล่าสุดแล้ว เพราะเกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อนเล็กน้อย Version 2.0.3 นั้น เป็น Version ล่าสุดของ Canon EOS 7D... เมื่อสักครู่ก็เลยเอากล้องมาลองซุ่มถ่ายภาพนกใหม่ คราวนี้กลายเป็นว่าได้ภาพ นกกินปลีอกเหลือง ตัวจริงเสียงจริง ซึ่งเป็นนกกินอกเหลือง เพศผู้
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 4.1
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 5.1
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
คราวนี้มาถึงตาเจ้านกเขา หรือนกเราก็ไม่รู้ เมื่อตอนเย็นสายัณห์ ตะวันจะลาลับฟ้า มีนกเขามาเกาะร้องกรุ๊กๆกรู๊ แต่ผู้เดียวอยู่บนหลังคา ผมเลยคว้ากล้องมาถ่ายภาพ พร้อมร่ายกาพย์เขียนกลอนไว้ให้ดว้ย
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 11.1
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 13.1
ความเห็นที่ 13.1.1
ความเห็นที่ 13.1.1.1
ความเห็นที่ 13.1.1.1.1
ต้นไม้ที่นกกระจาบทำรังอยู่คือต้นอะไรครับ ผมเคยเห็นแต่นกกระจาบธรรมดาทำรังอยู่บนต้นตาลสูงๆครับ ผมว่านกกระจาบชอบทำรังอยู่บนต้นตาลนะครับ ตอนผมเด็กๆอยู่ต่างจังหวัด อยู่ในตัวเมือง ในซอยเดียวกันแทบทุกบ้านจะมีต้นมะพร้าวอยู่บ้านละสี่ห้าต้น หลายต้นก็สูงๆ แต่ไม่เห็นมีนกกระจาบมาทำรังอยู่ แต่มีบ้านใกล้ๆกันหลังหนึ่ง มีต้นตาลอยู่ต้นหนึ่งซึ่งก็ไม่สูงมากนัก สูงกว่าหลังคาบ้านไม้ใต้ถุนสูงอยู่หน่อยหนึ่ง แต่มีนกกระจาบมาทำรังอยู่หลายรัง ต้องรอให้มีพายุฝนแรงๆมา รังนกกระจาบจึงหล่นมาให้เก็บเอาไปเล่นได้ เมื่อประมาณปี 41-42 ไปคุมงานก่อสร้างที่ต่างจังหวัด ขับรถผ่านจากกำแพงเพชรมานครสวรรค์ เห็นร้านริมทางที่ขายกล้วยไข่กันเยอะๆ มีคนเอารังนกกระจาบมาขายในร้านด้วย มองไปข้างทางตามท้องนา มีต้นตาลสูงๆ มีนกกระจาบมาทำรังอยู่มากพอสมควร ตอนนี้ไม่ได้ผ่านไปนานแล้ว ไม่รู้ว่ายังมีรังนกกระจาบอยู่เยอะเหมือนเดิม หรือถูกชาวบ้านเก็บเอามาขายกันหมดแล้ว
ความเห็นที่ 13.1.1.1.1.1
น่าจะเป็นต้นมะขามป้อมนะครับ
ความเห็นที่ 13.1.1.1.1.1.1
ขอบคุณครับคุณตุ้ม ลูกดกดีจังเลย..
