การประชุมครั้งที่ 1 อนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย

การประชุมครั้งที่ 1 อนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย 2-4 พค ปีนี้

เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทรัพยากรที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ ปัญหาต่างๆ ที่กำลังคุกคามต่อโลกไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ภิบัติภัยต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อความอยู่รอดของสรรพชีวิตบนโลกรวมทั้งมนุษย์ และมนุษย์เองก็เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ และเป็นตัวเร่งที่ทำให้ทรัพยากรชีวภาพสูญพันธุ์เร็วกว่าที่ควรจะเป็น องค์กรต่างๆ ของโลกได้รณรงค์เรื่องการลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปี ค.ศ. 2010 IUCN ได้ประกาศให้เป็นปีที่โลกต้องช่วยกันลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ CBD มีการจัดประชุมร่วมในกลุ่มมวลสมาชิกเพื่อช่วยกันลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และได้มีการประชุม COP 10 ที่เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 2553 เพื่อรณรงค์กันอย่างเข้มข้นต่อการนำรัฐบาล และชุมชนเข้าร่วมกันรักษาทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการขาดความรู้พื้นฐานเรื่องของจำนวนสปีชีส์ที่มีอยู่บนโลกนี้ และความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสปีชีส์และความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิอากาศ จนถึงปัจจุบัน ยังมีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงไม่ถึง 10% อาทิสิ่งมีชีวิตของโลกที่ถูกค้นพบ และบันทึกอย่างเป็นระบบมีเพียงไม่ถึงสองล้านสปีชีส์ จากที่คาดการกันว่าจะมีถึง 20 ล้านสปีชีส์ และเชื่อได้ว่าจำนวนมากมีการสูญพันธุ์ไปแล้วก่อนการค้นพบก็ตาม และแม้ว่า CBD ได้ก่อตั้งโครงการ GTI (Global Taxonomic Initiative) เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีผลกระทบแต่อย่างใด

ประเทศไทยมีหลักฐานการศึกษาสำรวจดังกล่าวมาราว 200 ปีจากชาวตะวันตก ต่อมาภายหลังคนไทยตื่นตัวกันมากขึ้นสร้างผลงานการค้นพบเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ อย่างไรก็ตามปัญหาการได้รับทุนสนับสนุนและการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นของนักวิจัยชาวไทย ยังคงไม่เกิดขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นในภาวะคุกคามของการเข้ามาของนักวิจัยชาวต่างชาติในเรื่องของการสำรวจค้นหาสิ่งมีชีวิต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระดมนักอนุกรมวิธานจากทั่วประเทศ เพื่อนำเสนอผลงานที่ได้ค้นพบ และหาแนวทางร่วมมือกันทำวิจัยระหว่างสถาบันต่างๆ ภายในประเทศ รวมถึงการตั้งรับอย่างเป็นรูปธรรมต่อการเข้ามาของนักวิจัยชาวต่างชาติ ดังนั้นการจัดการประชุมทางวิชาการ “การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย : การประชุมครั่งที่1 เรื่องอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย” จึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้อย่างทันเวลา และรักษาผลประโยชน์ของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อระดมนักอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ชาวไทย เข้าร่วมแสดงผลงานทางวิชาการ และหารือแนวทางร่วมมือกันทำงานเพื่อค้นหาสิ่งมีชวิตในประเทศไทย แบบมีมาตรฐาน และหาแนวทางตั้งรับการเข้ามาของนักวิจัยชาวต่างชาติโดยไม่เสียผลประโยชน์ของชาติ
  2. เพื่อเป็นเวทีให้ผู้สนใจทั้งนักวิจัย อาจารย์ นิสิตนักศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกัน และฝึกการทำงานของนิสิตนักศึกษาไทยตลอดจนคณาจารย์ในเวทีโลก
  3. เพื่อสร้างกระแสให้นักวิจัยไทยเกิดความตื่นตัว และตระหนักเห็นความสำคัญของงานวิจัยทางด้าน การศึกษาทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ซึ่งกันและกันในหมู่นักวิจัย จากทั่วประเทศไทยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และถือว่าเป็นโอกาสของนักวิจัย นิสิต นักศึกษาชาวไทย ที่ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับบรรยากาศทางวิชาการที่มีมาตรฐาน
  2. สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ในเรื่องการวิจัยทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
  3. นำไปสู่แนวคิดการจัดการอนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

