ปลา 2 ชนิดน่ี้ พบที่ชายฝั่งปัตตานีครับไม่ทราบว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือเปล่าครับ?

Comments

ความเห็นที่ 1

รบกวนช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 2

ภาพข้างบนอาจเล็กไปหน่อยครับ

plaataaehluueksan-megalops-cyprinoides-broussonet1782-indo-pacific-tarpon.jpg

ความเห็นที่ 3

อีกภาพครับ

oxeye_tarpon_megalops_cyprinoides_02.jpg

ความเห็นที่ 4

สงสัยตัวที่ 2  จะครีบไม่สมบูรณ์ครับ

ความเห็นที่ 5

คนละชนิดกันไม่ใช่หรือครับ รอผู้เชี่ยวชาญมาฟันธง  --"

ความเห็นที่ 6

ปลาตาเหลือก คนละชนิดหรือไม่ต้องรอผชช. ครับผม

ความเห็นที่ 7

ผมว่าชนิดเดียวกันนะ

ความเห็นที่ 8

ย่าน Indo-Pacific นี้ มีชนิดเดียวครับ

ความเห็นที่ 9

เท่าที่เคยเห็นปลาชนิดนี้มา ปลาทั้งสองเป็นปลาชนิดเดียวกัน แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างเนื่องจากความผันแปรที่เกิดจากอายุ ภาพแรกมันเป็นปลาที่มีอายุมาก จึงมีขนาดใหญ่ ครีบต่างๆ พัฒนาดีแล้ว จึงเห็นก้านครีบยืดยาวออกทั้งครีบหลังและครีบก้น เส้นขอบของส่วนหัวมีความลาดชันมากกว่า ในขณะที่ภาพล่าง เป็นปลาที่มีอายุน้อยและมีขนาดเล็กกว่า ไม่แน่ใจว่าจะยังอาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือเปล่า ความแตกต่างเท่าที่เห็น คือก้านครีบหลังก้านสุดท้ายของตัวนี้มันดูไม่ยืดยาวออกไปเหมือนตัวแรก ความจริงมันยาวแต่คุณไม่ได้เขี่ยออกมาให้มันหลุดออกจากแนวหลัง ทำให้มองไม่เห็นและคิดว่ามันมีเส้นยาวที่ว่านี้ แต่เนื่องจากเป็นปลาเด็ก เส้นยาวนี้จะไม่ยืดยาวเท่ากับปลาในภาพแรก

ไม่ทราบว่าเคยเห็นตัวอ่อนของปลาชนิดนี้หรือเปล่าครับ ตัวอ่อนนี้เป็นตัวบางใสๆ คล้ายใบไม้ ซึ่งคล้ายกับ leptocephalus larva ของปลาในกลุ่มปลาไหลที่แท้จริงในอันดับ Anguilliformes เห็นแล้วจะไม่เชื่อว่ามันคือตัวเดียวกันยิ่งกว่าเจ้าสองภาพนี้อีก

ความเห็นที่ 9.1

โอ้ว เหลือเชื่อจริงๆครับ เรื่องตัวอ่อนของปลาชนิดนี้ เพิ่งเคยได้ยินนี่แหละครับ ไว้ต้องลองค้นดูแล้ว

ความเห็นที่ 9.2

ผลจากการค้นครับ ตัวอ่อนของ Megalops


จากเว็บ www.unepscs.org

ความเห็นที่ 10

หน้าตาเหมือนพวกปลาถั่วงอก
sundasalanx_maeklong1.jpg

ความเห็นที่ 11

ชีวประวัติเท่มาก ขอบคุณอาจารย์สมหมายที่มาอธิบายให้ฟังครับผม  ^^

ความเห็นที่ 12

ขอบคุณมากครับที่ให้ความกระจ่าง