ค่ายวิทย์ฯ สาธิตจุฬา ณ แก่งกระจาน

ปีนี้เป็นอีกปี ที่พวกเราได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรให้กับค่ายวิทยาศาสตร์ของ "น้องๆ" โรงเรียนสาธิตจุฬานะครับ เป็นอีกปีที่ผมวีซ่าผ่านได้ไปกับเค้าด้วย ถึงแม้จะโดนตามมาคุมอยู่ที่ปากทาง แต่ก็ได้รับอิสระอย่างที่อยาก

เห็นว่ารอให้เปิดกระทู้ เลยเปิดให้ก่อนครับ ทำภาพยังไม่เสร็จ ใครเสร็จแล้วไปก่อนเลย เดี๋ยวตามมาแจม

Comments

ความเห็นที่ 1

นำภาพมาร่วมแจม
เจิมด้วยภาพหมู่รวมๆก็แล้วกัน ขาดไปคนอ่ะ อันนี้ภาพพวกเรา แต่ก็ขาดไปคนนึง ๕๕ น้องหลังลงจากรถทัวร์ และก็เก็บของขึ้นบ้านกร่าง

ความเห็นที่ 1.1

คนที่ขาดไม่ขำนะเว้ยเฮ้ยยยย!!!! clone ใส่ไปหน่อยก็ไม่ได้!!

ความเห็นที่ 2

ต่อครับ
นึกถึงเพลง ไม่เห็นฝุ่น ของกะลา ฮาๆ อุโมงค์ต้นไม้ และน้องๆก็กางเตนท์กัน มีการบรรยายก่อนเดินสำรวจธรรมชาติ

ความเห็นที่ 3

อีกยก
พี่โจ กวิวัฎ กับลีลาการบรรยายจิงโจ้น้ำ พี่เอิร์ธ GreenEye กับหนอนผีเสื้อจรวด พาน้องเดินดูสัตว์กลางคืน ยามเช้าก็ขึ้นพะเนินทุ่ง

ความเห็นที่ 4

ปิดท้ายครับ
วานิลลา หรือ เถางูเขียว บรรยากาศยามเช้าที่พะเนินทุ่ง บรรยากาศยามเช้าที่พะเนินทุ่ง บรรยากาศยามเช้าที่พะเนินทุ่ง ตบท้ายด้วยพาโนรามาพะเนินทุ่ง

ความเห็นที่ 5

จนตอนนี้เซ็ง FB แล้ว หลายๆคนตอนนี้นึกถึงมันก่อนเลย ก็เลยไม่พยายามเข้าไปดู

ความเห็นที่ 5.1

yes

ความเห็นที่ 6

อยาก join ด้วยจังเลย

ความเห็นที่ 6.1

แล้วไฉนไม่ไปล่ะท่าน อุตสาห์ไปถึงถิ่นจุฬาของท่านแล้ว

ความเห็นที่ 7

เริ่มไปตามลำดับเหตุการณ์เลยครับ มีเวลาอยู่ สองวันหนึ่งคืน

ตัวแรกที่โผล่มาให้ประทับใจ คือหมาไม้ครับ วิ่งข้ามถนนอยู่แถวๆป่าที่โดนเถาว์วัลย์ถล่มนั่นแล

หมาไม้
http://siamensis.org/species_index#2431--Species:%20Martes%20flavigula
yellow_troated_marten.jpg

ความเห็นที่ 8

ถัดจากหมาไม้ไปหน่อย เป็นดงกระถิ่นยักษ์(ไม้ต่างถิ่น) ป่าสองฝั่งยังเป็นบริเวณที่มีเถาวัลย์ปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น ในภาพจะเห็นต้นแก้วมือไว หนึ่งในผู้ต้องหา ก็เห็นค่างกระโดดหายเข้าไปในป่าที่ว่านั้น....  ภาพไม่สวยนะ แค่อยากให้เห็นว่าสัตว์ก็ใช้พื้นที่ได้
leaf_monkey_jump.jpg

ความเห็นที่ 9

มาถึงค่าย กำลังตั้งเตนท์ สร้างเมืองกันอยู่ พี่ๆเริ่มติวน้องๆแล้ว สำหรับน้องคนนี้ชอบถ่ายรูป ถามนู้นถามนี้ตลอด คงได้อะไรไปเยอะนะครับ
earth.jpg

