แมง-แมลง เลือดชิด (?)

แมง และ แมลง มีถ้ามีการผสมแบบเลือดชิดในที่เลี้ยง ถ้าลูกรุ่นแรก(F1)ผสมกันเองอีกในที่เลี้ยง จะมีโอกาสให้ลูกรุ่นต่อไป(F2)ที่สมบูรณ์กี่ตัว? ถ้ารุ่นF2ผสมกันเองอีกจะเหลือรุ่นหลาน(F3)อีกมั้ยครับ?
ผมกังวลว่าแมงป่องที่อยู่ในที่เลี้ยง ผสมกันเองแล้ว ได้ลูกออกมา กลับผสมกันเองอีกแล้วจะเกิดปัญหาเลือดชิดดังกล่าว
ถ้าหากว่าเป็นแมงป่องสายพันธุ์หายาก หรือราคาสูง หรืออาจจะหาไม่ได้ เกิดปัญหาเลือดชิดแล้ว เรามีทางจะแก้่ไข นอกจากการรับตัวใหม่เข้ามาบ้างมั้ยครับ?
เข้าใจว่าในธรรมชาติ การinbreedingมันเกิดได้ยากอยู่แล้ว แต่ในกรณีในที่เลี้ยง ซึ่งเลี้ยงรวมกัน ผมเป็นห่วงครับ...

Comments

ความเห็นที่ 1

กับด้วงผมจับผสมพันธุ์ไปเรื่อยๆก็ไม่มีปัญหานะครับ จะเริ่มมีก็ตอนF4 F5 F..... อยู่ที่ชนิดและอุณภูมิการเลี้ยงด้วยครับ ที่ว่ามาคือด้วงนะครับ..กับแมงป่องผมไม่แน่ใจครับ

ความเห็นที่ 2

@ คุณ iDuang.
เรียนถามว่าด้วงที่คุณจับผสม แล้วไม่มีปัญหานั้น เป็นชนิดไหนหรือครับ?
งั้นถามต่อเลยละกัน ด้วงกว่างทั้งหลาย จะมีปัญหาเลือดชิดมั้ยครับเนี่ย?

แล้วก็ระบบเลือดชิด จะใช้กับแมง-แมลงได้มั้ยครับ?

ความเห็นที่ 3

ด้วงไม่ค่อยมีปัญหาเลือดชิดนะครับ ส่วนใหญ่ได้ตัวไหนมาก็จับผสมกันพอรุ่นลูกออกมาก็ผสมต่อไปเรื่อยๆครับ จนกว่าจะได้ชนิดเดียวกันมาผสมข้าม(cross breed) เพื่อแก้ปัญหาเลือดชิดครับ.

ความเห็นที่ 4

แม้จะเริ่มจากพ่อแม่คู่เดียวในตอนแรก แต่หากมีการวางแผนไว้จะช่วยลดปัญหาเลือดชิดได้โดยทำประวัติรายตัว (เลี้ยงแยกตัว รวมเมื่อาจะให้ผสมพันธุ์) แล้วไม่ให้รุ่นหลานมาผสมกันเองที่มาจากพ่อแม่รุ่นลูกคู่เดียวกัน มันจะช่วยกระจายพันธุกรรมที่มีจำกัดนี้ได้เหมือนกัน ส่วนด้วยที่มีปัญหาในรุ่น F4+ นั้น ไม่ทราบว่ามีการไขว้สายภายในไว้ด้วยหรือเปล่า หรือปล่อยเสรี  หรือหากมีโอกาส ในกลุ่มผู้เลี้ยงด้วยกันเองควรมีการแลกเปลี่ยนสายกันบ้างก็น่าแก้ปัญหาได้ครับ