ติดตามได้จาก  http://www.asru-cu.com


Comments

ความเห็นที่ 1

ว่าแต่ ไอด้า มาเกี่ยวอะไรด้วยหล่ะครับนี่ 

ความเห็นที่ 2

แค่ให้ดูเล่นๆน่ะ
เอาตัวอื่นมั้ย จะadd ให้อีก

ความเห็นที่ 3

ตัวนี้ดีกว่า
khoratpithecus piriyai.jpg

ความเห็นที่ 4

อีกสองตัว
Merycopotamus thachangensis Oreoglanis sudarai เจ้าปิ๊งแหน่ว

ความเห็นที่ 5

ถึงว่าทำไมคุ้นๆ แป๊ะอยู่ที่ลิฟต์นี่เอง แฮะๆ  ชาวบอร์ดอย่าลืมมากันเยอะๆ นะคะ แล้วจะพาไปกินข้าวร้านอร่อยๆ อาสาเป็นไกด์ พากินอาหารอร่อยในเมืองพิษ'โลกค่ะ

ความเห็นที่ 5.1

น้อง callus รบกวนหาไกด์สาวแจ่มๆ สักคนสองคน พี่ไม่ค่อยรู้ที่รู้ทาง...ฮิฮิ

ความเห็นที่ 5.1.1

ไม่รู้งานนี้จะหลงทางหรือหลงนางหว่า

ความเห็นที่ 5.1.2

วุ๊ย..หนูไม่อยากงานเข้า

ความเห็นที่ 6

อาหารไม่เอา เราจะให้พาไปเที่ยวแม่น้ำแถวภูสอยดาว สายไหนก็ได้ที่ไหลลงแม่โขง 

ความเห็นที่ 6.1

โอ๊ะๆ...น้องขอหาข้อมูลก่อนนะ

ความเห็นที่ 7

ถ้ามีทุนค่าที่พักค่าเดินทางก็อยากไปอยู่นะ (อย่างของ BRT) ตอนนี้พอไม่ได้ทำงานแล้วลำบากก็เรื่องนี้แหละ
ถ้าใครจะลงทะเบียนแน่ๆก็รีบนะครับ เพราะอัตราการสมัครแบบถูกรู้สึกจะหมดแค่สิ้นเดือนก.พ. ถัดไปจนสิ้นมี.ค. ก็แพงขึ้นเป็นอีกอัตรา

ความเห็นที่ 8

ไปแน่นอนครับ

ความเห็นที่ 8.1

คนนี้ไปทุกงานเลย

ความเห็นที่ 9

อยากไปด้วย ติดต่อใครครับเนี่ย?

ความเห็นที่ 9.1

ลองไปหาอ.สมศักดิ์ ปัญหา ดูครับ

ความเห็นที่ 10

ใกล้จะหมดช่วงลงทะเบียนแบบถูกแล้ว ยังไม่รู้ตัวเองเลยว่าจะได้ไปหรือเปล่า

ความเห็นที่ 11

คาดหวังนะเนี่ยว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญปูรุ่นใหม่ไปพูดด้วย

ความเห็นที่ 12

โหพี่ ถึงผมไปก็ไม่ได้ไปบรรยายอะไรหรอก ไปนั่งฟังเขาแหละครับ

ความเห็นที่ 13

ทำไม??
ก็สมัครบรรยายซิ จะได้บรรยาย

ความเห็นที่ 14

แฮ่ะๆ ก็ไม่มีอะไรใหม่ๆจะบรรยายน่ะครับ (แถมถนัดโปสเตอร์หรือเขียนมากกว่าพูดด้วยครับ)

ความเห็นที่ 15

จะหมดเขตลงทะเบียนแบบเสนอผลงาน แล้วนะ

ความเห็นที่ 16

จันทร์หน้าแล้ว ใครไปบ้างครับ ตกลง????

ความเห็นที่ 16.1

ไปครับ

ความเห็นที่ 17

ผมไปเย็นวันอาทิตย์ กลับเย็นวันอังคารนิ อยู่ไม่ได้ตลอดงาน