แก้จิตตกที่ ตามพรลิงค์ (ก๊อกสอง)

จากน้ำตกแห่งหนึ่ง เราก็มุ่งหน้าสู่อ.ร่อนพิบูลย์ เพื่อขึ้นยอดเขาแห่งหนึ่ง ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 900 กว่าเมตร โดยมี"เจ้าหน้าที่" คุณ Aha ช่วยกรุณาอำนวยความสะดวกและร่วมสำรวจกับเราตลอดเส้นทาง

ก่อนอื่นเราก็แวะดูงานสร้างฝายที่ตีนเขากันก่อน!!!

Comments

ความเห็นที่ 1

แต่กลางๆเขางูตัวแรกก็ออกมาต้อนรับ ตอนแรกนอนอยู่กลางถนน พอลงไปถ่ายภาพก็เลื้อยเขาป่าไป
งูเขียวกาบหมาก

ความเห็นที่ 2

สงสัยว่าจะเป็นยอดเขาระดับเกือบๆ 1000 เมตร แห่งเดียวของภาคใต้ที่รถขึ้นถึงได้ แถมยังมีบ้านพักสะดวกสบาย(แต่ยังไม่มีน้ำและไฟ) แถมยังมีทางเดินอย่างดีให้เดินด้วยนะ อารมณ์พื้นที่ทำให้นึกถึงดอยอินทนนท์ คล้ายๆ ดอยอ่างกา แต่สัตว์เยอะกว่า!!

ช่วงเย็นฝนตกหนัก ลมพัดแรงน่ากลัวมาก เรานั่งกินไก่ต้มน้ำปลาตัวเหลืองอ๋อย เชื่อมั่นว่าฝนจะหยุดและอากาศจะดี แล้วก่อนมืด ความหวังก็เป็นจริง
วิวจากบ้านพัก ขึ้นไปตอนแรกอากาศยังเปิด สภาพพื้นที่บ้านพัก ตอนหลังอากาศปิดสนิท ทางเดินยกพื้น ลัดเลาะไปในป่า เดินสะดวกสบาย

ความเห็นที่ 3

ฝนหยุดตกก่อนจะมืด เราก็ลงไปดูสิ่งที่ผมฝันจะเห็นมาตั้งแต่ ขวบครึ่ง!  บัวแฉกใหญ่ สวยงาม งดงาม จริงๆ
Dipteris conjugata Dipteris conjugata

ความเห็นที่ 3.1

บัวแฉกกกกก!

ความเห็นที่ 4

ตัดฉากมาก็มืดค่ำแล้วกัน ตุ๊กกายป่าใต้ที่นี้อยู่กันตามบ้านพักนี่แหล่ะ เยอะมาก มีแม้กระทั่งในห้องนอน ห้องน้ำ รางระบายน้ำ เห็นจนอิ่มไปเลยเีชียว
Cyrtodactylus pulchellus Cyrtodactylus pulchellus

ความเห็นที่ 4.1

C.macrotuberculatus ?

ความเห็นที่ 4.1.1

ไม่ใช่ตะปุ่มใหญ่ครับน้องพรุ

ความเห็นที่ 4.1.1.1

เป็น microtuberculatus แล้วกัน

ความเห็นที่ 4.1.1.1.1

partituberculatus ดีกว่า

ความเห็นที่ 4.1.1.1.1.1

dorsotuberculatus แล้วกัน เพราะด้านล่างมันเรียบนิ

ความเห็นที่ 5

ตามด้วยน้อง amp ชุดใหญ่ รบกวน ID กลุ่ม iraicho! ด้วยนะครับ
Ansonia sp. iraicho Philautus sp. iraicho Philautus sp. iraicho Polypedates sp. iraicho Limnonectes sp. iraicho Limnonectes sp. iraicho1 Rhacophorus bipunctatus แต่ตัวนี้ด้านหนึ่งเป็นแค่ unipunctatus ซ่ะงั้น ลงรอบแรกลืมไอ้ตัวนี้ไป

ความเห็นที่ 5.1

iraicho แปลว่าอะไรครับท่าน
คางคกห้วยมีภาพท้องไหมครับ แต่คล้ายตัว คอคอดกระอยู๋นะ
กบหงอน Limnonectes macrognathus
ลูกกบทูดวัยเด็ก ครับ

