สัตร์ที่พิษรุนแรง

ผมเห็นว่าในเวปบอร์ดหลายเวป มีการลงข้อมูล top10 สัตว์ที่มีพิษรุนแรงที่สุด

แต่เท่าที่สังเกตุ ข้อมูลจากแต่ละแหล่งไม่ตรงกันเท่าไร

อยากทราบว่า จริงๆมีสัตว์อะไรบ้างครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

ผมไม่ทราบว่าเค้าจักอันดับจากอะไรนะครับ
แต่ผมเคยเห็นแว๊บๆ ว่าใช้ค่า LD50 นะครับ
โดยพิษที่แรงที่สุด คือพิษที่ฆ่าสัตว์ทดลองได้ครึ่งหนึ่ง ในปริมาณที่น้อยที่สุดเทียบกับน้ำหนักตัวครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/LD50
 
เลื่อนลงมาดูตาราง จะเห็นงู Inland taipan ติดอันดับ
ซึ่งเป็นงูพิษที่พิษรุนแรงที่สุดในโลก จากการทดลองกับหนูครับ

ความเห็นที่ 2

ผมคิดว่านอกจากไทปันแล้ว น่าจะมีกิล่ามอนสเตอร์ หมึกวงแหวนน้ำเงินรวมอยู่ด้วย ใน tpb10

ส่วนแมงป่องเดธ นี่ผมไม่แน่ใจ ~.~

ความเห็นที่ 3

เท่าที่ดูสารคดี มีหอยเต้าปูน รวมอยู่ด้วยครับ อีกตัว2น่าจะเป็น งูเดตแอดเดอร์ และแมงกระพรุนเหลี่ยมออสเตรเลีย จำได้คราวๆตามนี้ครับ

ความเห็นที่ 4

ใจจริงเวลาศึกษาเรื่องสัตว์มีพิษ อยากให้เราของบีบกรอบมันให้แคบลงมาสักนิดว่า เป็นสัตว์จำพวกไหน อยู่ในเขต-ทวีป หรือแหล่งที่อยู่แบบใด รวมถึงลักษณะพิษ น่าจะช่วยให้เราแยกและใช้ประโยชน์จากมันได้ง่ายขึ้นค่ะ ^^ สิ่งสำคัญบางอย่างไม่ได้อยู่ที่ว่าที่สุด หรือ 1,2 หรือ 3 แต่อยู่ที่การนำไปใช้มากกว่าค่ะ

ความเห็นที่ 4.1

เห็นด้วยตามนี้ครับ

ความเห็นที่ 5

เกณฑ์การพิจารณานั้นมันแล้วแต่สำนักครับ มีทั้งใช้ LD50, ใช้รายงานที่เกิดขึ้นจริง,.... และ มั่ว ดังนั้นการรู้ว่าสัตว์อะไรมีพิษร้ายแรงที่สุดก็ไม่ใช่สาระสำคัญอะไรเลย เพราะสัตว์ชนิดนั้นอาจไม่อยู่ในที่เราจะเจอ หรือนิสัยมันดีเกินกว่าจะมาทำอันตรายเรา นอกเสียจากเราหาเรื่องเอง ส่วนการจัดลำดับนั้นเป็นเพียงสีสัน เกร็ดเรื่องราวเท่านั้น สิ่งที่พวกเราต้องรู้คือการจัดการตัวเราเองเมื่อเผชิญ หรือพลาดท่าต่างหากครับ

ความเห็นที่ 5.1

yesyesyesyes

ความเห็นที่ 6

ขอถามนอกประเด็นนิดนึงครับ
1) พิษของกบธนู ที่พวกคนป่าเอาไปล่ากวางเนี่ย แล้วเวลากินเนื้อกวางนั้นเข้าไปจะไม่เป็นอันตรายต่อคนที่บริโภคหรือครับ?
2) พิษเหนียวๆข้นๆของงูจงอาง มีข้อดีกับการล่าเหยื่อของมันอย่างไรบ้างครับ? ทั้งๆที่น่าจะฉีดเข้าสู่ร่างเหยื่อได้ช้ากว่าพิษใสๆแบบงูเห่า หรือว่าพิษแบบนี้จะออกฤทธิ์ต่อสัตว์จำพวกเลื้อยคลานด้วยกันได้ดีกว่า?

