ทำงานที่กำแพงเพชร...แวะไปเรื่อย

ขาไปครับ ถนนเส้นหลักก็ไม่วิ่งหรอก วิ่งเส้นรอง ชมวิวไปเรื่อย เป้าหมายจริงๆ คืออยากภาพนกยางควาย ในขนฤดูผสมพันธุ์ ได้มาตามเป้าหมาย แต่ไม่ได้อยู่กับควาย...

Comments

ความเห็นที่ 1

แล้วก็เจอไอ้นี่เกาะอยู่บนสายไฟ

กระเต็นปักหลัก
king.jpg

ความเห็นที่ 2

วันรุ่งขึ้นทำงานตั้งกะเช้ายันเย็น ได้ 16.30 น. ชิ่งออกมาสำเร็จ ไปเดินเล่นที่ อุทยานประวัติศาสตร์ มรดกโลก ของกำแพงเพชร หวังใจไปหากระรอก ได้นกเด็ดมาแทน
temple.jpg คักคูหงอน! เห็นตอนแรก ดูไม่ออกจริงๆว่านกอะไร เจอตอนเย็นมากๆ ได้มาเต็มที่แค่นี้อ่ะ นกตาไวมาก ึคักคูอีกตัว ชนิดไหนนี่ครับ?  เย็นย่ำ พวกนี้รวมกลุ่มร้องเพลง ยิ่งทำให้บรรยากาศวังเวง กระปูดscape temple1.jpg

ความเห็นที่ 2.1

ทำไมคัคคูท่าน เทพแบบนี้ล่ะ

ความเห็นที่ 2.1.1

ตกลง common cuckoo ตามอ.หมีน้ำใช่ไหม?

ความเห็นที่ 2.1.1.1

ยังไม่ได้เปิดหนังสือเลยครับ แต่ไม่ใช่เหยี่ยวใหญ่แน่ ๆ

ความเห็นที่ 2.1.1.1.1

ท่าน ๆ พี่ครับ มี 2 เสียง ว่าเป็นคัคคูหิมาลัยครับ (Oriental Cuckoo)    มันแฟดกับเจ้าม          ดเไำเำดิฟมัน

ความเห็นที่ 2.1.1.1.1.1

เวบเป็นไรเนี่ย  เจ้าคัคคูหิมาลัย (Oriental Cuckoo) มันเป็นแฝดกับ common cuckoo ครับ  แต่หากได้ยินเสียง จะจำแนกไม่ยากครับ

เจ้าคัคคูหิมาลัย (Oriental Cuckoo) มันร้อง ฮูป ๆ ๆ

 common cuckoo  มันร้องเหมือนนาฬิกา กุ๊กกรู่ ๆ ๆ

ความเห็นที่ 2.1.1.1.1.1.1

คัคคูคู่เหนียว ดูจากภาพแล้วไม่กล้าฟันครับ

สำหรับวิธีจำแนกที่ดีที่สุด ก็อย่างที่ว่า คือใช้เสียง...

แต่ติดอยู่ตรงที่ว่าทั้งคู่เป็นนกอพยพที่เมื่อมาเมืองไทยแล้วไม่ค่อยจะร้อง(เพราะมันไม่ได้ตั้ง territory หรือถ้าตั้งก็ตั้งชั่วคราว) เลยไม่ค่อยมีโอกาสจะได้ยินเสียงเท่าไหร่ (เท่าที่ดูนกมายังไม่เคยได้ยินเสียงที่เป็นsongของทั้งสองตัวเลย) แต่ก็เคยได้ยินว่าบางคนได้ยินมันร้องเหมือนกันโดยเฉพาะช่วงใกล้อพยพกลับ อย่างช่วงนี้

จริงๆมีจุดจำแนกอื่นๆอีกครับ ลองตามไปดูได้ที่นี่ครับ
http://www.lannabird.org/nuke/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1633&view=next

