วันนี้..ไม่มีงูมาโพส

เอาปลามาแก้หิวก็ได้วุ้ย

ปลาทูแขกหางแดง (Decapterus akaadsi) เป็นทูแขกชนิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็น ขนาดโตๆที่เจอคือประมาณ ๔๕ เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย ปลาขนาดใหญ่มักได้ในน่านน้ำไทยตั้งแต่เกาะสุรินทร์ลงไป ปลาตัวนี้ถูกจับจากน่านน้ำพม่าตอนบนๆ ก็พบว่าตัวค่อนข้างเล็ก มันคงโตมาเรื่อยจนใหญ่ในไทยกระมัง ในไทยจะได้ปลาชนิดนี้ในช่วงธันวาคม ถึงกุมภาพันธุ์ และได้เป็นฝูงใหญ่ๆมาพร้อมๆกับฝูงปลาโอเสมอๆ

ลักษณะจำแนกที่สำคัญคือ หางแดงๆนี่แหละ แต่..ช้าก่อน หากไปเจอที่อื่นก็มีชนิดหางแดงตัวอื่นด้วย ดังนั้นต้องดูครีบอก (pectoral fins) ด้วยว่ามันโค้งยาวมากจนเลยจุดเริ่มของฐานครีบหลังอันที่สอง (second dorsal fin) ชัดเจนด้วยหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็ไม่ผิดตัวครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

ปลาหมูสีหน้ายาว (Lethrinus olivaceus) ว่าไปแล้วกลุ่มปลาหมูสี (หรือ ตะมะ) เป็นปลาคู่แฝดกับกลุ่มกะพงแดงเลย เพราะมีปลาที่หน้าตาคล้ายๆกันระหว่างสองกลุ่มหลายชนิด ไว้มีโอกาสค่อยจับคู่แฝดให้ดูกัน

lethrinus_olivaceus.jpg

ความเห็นที่ 1.1

ตัวนี้ภูเก็ตเรียก หัวเสี้ยม ใช่ไหมครับ?

ความเห็นที่ 2

จัดกลุ่มกะพงแดง (Lutjanidae) มาให้สักชุด

Lutjanus argentimaculatus ถ้าเห็นแดงๆแบบนี้แสดงว่าเป็นปลาที่จับจากทะเล น้ำค่อนข้างลึก  ปลาชนิดนี้ถ้าจับได้โซนปากแม่น้ำ หรือในป่าชายเลน สีจะออกน้ำตาลๆ

Lutjanus bohar ลักษณะเด่นของมันคือเกล็ดเหมือนเกล็ดมุกของมันนี่แหละ

Lujanus johni หรือปลาอังเกย เป็นปลากะพงแดงที่ราคาแพง (มองแบบทั่วๆไป อย่าเพิ่งไปเทียบกับปลาที่ราคาพิเศษ) พบชุกชุมตามกองหิน ปะการังเทียมที่ไม่ไกลฝั่งนัก ตลอดจนในป่าชายเลน
Lutjanus lemniscatus ตัวเล็กๆพบบริเวณชายฝั่งที่น้ำมีความเค็มพอประมาณขึ้นไป ตอนเล็กๆมีแถบดำๆแนวกลางตัวจางๆด้วย ส่วนราคาก็งั้นๆ

Lutjanus malabaricus ตอนเล็กๆจะมีแต้มสีดำที่โคนหางด้านบนพร้อมขอบสีจางๆ

Lutjanus quinquelineatus เป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ด้วยแถบข้างตัวสีฟ้าบนพื้นสีเหลืองสด พร้อมแต้มสีดำระหว่างสองแถบบน ทำให้มันดูเด่นไม่น้อยเลย แต่รสชาติไม่อร่อยนัก ดังนั้นเมื่ออยู่ในตลาดปลาเพื่อบริโภคจึงไม่แพง และไม่ค่อยได้ออกสู่ตลาดทั่วไปนัก

