ตามล่าหาคลิป

มีภารกิจล่องใต้(กว่า)เพื่อประชุม ก็เลยถือโอกาสไปถ่ายคลิปสัตว์ชนิดใหม่ของโลกปี 2010 ที่พบละแวกนั้นซะเลย แล้วก็ไม่ลืมเอาภาพนิ่งมาฝาก

Comments

ความเห็นที่ 1

จิ้งจกนิ้วยาวนิยมวัน (Cnemaspis niyomwanae) เป็นจิ้งจกนิ้วยาวที่สวยที่สุดชนิดหนึ่งของไทย ก็เลยตั้งชื่อให้คนน่ารักๆที่ทำงานวิจัยสัตว์ป่่ากลุ่ม Amphibian&Reptile ซะเลย จิ้งจกนิ้วยาวชนิดนี้มีความจำเพาะเจาะจงต่อหินปูนใกล้น้ำตกสูงมาก แต่ก็พบเกาะเถาวัลย์ที่อยู่ติดหินปูนในยามฝนฉ่ำด้วย (เพิ่งเห็นจากที่ไปครั้งนี้นี่แหละ) ข้อมูลการกระจายพันธ์ก็พบในเขต อ.ละงู จ.สตูล (ชุกชุมพอสมควร) และ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง (type locality)

img_0040-2.jpg

ความเห็นที่ 2

จิ้งจกนิ้วยาวจั่นอาจ (Cnemaspis chanardi) เป็นจิ้งจกที่มีการกระจายพันธุ์มากที่สุดชนิดหนึ่งของไทย คือตั้งแต่สุราษฎร์ธานี ไล่ลงมาถึงสตูล ซึ่งเมื่อก่อนมีการจำแนกเป็นจิ้งจกนิ้วยาวสยาม C. siamensis ซึ่งภาพหรือตัวอย่างที่เคยระบุชนิดว่าเป็นจิ้งจกนิ้วยาวดังกล่าวกว่า 90% ต้องเปลี่ยนชื่อมาเป็นจิ้งจกนิ้วยาวจั่นอาจ ลักษณะจำแนกจากนิ้วยาวสยามที่สะดวกที่สุดคือมุมข้างตัวซึ่งปรากฎลายขวางข้างลำตัวช่วงหลังรักแร้อย่างชัดเจนส่วนลักษณะอื่นๆนั้นต้องจับมาพลิกหงายดูกัน

จิ้งจกนิ้วยาวชนิดนี้ไม่ค่อยเจาะจงพื้นเกาะนัก พบได้ทั้งหินปูน และต้นไม้ ทั้งพื้นที่ค่อนข้างแล้ง และชุ่มชื้นใกล้น้ำตกหินปูน ระดับความสูงตั้งแต่ใกล้เคียงระดับน้ำทะเลถึงพื้นที่บนภูเขาสูงๆ (เขานัน-จำระดับความสูงที่พบไม่ได้ รบกวนคุณ tavon เข้ามาเพิ่มเติมข้อมูล)

ที่มาของชื่อนั้นก็มาจากคุณธัญญา จั่นอาจ นักวิจัยสัตว์ป่ากลุ่ม  Amphibian&Reptile เช่นกัน ซึ่งค้นพบสัตว์ชนิดใหม่หลายชนิดแล้ว และมีผลงานมากมาย

ตัวในภาพนี้จาก อ.มะนัง จ.สตูล ส่วน type locality อยู่ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง

img_0058-2.jpg

ความเห็นที่ 3

2 ภาพล่างนี้ ดูผ่านๆตอนแรกนึกว่าลงภาพซ้ำ ต้องย้อนกลับไปดูอีกที อิอิ ท่าเดียวตำหแหน่งกับขนาดในภาพพอกันเลย

ความเห็นที่ 4

อยากเจอบ้างขอรับ สวยๆๆ

ความเห็นที่ 5

สงัสยต้องหาเวลาไปเยี่ยมตวง

ความเห็นที่ 6

สงัสยต้องหาเวลาไปเยี่ยมตวง

ความเห็นที่ 7

งามแต้ ว่าแต่จะมีบุญได้ลงใต้กับเค้ามั้งมั้ยเนี่ย อยู่ชมสาวเหนือดีกว่าแฮะ

ความเห็นที่ 8

ตรังเจอของดีจริงๆ น่าไปอยู่อีกสักรอบ 555+

ความเห็นที่ 8.1

C. niyomwanae ที่ตรังเจอตัวเดียว เจอทีหลังอีกต่างหาก ครับแต่ตัวมันสมบูรณ์และใหญ่กว่าเลยมีการเปลี่ยน holotype น่ะ typelocality เลยเปลี่ยนจากสตูลไปเป็นตรังไปด้วย

ความเห็นที่ 9

เด็ดจริงๆ

ความเห็นที่ 10

คาดว่าความสูงจุดที่พบนิ้วยาวบนเขานันน่าจะประมาณ 1,100-1,200 ม. ครับ ตอนนี้ไม่สามารถหาเอกสารอ้างอิงได้เลย

ความเห็นที่ 10.1

ตัวเลขคร่าวๆแค่นี้ก็พอครับทั่น เพราะต้องการสื่อว่ามันมีช่วงการกระจายพันธุ์ตามระดับความสูงในช่วงที่กว้างมากเท่านั้น ซึ่งนิ้วยาวส่วนใหญ่จะมีช่วงดังกล่าวไม่มากนัก

ความเห็นที่ 11

ปีนี้ครอดใหม่ 9 ชนิดเลยหรอครับ
ชื่อชนิด เท่ๆ เจ๋งๆ ทั้งนั้นเลย.. ชื่อทีมงานคุ้นๆ จังนะครับ ^^

Cnemaspis chanardi Grismer, Sumontha, Cota, Grismer, Wood, Pauwels & Kunya, 2010

Cnemaspis huaseesom Grismer, Sumontha, Cota, Grismer, Wood, Pauwels & Kunya, 2010

Cnemaspis kamolnorranathi Grismer, Sumontha, Cota, Grismer, Wood, Pauwels & Kunya, 2010

Cnemaspis narathiwatensis Grismer, Sumontha, Cota, Grismer, Wood, Pauwels & Kunya, 2010

Cnemaspis niyomwanae Grismer, Sumontha, Cota, Grismer, Wood, Pauwels & Kunya, 2010

Cnemaspis punctatonuchalis Grismer, Sumontha, Cota, Grismer, Wood, Pauwels & Kunya, 2010

Cnemaspis vandeventeri Grismer, Sumontha, Cota, Grismer, Wood, Pauwels & Kunya, 2010

Cyrtodactylus auribalteatus Sumontha, Panitvong & Deein, 2010

Cyrtodactylus dumnuii Bauer, Kunya, Sumontha, Niyomwan, Pauwels, Chanhome & Kunya, 2010

จะปูเสื่อนั่งรออ่านนะครับพี่ (ถ้าพี่น๊อตจะเล่าให้ฟังอีก)

ยังติดตามข่าว..อยู่ห่างๆ อย่างคิดถึง นะครับพี่..