วิพากษ์กันหน่อย

Comments

ความเห็นที่ 1

มันเป็นเครื่องช๊อตปลาของฝรั่ง ทีสามารถปรับระดับของวัตต์และโวตต์เพื่อให้เหมาะกับปลาได้ รายละเอียดการใช้เครื่องนี้มีเยอะมาก เอาเป็นว่าเขาสามารถออกแบบได้ว่าจะเอาแค่ไล่มันให้พ้นทาง สลบ หรือว่าฆ่าให้ตาย จากเครื่องเครื่องนี้ ดูภาพประกอบที่ผมออกไปวิจัยร่วมกับฝรั่งในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับปลาในภาคสนามครับ
ก่อนทำการช๊อตก็ปรับระดับวัตต์และโวลต์ก่อน โดยดูจากชนิดปลา และค่่าการนำไฟฟ้าของแหล่งน้ำ ส่วนที่เป็นวงกลมคือตัวที่สร้างสนามไฟฟ้า อีกด้านหนึ่งเป็นสวิงธรรมดา วิธีจับปลา เนื่องจากเป็นลำธารน้ำไหลแรงก็ต้องมีคนตามช่วยจับปลาด้วย

ความเห็นที่ 2

อันนี้เขาใช้กันมานานแล้วครับอาจารย์  และก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจในการกำจัดเอเลี่ยน โดยต้นแบบมาจากประเทศไทยครับ เขาเอาไปประยุกต์ แต่บ้านเรา 220 โวลท์เพียวๆขนาดคนยังไม่รอดแล้วปลาจะเหลือเรอะ(น่าจดลิขสิทธิ์เนอะ)

ความเห็นที่ 2.1

ุคุณล้อเล่นหรือเปล่า ที่ว่าเขาเอาต้นแบบจากเมืองไทย เพราะตำราฝรั่งที่ผมเรียนมันไม่ได้ว่าอย่างนี้ .......แต่อย่าไปซีเรียสเลย เหตุที่เขาพัฒนาไปไกลกว่าเรา ผมว่าส่วนหนึ่งเพราะ การที่ผู้มีอำนาจในบ้านเราเห็นว่าอะไรไม่ดีก็ห้ามไปเสียทุกอย่าง เลยปิดโอกาสของการพัฒนา ประเทศที่เขาเปิดโอกาสกว้างกว่าก็จะสามารถพัฒนาให้มันใช้ประโยชน์ได้ครอบคลุมมากกว่า แถมยังส่งเครื่องมาขายเอาเงินประเทศทั้งหลายได้อีก ......เรื่องนี้เป็นไปในทำนองเดียวกันกับปะการังทีพูดๆ กันนั่นแหละครับ 

ปล. ตอนนี้เขาพัฒนาให้ไฟฟ้ามันเลือกช๊อตแต่เอเลี่ยนได้แล้วเหรอ อันนี้เป็นความรู้ใหม่จริง ๆนะเนี่ย

ความเห็นที่ 2.1.1

ขอโทษครับอาจารย์เรื่องเลียนแบบนี่ผมเขียนแบบประชดน่ะครับ แต่เรื่องที่ใช้กำจัดเอเลี่ยนนี่ผมดูจากสารคดีของเนชั่นแนลจีโอ เขานำสัตว์ที่อยู่ในลำธารนั้นรวมทั้งเอเลี่ยนและตัวอ่อนของสัตว์ในน้ำมาทดสอบปรากฎว่า กำจัดเอเลี่ยนได้ครับ ที่ผมดูเป็นปลาในวัยละอ่อนครับ มีพวกที่ได้รับผลกระทบบางเหมือนกันแต่ผลที่ออกมาน่าเป็นที่พอใจ ผมจำไม่ได้ว่าเอเลี่ยนที่เขากำจัดคือปลาอะไรครับ เมื่อวานผมยังนั่งดูเรื่องการจับกุ้งมังกรในบ้านเขาอยู่เลยครับ เล็กไปก็ปล่อย ใหญ่มากก็ปล่อย แฟนผมยัง งงเลยครับ ถามผมว่าว่าอ้าวแล้วตัวใหญ่ทำไมต้องปล่อย (แล้งตูจะรู้ไหมนี่ก็นั่งดูอยู่ด้วยกัน) พอดูต่อเลยถึงบางอ้อ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ตัวใหญ่ เขาปล่อยไว้ให้ขยายพันธุ์ แต่เขาขลิบหางออก ซึ่งแปลว่ากุ้งตัวนี้จะไม่ถูกนำมาขายในท้องตลาดครับ แล้วคนของเขาถ้าเห็นกุ้งที่โดนขลิบหางจะไม่ซื้อครับ เอ ! เกี่ยวกันหรือเปล่านี่