ความเห็นที่ 5.1.1

อยากอยู่ใต้ แต่ไม่รู้จัก araicho ได้ไงเนี่ย

คางคกห้วย Ansonia sp. ครับ

ความเห็นที่ 5.1.2

iraicho เป็นกลุ่มชนิดเดียวกับ arumirai แต่พบทางภาคใต้ เหอ เหอ

ความเห็นที่ 5.1.2.1

อู้...ลึกซึ้งมาก

ความเห็นที่ 5.1.2.2

รู้ว่าต้องทางใต้แต่ไม่รู้จะออกเสียงเยียงไร ไอ้เราก็ไปอยู่ใต้มาสักพักฟังใต้มาทั้งเดือนคำนี้ไม่คุ้นอ่ะ 

ความเห็นที่ 5.1.2.2.1

"ไอ้ไหรโช้" อ่ะนะ

ความเห็นที่ 5.2

ด้านข้างของปาดมาให้พิศอีกมุม
polypedates1.jpg

ความเห็นที่ 6

เลื้อยกันต่อกับ...
Trimeresurus [Popeia] fucatus บ่าวงูเขียวหางไหม้ท้องเขียวใต้ Trimeresurus [Cryptelytrops] albolabris งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง

ความเห็นที่ 6.1

ไม่เหมือนท้องเหลืองเลยคร้าบ คล้ายเจ้าท้องเขียวใต้มากกว่ามั้ยนิ

ความเห็นที่ 6.1.1

ไม่ใช่ท้องเหลืองแน่ๆ และน่าเป้นท้องเขียวใต้ตัวเมีย ยังไงรบกวนดูภาพที่เห็นหางชัดกว่านี้หลังไมค์ด้วยนะครับ

ความเห็นที่ 6.1.1.1

หน้าไมค์เลยแล้วกันครับ ดีนะที่นายหนึ่งให้ถ่ายหางไว้ด้วย
pittail.jpg

ความเห็นที่ 6.1.1.1.1

งั้นก็ยันว่าเป็นท้องเขียวใต้ครับ ตัวนี้ดันมีรอยปื้นใกล้เคียงกับท้องเหลืองซะด้วย แต่..ปลายหางยังเห็บบั้งน้ำตาลที่เข้มกว่าชัดอยู่นะของรับ  ที่จริงทรงหัวก็บอกแล้วล่ะ แต่ขอดูหางเพราะเผื่อเจองุที่ไม่รู้จักบ้าง  ทีวัวยังให้ดูที่หางเลยเนอะ

ความเห็นที่ 6.1.1.2

กลัวงูอ่ะ

ความเห็นที่ 6.1.1.2.1

จงระงับความกลัวงูด้วยหัวงู

ความเห็นที่ 6.1.1.2.1.1

ลืมนึกไปพี่ ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 7

จิ้งเหลนหลากลาย แม่นบ่?
Eutropis sp. iraicho

ความเห็นที่ 7.1

Eutropis macularia

ความเห็นที่ 8

ค้างคาวหน้ายักษ์ ขอเดาเล่นว่า หูมน!!!! Hipposideros doriae บินกินผีเสื้อกลางคืนอยู่ที่หลอดนีออน
hipposideros.jpg hipposideros1.jpg

ความเห็นที่ 8.1

โหแจ๋งอ่ะถ่ายตอนกินผีเสื้อได้ด้วย

ความเห็นที่ 8.1.1

Like mak mak.

ความเห็นที่ 8.2

หูมน? เจ๋งเกิ๊นนนน 555
เดาเล่นเหมือนกันว่า H. atrox หน้ายักษ์สองสีเล็ก

รูปล่างเหมือนจะยังเด็กอยู่เลย

ความเห็นที่ 8.2.1

ฮ่า ฮ่า ไม่รู้นี่หว่า ว่าตัวไหนหายากหาง่าย ดูเอาจากในรูปที่ท่านให้มานี่แหล่ะ!!