แต่ก็ต้องระวังมุมของแสงขณะถ่ายรูปที่มีผลมากๆกับจุดจำแนกเล็กๆอย่างนี้ อันนี้ก็ตัวใครตัวมันครับ

@ ท่านหนึ่ง หนังสือของ King ก็บอกไว้นะท่าน หนังสือไม่สวยแต่เนื้อหาดีสุดๆ

ความเห็นที่ 2.1.1.1.1.1.1.1

ตามะเดี่ยว  ตยังไม่ได้เปิดเอกสารเลยซักเล่ม อยู่ กทม มาดูมูกิมากิ

ความเห็นที่ 2.1.1.1.1.1.1.1.1

นกมหาชน น่าเบื่อ......

ความเห็นที่ 2.2

นิวอะป่าว Nonny Cuckoo

ความเห็นที่ 2.3

ภาพที่ 5 ผมเห็นเป็นนกอีแก

ความเห็นที่ 2.3.1

ตอนแรกก็อึ้งครับ

ความเห็นที่ 3

วันรุ่งขึ้นก็ทำงานทั้งวัน ขากลับผ่านสะพานข้ามแม่น้ำปิง แวะชะโงกอยู่ ได้มาสองภาพ!
ซิวอ้าว ซิวอ้าว กับ กระทุงเหว กาน้ำฝูงใหญ่บินผ่านไป

ความเห็นที่ 4

แวะกินข้าวร้านอาหารริมน้ำที่สิงห์บุรี เป้าหมายหลักคือตัวคาใจ เจ้ากระเต็มปักหลัก นั่งกินข้าวบนโต๊ะ พร้อมกล้องเลนส์วางข้างตัว แล้วมันก็มาตามนัด!!! ปักหลักแอร์โชว์ ดูกี่ทีก็ประทับใจ เสียดาย บินอยู่ด้านบนท้องฟ้าก็ขาวโร่เชียว!! 
king1.jpg king2.jpg

ความเห็นที่ 5

ผมหล่ะไม่เข้าใจ ทำไมพี่ถ่ายยางควาย ยางกรอก
ได้สวยนุ่มกว่าอื่นๆมากมายนัก cheeky

ความเห็นที่ 6

ก็มันตัวใหญ่ และเข้าใกล้ได้ ไงคร๊าาบบบบบ ยางควายนี่ข้าพเจ้านั่งอยู่ท่ามกลางฝูงวัวเลยเชียว มันก็เลยเอามาลงนี่ไฟล์เต็มๆ ตัวอื่นมันเล็ก ไกล ถ่ายเสร็จกว่าจะเอามาลงก็ต้องคร๊อปมา ไฟล์มันก็ห่วยไปตามสภาพอ่ะ

ความเห็นที่ 6.1

มันคงแยกไม่ออกว่าตัวไหนวัวกันแน่ใช้มะ เลยเข้ามาซะใกล้เลย

ความเห็นที่ 7

ชื่อ Common cuckoo แต่โคตรหายากในไทยเลยแหละ

ความเห็นที่ 8

เป็น new record ของพื้นที่ด้วย 5555555

ความเห็นที่ 9

โอ้ส! rare item ^^ นกยางพอดูใกล้ๆนี่สวยมากเลยแฮะ ชอบตัวน้ำตาลน่ารักๆ

ความเห็นที่ 10

แจร่มเรยย... ยังไม่เคยเห็นจะๆ ซะทีกะคัคคูหงอนเนี่ยyes

ความเห็นที่ 11

ใจเย็นๆครับ ผมว่าระหว่างถ้าเจอในช่วงเดือนเมษาฯแบบนี้ 

ซึ่งเป็นช่วงที่นกอพยพส่วนใหญ่บินกลับ ซึ่งก็รวมถึง นกที่มีสถานภาพเป็นนกอพยพผ่าน

ซึ่งนกคัดคูตัวสีเทา ตัวผมเองคิดว่าน่าจะเป็นนกคัดคูพันธุ์หิมาลัย Oriental Cuckoo : Cuculus saturatus มากกว่าที่จะเป็น นกคัดคูพันธุ์ยุโรป Common Cuckoo : Cuculus canorus ซึ่งนกคัดคู ทั้งสองชนิดนี้ใช้สีสันจำแนกออกจากกันได้ยากมากๆเมื่อมองในธรรมชาติ สิ่งที่ใช้จำแนกได้ดีที่สุดคือเสียงร้อง 