ความเห็นที่ 3

ความเห็นที่ 4

กลัวแต่จีนจะทำแล้วส่งมาขายบ้านเรา ละซิครับ..หากมันสะดวกในการใช้งานคนจะซื้อไปใช้
ปลาหมดลำห้วยแน่ๆ

ความเห็นที่ 5

มันว่ายเข้าหาสวิง หรือปลาอยู่ก้นห้วยแล้วพอโดนไฟแล้วจึงลอยเหมือนว่ายเข้าหาสวิงครับ

ความเห็นที่ 5.1

เห็นอาจารย์สมหมายว่ามันโดดกระแสดูดเข้ามาครับ

ความเห็นที่ 5.1.1

ปลาน่าจะช็อคแล้วสลบ ลอยตามน้ำเข้าไปในสวิงนะครับ

ความเห็นที่ 6

เอาแบบว่าข้อดีกับข้อเสียเลยครับsmiley

ความเห็นที่ 7

ที่เคยได้ยินมา จริงเท็จประการใดผมไม่ทราบครับ ปลาที่โดนช็อตถึงจะฟื้นก็อาจกลายเป็นหมัน ไม่นับรวมสัตว์น้ำอื่นๆ เพราะฉะนั้นพวกที่ไม่ใช่เป้าหมายก็ซวยกันไปด้วย นอกจากเป็นหมันไม่ทราบว่าพอจะมีผลกระทบอย่างอื่นอีกหรือเปล่า โดยเฉพาะกับสัตว์น้ำขนาดเล็กที่น่าจะต้านทานกำลังไฟฟ้าได้น้อยกว่า

ของบ้านเราที่ใช้กัน เผลอๆกรมประมงจะเป็นคนนำเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยใหนๆมาแล้ว เหมือนกับการทำประมงอย่างอื่นๆ ไม่แน่ใจว่าระเบิดปลาด้วยหรือเปล่า จำไม่แม่น แต่คิดว่าอ่านจากวารสารการประมงฉบับเก่าๆนี่แหละ ตอนหลังจึงมาออกกฏหมายห้าม หลังผลได้ไม่คุ้มเสีย

ความเห็นที่ 7.1

เรื่องเป็นหมันเป็นความเชื่อครับ โครงการที่ผมช่วยอาจารย์ทำเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรปลาในแม่น้ำแห่งหนึ่งที่สูญเสียทรัพยากรประมงเกือบทั้งหมดเพราะว่าน้ำเสียจากโรงการผลิตกระดาษ ส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูจะไปจับปลาจากแม่น้ำแห่งอื่นที่อยู่ในลุ่มน้ำเดียวกันนำมาปล่อยในสถานที่ที่คัดเลือกไว้ ก่อนปล่อยก็จะทำการ ติดเครื่องหมายปลาพวกนี้ไว้ การจับปลาก็ทำด้วยเครื่องช๊อตแบบที่โชว์ไว้ในรูป แล้วก็พักปลาให้แข็งแรง tag ด้วยสีสะท้อนแสง แล้วเอาไปปล่อย มีการติดตามตรวจสอบ พวกปลาเล็กๆ กลุ่ม darter เดิมนี่หายไปหมดเลย ตอนหลังมันก็เพิ่มจำนวน แม้แต่ชนิดที่หายากๆ พบว่ามันก็สามารถออกลูกออกหลานในแม่น้ำแห่งใหม่ได้ ตอนนี้กำลังตรวจสอบด้วยดีเอ็นเอ เพื่อยื่นยันว่ามันเป็นลูกปลาที่เราเอาไปปล่อยจริงๆ ไม่ได้เป็นปลาที่มาจากที่อื่น

แล้วมีผลการวิจัยหลายๆ ชิ้นเกี่ยวกับกะแสไฟฟ้ากับปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กๆ พบว่าพวกนี้สามารถต้านทานสนามไฟฟ้าได้ดีกว่าปลาขนาดใหญ่แม้แต่เป็นชนิดเดียวกัน นั่นหมายความว่าเครื่องไฟฟ้าแบบของฝรั่งเป็นเครื่องมือที่สามารถกำหนดเป้าหมาย (ชนิดและขนาด) ของปลาที่ต้องการจับได้หากมีการปรับโวลต์และวัตต์ที่เหมาะสม  ถ้ามันเป็นอันตรายแต่สิ่งแวดล้อมจริงๆ วิธีนี้คงไม่ได้รับการยอมรับและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศอเมริกาและยุโรป ที่เขามีมาตรฐานในการดำเนินการและการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสูงกว่าบ้านเราหรอกครับ

ความเห็นที่ 7.1.1

รับทราบครับ

ความเห็นที่ 7.1.2

มานอนยัน เอ้ย...ยืนยันอาจารย์ด้วยคนครับ ว่าไม่เป็นหมันแน่ๆ ^^
เพราะในทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หลายงานวิจัยใช้ไฟฟ้าในการกระตุ้นการเพาะและวางไข่ครับ