ความเห็นที่ 7

ตอบนอกประเด็น
1) พิษของกบธนู สามารถทำลายได้ด้วยความร้อน  ส่วนเกร็ดเล็กๆของเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้คือ ภูมิปัญญาโบราณนั้น เขาต้องรู้ว่าพิษที่ใช้ล่าสัตว์นั้นต้องเลือกให้ถูกด้วยว่าจะทำให้สุกแบบแห้ง (เช่น ย่าง) หรือแบบเปียก (เช่น ต้ม) เพราะถ้าใช้ผิดก็ตายได้เหมือนกัน แต่ผมเองก็ไม่ได้รู้ลึกในเรื่องนี้ เพราะเป็นคำบอกเล่าของอาจารย์ที่รับรู้เรื่องราวผ่านมาอีกทีจากพ่อ และตัวเองก็ไม่เคยได้ใช้เอง แต่ก็มีข้อสังเกตส่วนตัวของผมคือ พิษที่ทำงานโดยการฉีดเข้าหรือดูดซึมผ่านผิวหนังนั้นจะไม่ทนความร้อน หรือโครงสร้างพิษเปลี่ยนแปลงได้ง่่าย แต่พิษที่เกิดพิษเมื่อเข้าระบบทางเดินอาหารจะเปลี่ยนโครงสร้างพิษยากยิ่งนัก ส่วนเหตุผลนั้น ผมกั๊กไว้ก่อนเพื่อให้มีคนมาช่วยวิพากย์หากเห็นว่าน่าสนใจจริงๆ

2) เท่าที่เห็น พิษของ Elapids (ข้อแนะนำ..หากสงสัยว่าคืออะไร ลองถามอากู๋ หรือเอกสารตามแต่ถนัด สำหรับการสืบค้นคำนี้ค่อนข้างไว้ใจได้ว่าเชื่อถือได้) จะข้นหนืดกว่ากลุ่มอื่นๆ แต่หนืดมากน้อยนั้นขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่างแม้ในงูชนิดเดียวกันก็ตาม ซึ่งสภาวะที่เกี่ยวกับน้ำเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้นพิษของงูจงอางหรืองูเห่าทางอีสานและทางใต้จึงหนืดๆผิดกัน แต่ที่สงสัยว่าหนืดกว่างูเห่านั้นเพราะจะเหมาะสำหรับใช้กับเลื้อยคลานมากกว่าหรือเปล่า ผมเองคงไม่คิดเช่นนั้น เพราะงูเห่าเองก็เป็นนักล่างูมืออาชีพเช่นกัน ก็เห็นมันใช้พิษได้ดีไม่แพ้จงอางเลย ส่วนพิษงูจงอางก็ทำให้สัตว์อื่นตายได้ไม่แพ้งูเห่า แต่ข้อดีของพิษที่ข้นหนืด(สำหรับเจ้าของพิษ) คือ การออกฤทธิ์ (ใช้เกณฑ์การแสดงผลของพิษให้เห็นด้วยตา) ช้าแต่แน่นอน พิษรอดพ้นจากระบบภูมิต้านทานร่างกายได้มาก ก็ลองนึกเทียบกับการละลายของน้ำตาลไอซิ่ง กับน้ำตาลกรวดก็ได้ ผลที่ตามมาคือ การทำางานของพิษเกิดในวงกว้างของร่างกาย ซึ่งพิษกลุ่ม  viper มักเป็นการทำลายรุนแรงเฉพาะที่ซะมากกว่า  ทั้งนี้ไม่ได้บอกว่าพิษแบบไหนดีกว่ากัน เพราะมันเป็นคนละเรื่องเดียวกัน ความต้องการใช้ต่างกัน ปัจจัยจำกัดต่างกัน ฯลฯ