ตัวนี้ งูเห่า หรือ งูจงอาง ครับ

ตัวนี้เป็น งูเห่า หรือ งูจงอาง ครับ
รบกวนพี่ๆ ใน siamensis.org ช่วยจำแนกให้หน่อยครับ

ช่วงนี้ระแวกบ้านผมถึงเทศกาลโชว์ตัวของพวกเขาอีกแล้ว  

ขอบคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

น่าจะเป็น งูเห่า (Naja kaouthia) ครับ ดูจากลายและแก้มนวลๆ แต่อุปกรณ์นั่นทำเองรึป่าวครับน่าสนใจเดี๋ยวเอาไปดัดแปลงทำบ้างครับ ผมใช้เหล็กเส้นขนาด 5 มม.มาดัดเป็นขอเชื่อมต่อกับท่อแป๊บเอาครับ อันนี้น่าสนใจแต่ถ้าจะให้ดีตรงส่วนที่เป็นคีมจับน่าจะหาฟองน้ำอัดหุ้มหน่อยก็ดีครับเพื่อลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับงูครับ เพราะเหล็กมันคมครับ

ความเห็นที่ 2

ช่วงระยะนี้ของทุกปี แถวๆ บ้าน จะมีงูวัยซนแวะเวียนมาให้เห็นกันหลายชนิด
โดยเฉพาะงูลักษณะรูปพรรณประมาณนี้ จะมีมามากเป็นพิเศษกว่าชนิดอื่นๆ
จากที่เคยพบเห็นผ่านมาหลายๆ ครั้ง และก็มีผู้ร่วมอยู่ในสถานการณ์ที่ต่างกันไป 
บ้างก็บอกว่าเป็นงูเห่า บ้างก็ว่างูจงอาง หรือบ้างก็ว่างูสิงถ้าไม่ได้เห็นมันแผ่แม่เบี้ย
จึงยังเป็นที่สงสัยของเพื่อนบ้านหลายๆ คนอยู่ครับ ว่าเจ้างูที่เราต้องพบเจอกัน
เป็นประจำอยู่ทุกๆ ปี ในระแวกบ้านนี้ มันคืองูอะไรแน่ 

ซึ่ง ณ ตอนนี้ ผมสันนิษฐานว่าที่เคยเห็นผ่านๆ มานั้น มันน่าจะมีด้วยกันทั้ง 2 ชนิด
แต่ก็ยังจำแนกไม่ถูกหมือนกันครับ




 

ความเห็นที่ 3

ขอบคุณ ความเห็นของ คุณตะขาบยักษ์ ครับ

ส่วนอุปกรณ์นี้ผมประยุกต์ทำขึ้นเองครับ
เตรียมไว้เพื่อใช้ช่วยเพื่อนบ้านในเทศกาลงูปีนี้โดยเฉพาะ
ครั้งหน้าว่าจะใช้เศษยางในเก่าๆ ปะกาวรองตรงเหล็กรูไว้อีกทีครับ

ความเห็นที่ 4

ลองเสิร์ชหารูปงูจงอางในเวบนี้ หรือในกูเกิ้ลก็ได้ครับ เอามาดูใช้จำแนกลักษณะแยกประเภทได้ครับ แถวบ้านผมก็มีทั้ง 2 ชนิดเลย ล่าสุดจงอางเข้าบ้านคนแถวบ้านห่างไปประมาณ 500 เมตร ตัวยาวประมาณ 2 เมตรกว่า เจ้าของบ้านไม่กล้าเข้าบ้านเลย โทรไปเรียก อปพร มาจับ คนมาจับอายุมากแล้ว แกมาถึงแกจุดธูปแล้วปักหน้าบ้าน แล้วแกก็เดินเข้าไปจับด้วยมือเปล่าออกมาจากใต้แคร่เลย มันนิ่งอย่างกับงูสิงเลย แต่เจ้าของบ้านบอกว่าจงอางแน่เพราะแกเปิดบ้านปั๊บมันชูคอโชว์เลยแกเลยปิดประตูขังมันไว้แล้วโทรเรียกเจ้าหน้าที่ครับ งูจงอางถ้าตัวเท่าที่คุณ nopparat จับใส่ขวดไว้จะเป็นลูกงูตัวจะสีเข้มๆ ออกดำ แล้วมีลายขวางเล็กๆ สีขาวคาดตลอดตัวเลยเป็นปล้องๆ แต่ลายจะต่างจากงูทับสมิงคลา แต่ผมเคยเจอลูกงูสิงมีลายแบบนี้เหมือนกัน จุดจำแนกอื่นคงต้องรอท่านอื่นมาอธิบายครับ

ความเห็นที่ 5

ขอบคุณ คุณตะขาบยักษ์ อีกครั้งครับ

ความเห็นที่ 6

รูปงูบางส่วนที่เคยเห็นแถวนี้ครับ

มาลอกคราบไว้





บางส่วนที่ถูกจับตายโดยคนแถวนั้น








ความเห็นที่ 7

พวกนี้เป็นอุปกรณ์เสริม (ตกรุ่นไปแล้ว) ทำเผื่อไว้ สำหรับสตรี คนชรา หรือผู้ไม่สันทัด แต่ถึงคราวจำเป็น จวนตัว








