เก็บตกงานประมงน้อมเกล้า ครั้งที่ ๒๓

สวัสดีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ชาว siamensis ทุกท่านครับ  นาย "ตะพากหน้าแดง" เจ้าเก่ากลับมาแล้ว  หลังจากช่วงที่ผ่านมา งานเข้าอย่างหนักจนไม่มีเวลาเข้ามาเยี่ยมเว็บเลย ^^!!
วันนี้มีเวลาว่างอยู่  เลยเอาภาพบรรยากาศงานประมงน้อมเกล้า ครั้งที่ ๒๓ ที่จัดขึ้นที่ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เมื่อ ๑ - ๑๐ ก.ค.ที่ผ่านมามาฝากกันครับ :) 

สำหรับงานในปีนี้  เนื่องจากเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗ รอบ (๘๔ พรรษา) ทางคณะผู้จัดงานจึงได้จัดให้มีการแสดงสัตว์น้ำและครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีลักษณะเป็นสัตว์เผือก  สัตว์สีทอง  เงิน  หรือนาก  อันเป็นสัตว์ที่มีลักษณะเป็นมงคลตามความเชื่อของคนไทยมาแต่โบราณ  ทั้งสัตว์พื้นบ้านไทยและสัตว์ต่างถิ่น  ผมเลยขอพาไปเที่ยวชมงานในส่วนนี้กันก่อนนะครับ ^^

Comments

ความเห็นที่ 1

ส่วนของการจัดแสดงส่วนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นปลาครับ  มีทั้งปลาไทยและปลาเทศ
ปลาไทยที่นำมาจัดแสดงก็มีทั้งปลาเผือกและปลาสีทอง เงิน หรือนากครับผม :)
น้ำผึ้งเผือก กดเหลืองเผือก ชะโอนเผือก ทางผู้จัดงานแจ้งว่าเป็นปลาเข็มเผือก แต่ผมดูว่าเป็นปลาเข็มเงินมากกว่าอ้ะ เข็มเผือกอีกรูป สลาดเผือก ช่อนเผือก ตะเพียนเผือกตาแดง

ความเห็นที่ 2

ปลาไทยอีกสักชุดครับ :)
แรดเผือก เทพาเผือก สวายเผือก ปลาจูบ กรายเผือก สลาดเผือก แรดเผือก บู่ทอง

ความเห็นที่ 3

มาดูปลาเทศกันบ้างครับ
ทั้งปลาไทยและปลาเทศ  ผมเอามาแค่บางส่วนที่จัดแสดงนะครับ  ถ่ายไม่ค่อยสวยเลย  ฝีมือไม่พัฒนาสักที - -!!
หมอแตงไทยเผือก ซักเกอร์เผือก บิเชียร์เผือก และหมอแตงไทยเผือก ไวท์คลาวด์สีทอง เชอร์รีบาร์บเผือก สิงห์หัววุ้นสีขาว สิงห์หัววุ้นสีทอง เสือสุมาตราทอง ปลาปอดเผือก ปลาเรดาร์

ความเห็นที่ 4

นอกจากปลาแล้ว  มีสัตว์เผือกมาฝากอีก ๓ ชนิดครับ :)
ตะพาบไต้หวันเผือก คางคกสุรินัมเผือก กบเขาพันธุ์อเมริกาใต้เผือก

ความเห็นที่ 5

จากส่วนงานเฉลิมพระเกียรติ  ก็เป็นส่วนงานที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับปลานิล  ซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อย ๆ ตามโครงการในพระราชดำริ  เพื่อเป็นอาหารของคนไทยครับผม

มีมาคร่าว ๆ เฉพาะส่วนของผลิตภัณฑ์กับภาพงานนิทรรศการกว้าง ๆ อ่าครับ
img_1961.jpg img_1984.jpg ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากปลานิล ผลิตภัณฑ์อาหารจากปลานิล แบบจำลองบ่อเลี้ยงปลานิล  จากสวนจิตรฯ สู่บ้านเรือน