ความเห็นที่ 12

มีภาพจาก Orientalbirdclub มาให้เปรียบเทียบความคล้ายครับ

ตัวแรกนกคัดคูพันธุ์หิมาลัย 
http://orientalbirdimages.org/search.php?Bird_ID=444&Bird_Image_ID=8850&Bird_Family_ID=&p=15



ส่วนนี่ นกคัดคูพันธุ์ยุโรป ครับ http://orientalbirdimages.org/birdimages.php?action=birdspecies&Bird_ID=445&Bird_Image_ID=42879&Bird_Family_ID=79

ความเห็นที่ 13

มีเสียงร้องของนกคัดคูทั้งสองชนิดมาให้เปรียบเทียบความแตกต่างครับ

ตัวแรกนกคัดคูพันธุ์หิมาลัยครับ : C. saturatus เสียงจะคล้ายๆกับเสียงร้องของนกกะรางหัวขวานแต่จะแตกต่างกันที่จำนวนพยางค์ที่ร้องครับ

http://www.xeno-canto.org/asia/browse.php?query=+Cuculus+saturatus
 
 
ส่วนอีกเสียงคือเสียงนกคัดคูพันธุ์ยุโรป C. canorus เสียงจะเหมือนกับนาฬิกาปลุกที่เรียกว่านาฬิกาคัดคูครับ
http://www.xeno-canto.org/asia/browse.php?query=+Cuculus+canorus

ความเห็นที่ 14

เสียงตัวนี้ไม่ได้ยินเลยครับ มันไม่ได้ร้องเลย ส่วนเจ้าหงอนนี่ร้องเป็นเอกลักษณ์มากๆ "แป้ว แป้ว" ดังลั่นหมด เดินตามสบายเลย

ดูภาพเปรียบเทียบแล้วได้อารมณ์หิมาลัยจริงๆด้วยครับ สังเกตว่าสีตามันไม่เหมือนกัน ใช้จำแนกชนิดได้ไหม?

ความเห็นที่ 14.1

ไม่ชัดแบบนี้ ห้ามนับ 555

ความเห็นที่ 14.2

มีอีกทางยืนยัน มีภาพใต้ปีกขณะบินไหมครับ

ความเห็นที่ 15

มีอีกภาพเป็นแบบนี้อ่ะ
cuckoo1.jpg

ความเห็นที่ 15.1

แบบนี้ หิมาลัย แน่ ๆ

ความเห็นที่ 15.1.1

like....

ดีนะที่พี่นณณ์ไม่ได้ลบรูปนี้ ถ้าเป็นนักถ่ายภาพนกนะคีย์ไม่ได้กันทีเดียว

ความเห็นที่ 15.1.1.1

ไปสวนหลวงบ่อย ๆ ชักรับไม่ได้กับพฤติกรรมขึ้นทุกวัน

ความเห็นที่ 16

รู้งี้แปะรูปนี้ตั้งนานแล้ว

ความเห็นที่ 17

ภาพนกยางแจ่มได้ใจจริงๆ  ^^

ความเห็นที่ 18

ใช่ หิมาลัย เพราะบั้งที่พุงกว้างกว่า common

ความเห็นที่ 19

สุดยอดเลยครับ คัดคูหงอน ตอนแรกก็นึกว่าปรอดหัวโขน yes

ความเห็นที่ 19.1

เจอปรอทหัวโขน อาจตื่นเต้นกว่าเจอคัคคูหงอนครับ 555