ความเห็นที่ 5

การศึกษา "แมงป่อง" หรือแม้แต่ "บึ้ง" ทารันทูล่า ในประเทศไทยมีคนศึกษาเป็นจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งมีผู้ศึกษามากกว่า ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศ ของต่างประเทศทั้งนั้น...
ในกรณีที่มีกลุ่มเลี้ยง ในประเทศไทยนั้น แมงป่องช้าง และแมงป่องหลายชนิดที่พบในประเทศไทย คงไม่มีปัญหาเรื่องการจัดหามากนัก เว้นแต่บางชนิดที่หายาก ขนาดต้องลงพื้นที่สำรวจด้วยตัวเอง ส่วนสายพันธุ์ต่างประเทศ บางสายพันธุ์ ถูกนำเ้ข้ามาเป็นระยะเวลานานแล้ว จึงมีผู้เพาะพันธุ์ในประเทศได้ และสามารถซื้อหากัน ในราคาที่ถูกกว่าได้ แต่ในอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งเป็นแมงป่องที่ยังไม่มีผู้นำเข้ามา หรือ ไม่นิยมเลี้ยงกัน จึงไม่มีวางขายในตลาดทั่วไป หรือไม่มีเลย ทำให้จำเป็นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทำให้ราคาค่างวดค่าขนส่ง สูงกว่าค่าตัวแมงป่องเสียอีก และความเสี่ยงที่จะถูกหลอกก็มีสูง...
ผมพยายามจะเลี้ยงแมงป่องเหล่านี้ สายพันธุ์เดียวกันไว้รวมกัน โดยปล่อยให้จิ้งหรีดเหยื่ออยู่ในกล่องเลี้ยงนั้นๆ เมื่อหิวจึงล่ากินเอง ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการกินกันเองได้พอได้...
 
สรุปก็คือ เราไม่อาจสามารถเอาชนะธรรมชาติผู้สร้างสรรค์- ควบคุม ได้? ธรรมชาติกำหรดมาอย่างนี้ เหมือนมนุษย์ที่มีจารีต ไม่ให้เครือญาติสนิทใกล้ชิดกันในครอบครัว มาแต่งงานกันใช่มั้ยครับ?

แล้วเราจะสามารถผสมinbreedingไปได้กี่รุ่น แล้วจึงต้องเอาตัวใหม่มาเสริมยีนใหม่กันครับ?
อีกหน่อยนึง... ยิ่งผสมinbreeding มากรุ่น ความพิการ ไม่สมบูรณ์ สมประกอบ จะมีอัตราส่วนร้อยละสูงขึ้นใช่ไหมครับ?

ความเห็นที่ 6

มาแอบอ่านประดับความรู้

ความเห็นที่ 7

ประเด็นเอาชนะธรรมชาติน่ะ ผมไม่เคยคิดจะเอาชนะหรอก เพียงแต่พยายามอยู่ร่วมกับมันให้ได้ ชัยชนะธรรมชาติของคนที่เห็นๆเป็นเพียงชัยชนะชั่วคราวเท่านั้น การเพาะแมง แมลงต่อเนื่องนานๆหลายๆรุ่น ผมเองก็ไม่ได้ทำในส่วนนี้เลย คงให้ความชัดเจนในสัตว์กลุ่มนี้ไม่ได้ แต่หากการเริ่มต้นด้วยพ่อแม่คู่เดียวนั้นนับเป้นเรื่องที่เหนื่อยเอาการสำหรับการบริหารพันธุกรรม ยิ่งแมงป่องเองก็ไม่ได้มีลูกมากมายมหาศาล สิ่งที่เราทำได้คือลดโอกาสเลือดชิดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยังไงๆรุ่นลูกก็ต้องผสมกันเองในครอกอยู่แล้ว เพียงแต่ในรุ่นต่อๆไปก็อย่าผสมในครอกเดียวกันก็คงพอช่วยกระจายพันธุกรรมได้ ไม่มากระจุกที่สายใดสายหนึ่งจนยีนที่ควรจะมีกลับหายไป แต่จะทำไปได้สักกี่รุ่นก็ขึ้นกับความหลากหลายที่สะสมอยู่ในตัวมันเอง ถ้าหลายหลายน้อย ไม่นานมันคงแสดงลักษณะเอกลักษณ์แฝงของมันออกมา ซึ่งจะใช่ลักษณะพิการหรือไม่ก็แล้วแต่ ส่วนการ inbreed ของมันจะเพิ่มโอกาสพิการหรือไม่ปกติหรือไม่นั้น หากบังเอิญมันไม่มียีนด้อย(ที่แสดงออกเป็นพิการ)แฝงเลยก็ยิ่งลดโอกาสพอการก็ได้ครับ อย่าไปคิดอะไรมาก ขนาดเอาคนละสายมาผสมกันก็ดันได้พิการก็มีบ่อยไป เพราะบังเอิญที่เอามาดันมียีนพิการแฝงมาเจอกันพอดี