ความเห็นที่ 9

กลับมาเลื้อยๆกันต่อ ทริปนี้เจอตุ๊กกายถึง 3 ชนิดทีเดียวเชียว
จิ้งจกนี่เป็นเจ้า mutilata ?
Gehyla sp. iraicho Cyrtodactylus brevipalmatus

ความเห็นที่ 9.1

แม่นแหล่วทั้งสองชนิด

ถ้าดูดีๆก็จะเห็นว่า ตุ๊กกายชนิดนี้ก็มี "หัวใจ" ซึ่งเป้นเครื่องหมายการค้าของตุ๊กกายกลุ่มม้วนหางเลย

ความเห็นที่ 9.1.1

ตอนเห็นครั้งแรก ตุ๊กกายตัวนี้เกาะสูงบนพื้นที่ไม้สีอ่อน ผมนึกว่าเป็นป่าใต้สีตก เดินผ่านไปผ่านมากันอยู่ 2 รอบ นายหนึ่งถึงจะทักขึ้นมาว่าไม่ใช่ พอส่องไฟนานๆเข้า หางมันก็เริ่มม้วนๆๆ เราก็เลยเฮ้ย ไม่ใช่นี่หว่า อายจริง

ความเห็นที่ 9.1.1.1

นึกว่ากลัวแมงป่องซะอีก

ความเห็นที่ 10

แมลงกลางคืนที่เด่นๆมี 3 ตัว
stick.jpg stick1.jpg โกไรแอท เพศเมีย?? แถมแมงมุมให้ตัวหนึ่ง

ความเห็นที่ 10.1

แมงมุม Nephilengys malabarensis ครับ

ความเห็นที่ 10.2

ด้วงกว่างสามเขาคอเคซัส (Chalcosoma caucasus) เพศเมีย ???

ความเห็นที่ 10.3

#3มีรูปด้านข้างมั้ยครับ ดูจากมุมนี้ก็คิดว่าเป็นกว่างสามเขาจันท์( Chalcosoma caucasus )เช่นกันครับ.

ความเห็นที่ 10.3.1

ที่จุดนี้มีคนเจอ Chalcosoma caucasus เพศผู้อยู่แล้วครับ แล้วอีกข้อมูลที่คิดว่เป็นตัวนี้ เนื่องจาก หลังมันเป็นขนอ่อน ๆ ครับ

ความเห็นที่ 10.3.1.1

คิดว่าเป็น C.caucasus แหละครับ จริงๆแล้ว C.atlas เพศเมียมีขนอ่อนนะครับ เพียงแต่น้อยกว่า C.caucasus และหลังจะขรุขระกว่าครับ

ปล.ภาพนี้ขอนำไปลง SI เลยนะครับ.

ความเห็นที่ 10.4

รูปที่3ขออนุญาตนำไปลง SI นะครับ.

ความเห็นที่ 10.4.1

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 11

เดี๋ยวจะหาว่าเราไม่เจอ agamid เสียเลย กิ้งก่าเขาหนามสั้น กับ กิ้งก่าแก้วใต้
Acanthosaura crucigera Calotes emma emma

ความเห็นที่ 12

ตัวนี้เป็นอีกตัวที่ไม่หวังว่าจะเจอแต่ดันเจอ ดีใจมากๆที่ได้เห็นพวกมันในธรรมชาติ ครบแล้วสำหรับชนิดที่มีรายงานอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ปูแสมภูเขาใต้ Geosesarma foxi
พวกนี้ตอนกลางคืนจะปีนต้นไม้ใบไม้หากินเหมือนแมงมุมไม่มีผิด แต่ดูว่ามันกินอะไรก็ไม่รู้เป็นเศษๆเล็กตามใบไม้ กลางวันจะซุกอยู่ตามใต้เศษใบไม้
เพศผู้ เพศเมีย ให้ดูว่ามันเล็กจิ๋วแค่ไหน

ความเห็นที่ 12.1

ตัว Geosesarma foxi ในเปเปอร์ยังเป็นปัญหาอยู่ครับ ตัวที่เป็น type มีอยู่แค่ 2 ตัว ซึ่งเก็บจากลังกาวี แล้วไม่พบตัวอย่างชนิดนี้เพิ่มเติมอีกเลย โดยฝั่งแผ่นดินใหญ่ของมาเลย์ถูกตั้งเป็นชนิดใหม่กันทั้งนั้น
ผมเทียบๆตัวอย่างจากภูเก็ตที่ได้มาจากพี่น็อต ที่มาจากหมอก๊งอีกที ก็ยังติดๆอยู่ อยากจะเทียบตรงส่วนรยางค์ปากดู แต่ก็ไม่มีภาพให้เทียบ นอกจากนั้นภาพวาดอวัยวะเพศผู้ก็ไม่ละเอียดพอจะแยกออกจากชนิดอื่น