ความเห็นที่ 10

Raptor 2 ตัว บินวนๆอยู่แถวบ้านกร่าง สอยมาแต่ ID ไม่เป็นหรอกครับ ฝากด้วยครับ เผื่อเป็นรายงานใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง


eagle1.jpg eagle.jpg ตัวนี้เหยี่ยวรุ้ง ตัวนี้เจอขากลับ รบกวน ID ด้วยครับ

ความเห็นที่ 10.1

1. เหยี่ยวท้องแดง
2. เหยี่ยวรุ้ง
3. เหยี่ยวรุ้ง
4. ???

ความเห็นที่ 10.2

ตัวแรกโหดมาก เคยเห็นแว๊บๆที่เขาใหญ่ เหอๆ
ตัวสุดท้าย เหยี่ยวนกกระจอกเล็กครับ แข้งบ๊าง บาง คิดว่าตัวนี้แหละ

ความเห็นที่ 11

ลิงและค่าง เจอตามที่ฝัน ค่างแว่นได้ข่าวว่ามีเยอะ ก็หวังอยากเห็นลูกน้อยสีทอง คุณแม่ก็อุ้มมาโชว์เสียตรงที่กางเตนท์เลย

ส่วนลิงเสน ก็หวัง ได้เจอตอนขากลับ ถึงแม้จะมีเสียอารมณ์บ้าง หลังจากซุ่มนั่งถ่ายอยู่ได้ไม่นานก็มีลิงไร้หางกลุ่มหนึ่ง มาจอดรถท่ามกลางฝูงลิงหางกุดตูดแดงที่ข้าพเจ้านั่งดูมันอยู่ห่างๆ โดยไม่พยายามรบกวน แต่คนกลุ่มนี้มาถึงก็จอดรถไล่ลิง ลงไปกระโดดถ่ายรูปกันเป็นที่อึกทึก ส่งผลให้ลิงหนีขึ้นเขาไปกันหมด เซ็งเป็ด

ค่างแว่นถิ่นใต้
http://siamensis.org/species_index#2622--Species:%20Trachypithecus%20obs...

ลิงเสน
http://siamensis.org/species_index#2606--Species:%20Macaca%20arctoides
ตามที่คุยกับเจ้าหน้าที่ลูกค่างจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่ออายุประมาณ 4-5 เดือน ลิงเสนกินฝักกระถินยักษ์ อีกหนึ่งตัวอย่างชนิดต่างถิ่นให้ประโยชน์กับสัตว์ท้องถิ่น (ยั่งยืนหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ต้องควบคุมไม่ให้รุกราม) monkey_stump.jpg

ความเห็นที่ 11.1

ลูกค่างน่ารักมากเลยค่ะ

ความเห็นที่ 12

เก็บนกต่ออีกหน่อย

โพระดกคอสีฟ้า เจอที่พะเนินทุ่ง พี่คนหนึ่งชี้ให้ดูบอกว่านกแก้ว บอกว่าเป็นโพระดกก็ไม่เชื่อ เลยขี้เกียจเถียง
http://siamensis.org/species_index#4535--Species:%20Megalaima%20asiatica



โพระดกคอสีฟ้า นกมูม เป็นพิราบป่าชนิดหนึ่ง ใช่กิ้งโครงแกลบปีกจุด ไหมครับฝูงนี้?  เกาะไกลเหลือเกิน

ความเห็นที่ 12.1

ตัวนี้โพระดกคอสีฟ้า "เคราดำ" นะท่าน

ความเห็นที่ 12.1.1

1. ผมเห็นด้วยกับโพรดกคอสีฟ้าเนื่องจาก สีแดงตรงหน้าผากและกระหม่อมกว้าง คอเป็นสีฟ้าชัดเจน ปลายปากดำแต่โคนปากเหลือง
2.มูม
3. กิ้งโครงปีกลายจุด

ความเห็นที่ 12.1.1.1

ผมก็ว่าคอสีฟ้าครับ 
*หมายเหตุ  แถบสีบนหน้าผาก ของโพระดกแต่ละตัว มีความแตกต่างกันไป ช่วยจำแนกได้นะ