สรุปว่า..ผมไม่ได้ตอบเลยสักคำถาม หุ หุ เอาเป็นว่าทฤษฎีเอาไว้เป็นแนวทาง ส่วนผลที่ออกมานั้นมันอาจอยู่เหนือการควบคุมครับ

ความเห็นที่ 8

แสดงว่า เราสามารถinbreedingต่อได้อยู่ แต่ต้องคัดเลือกตัวที่เหมาะสมหรือครับ?

ความเห็นที่ 9

จากประสบการณืที่เลี้ยงมา และตามความเข้าใจของผมนะครับ โดยปกติแล้วตามธรรมชาติแมงป่องตัวผู้และแมงมุมตัวผู้มีโอกาสน้อยมากที่จะได้ผสมพันธุ์ครั้งที่ 2 เพราะมันมักจะถูกตัวเมียจัดการหลังจากผสมพันธุ์แล้ว โอกาสที่พ่อจะผสมกับลูกตามธรรมชาติแทบจะไม่มี ลูกเมื่อคลอดออกมาแล้วจะอยู่กับแม่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเมื่อถึงช่วงวัยรุ่นก็จะออกจากรังไปผจญภัยเอาเอง โอกาสที่จะกลับมาผสมกับแม่ก็น้อยลงอีก ลูกที่เกิดมาจากแม่เดียวกันที่พิการ ธรรมชาติก็จะทำการคัดสรรเอง ตัวที่พิการก็มักจะไม่มีโอกาสรอดจนได้ผสมพันธุ์ ยีนพิการก็ถูกตัดไปอีก การผสมพันธุ์กันระหว่างพี่กับน้องอาจเกิดขึ้นได้แต่ก็อาจไม่มีตัวพิการเกิดขึ้น เพราะธรรมชาติได้คัดสรรแล้ว ในธรรมชาติอัตราการรอดของลูกแมงป่องและแมงมุมก็มีน้อยมาก เพราะต่างก็ผ่านการคัดสรรโดยธรรมชาติมาเอง ตัวที่รอดจึงมักจะเป็นตัวที่สมบูรณ์ ส่วนในที่เลี้ยงที่เคยพบมามีลูกที่พิการเหมือนกันแต่ก็ไม่ต่างจากในธรรมชาติ ตัวที่พิการมักจะไม่โตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ เพราะจะตายก่อน ตัวที่รอดเมื่อได้ผสมกันในกลุ่มของพี่น้องลูกที่ออกมาก็อาจไม่มีตัวพิการก็ได้ครับ เพราะต่างก็ถูกคัดสรรโดยธรรมชาติของมันเองเหมือนกันครับ ขนาดในที่เลี้ยงตัวผู้เมื่อผสมพันธุ์แล้วจับแยกออกเพื่อป้องกันการถูกตัวเมียกินยังตายเองเลยครับ เหมือนกับว่ามันใช้พลังงานไปมากทั้งแมงป่องทั้งบึ้งเป็นเหมือนกันเลย ขอย้ำว่านี่เป็นความเห็นของผมซึ่งอาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการนักครับ

ความเห็นที่ 10

ไม่เกิดลักษณะด้อยออกมาก็inbreeding ไปได้เรื่อยๆครับถ้าเลี้ยงในสภาพที่เลี้ยงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง มันก็ไม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดในสภาพที่ต่างกันเหมือนอย่างในธรรมชาติ ไม่มีศัตรูที่จะต้องให้มันวิวัฒนาการแข่งกัน ไม่ต้องวิวัฒนาการตามเหยื่อของ
มัน และอีกหลายๆอย่างครับ

ความเห็นที่ 11

ก็หมายความว่า ในที่เลี้ยง เราสามารถคัดเลือกตัวที่สมบูรณ์ในครอกเดียวกัน(พี่-น้อง) ผสมกันได้เรื่อยๆสินะครับ?
ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 12

ตามความเห็นผม ผมว่าขึ้นอยู่กับกลุ่มสัตว์ที่นำมา inbreed ด้วยครับ แมงมุมบางกลุ่มผสมเลือดชิดได้ถึง F5 ยังแข็งแรง และเริ่มมีอัตราการตายสูงในรุ่น F6 แต่ในบางกลุ่ม แค่ F3 ก้ตายเกือบ 50% จากที่ฟักมาทั้งหมดแล้วครับ ข้อมูลจากการเพาะเลี้ยงของผมเอง ยังไม่ได้ตีพิมพ์

ความเห็นที่ 13

ตามควานเห็นของคุณconeman คงเป็นเพราะลักษณะด้อยของแมงมุมเริ่มแสดงออกมาทำให้มันปรับตัวให้เข้ากับแหล่งที่อยู่ของมันไม่ได้
 

ความเห็นที่ 14

สิ่งที่อาจแฝงมาด้วยคือ lethal gene ซึ่งเป้นเหตุให้มันตายโดยไม่ต้องแสดงลักษณะพิการ หรือด้อยให้เห็นเลยก็ได้ครับ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับการปรับตัวในที่เลี้ยง

ส่วนคำถามของคุณ K.Dejmongkolsuriya นั้น มันไม่ได้มีคำตอบที่ตายตัว ลักษณะทางชีววิทยาไม่ได้มีลักษณะเป็นสมการเส้นตรง เพราะมันมีปัจจัยแฝงต่างๆที่เราพอรู้และไม่รู้มาเกี่ยวข้องมากมาย เราอาจเอาทฤษฎีเป็นแนวทางตั้งหลัก แต่ผลนั้นไม่จำเป็นต้องออกมาตามทฤษฎีที่เต็มไปด้วยข้อกำหนด(ว่าไม่มีปัจจัยอื่นๆมากระทบ ซึ่งไม่เป็นจริงในธรรมชาติ) ดังนั้นการถามที่ลงท้ายว่าใช่/ไม่ใช่ ได้/ไม่ได้ (มีแค่สองทางเลือก) เลยไม่รู้จะตอบยังไง เอาเป็นว่ามีโอกาสได้ หรือใช่ แค่นั้น ส่วนการคัดเลือกตัวที่เหมาะสมมาต่อสายพันธุ์นั้น ก็ต้องกลับมาคิดอีกว่าอะไรคือเหมาะสม เหมาะในความคิดเรา อาจไม่เหมาะสำหรับสัตว์ก็ได้ หรือกำหนดนิยามคำว่าเหมาะสมในที่นี้ไว้อย่างไรด้วย  ที่ตอบๆไปก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่รู้ว่าผลจริงๆจะออกมาเป็นอย่างไร คงต้องรบกวนคนที่เพาะเป็นฝ่ายหาความเหมาะสมจริงๆด้วยแล้วกัน อีกอย่าง..บางทีผลที่ได้จะไม่เหมือนที่เราคาด แต่เราอาจได้สิ่งใหม่ๆที่ยังไม่เคยรับรู้มาก่อนได้เสมอครับ