ความเห็นที่ 8

ขอบคุณครับ

ตอนต้นๆเหมือนจะว่ายตามเลย แปลกดี

ความเห็นที่ 8.1

เอ..สังเกตเหมือนผมเลย มันว่ายหรือมันลอยตามซิมากกว่า..ซึางไม่เหมือนกับปลาที่โดนช็อตและหงายท้องนิ่งไปเลย

ความเห็นที่ 9

จากที่เคยเห็นมาแม้แต่ในอเมริกาถ้าใช้ไม่ระวังปลาที่ไม่ฟื้นและปลาที่ลำตัวหักก็มีครับ  ดังนั้นจึงต้องมีความระมัดระวังและความชำนาญไม่น้อยครับ  ถ้าเอามาใช้อย่างทั่วไปไม่ควบคุมก็เป็นเรื่องแน่ๆครับโดยเฉพาะในบ้านเราที่ขื่อแปง่อนแง่นเอียงไปเอียงมาและมีคนไม่ฟังกฏหมายฟังแต่กฏ-ูเอาสบายไว้ก่อนเยอะครับ

ความเห็นที่ 10

ก็ น่าจะจริงครับ ที่ ว่าเอา มาใช้ บ้านเรา ท่าทางจะไม่ไหว เพราะรู้ ๆ ว่าคนไทย เป็นยัง ไง

ความเห็นที่ 11

แล้วทำไมมันต้องว่ายตามที่ช๊อทด้วยหล่ะครับ??

ความเห็นที่ 11.1

มันเป็นสนามไฟฟ้า ตัวปลามันก็มีประจุไฟฟ้าอยู่ในระบบประสาท ไม่รู้ว่ายังจำเรื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียนในวิชาฟิสิกส์ตอน ม ปลายได้หรือเปล่า เวลาสร้างสนามแล้วประจุจะเข้าหรือออกให้ทำแล้วนิ้วหัวแม่มือเป็นตัวประจุ มันใช้หลักการแบบนั้นแหละครับ แต่ว่าชักลืมไปแล้วเพราะว่าเรียนมานานมากแล้ว ฟิสิกส์เอาไปคืนอาจารย์ผู้สอนหมดแล้ว

ความเห็นที่ 12

นานมาแล้ว เคยเห็นชาวบ้านใช้ตามลำธารในภาคเหนือครับ
เหมือนในรูปนี่ละ อันนึงเป็นขั้วไปฟ้า อีกอันเป็นสวิง  ใช้ช๊อตปลาตัวเล็ก ๆ
คนช๊อตก็ลงไปแช่อยู่ในน้ำด้วยไม่เห็นเป็นไรเลยครับ ด้ามที่ช๊อตยาวประมาณเมตรครึ่ง
ถามชาวบ้านเขาก็บอกว่าไฟมาไม่ถึง
ไม่รู้ใครเลียนแบบใคร อาจจะจริงก็ได้

ความเห็นที่ 13

ขออนุญาตให้ความรู้สักเล็กน้อยนะคะ ในฐานะที่เคยทำงานวิจัยแล้วใช้เครื่องมือ Backpack electroshocker ที่มีลักษณะที่คล้าย ๆ กับในคลิปวิดีโอที่เอามาโพสต์ไว้ แต่อายุการใช้งานของตัวที่ใช้อยู่นั้นนานมาก ขอเน้นว่านานมาก บางทีอายุอาจจะมากกว่าผู้ใช้ด้วย แต่ประสิทธิภาพในการจับปลาของมันนั้น ถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด จากการพูดคุยกับ Professor เจ้าของเครื่องมา เค้าบอกว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และสร้างความเสียหายให้กับแหล่งที่อยู่อาศัยน้อยที่สุด เครื่องนี้สามารถปรับขนาดกระแสไฟ และช่วงความยาวของคลื่น ให้เหมาะสมกับค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ ซึ่งเมื่อปรับให้เหมาะสมกับน้ำแล้วปลาที่โดนกระแสไฟจะลอยขึ้นมา เราต้องรีบตักปลาเหล่านั้นขึ้น หลังจากทิ้งไว้สักพัก ปลาก็จะฟื้น ตามที่อาจารย์สมหมายท่านได้ให้ความรู้ไว้ตอนต้นๆ เลย ปลาที่โดนกระแสไฟ ไม่น่าจะโดนกระแสไฟดูดให้เข้ามาในสวิงนะคะ น่าจะเป็นการลอยตามน้ำมากกว่า เพราะจากที่สังเกตจากการใช้เครื่องมือนี้ ปลาก็ไม่ได้จะว่ายเข้าหาสวิง ส่วนมากจะงายท้องแล้วก็อยู่กับที่มากกว่า อันนี้เป็นข้อสังเกตจากการทำงานวิจัยนะคะ ขอย้ำ และเป็นความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ แต่ก็เป็นไปได้อย่างที่อาจารย์สมหมายท่านให้ความรู้ไว้ คงต้องศึกษากันมากกว่านี้