ความเห็นที่ 12.2

ไช่เลยครับ เดือนที่แล้วผมเจอคู่นึง..แสดงว่เขาอยู่นานนะเนี่ย..ปรกติต้องไปดูกันที่ทุ่งใหญ่นุ่น..เจ้านี่นักดูนกเขาตามหากันน่าดูเลยแหละครับ
www.jpg

ความเห็นที่ 12.3

ที่ว่าดูเป็นกแก้วนี่ ไม่ใช่ทีมงานสยามเอ็นซิสใช่ใหมครับ

ความเห็นที่ 13

ดอกไม้สวยๆ เก็บมาได้ไม่กี่ชนิด สองชนิดนี้เด่นหน่อย สิงโตกรอกตา... กับ ดอกไม้สีม่วง... เจอที่พะเนินทุ่งทั้งคู่ครับ
orchid.jpg flo_purple.jpg

ความเห็นที่ 13.1

ต้นบนน่าจะสิงห์โตใบพาย Bulbophyllum wallichii มากกว่าสิงห์โตกลอกตานะ

ความเห็นที่ 13.1.1

เป็นสิงโตพายทองเมืองกาญจน์ ครับ
Bulbophyllum kanburiense

ความเห็นที่ 13.1.1.1

โอ้โฮ.....เจอของเด็ดเข้าแล้ว กล้วยไม้ชื่อไทย เป็นพืชเฉพาะถิ่นมั้ยนี่

ความเห็นที่ 14

ภาคกลางคืน ยังไม่ได้ทำชุดอีเห็นเพราะมันมืดจัดเลย แฟลชไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่ เดี๋ยวทำเสร็จยังไงว่ากันอีกที

กระจงหนู กับแขยงเขาลายเสือครับ


deer_mouse.jpg ฺBatasio tigrinus

ความเห็นที่ 15

ไม่มีวิวเลย มีภาพนี้ภาพเดียว ที่พะเนินทุ่ง ทะเลหมอกวันนี้มันน้อยไปหน่อย
sunrise.jpg

ความเห็นที่ 16

ยินดีที่ได้ร่วมงานกับสมาชิกทุกคนอีกครั้งครับ ขอบคุณแทนน้องๆด้วย (น้องๆก็คงขอบคุณแล้วแหล่ะ) 
dew.jpg group.jpg

ความเห็นที่ 16.1

โดนบังซะเกือบมิดเลยตรู

ความเห็นที่ 16.1.1

ก็ดูหุ่นคนที่อยู่หน้าๆก่อนสิ ยืนผิดที่เอง ส่วนเจ้าพรุมีผู้คุมด้วยวุ้ย

ความเห็นที่ 17

อ้อ ขากลับ เจอคันนี้สวนขึ้นไป ห่วงเหมือนกันนะ...
truck.jpg

ความเห็นที่ 18

มาต่อให้ครับ
จับแมลงสีฟ้า เหยี่ยวรุ้ง ปรอทเหลืองหัวจุก โพระดกคอสีฟ้า ? ? ? ? เสือแมลงหลังแดง (ชื่อในความทรงจำช่วยยืนยันด้วยครับ)

ความเห็นที่ 18.1

ตัวที่งง

ตัวแรก ปรอทภูเขา
ตัวสองขี้เถ้า ??
สามเสือแมลงปีกแดง

ความเห็นที่ 18.2

เหยี่ยวรุ้งมุมนี้เท่ห์มาก

ความเห็นที่ 19

ในภาคกลางวัน มีค่างแว่นออกมาโชว์ตัว กับเลื้อยคลานสองสามชนิดตามสมควร เสียดายถ่ายรูปจิ้งจกนิ้วยาวไม่ทัน
บึ้งฝา ค่างแว่นถิ่นใต้ กิ้งก่าบินปีกลาย Draco taeniopterus งูเขียวหัวจิ้งจก Ahaetulla prasina Vanilla กลุ่มสีเขียว เย้~

ความเห็นที่ 19.1

วานิลลา เป็นชนิด สามร้อยต่อใหญ่
Vanilla pirifera

ความเห็นที่ 20

มาต่อในภาคกลางคืน

อึ่งแดง Calluella guttulata กบเขาสูง Clinotarsus alticola คางคกแคระ Ingerophrynus parvus ปาดจิ๋วพม่า Chiromantis vittatus อีเห็น