ส่วนที่รายงานทางภาคใต้จากบันนังสะตา ยะลา เป็นรายงานโดยอ.พิมลพรรณ กับอ.วชิระ ม.อ.หาดใหญ่ ผมไม่ทราบว่าอาจารย์ได้เปรียบเทียบอะไรยังไงมาแล้ว ไว้จะลองขอเปรียบเทียบกับปรึกษากับอาจารย์ดู

ปูแสมภูเขาหน้าตาแบบนี้ยังมีพบที่แถวเขานัน แล้วที่ทิวเขาติดฝั่งระนองของชุมพรอีกด้วย เท่าที่ผมเคยเห็นภาพมา

ความเห็นที่ 13

นอนกันตีหนึ่งกว่า สนุกสนานเร้าใจครับ รุ่งเช้าหมอกลงทึบใช้ได้เลย แต่พอสายๆก็เริ่มเคลียร์ นกไม่เด่นอย่างที่คิด แต่ก็มีเยอะพอให้ดูได้เพลินๆ คงต้องให้ เสือหัวดำ มาเล่าให้ฟัง กระผมไม่ประสาเท่าไหร่ ชมบรรยากาศกันก่อน
rr_walk.jpg rr_walk1.jpg

ความเห็นที่ 13.1

เส้นทางนี้ ที่น่าค้นหา.. บรรยากาศถูกใจเลยครับ..
..นึก ๆ ว่า..ถ้าเดินไปสักระยะ.. แล้วเจ้าไดโนซอรัสโผล่หัวมา...555

..อยากหาโอกาสไปแบบนี้บ้าง..

ความเห็นที่ 14

สวนหินชุดนี้นึกถึงดอยอินทนนท์แถวๆตรงข้ามพระธาตุ
rockforest.jpg

ความเห็นที่ 15

แมลงกลางวันกันบ้าง มีีผีเสื้อหนึ่งชนิด นายเสือฯ ทั้งปรอบทั้งขู่ให้ถ่ายไว้ เผื่อเป็นตัวเทพ ปรากฏว่าเป็นตัวปานกลางนิ!  ผีเสื้อร่อนลมน้อย

กับฝาก ID หนอนหนึ่งชนิดครับ
Ideopsis gaura หนอนตัวนี้เครื่องแต่งมันจัดเต็มจริงๆ

ความเห็นที่ 16

ดอกไม้สวยๆกันบ้าง ไม่มีปัญญา id หล่ะนะครับ แปะอย่างเดียว ใคร id ได้รบกวนด้วยนะครับ ต้นไหนพอจะรู้สกุล ก็จะปรากฏอยู่เป็นชื่อไฟลครับ
agostemma.jpg flo_blue.jpg flo_violet.jpg flo_violet1.jpg lipstick.jpg medinella.jpg orchid.jpg ginger.jpg hedechium.jpg etlingera.jpg

ความเห็นที่ 16.1

กลิ่น Hedychium โชยมาถึงระนองเลยวุ้ย

ความเห็นที่ 16.2

กล้วยไม้สวย...จี๊ดมาก ฟอร์มแบบนี้ไม่เคยเห็น

ความเห็นที่ 16.3

หนูอยากลงภาคใต้..TT_TT

ความเห็นที่ 17

เจ้าถิ่นจัดเต็ม เดินสุดทางแล้วไม่พอใจ บอกว่าลุยต่อให้ป่ากันเลย เอาแบบตัดทางกันเอง เจอปาล์มน่าสนใจเยอะครับ ID ตามหนังสือ ได้แค่ระดับสกุล(ก็ยังอาจจะผิดด้วยซ้ำ เหอ เหอ) ฝากผู้รู้ผ่านไปผ่านมา id หน่อยนะครับ
หวายสกุล Calamus Pinanga sp. iraicho Pinanga sp. iraicho Pinanga sp. iraicho Pinanga sp. iraicho