ความเห็นที่ 13.1.1.1.1.1.1.1
ความเห็นที่ 13.1.1.1.1.1.1.1.1
ความเห็นที่ 13.1.1.1.1.1.1.1.1.1
ความเห็นที่ 13.1.1.1.1.1.1.1.1.1.1
ความเห็นที่ 13.1.1.1.1.1.1.1.1.1.1.1
ความเห็นที่ 14
ความเห็นที่ 15
วันนี้เอา 5D Mark III มาลองกับเลนส์ 180 Macro แต่ใช้ Tripod แทน Monopod เพราะคราวที่แล้วใช้ Monopod แล้ว กล้องยังมีการเคลื่อนไหวไปทางซ้ายขวาอยู่เล็กน้อย และเลนส์ 180 Macro ตัวนี้ไม่มีตัวป้องกันภาพสั่นไหว (Image Stabilizer-IS) ด้วย จึงลองใช้ Tripod แทน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของภาพถ่ายว่าจะแตกต่างกันอย่างไร ตั้งกล้องอยู่พักใหญ่ ไม่มีนกแปลกใหม่อะไรมาให้ถ่าย มีแต่นกเขาใหญ่สองตัวมาเกาะบนหลังคา เจ้าตัวบนน่าจะเป็นตัวเดิมเจ้าของกลอนนกเขาไร้คู่ ส่วนตัวล่างหน้าตาพริ้มเพราเหมือนจะเป็นตัวเมีย ไม่รู้ว่าเป็นคู่กันหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นคู่กันทำไมถึงแยกกันนอน เพราะสักพักเจ้าตัวบนก็บินไปหาที่นอนที่อื่น ส่วนตัวล่าง รู้สึกว่าจะเป็นนกเขาที่เป็นนกเรา เพราะมาอาศัยหลบนอนใต้พุ่มใบต้นกรรณิการ์ที่ปลูกอยู่ในลานกลางบ้านอยู่เป็นประจำทุกวัน
ความเห็นที่ 16
ต้องขอประทานอภัย ที่เมื่อวานบอกว่าจะใช้เลนส์ 180 Macro กับ Tripod ดู โดยถ่ายภาพนกเขาใหญ่สองตัวมาให้ดูแล้วบอกว่าถ่ายโดยใช้เลนส์ 180 Macro บน Tripod เมื่อโพสต์รูปแล้ว มาดูรูปนกเขาใหญ่นั้นอีกที ก็นึกแปลกใจว่าเอ๊ะทำไมช่วงความคมชัด (Depth of Field : DoF) จึงกว้างกว่าเลนส์ Macro ทั่วไป จึงกลับมาดูที่กล้องกับเลนส์อีกที จึงรู้ว่ายังถ่ายด้วยเลนส์ 70-200mm อยู่เลย เพราะลืมเปลี่ยนเลนส์อย่างที่ได้ตั้งใจไว้ วันนี้จึงลอง ใช้เลนส์ 180 Macro กับ Tripod ดูใหม่ เจอนกเอี้ยงหงอนอยู่ตัวหนึ่ง แต่เกาะอยู่ค่อนข้างไกล และใช้นิ้วมือกดปุ่มชัตเตอร์เวลาถ่ายภาพ รูปที่ออกมาจึงเบลอๆอยู่ แม้แต่เมื่อมองดูภาพที่จะถ่ายแบบ Live View บนมอนิเตอร์ โดยตั้งอัตราขยายเป็น 10x แม้มือไม่ได้สัมผัสตัวกล้องหรือขาตั้งกล้อง เมื่อมีลมพัด ภาพบนมอนิเตอร์ยังสั่นๆอยู่เลย สงสัยต้องใช้ขาตั้งกล้องที่ขาใหญ่แข็งแรงและหนักกว่านี้ และใช้ Remote Switch หรือ Remote Control ช่วยเวลาถ่ายภาพ
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 19
เลนส์ 70-200+ TC อาจไม่อำนวยต่อการถ่ายภาพนก ตัวใหญ่ๆ ลองถ่ายมาให้เห็นนก และที่อยู่ อาศัยของนก ภาพก็จะออกมาดูสวยงาม ดูไม่เบื่อค่ะ ถ้าถ่ายนกยักษ์ๆ ดูแป๊ปเดียวก็เบื่อแล้ว :)
ความเห็นที่ 20