ความเห็นที่ 20.1

แล้วท่าน ๆ ไม่เห็นกันเหรอ ได้แต่ "อี" เห็น

ความเห็นที่ 20.1.1

ดีว่าบ้านผมเรียกมูสัง

ถ้าอีเห็น บ้านผมแปลว่า จะเห็น ก็ยังไม่เห็นเหมือนกัน อิอิ

ความเห็นที่ 21

วันกลับเจ้านี่ออกมาส่ง
ตะกวดลายเมฆ Varanus nebulosus

ความเห็นที่ 21.1

ได้เห็นลักษณะจำแนกก่อนหรือหลังถ่ายภาพนี้หรือครับ เพราะจากมุมนี้ไม่เห็นลักษณะจำแนกเลย

ความเห็นที่ 21.1.1

เจ้าพรุว่าก็ว่าตามครับ เห็นว่าเป็นตัวประจำอยู่ต้นนี้

ความเห็นที่ 21.1.1.1

งั้นต้องให้เจ้าพรุมาชี้แจงซะแล้ว เผื่อเคยจับลงมาดู

ที่ถามแบบนี้เพราะพื้นที่นี้เป็นรอยต่อระหว่างตะกวดสองชนิดน่ะ แล้วอาจพบได้ทั้งสองชนิดอีกต่างหาก ดังนั้นจะเอาเขตการกระจายพันธุ์มาว่ากันอย่างเดียวจึงไม่เหมาะอย่างยิ่ง จนกว่าจะมีการตรวจสอบยืนยันได้แน่นอน ซึ่งไม่ใช่เห็นว่าเป็นชนิดนี้แน่ๆตัวเดียวแล้วใช้สรุปว่าทุกตัวเป็นชนิดนี้ แต่ต้องมาจากการยืนยันจากหลายๆตัว หากยังพบชนิดเดียวก็พออนุมานได้ว่าเป็นชนิดนั้นๆ หากเจออีกชนิดภายหลังค่อยว่ากันอีกทีครับ

อย่างทริปนี้เจ้าพรุก็ยังเจอกิ้งก่าบินที่คาดว่าเป็นหัวสีฟ้า ซึ่งเป็นชนิดทางใต้ ในขณะเดียวกันงูเขียวหางไหม้ท้องเขียวที่พบดันเป็นชนิดทางเหนือ จะเห็นว่าพื้นที่นี้เป็นชุมทางของสัตว์สองเขต ดังนั้นอะไรก็เป็นไปได้ในพื้นที่นี้

ความเห็นที่ 22

โพสกันหมดแล้ว เราเอาที่ไม่ซ้ำละกันนิ
แก่งกระจานแล้งมาก ถ่ายรูปหมู่ "เฮ้ย แล้วพี่จะพูดไรวะ" . . . .     กดไปสิบนาที ฝูงบุ้ง รวมกันเราอยู่

ความเห็นที่ 23


แตน หลายต่อหลายรัง ทำรังอยู่ใต้ชะง่อนดิน อยู่ปนกับแมงโหย่งเป็นพันตัว แมงโหย่งที่ว่า หนอนโดนมดแดงกัดตกมา ตอนนี้ปลอดภัยแล้ว กลุ่มสีม่วงมั่ง   ฮึ่ย !!

ความเห็นที่ 24


จั๊กจั่นงวงกระเหรี่ยง ฝูงตัวอ่อนจั๊กจั่นงวงเปลือกไม้ ตั๊กแตนตำข้าวใบไม้แห้ง มวนแมงป่องน้ำ

ความเห็นที่ 25

น่าสนุกจริงๆ น้องปอไม่ได้ภาพมาเลยรึ cool

ความเห็นที่ 26

ตามไปไม่ทันครับงานไม่เสร็จ นัด nonn ไว้ไปถึงซะบ่ายวันอาทิตย์ เห็นน้องๆเก็บของกันแล้วก็เลยขับรถต่อเข้าไปที่ลำธาร2 เจอเจ้านี่ครับ..
k3.jpg

