ใช่ Lycodon cardamomensis รึเปล่าครับ?

เจอที่เขาใหญ่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 ส.ค. อยู่ประมาณครึ่งทางระหว่างสามแยกขึ้นเขาเขียวกับน้ำตกเหวนรก

ถามเพื่อนมาได้ความว่าน่าจะเป็น งูปล้องฉนวนภูเขาเขมร Lycodon cardamomensis

รบกวนฟันธงให้ด้วยขอรับindecision

Comments

ความเห็นที่ 1

ถ้าเป็น Lycodon cardamomensis ก็คงจะดีนะครับ

แต่เสียดายที่ตายซะแล้ว

ความเห็นที่ 2

ใช่ครับ เป็น L. cardamomensis

ความเห็นที่ 3

ยังไม่เคยเจอชนิดนี้ตัวเป็นๆเลยแหะ

ความเห็นที่ 4

ขอบคุณครับที่มาช่วยคอนเฟิร์ม

ความเห็นที่ 5

ผมยังไม่ยืนยันครับ เพราะมีปัญหาที่มีเจ้างูปล้องฉนวนชนิด Lycodon cf. fasciatus ในพื้นที่เขาใหญ่ สะแกราช ซึ่งผมเองยังไม่แน่ใจว่ามันจะหมายถึง L. cardamomensis หรือเปล่า แต่..คนที่กำลังรีวิวชนิดข้างต้นคบงไม่ตกข้อมูลชนิดหลังแน่นอน อย่างไรก็ตามผมเองก็ยังไม่เคยเห็นตัวอย่างชนิดแรกเลยยังไม่อยากสรุป

เพื่อไม่ให้เสียแรงใจมิตรรักแฟนเพลง ผมก็จะเสนอข้อสังเกตนิดๆหน่อยๆ(ซึ่งไม่ถือว่าเป็นข้อสรุป) คือ ลายชมพูของงูแบนๆตัวนี้จะแคบกว่าเจ้า cardamom อย่างชัดเจน ส่วนจำนวนปล้องมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ (ภาษา stat) ที่น่าสนใจคือเจ้าตัวแบนนี้มีแถบคาดท้อง(ต่อเนื่องจากแถบดำๆที่หลัง) ซึ่งเจ้าเขมรนั้นในเอกสารระบุว่าไม่มีแถบคาดท้อง (ขอตรวจสอบจากคนที่มีตัวอย่างอีกที เพราะแถบนี้อาจจางหายในตัวอย่างดอง)

ผมขอเก็บรูปไว้เทียบนะขอรับ แต่ถ้าเป็นไปได้รบกวนขอไฟล์ใหญ่เพื่อที่ผมจะใช้นับเกล็ดตรวจสอบ แล้วถ้าได้เก็บซากมาด้วยก็จะได้ขอดูซากครับ

ความเห็นที่ 6

ลองเทียบรูปจาก econote ฉบับที่ 6 ซึ่งดูได้จากคลังเอกสารครับ

ความเห็นที่ 7

อ่า..เจ้า cardamom ก็มีลายคาดท้องจางๆเหมือนกัน ก็ตัดไปได้อีกประเด็นครับ