นอกจากผมจะสนใจถ่ายภาพ มด แมลง และสัตว์ตัวเล็กๆ แบบมาโครแล้ว ก็ยังสนใจถ่ายภาพนกด้วย ซึ่งหลายครั้งนกที่ต้องการถ่ายภาพก็อยู่ค่อนข้างไกล ทำให้มีความต้องการใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงเหมือนกัน แต่เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงและมีประสิทธิภาพสูง (L Seires ขอบแดง) ของ Canon แทบทั้งหมดจะเป็น Prime Lens คือ Fixed Focal Length Lens หรือที่เรียกกันว่าเลนส์ฟิกซ์ ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก (3-4 กิโลขึ้นไป) จะออกทริปถ่ายภาพกันที ก็ต้องหามเลนส์ (ไม่ใช่แบกเลนส์) กันไปเลยทีเดียว และราคาก็แพงมากด้วย (ราคา 2-3 แสนบาทขึ้นไป) ผมซึ่งเป็นเพียงตากล้องมือสมัครเล่น ไม่ใช่มืออาชีพที่สามารถหารายได้จากการถ่ายภาพมาชดเชยกับการลงทุนซื้อเลนส์ราคาสูงๆได้ จึงไม่ต้องการลงทุนในเลนส์ราคาสูงมาก ดังนั้นเกณฑ์ในการเลือกซื้อเลนส์ของผมคือ ต้องเป็นเลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูง (L Series ขอบแดง) มีขนาดรูรับแสงสูงสุด f2.8 ขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าเป็นเทคโนโลยีของชิ้นเลนส์แบบรุ่น II แล้วยิ่งดีมาก (เคยใช้เลนส์ขนาดรูรับแสงสูงสุด f4.0 และใช้เทคโนโลยีของชิ้นเลนส์แบบเดิมแล้วเทียบกับเลนส์ f2.8 II แล้ว จะเห็นความแตกต่างของความคมชัด อย่างเห็นได้ชัดเจนเลยทีเดียว) และต้องมีขนาดไม่ใหญ่และน้ำหนักไม่มากจนเกินไป ทำให้เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงสุดที่ผมมีอยู่ในปัจจุบัน คือ Canon EF 70-200mm/f2.8L IS II USM (น้ำหนักเลนส์ประมาณ 1.5 กิโล เมื่อบวกกับบอดี้กล้องและอุปกรณ์อย่างอื่นแล้ว ก็พอจะกระเตงกันไปได้) ครั้นเมื่อผมต้องการจะเพิ่มความยาวโฟกัสของเลนส์ ก่อนหน้านี้ เมื่อตอนต้นปี ก่อนที่ผมจะซื้อเลนส์ Canon EF 70-200mm ผมก็เคยเล็งๆและทดลองใช้เลนส์ Canon EF 100-400mm/f4.5-5.6L IS USM (เลนส์ที่คุณตุ้ม ปรารภว่าอยากจะได้) ที่ร้านโฟโต้ไฟล์อยู่เหมือนกัน แต่ติดอยู่ที่ว่า ถึงแม้จะเป็น เลนส์ L Series แต่มีขนาดรูรับแสงสูงสุด f4.5 ที่ทางยาวโฟกัส 100mm และ f5.6 ที่ทางยาวโฟกัส 400mm และใช้เทคโนโลยีของชิ้นเลนส์แบบเดิม และที่สำคัญคือการปรับระยะซูมโดยการชักบอดี้เลนส์เข้า-ออก (Push-Pull) ซึ่งโดยปกติเราจะไม่ค่อยถนัด และทำให้มีโอกาสที่ฝุ่นจะเข้าไปภายในตัวเลนส์ได้มากขึ้น ตอนนั้นผมก็เลยยังไม่ซื้อ หลังจากที่ผมซื้อเลนส์ 70-200mm มาแล้ว เมื่อผมต้องการเพิ่มทางยาวโฟกัสของเลนส์ ผมก็เลยตัดสินใจซื้อ Extender ของ Canon รุ่น EF 1.4X II มาใช้ ทำให้ได้ทางยาวโฟกัสสูงสุดเพิ่มเป็น 1.4x200 = 280mm (เหตุที่ไม่ซื้อรุ่น 2X ตั้งแต่ทีแรกเลย เพราะตอนนั้นที่ร้านไม่มีของมือสองในร้าน และที่ต้องรอซื้อของมือสองเพราะเราไม่รีบร้อนต้องการใช้งาน ที่สำคัญคือสามารถประหยัดเงินได้มากเลยทีดียว อย่างเช่น เลนส์ 70-200mm ผมซื้อมือสองสภาพดีที่ราคาหย่อนหกหมื่นนิดหน่อย ของใหม่ประมาณเจ็ดหมื่นสาม บอดี้กล้อง 5D Mark III ผมซื้อมือสองสภาพดี ตัวที่ผมซื้อมาอายุใช้งาน 1 ปี ชัตเตอร์ถูกใช้งาน 2,800 ครั้ง เทียบกับอีกตัวหนึ่งอายุใช้งาน 1 ปีเหมือนกัน แต่ชัตเตอร์ถูกใช้งานมาแล้ว 35,000 ครั้ง ของใหม่รับประกันศูนย์ ราคาแปดหมื่นหก นี่ก็ว่าจะไปเอาแฟล็ชของ Canon รุ่น 600 EX RT มือสองสภาพใหม่อีกตัวหนึ่ง