ศาสตร์ที่กำลังจุถูกลืม


สื่อการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์คืออะไร
การวาดทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสื่อการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น ดอกไม้ สัตว์ แมลง ปลา นก รวมถึงการศึกษาทางด้านแพทย์ศาสตร์ เพื่อนำเสนอและบันทึก สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ เพื่อใช้ในการวิจัยและการจัดการศึกษา การเรียนการสอน การทำสื่อด้วยวิธีทางการแพทย์ด้วยสื่อแบบต่าง ๆ การทำหนังสือ คู่มือ ตำรำ สื่อการเรียนการสอน และการสนับสนุนผลงานการวิจัย ให้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพหนี่งภาพสามารถแทนคำพูดนับล้านคำ” คงไม่มีใครปฏิเสธคำพูดดังกล่าวได้ว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ มีส่วนช่วยอธิบายเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าใจง่ายขึ้น เรื่องที่มีเนื้อหาสลับซับซ้อน จนยากที่จะอธิบายด้วยตัวอักษร หรือคำพูดได้ แต่เมื่อมีภาพประกอบอธิบาย จะทำให้เรื่องนั้นเข้าใจได้ง่ายและมีคุณค่าช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหา ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการชักนำจินตนาการและเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ให้เห็นเป็นรูปธรรมแห่งความเป็นจริง จึงจักจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีภาพประกอบ เพื่อเสริมเนื้อหาในการเรียน

ความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ และภาพวาดทั่วไป
หากกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ และภาพวาดทั่วไป ต่างกันอย่างไร อะไรเป็นข้อแตกต่าง คำถามนี้อาจเกิดขึ้นในใจว่าจะวัดอะไรว่า ภาพลักษณะนี้คือภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ภาพลักษณะนี้ คือภาพวาดทางวิจิตรศิลป์ ซึ่งสามารถแยกย่อยได้มากมาย หากเปรียบความแตกต่างระหว่างภาพวาดทางวิทยาศาสตร์และภาพวาดทางวิจิตรศิลป์ ว่ามีความแตกต่างกันเช่นไร ก็อาจเปรียบดัง ลูกที่เกิดมาจากพ่อแม่คนเดียวกัน ลูกที่เกิดมาย่อมมีหน้าตาคล้ายคลึงกัน แต่นิสัยก็อาจมีความแตกต่างกันบ้าง อยู่ที่หน้าที่ในการนำไปใช้ประโยชน์ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ ภาพวาดทางการแพทย์ จะคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scienitific Accuracy) เป็นสำคัญ มากว่าความสวยงามมีคุณค่าทางศิลปะ ซึ่งถ้าสามารถวาดได้ถูกต้องและสวยงาม ก็จะทำให้งานชิ้นนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างจากภาพวาดชนิดอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่ 
ไว้คราวหน้าจะเอาวิธีการและหลักการเขียนนกมาฝากครับ ถ้าไม่เบื่อที่จะมานั้งอ่าน

Comments

ความเห็นที่ 1

ที่บ้านเรา ศาสตร์นี้กำลังสิ้นไปเพราะนักวาดทางวิทย์ ถูกจ้างด้วยราคาที่ต่ำอย่างดูถูกยิ่ง จึงมีน้อยคนที่จะพัฒนาตนเองในแนวนี้ ผิดกับ ปท. ที่พัฒนาแล้ว เช่นญี่ปุ่น การวาดโครงกระดูกลูกปลาตัวนึง ที่ใช้เวลาราว 2 สัปดาห์ ได้ถึง 13000 บ. เมื่อ  20 ปีก่อน ขณะที่การวาดรูปสี reptile เสมือนจริง 1 ชนิด ของเรา (ปี 2548) ได้ 500 บ.

ความเห็นที่ 2

สุดยอดเลยครับ ถึงถึงตำราเรียนเลย