ความเห็นที่ 8

เป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจทีเดียว แสดงถึงวิวัฒนาการของภูมิปัญญาได้อย่างดีทีเดียว น่าทำภาพเป็น collection นะเนี่ย

ความเห็นที่ 9

โห เห่าเพียวๆเลยครับ ขอเอาไอเดียไปใช้บ้างนะครับ (เสียค่าลิขสิทธิ์หรือเปล่าเนี่ย)

ความเห็นที่ 10

ที่บ้านเคยมีออกมาเป็นพักๆ เหมือนกันครับ ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ต้องลองทำอุปกรณ์บ้างแล้ว เผื่อฉุกเฉิน

ความเห็นที่ 11

มล  จันทร์ลา เผ่นตั้งแต่เจอตัวแล้วหล่ะครับ ไม่ถูกกันจริง จริง กับสัตว์ในกลุ่มนี้

ความเห็นที่ 12

มายืนยันว่าเป็นงูเห่าไทยตามคุณตะขาบยักษ์ครับ  ลูกงูจงอางจะมีลายบั้งขวางตั้งแต่คอยันหาง  ส่วนหัวก็มีลายดำ-ขาว ความยาวแรกเกิดก็ประมาณ 45+ ซม. ความกว้างแม่เบี้ยไม่เกิน 2 เท่าของช่วงใต้แม่เบี้ย และแม่เบี้ยมีช่วงยาวมากค่อยๆแคบสอบลง ขณะที่ลูกงูเห่านั้นบนหัวไม่มีลายใดๆเลย แม่เบี้ยกว้างประมาณ 2.5-3 เท่าของความกว้างใต้ช่วงที่เป็นแม่เบี้ย และแสดงขอบเขตแม่เบี้ยได้ชัดเจนหรือค่อนข้างชัดเจน (แล้วแต่ชนิด)

ความเห็นที่ 12.1

ไปชมตลาดวันนี้ เห็นเต่านาเยอะแยะหลายขนาดทีเดียว พอดีไม่ได้ถือกล้องไปด้วยเลยไม่ได้เก็บภาพ
มาฝาก รอมาดูเองดีกว่า อิ อิ

ความเห็นที่ 13

พี่น๊อทหัวงู เห่าตัวเด็กไม่มีลายจริงๆด้วยพี่

ความเห็นที่ 14

อุปกรณ์กระทู้นี้แจ่ม แต่ผมก็ไม่ค่อยถูำกกับสัตว์กลุ่มนี้เลย ใ้ห้ตายสิ  --

ความเห็นที่ 15

ขอบคุณ คุณ knotsnake สำหรับข้อมูลเสริมครับผม

ทุกๆ ข้อมูล ที่ได้จากที่นี่เป็นประโยชน์มากครับ

ความเห็นที่ 16

ส่วนนี้เป็นรูปของอุปกรณ์ช่วยจับ เพิ่มเติมเป็นไอเดียเผื่อท่านที่สนใจ จะหาเตรียมไว้ใช้เมื่อถึงคราวจำเป็นครับ

รวมๆ มาจากอุปกรณ์เหลือใช้ในบ้าน เคยใช้จับทั้งงู และตะขาบอยู่บ่อยๆ ครับ



ดีไซน์เข้าที เหมาะมือ แม่นยำ  ปลอดภัย กองนี้ สำรองไว้ และเผื่อแบ่งปันเพื่อนบ้านผู้ร่วมชะตา (ด้ามสั้นไปนิด แต่ใช้ได้)

ความเห็นที่ 17

เมื่อวันก่อนเห่าน้อยเข้ามาเที่ยวเล่นในห้องทำงานผม (อยู่ศาลายา)

เสียดายที่ผมไม่อยู่ หนูน้อยเลยไม่ได้อยู่ดูโลกอีกต่อไป เมื่อพี่แม่บ้านเรียกพี่คนสวนมาจัดการ ...

ความเห็นที่ 18

ขออนุญาตเอาแบบไปทำบ้างนะครับ ดูแล้วทำง่ายดีลงทุนไม่มากแต่น่าจะดีกว่าใช้เหล็กคล้องงู

ความเห็นที่ 19

นณณ์หัวงู ส่วนใหญ่จะมีการใช้หัวเป็นลักษณะสังเกตในการจำแนกระดับต่างๆ (family, genus, species) ครับ หากเรารู้จักสังเกตพวกหัวงูต่างๆก็จะใช้ในการระวังตัวได้แม้ไม่ได้ศึกษาเรื่องงูครับ

ความเห็นที่ 20

ผมไปบ้านป้ามาก็เจอครับ ช่วงหลังสงกรานต์ แถวๆบางแค วันเดียวเจอถึงสามตัว เพื่อนบ้านตีตายไป1 ผมไล่ไปอีกหนึ่ง และเจอนอนตายที่ถนนอีกหนึ่งตัวครับ ยังเป็นลูกงูอยู่เลย เสียวๆแม่มันเหมือนกัน...