ราคาประมาณหนึ่งหมื่น ของใหม่ประกันศูนย์ราคาประมาณหนึ่งหมื่นแปดพัน ของใหม่ประกันร้านราคาประมาณหนึ่งหมื่นหกพัน) ตอนนี้ Cannon มีเลนส์ Tele Zom ตัวใหม่ออกมาคือ EF 200-400mm/f4L IS USM+Built-in Extender 1.4X II แต่ราคาแพงมาก ประมาณสามแสนแปดหมื่นบาท ก็เลยไม่อยู่ในเป้าหมาย เมื่ออาทิตย์ก่อนไปเห็น Extender ของ Canon รุ่น EF 2X II มือสองสภาพใหม่ ที่ร้านโฟโต้ไฟล์ เดอะมอลล์บางกะปิ เมื่อวันศุกร์ก็เลยหิ้วกล้องและเลนส์ 70-200mm/f2.8L และเลนส์ 180mm/f3.5L Macro ไปทดลองดู ปรากฏว่าเมื่อใช้กับเลนส์ 180mm Macro ในโหมด View Finder ฟังก์ชั่นออโต้โฟกัสใช้ไม่ได้ แต่ในโหมด Live View ฟังก์ชั่นออโต้โฟกัสใช้ได้ แต่ทำงานค่อนข้างช้ามาก เมื่อทดลองใช้กับเลนส์ 70-200mm ปรากฏว่า ทั้งในโหมด View Finder และ Live View ฟังก์ชั่นออโต้โฟกัสทำงานได้ดีเป็นปกติคือเร็วและเงียบ ก็เลยตัดสินใจซื้อมาในราคาเก้าพันบาทถ้วน (ของใหม่ราคาไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นสองพันบาท) เย็นวันนี้ก็เลยเอามาลองถ่ายภาพดู โดยใช้กับเลนส์ 70-200mm ซึ่งจะทำให้ทางยาวโฟกัสสูงสุดเพิ่มเป็น 2x200 = 400mm ซึ่งถ่ายเมื่อเวลาประมาณห้าโมงครึ่ง แสงค่อนข้างน้อยเพราะเป็นหน้าหนาวฟ้าจะมืดเร็ว แต่คุณภาพของภาพก็ถือว่าดีใช้ได้เหมือนกัน ภาพที่ถ่ายเป็นภาพนกกระจอกสองตัวผัวเมีย ช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกน้อย
ความเห็นที่ 20.1
ความเห็นที่ 21
โพสต์ภาพเพิ่ม
ความเห็นที่ 22
โพสต์ภาพเพิ่ม
ความเห็นที่ 23
โพสต์ภาพเพิ่ม
ความเห็นที่ 24
เมื่อต้องการถ่ายภาพนกที่เกาะอยู่ค่อนข้างไกล ผมก็ต้องตั้งความยาวโฟกัสสูงสุดไปที่ 400มม. ซึ่งแน่นอนก็ต้องใช้ Tripod ช่วย (ขนาดใช้ Tripod ช่วย เวลากลัวนกจะบินหนีไปก่อน ก็ต้องรีบกดชัตเตอร์ ทำให้กดชัตเตอร์แรงไปหน่อย กล้องมีการขยับตัวเล็กน้อย ภาพที่ได้ก็ยังเบลอเลยครับ) เวลาใช้หัว Tripod แบบหัวบอลธรรมดา เมื่อต้องการปรับมุมกล้องไปตามตำแหน่งของนกที่มักจะกระโดดไปตามกิ่งไม้ การปรับตำแหน่งของหัวบอลแบบธรรมดาจะไม่สะดวก ไม่ทันการ (เรียกว่าไม่ทันกิน) ปัญหาอีกประการหนึ่งของหัวบอลแบบธรรมดาคือ เมื่อบิดล็อคหัวบอลแล้วปล่อยมือ หัวบอลมักจะ Slip ทำให้มุมกล้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมก็เลยไปซื้อหัว Tripod ของ Manfrotto แบบที่มีด้ามสำหรับมือจับ ที่เวลาบีบด้ามจับ ก็จะคลายหัวบอล เวลาปล่อยก็จะล็อคหัวบอล และสามารถปรับระดับความแข็งของการล็อคหัวบอลได้ด้วย ซึ่งทำให้สะดวก คล่องตัวในการปรับมุมกล้องได้มากขึ้น ช่วงสองสามวันที่ผ่านมา ตอนบ่ายๆ ผมก็จะตั้งกล้องรอถ่ายภาพนกรอบๆบ้าน ซึ่งหัวบอลแบบด้ามจับก็ใช้งานได้ดีตามที่คาดหวังไว้ เมื่อวานตอนบ่ายแก่ๆ ราวๆซักห้าโมงถึงห้าโมงครึ่ง มีนกชนิดหนึ่งบินมาเกาะที่ระยะไกลพอสมควร มองดูด้วยตาเปล่าก็ไม่รู้ว่าเป็นนกอะไร เพราะด้านหลังมีแบ็คกราวด์เป็นกิ่งไม้ กำลังปรับมุมกล้องเพื่อถ่ายรูป นกก็บินหนีไปก่อนแล้ว วันนี้ตอนบ่ายแก่ๆ ก็ตั้งกล้องถ่ายรูปนกเหมือนเดิม ในเวลาใกล้เคียงกับเมื่อวาน นกตัวนี้ก็มาเกาะในตำแหน่งเดิม ครั้งแรกถ่ายได้ช็อตเดียว นกก็บินหนีไป แต่อีกสักพักใหญ่ๆ นกก็บินมาเกาะที่เสาอากาศทีวีต้นเดิม คราวนี้ถ่ายได้อีกสี่ห้าช็อต เมื่อดูจากมอนิเตอร์ครั้งแรก ก็ไม่รู้ว่าเป็นนกอะไร เพราะตั้งแต่มาอยู่กรุงเทพฯมา 41 ปีแล้ว ก็เพิ่งจะเคยเห็นเป็นครั้งแรกนี่แหละ เมื่อมาเทียบดูกับหนังสือนกเมืองไทยของคุณหมอบุญส่งฯเล่มล่าสุด ถึงรู้ว่าเป็นนกแซงแซวสีเทา (Ashy Drongo) ชนิด Dicrurus leucophaeus leucogensis เพราะเห็นตาสีแดงค่อนข้างชัด
ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือในช่วงประมาณสิบปีมานี้ มีนกหลายชนิดที่ไม่เคยเห็น หรือไม่ค่อยได้เห็น มาอาศัยอยู่รอบๆบ้านหลายชนิดมากขึ้น เช่น นกอีแพรด นกกาเหว่า นกปรอดหน้านวล และนี่ก็นกแซงแซวสีเทาอีก หรือว่าเมื่อก่อนในซอยส่วนใหญ่จะเป็นที่ลุ่มน้ำขัง มีต้นธูปฤาษีเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันมีคนมีฐานะมาซื้อที่ ถมที่ปลูกบ้าน ปลูกต้นไม้ใหญ่มากขึ้น ทำให้นกมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น แต่โดยนัยกลับกัน นกกะปูดซึ่งชอบอาศัยอยู่ตามไม้พุ่มไม้เล็กที่มีเถาวัลย์และตำลึงปกคลุม และตามดงต้นธูปฤาษี กลับลดน้อยลงไป
ความเห็นที่ 25
อัพโหลดภาพเพิ่ม
ความเห็นที่ 26
อัพโหลดภาพเพิ่ม
ความเห็นที่ 27
อัพโหลดภาพเพิ่ม
ความเห็นที่ 28
อัพโหลดภาพเพิ่ม
ความเห็นที่ 29
เย็นวันนี้ผมก็ตั้งกล้องรอถ่ายภาพนกอีกเช่นเคย วันนี้มีภาพนกบ้านๆที่ยังไม่เคยโพสต์คือ นกเอี้ยงสาริกา นอกจากนี้ผมก็ยังคอยดูว่าเจ้านกแซงแซวสีเทาจะมาเกาะที่เก่าเวลาเดิมหรือไม่ ปรากฏว่าเจ้านกแซงแซวสีเทามาเกาะที่เสาอากาศทีวีต้นเดิมในเวลาเดิมจริงๆครับ และเสาอากาศทีวีต้นนี้ในวันนี้ กลายเป็นที่เกาะยอดฮิตของวันนี้ไปเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะมีเจ้านกแซงแซวสีเทามาเกาะแล้ว ก็ยังมี นกปรอดหน้านวล นกกางเขนบ้าน นกเอี้ยงหงอน และนกเขาใหญ่ มาอาศัยเกาะอวดโฉมกันอย่างคึกคักกันเลยทีเดียว
ความเห็นที่ 30
นกแซงแซวสีเทา-6
ความเห็นที่ 31
นกแซงแซวสีเทา-7
ความเห็นที่ 32
นกปรอดหน้านวล
ความเห็นที่ 33
นกกางเขนบ้าน
ความเห็นที่ 34
นกเอี้ยงหงอน
ความเห็นที่ 35
นกเขาใหญ่
ความเห็นที่ 36
แถมด้วยนกปรอดหน้านวลบนยอดกระถินยักษ์
ความเห็นที่ 37
บ่ายแก่ๆวันนี้ ก็ตั้งกล้องกะว่าจะรอถ่ายภาพเจ้าแซงแซวสีเทาอีก เมื่อตั้งกล้องเสร็จ จึงสังเกตเห็นว่าต้นไม้ที่เป็นแบ็คกราวด์ของเสาอากาศทีวียอดฮิต ถูกตัดทิ้งไปแล้ว และคงเพราะสาเหตุนี้กระมัง จึงทำให้เสาอากาศทีวียอดฮิตกลายเป็นคอนโดนกไปเลย เพราะมีนกมาเกาะพร้อมกันหลายตัวมาก มีทั้งนกเขาใหญ่ นกเขาชวา และนกกางเขนบ้าน ทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีนกเขาใหญ่ตัวหนึ่งกาะอยู่นานมาก ร่วมสามชั่วโมง เลยจึงทำให้เจ้าแซงแซวสีเทาไม่มาตามนัด