ความเห็นที่ 13.1

ขอโทษทีครับ อาจเป็นเพราะผมลืมบอกรายละเอียดไปว่า ในสภาพที่น้ำนิ่ง มันจะถูกดูเข้าสวิงครับเพราะไม่มีแรงกระทำจากภายนอกคือกะแสน้ำมารบกวน แต่ในสภาพของลำธาร มวลของน้ำที่ไหลมีแรงมากกว่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จึงทำให้ปลาที่สลบถูกน้ำพัดไปได้ แต่ถ้าสังเกตดีๆ ในที่กระแสน้ำไม่แรงมากช่วงแรกที่โดยไฟจี้ปลาจะพุ่งเข้าหาตัวที่เป็นตัวปล่อยกระแสไฟฟ้าก่อน แต่ถ้าเป็นจุดที่น้ำแรงมากๆ กระแสน้ำจะพัดปลาออกไปแล้วมองเห็นปลายากมาก โดยเฉพาะปลาในกลุ่มที่ไม่ีกระเพาะลมเช่นปลากลุ่ม Homalopteridae ส่วนมากจะถูกช๊อตแล้วจมแถมตัวด้านบนยังเป็นสีออกดำ ทำให้มองเห็นยากส่วนปลาในกลุ่ม Cyprinid ที่มีกระเพาะลมเมื่อถูกไฟฟ้าช๊อตจะลอยหงายท้องที่เป็นสีขาวทำให้มองเห็นได้ง่าย  วิธีแก้ปกติถ้าเป็นของที่ผมทำงานวิจัยที่อเมริกานี่จะมีคนคอยเดินตามหลังใช้่สวิงช้อนปลาที่ถูกน้ำพัด หรือถ้าไม่มีคนพอและแม่น้ำไม่กว้างมาก เขาจะใช้อวนกางกั้นน้ำหลังพื้นที่สำรวจอีกทีเพื่อจับปลาที่ถูกช๊อตจนสลบไปแล้วลอยตามน้ำและคนช้อนไม่ทัน อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า การใช้้เครื่องมือแบบนี้ต้องมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาในคู่มือมากกว่าจะใช้่ได้ชำนาญ

ความเห็นที่ 13.1.1

ใช่แล้วค่ะ พวกปลาผีเสื้อจับยากมากๆ เพราะมันจม แต่ถ้าเป็นพวกกลุ่มปลาตะเพียน มันจะหงายท้อง จับได้ง่ายกว่า เพราะอย่างนี้นี่เอง ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

ความเห็นที่ 14

ขึ้นกับความแรงกระแส และระยะเวลาที่จิ้มด้วยครับ ถ้าจิ้มแป๊บนึงแล้วปิด/ยกขึ้น ปลาก็แค่สลบ เพียงไม่กี่ตัวที่ตายหรือหลังหัก อาจเพราะอยู่ใกล้เกิน ของ Professor เจ้าของเครื่อง เคยเห็นแกจิ้มแช่ (ที่น่าน) จนตายเรียบมาแล้วครับ

ความเห็นที่ 15

ใช่แล้วค่ะ มันขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่แช่ลงไปในน้ำด้วย แต่ความแรงของไฟนั้น ถ้าไม่เหมาะสมกับน้ำแล้ว มันจะไม่ทำงานค่ะ ปลาส่วนใหญ่ที่ตายจะตายเพราะขาดออกซิเจน เวลาตักขึ้นมาใส่กระป๋องแล้วไม่ได้เปลี่ยนน้ำ หรือขังในกระป๋องนานเกินไป และก็อาจจะมีบางตัวที่ตายอยู่ในน้ำ แต่เป็นส่วนน้อยค่ะ ปลาส่วนใหญ่ที่ตายจะเป็นปลาขนาดเล็กค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละบุคคลค่ะ
คุณ  waterpanda สงสัยจะเป็นเครื่องตัวเดียวกันแน่ๆเลย เพราะ  Professor ท่านนี้ก็เคยไปเก็บตัวอย่างแถวนั้นเหมือนกัน

ความเห็นที่ 16

ใช่เลย เคยถูกหลอกใช้และเอาเปรียบที่นั่น

ความเห็นที่ 16.1

หนูคิดว่าไม่นะคะ อาจารย์แกไม่เคยเอาเปรียบใคร มีแต่คนมาเอาเปรียบแก แกก็บ่นอยู่เหมือนกันว่าตัวอย่างแกก็หายไปด้วย หนูว่าคงเป็นการเข้าใจผิดกันมากกว่านะคะ