ความเห็นที่ 17.1

กระพ้อสวยมากกกก

ความเห็นที่ 18

เฟิร์น!!!  บอดสนิทหล่ะทีนี้
fern.jpg fern1.jpg fern2.jpg fern3rr.jpg

ความเห็นที่ 18.1

เฟิร์นรูปแรกมันดูคล้ายกล้วยไม้จังครับ

ความเห็นที่ 18.1.1

ผมก็ว่าเป็นเอื้องใบมะขามนะ

ความเห็นที่ 18.1.1.1

ผมก็สงสัยอยู่ครับ กล้วยไม้แหล่ะครับถ้างั้น ฮ่า ฮ่า

ความเห็นที่ 18.2

ต้นแรก กล้วยไม้ เอื้องใบเฟิน  Agrostophyllum stipulatum (Griff.) Schltr. ชื่อพอง. :Agrostophyllum bicuspidatum auct.non J.J.Sm. เหมือนกำลังมีดอกที่ปลายยอดด้วย
ต้นที่ 2 เฟินเชือกผูกรองเท้า น่าจะ Vittaria angustifolia (ถ้าใบกว้างไม่เกิน 0.5 เซ็นติเมตร ยาวไม่เกิน 1 ฟุต)
ภาพที่ 3 เห็นว่าเป็นเฟินข้าหลวง ปะปนกับ ใบมะขามและนาคราช
ภาพที่ 4 ก็ใบมะขามปนนาคราช ไม่สามารถระบุชนิดได้
หมายเหตุ มีเฟินหลายชนิดที่ใบคล้ายเฟินใบมะขาม ในทั้งสองภาพนี้ก้ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ความเห็นที่ 18.3

ริบบิ้นไหงยอดเขียวอย่างงั้น ไม่แดง

ความเห็นที่ 18.3.1

ไม่ใช่เฟินริบบิ้นครับ เป็นเฟินสกุลเชือกผูกรองเท้า Vittaria  ส่วนเฟินริบบิ้นสกุล Ophioglossum 

ความเห็นที่ 19

สุดท้ายเลย ต้องขอบคุณเพื่อนร่วมทางทั้งสองคนครับ หนึ่ง กับ แมว
อุปสรรค ทำให้ชีวิตมีสีสัน และคันยิบๆ ผักแถวนี้ไร้สารแน่นอน

ความเห็นที่ 19.1

ไหนบอกว่าไปกับเพื่อร่วมทางสองคน แล้วมาสรุปปิดท้ายว่าเป็น หนึ่งแมว อิ อิ

ความเห็นที่ 19.2

ที่ชลบุรีก็มีผักปลอดสารพิษนะ คุณนณณ์ เมื่อวันก่อนไปกินข้าวกับน้องที่ทำงาน ยังเจอกิ้งกืออยู่ในจานผักบุ้งเลยไฟแดงเลย ดีที่ผมกำลังเจริญสุราสมาธิอยู่เลยยังไม่ทันได้กิน ไม่งั้นคงคายของที่กินคืนให้ร้านแน่

ความเห็นที่ 20

เมื่อคืนก็อุตส่าห์มีคนดั้นด้นจากนครศรีฯ มาสังเวยทากบ้านพักที่ระนอง

ความเห็นที่ 21

อลังการ แต่ไม่มีน้องปอเราเลย ต้องลงไปดูด้วยตาตัวเองเสียแล้ว ฮี่ๆๆ

ความเห็นที่ 22

ของเขาดีจริงๆนะเนี่ย

ความเห็นที่ 23

วันนี้ปวดขมองมากแต่เช้า แต่แปลกพอเจอรูปต้นไม้ใบหญ้าเขียวๆรู้สึกดีขึ้นเลย

ความเห็นที่ 24

อยู่ที่ไหนครับอยากไปดูนกครับ

ความเห็นที่ 25

เจอของดีๆ เยอะเหมือนกันนะเนี้ยะ  ^^

ความเห็นที่ 26

ปลาล่ะ น้อยจัง

ความเห็นที่ 27

สวยจัง,,,,,,สวยกว่าของจริงซะอีก    โอกาสหน้าเชิญใหม่น่ะพี่  อีกซีกฟากหนึ่งของยอดเขายังไม่ได้เดินทีล่ะพี่ เดี่ยวจัดเต็มให้รอบเขาไปเลย (สองคืนสามวัน อิอิ)

ความเห็นที่ 27.1

ผมสนใจอย่างแรง

ความเห็นที่ 27.1.1

เอาวันที่ว่างๆน่ะ ขอวีซ่าด้วย

ความเห็นที่ 27.1.1.1

เป็นอันว่า เสาร์นี้ ผมอาจไปนอนที่ด่านป่าไม้นะครับ ไม่รู้ทาง จนท สะดวกไหม

ความเห็นที่ 28

รูปทรีเฟินrr_walk.jpg สวยมากๆ  หาแบบนี้ในที่ราบยากมากๆ

ความเห็นที่ 29

อุ..หมดแล้ว กำลังเพลินเลยครับ ..ถ่านยังไงก็สวยไปหมด อิจฉาจริงๆ