ในภาพคอนโดนก โปรดสังเกตที่มุมล่างขวาของภาพยังมีนกเขาใหญ่บนยอดมะรุมอีกหนึ่งตัว
ความเห็นที่ 38
นกเขาใหญ่บนยอดมะรุม
ความเห็นที่ 39
นกกางเขนบ้านตัวผู้
ความเห็นที่ 40
นกกางเขนบ้านตัวเมีย
ความเห็นที่ 41
แถมท้ายด้วยนกเอี้ยงหงอนบนยอดชมพู่มะเหมี่ยว
ความเห็นที่ 42
ความเห็นที่ 43
ความเห็นที่ 44
ความเห็นที่ 45
ความเห็นที่ 46
ความเห็นที่ 47
1) นกที่ยังไม่เคยโพสต์ 2 ชนิด คือ นกกิ้งโครงคอดำ และนกปรอดหัวโขน
ความเห็นที่ 48
ความเห็นที่ 49
ความเห็นที่ 50
ความเห็นที่ 51
ความเห็นที่ 52
ความเห็นที่ 53
ความเห็นที่ 54
ความเห็นที่ 55
-นกปรอดสวนชวนเริงระบำ
ความเห็นที่ 56
ความเห็นที่ 57
ความเห็นที่ 58
1) อันดับแรกคือ นกตีทอง ที่มาเกาะที่เสาอากาศสื่อสารของบริษัทให้บริการด้านสื่อสารคอมพิวเตอร์ ซึ่งเสาอากาศต้นนี้ที่เป็นที่นิยมของนกชอบเกาะที่สูง เช่น นกเอี้ยง นกกิ้งโครง รวมถึงเจ้านกตีทองนี้ด้วย ความจริงเมื่อหลายวันก่อน นกตีทองตัวหนึ่งเคยมาเกาะที่เสาอากาศต้นนี้ให้ถ่ายรูปทีหนึ่งแล้ว แต่เนื่องจากเสาอากาศต้นนี้ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของตัวบ้าน และวันนั้นนกตีทองมาเกาะในเวลาราวๆหกโมงเย็น โพล้เพล้ใกล้มืดเต็มทีแล้ว เมื่อหันกล้องไปทางเสาอากาศต้นนี้ ก็จะเป็นมุมย้อนแสง และแสงก็น้อยมากด้วย รูปที่ถ่ายมาจึงเห็นตัวนกเป็นเพียงเงาเทาๆดำๆ ไม่เห็นสีของนกเลย แต่ที่รู้ว่าเป็นนกตีทอง ก็เพราะเสียงร้องที่ดัง ต๊ง ต๊ง ต๊ง อันเป็นเอกลักษณ์ของเขานั่นแหละ วันนี้นกตีทองคู่นี้มาเกาะตอนเวลาห้าโมงครึ่งกว่าๆ ซึ่งยังพอมีแสงให้ถ่ายรูปให้พอได้เห็นสีเขียว เหลือง แดง ของตัวนกบ้าง
ความเห็นที่ 59
ความเห็นที่ 60
ความเห็นที่ 61
ความเห็นที่ 62
ความเห็นที่ 63
ความเห็นที่ 64
ความเห็นที่ 65
ความเห็นที่ 66
ความเห็นที่ 67
ความเห็นที่ 68
ความเห็นที่ 69
ความเห็นที่ 70
ความเห็นที่ 71
ความเห็นที่ 72
ความเห็นที่ 73
ความเห็นที่ 74
ความเห็นที่ 75
ความเห็นที่ 76
นกนางแอ่นบ้านจากระเบียงบ้าน -1
ความเห็นที่ 77
ความเห็นที่ 78
ความเห็นที่ 79
ความเห็นที่ 80
มังกรกอทอมอ 1-1
ความเห็นที่ 81
ความเห็นที่ 82
ความเห็นที่ 83
ความเห็นที่ 84
ความเห็นที่ 85
นกจาบคาหัวเขียว-1
ความเห็นที่ 86
ความเห็นที่ 87
นกจับแมลงสีน้ำตาลที่ถ่ายภาพมาได้มีสองตัว ตัวแรกมีขนสีเทาและเทาเข้ม ตัวที่สองมีขนสีน้ำตาลปนเทา ซึ่งตามภาพในหนังสือนกเมืองไทยของคุณหมอบุญส่งฯระบุว่า ขนสีเทาและเทาเข้มคือขนเก่า ส่วนขนสีน้ำตาลปนเทาคือขนใหม่
นกจับแมลงสีน้ำตาลตัวที่หนึ่ง-1
ความเห็นที่ 88
ความเห็นที่ 89
ความเห็นที่ 90
ความเห็นที่ 91
ความเห็นที่ 92
นกกระจ้อยสีไพล-1
ความเห็นที่ 93
ความเห็นที่ 94
หนูต้นไม้
ความเห็นที่ 95
นกกระจอกใหญ่ตัวผู้-1
ความเห็นที่ 96
ความเห็นที่ 97
ความเห็นที่ 98
ความเห็นที่ 99
ความเห็นที่ 100
ความเห็นที่ 101
ความเห็นที่ 102