Lutjanus sebae เป็นปลาที่ตอนเดล็กๆก็เป็นที่หมายตาในวงการปลาทะเลสวยงาม เมื่อโตขึ้นก็เป็นปลาเนื้อราคาดีซะอีก ถ้าเอาส่วนหัวของปลาหนักราว ๓ กก. ขึ้นไป ไปนึ่ง แล้วทึ้งส่วนแก้มไปกิน โอว...สุดยอดดดดด

lujanus_argentimaculatus.jpg lutjanus_bohar.jpg lutjanus_johni.jpg lutjanus_lemniscatus.jpg lutjanus_malabaricus.jpg lutjanus_quinquelineatus.jpg lutjanus_sebae.jpg

ความเห็นที่ 3

อ้าว..กลายเป็น Knotfish ไปซะแล้ว ถ้าเจอ ยายอ้วน คงเอาไปทอดแล้ว

ความเห็นที่ 4

ปลาจ้าวสมุทร นับเป็นปลาที่ราคาไม่ธรรมดา ด้วยเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เนื้อเยอะ และมีไขมันแทรกเนื้อค่อนข้างมาก จึงเป็นที่ถูกลิ้นของนักกินปลาสดลวก หรือผ่านการทำให้สุกพอสะดุ้งความร้อนไม่น้อย ถ้าผมมั่วไม่ผิดก็พบทั้งสองชนิดจากภาพนี้

Macolor macularis

Macolor niger


แก้เป็น Lutjanus rivulatus

Lutjanus rivulatus1 Lutjanus rivulatus2

ความเห็นที่ 5

ปลาครูดคราด ครืดคราด กะพงแสม เป็นปลาที่เมื่อก่อนคนกรุงไม่ค่อยรู้จักกัน เพราะมันแทบไม่ไปเหยียบเมืองหลวงเลย เพราะคนกรุงมักนึกถึงแต่ปลากะพงแดง แต่เป็นปลาที่มีราคาทางฝั่งอันดามัน แต่ราคายังหย่อนกว่ากะพงแดง เนื่องจากไม่มีคู่แข่งจากเมืองหลวงมาประมูล หากใครนิยมปลาที่มีมัดกล้ามเนื้อค่อนข้างใหญ่ ไม่เละง่าย หรือคลุกแป้งทอดก่อนปรุงรสในเมนูต่างๆ ปลาครืดคราดจะเป็นทางเลือกที่ดี  อาจเพราะปลากะพงแดงราคามันตึงขึ้น คนเมืองกรุงเลยหันมามองทางเลือกใหม่นี้ ส่งผลให้ราคาปลาครืดคราดสูงขึ้นกว่าเท่าตัว โดยเฉพาะปลาขนาด ๐.๕-๐.๘ กก. มีราคาทำคนกระเป๋าบางๆของผมต้องสั่นคลอน

ปลาครืดคราดที่นำมาบริโภคมีหลายชนิด แต่ชนิดที่รสชาติดี และราคาดีที่สุดในวงการปลาเนื้อคือ Pomadasys kaakan โดยเฉพาะตัวที่สีออกทางเหลืองทอง ว่ากันว่าเนื้อช่างมันนักแล
pomadasys_kaakan.jpg

ความเห็นที่ 6

ถ้าเหลืองทองก็แปลว่ามันหม่ำกุ้งเข้าไปมาก เนื้อย่อมอร่อยแล

ความเห็นที่ 7

#4/1 น่าจะเป็น Lutjanus rivulatus กะพงหน้าลาย อ๊ะเปล่า????

ความเห็นที่ 7.1

อืม..อาจใช่ครับ เพราะดูตอนเบลอๆ ขอกลับไปดูก่อนแล้วกัน

ความเห็นที่ 7.1.1

เป็นตามที่ ดร.หมีน้ำว่าไว้ครับ ทั้งสองตัวเลยอีกต่างหาก

ความเห็นที่ 8

พบในไทยหมดทุกตัวหรือเปล่าครับท่าน?  อยู่ว่างๆ จะได้ดึงไปลง SI

ความเห็นที่ 9

มีในน่านน้ำไทยทุกชนิดครับ

ความเห็นที่ 10

จัดมาเห็นภาพเลย..ท่านป๋าน๊อต.หัวแกงส้มกะออกดิบ พุงต้มยำน้ำใสใส่ใบกระเพรา ท่อนหางทอดน้ำปลา
ทั้งหมด เก็บกับไว้กินกะข้าว
เหล้ากินกะเกลือ(จิ้มมะขามเปียก)