ความเห็นที่ 26.1

อ้าว พี่กั๊กผ่านด้วยหรอครับ เสียดายไม่ได้เจอเลย devil

ความเห็นที่ 27

อะอ่าว ได้ยินร้องอยู่ตลอด

ความเห็นที่ 28

อยากไปด้วยจัง แต่ไม่ได้ไป อิอิ

ความเห็นที่ 29


ลูกอ๊อดคางคกแคระ สำรวจกลางคืน แมงมุมกินแมลงกิ่งไม้ เพลี๊ยกระโดดปล่อยน้ำหวานให้มดกิน ตั๊กแตนลอกคราบ

ความเห็นที่ 30


เพลี๊ยกระโดดสองหาง สวยดีๆ ปิดท้ายด้วย น้องเฟม กับตั๊กแตนกิ่งไม้ครับ

ความเห็นที่ 30.1

รูปสุดท้ายถ่ายไม่ดีเลย รู้ใช่มั้ยว่าหมายความว่าอะไร อิอิ

ความเห็นที่ 31

ขอขอบคุณ ทาง สาธิตจุฬาฯที่ไว้วางใจให้พวกเราร่วมกิจกรรมกันอีกครั้งครับผม

อ๊ะ เราลืมถ่ายรูปหมู่ก่อนกลับกันแฮะ

ความเห็นที่ 31.1

ภาพปูก็ยังไม่ซ้ำนะท่าน ไม่โพสต์ด้วยเหรอ

ความเห็นที่ 32

น่าสนุกจังเลย

ความเห็นที่ 33

มิน่า บูธที่เกษตรถึงไม่มีค่อยมีใครไปอยู่เลย

ความเห็นที่ 33.1

พรุ่งนี้กับพฤหัสฯ บริษัทฯหยุดตรุษจีน ผมคงอยู่เยอะครับ

ความเห็นที่ 34

กระจง ตัวแรกที่เจอ ได้มาเท่านี้ครับพี่นณณ์

กระจง

ความเห็นที่ 34.1

ไม่เห็นจุดจำแนกชนิดครับท่าน ต้องดูลายที่คอ... แง่งๆๆ

ความเห็นที่ 35

ตัวนี้ก็ยังไม่ซ้ำนะ อีเห็นเครือ

http://www.siamensis.org/species_index#2656--Species:%20Paguma%20larvata
paguma_larvata.jpg

ความเห็นที่ 35.1

ทางใต้ตัวดำนิ บนดอยอินตัวออกน้ำตาลลาย ๆ

ความเห็นที่ 36

ฝากปูให้ขุนไก ใช่ปูคีรีขัณธ์ไหมครับ? จะได้เอาภาพไปใส่ SI

crab_kiri.jpg crab_kiri1.jpg

ความเห็นที่ 36.1

อา... ตกลงตัวนี้เป็น Demanietta huahin แหละพี่ ไม่ใช่ D. khirikhan
แก่งกระจานมีรายงานพบทั้ง 2 ชนิดเลย ไม่รู้ว่าแบ่งโซนอยู่กันยังไง
ตัวคีรีขันธ์ขอบกระดองที่เป็นเส้นด้านหน้าจะเป็นสีเหลือง แล้วก็กระดองจะดูเรียบลื่นเป็นมันกว่าตัวในภาพนี้เยอะ ตัวหัวหินตั้นี้จะดูกระดองแบนกว่าด้วย

ความเห็นที่ 37

ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆ ครับ 
รถเต็ม อดไปตามระเบียบ

ความเห็นที่ 38

ขนปูมาแปะเพิ่มครับ ตอนนี้โดนเหมารวมว่าปูคีรีขันทุกตัวเลย
006.jpg 029.jpg 031.jpg 43.jpg 44.jpg

ความเห็นที่ 39

อิอิ ปูน้ำตก 2 ตัวบนน่าจะเป็น Stelomon pruinosum ซึ่งพบในพื้นที่แถบนี้อยู่แล้ว
ส่วน 3 ตังล่าง ก็เหมือนของพี่นณณ์ น่าจะเป็นปูหัวหิน ตามที่ได้แสดงคคห.ไปแล้ว

ความเห็นที่ 40

พวกปูนี่ถ่ายกันตอนกลางคืนเหรอครับ กลางวันเห็นแต่รูเยอะเลย

ความเห็นที่ 40.1

ใช่ครับ