ความเห็นที่ 103
ความเห็นที่ 103.1
1) ทำให้ผมเริ่มสนใจถ่ายภาพนกรอบๆบ้านอย่างจริงจังมากขึ้น ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับนกเพิ่มขึ้นอีกหลากหลายชนิด จากเดิมที่เคยเห็นแต่นกรอบๆบ้านที่เคยเห็นจนชินตาอยู่เพียง 3-4 ชนิด ที่ชอบมาหากิน เกาะอาศัยตามชายคาบ้าน ระเบียงบ้าน หรือตามชายคาตึก เช่น นกกระจอกบ้าน นกพิราบ นกเขาใหญ่และเขาชวา หรือนกเอี้ยง แต่หลังจากที่เริ่มลงมือถ่ายภาพนกอย่างจริงจังมากขึ้น ทำให้ได้เห็น ได้ถ่ายภาพนกรอบๆบ้านเพิ่มมากขึ้นอีกหลายชนิด เท่าที่นับดู จำนวนชนิดของนกรอบๆบ้านที่ถ่ายได้จากมุมกล้องบนระเบียงบ้านที่เดียว ก็นับได้ 20 ชนิดแล้ว และจำนวนนกที่หิ้วกล้องออกไปถ่ายภาพนกนอกบ้าน นับถึงปัจจุบันอีก 6 ชนิด (ยังไม่รวมนกที่เห็นตัวแต่ยังถ่ายภาพไม่ได้ และที่ได้ยินแต่เสียงแต่ไม่เห็นตัวอีกหลายชนิด) และที่สำคัญคือทำให้มีสาเหตุที่เป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้ได้มีโอกาสได้ใช้กล้องและขวนขวายหาอุปกรณ์เสริมมาฝึกฝนและพัฒนาทักษะในการถ่ายภาพให้ดียิ่งขึ้น กล้องและเลนส์ Canon ที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ซื้อมาตั้งแต่เมื่อประมาณต้นปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ถ่ายภาพอะไรจริงจังนัก นานๆทีก็เอามาซ้อมมือเล็กๆน้อยๆ ฝีมือก็เลยไม่ค่อยได้พัฒนาไปถึงไหน ที่ผ่านมาก็ศึกษาวิธีการถ่ายภาพจากหนังสือบ้าง จากเว็บไซต์บ้าง มาพอสมควร แต่ก็ไม่ได้ลงมือปฏิบัติฝึกฝนอย่างจริงจังมากนัก และโดยที่ผมจะเน้นการถ่ายภาพในโหมดแมนนวลเป็นหลัก ซึ่งต้องฝึกฝนมากพอสมควรจึงจะสามารถถ่ายภาพออกมาให้ได้คุณภาพดีตามที่ต้องการ ตอนนี้ก็เลยมีโอกาสได้ลงมือฝึกฝนอย่างจริงจังเสียที ซึ่งก็เข้ากับหลักที่ว่า การจะลงมือทำอะไรสักอย่าง มันยากอยู่ที่ตอนเริ่มต้น แต่เมื่อได้เริ่มแล้ว มันก็ดูไม่ยากอีกต่อไป และก็เข้ากับหลักการของผมที่ว่า "ความรู้ได้จากการศึกษาเล่าเรียน ความชำนาญได้จากการหมั่นเพียรฝึกฝน"
2) จากการที่ได้เฝ้าติดตามถ่ายภาพนกบ้านๆนี้ ก็ทำให้ได้มีโอกาสศึกษาชีวิตในธรรมชาติของนกต่างๆไปด้วย เช่น นกแต่ละชนิดกินอะไรเป็นอาหาร ตัวอย่างที่ได้เรียนรู้คือ เมื่อก่อนผมก็เข้าใจว่านกกระจอกเป็นนกที่กินอาหรจำพวกเมล็ดธัญญพืชอย่างเดียว แต่เมื่อสังเกตตอนที่พ่อแม่นกกระจอกหาอาหารมาป้อนลูกน้อย ก็เห็นพ่อแม่นกช่วยกันหาหนอนและแมลงมาป้อนลูกนก และพ่อแม่นกช่วยกันเลี้ยงลูกนกจนลูกนกบินได้และช่วยกันดูแลลูกด้วยกันต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่พ่อแม่นกอีแพรดแตกต่างออกไป ที่พ่อแม่นกช่วยสลับกันฟักไข่จนไข่เป็นตัว แล้วพ่อนกอีแพรดจะช่วยเลี้ยงลูกต่ออีกสักหนึ่งสัปดาห์ แล้วพ่อนกก็จากไป ปล่อยให้แม่นกสอนลูกนกให้หัดบินแต่ผู้เดียว โดยการเกาะอยู่ใกล้ๆกับลูกนกแล้วร้องเรียกให้ลูกนกบินเข้าไปหา จนลูกนกสามารถบินได้แข็งแรงแคล่วคล่อง เพราะนกอีแพรดเป็นนกที่ต้องบินได้อย่างแคล่วคล่อง เพราะต้องบินโฉบจับแมลงกลางอากาศ นอกจากนี้ก็มีข้อมูลด้านอื่นๆ เช่น นกแต่ละชนิดชอบหากินที่ต้นไม้ชนิดใด นกแต่ละชนิดผสมพันธุ์ปีละกี่ครั้ง ในฤดูใด เดือนใด ซึ่งในหนังสือคู่มือนกเมืองไทย ส่วนใหญ่จะไม่มีข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ผมมีความตั้งใจที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นระบบ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3) จากการที่ผมได้ศึกษานกบ้านๆนี้ ทำให้ผมเปลี่ยนมุมมองในการศึกษาธรรมชาติใหม่คือ เมื่อเราพูดถึงสัตว์ต่างๆ เรามักจะแบ่งสัตว์เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า เมื่อเราพูดถึงสัตว์ป่า เราก็มักจะนึกถึงสัตว์ที่อยู่ในป่าจริงๆ เช่นในป่าสงวนฯ ในป่าอนุรักษ์ต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลจากชุมชน จากตัวเมืองออกไป แต่ความจริง ก็ยังมีสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยง แต่อาศัยอยู่ใกล้ๆรอบๆตัวเราอีกมากมาย แม้แต่ในบ้านของเราเอง ทำให้ผมเปลี่ยนคำจำแนกสัตว์ต่างๆใหม่ว่า "สัตว์เลี้ยง" กับ "สัตว์ในธรรมชาติ" ซึ่งสัตว์ในธรรมชาติที่ถึงแม้จะอยู่ใกล้ๆตัวเรา ที่เราเห็นเป็นประจำจนชินตา แต่ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้ศึกษาอยู่อีกมากมายทีเดียว
4) การที่ผมได้มีโอกาสฝึกฝนถ่ายภาพมากขึ้นเช่นนี้ ทำให้มีความคิดว่า เมื่อเรามีศักยภาพที่จะถ่ายภาพเกี่ยวกับธรรมชาติได้ ก็ควรจะนำภาพเกี่ยวกับธรรมชาติที่ถ่ายได้นี้ มาแชร์เพื่อเผยแพร่ให้เพื่อนสมาชิกอื่นๆที่สนใจศึกษาธรรมชาติ ได้มีโอกาสได้ดูได้ศึกษาเกี่ยวกับธรมชาติมากขึ้น และหากสมาชิกท่านอื่นๆที่มีศักยภาพเช่นเดียวกันนี้ ช่วยกันแชร์ภาพให้มากขึ้น ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการศึกษาธรมชาติให้แก่สมาชิกท่านอื่นๆ ให้เพิ่มมากขึ้นมากขึ้นตามไปด้วย เป็นการใช้ศักยภาพของเราเพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่สมาชิกท่านอื่น
ความเห็นที่ 103.1.1
ความเห็นที่ 104
นกจับแมลงคอแดงตัวผู้-1
ความเห็นที่ 105
ความเห็นที่ 106
ความเห็นที่ 107
ของขวัญวันแห่งความรัก คือการสร้างรังรักอันอบอุ่นให้คู่รักเพื่อให้กำเนิดลูกน้อยที่น่ารักต่อไป
ความเห็นที่ 108
ความเห็นที่ 109
ความเห็นที่ 110
นกกระจิบหญ้าสีเรียบ-1
ความเห็นที่ 111
ความเห็นที่ 112
ความเห็นที่ 113
ความเห็นที่ 114
นกพิราบสีสวย-1
ความเห็นที่ 115
ความเห็นที่ 116
ความเห็นที่ 117
นกพงใหญ่ปากหนา-1
ความเห็นที่ 118
ความเห็นที่ 119
ความเห็นที่ 120
นกกระติ๊ดขี้หมู-1
ความเห็นที่ 121
ความเห็นที่ 122
ความเห็นที่ 123
ความเห็นที่ 124
ความเห็นที่ 125
ความเห็นที่ 126
ความเห็นที่ 127
ความเห็นที่ 128
ความเห็นที่ 129
ความเห็นที่ 130
แถมด้วยนกนางแอ่นบ้านที่เกาะสายไฟฟ้า
ความเห็นที่ 131
ความเห็นที่ 132
ความเห็นที่ 133
ความเห็นที่ 134
ความเห็นที่ 135