ความเห็นที่ 6

นิทรรศการส่วนต่อมาที่จะนำเสนอ  คือ  ส่วนการจัดแสดงปลาไทย  ตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้อนุรักษ์พันธุ์ปลาไทยไว้ให้ลูกหลานไทยในอนาคตได้มีโอกาสพบเห็นและรู้จักกันต่อไปครับ  เป็นอีกส่วนงานที่สถานีประมงน้ำจืดหลาย ๆ แห่งได้จัดปลาเข้าร่วมในนิทรรศการในส่วนนี้ครับผม :)

มีทั้งปลาไทยพื้นบ้านและปลาไทยในวรรณคดีครับ :)
พระราชดำริ ภาพงานในมุมกว้าง ป้ายแสดงข้อมูลปลาและสถานีประมง ป้ายแสดงข้อมูลปลาและสถานีประมง ป้ายแสดงข้อมูลปลาและสถานีประมง ป้ายแสดงข้อมูลปลาและสถานีประมง

ความเห็นที่ 7

ส่วนใหญ่ปลาที่จัดแสดงจะจัดแสดงปลาตู้ละ ๒ ชนิดครับ  เว้นแต่บางตู้จะที่เป็นปลาใหญ่หรือปลาที่อยู่กับชนิดอื่นได้ยาก  จะมีปลาเพียงชนิดเดียวในตู้นั้นครับผม :)

ตัวอย่างตู้ปลาที่จัดแสดงในงานครับ
img_1904.jpg img_2225.jpg img_2254.jpg img_2256.jpg img_2275.jpg

ความเห็นที่ 8

ตัวอย่างปลาที่จัดแสดงในส่วนนิทรรศการนี้ครับ :)
ปลากดหิน ปลาปีกไก่ ปลาพรมหัวเหม็น ปลาหน้าหมอง ปลาหน้าหมอง ปลาหมูข้างลาย ปลาหมูค้อ ปลาตะเพียนทราย ปลาตะเพียนทราย

ความเห็นที่ 9

ทำงานไป  โพสต์ไปนี่  ไม่ค่อยได้อย่างใจเลยแฮะ  อิ อิ

ต่อครับผม :)
ปลากระดี่มุก ปลากระดี่นาง ปลาสลิด ปลาหมอไทย ปลาแรด ปลากระสูบจุด ปลาโมง ปลากาดำ ปลากาดำ ปลาหว้าหน้านอ ปลากดเหลือง ปลาดุกด้าน

ความเห็นที่ 10

แบบเป็นคู่สลับเดี่ยวบ้างนะครับ :)
ปลาตะโกก + ปลาตะกาก ปลาบ้า + ปลาแกง ปลาปากเปี่ยน + ปลาเล็บมือนาง ปลากระทุงเหว ปลาหลดจุด ปลาทรงเครื่อง ปลามัน ปลามัน ปลารากกล้วย ปลารากกล้วย ปลาสลาด ปลาตองลาย ปลาซิวหางแดง + ปลาซิวม้ามุก ปลาไส้ตันตาแดง? ปลาสร้อยนกเขา ปลาอีกอง ปลาซ่า นานาปลาซิว

ความเห็นที่ 11

ปลาบางส่วนที่เป็นปลาในวรรณคดีของเราครับ  จะจัดแสดงไว้เป็นกลุ่มใกล้ ๆ กัน  ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นชื่อจะมีที่มาจากนิราศประพาสธารทองแดงของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ครับผม :)
คางเบือน เบือนหน้ามา แก้มช้ำ ช้ำใครต้อง ปลาน้ำเงิน ปลาสร้อยขาว ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาชะโอนหิน (เนื้ออ่อน) ปลาแขยง ปลาชะโด ปลาคางเบือน กระแห แหห่างชาย นวลจันทร์ เป็นนวลจริง ปลาเค้าขาว ปลายี่สก ปลาบู่ ปลาแดง

ความเห็นที่ 12

วันนี้งานเข้าผมเป็นพัก ๆ ถ้าเห็นว่าการโพสต์เกิดขาดหายไปเป็นระยะก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับ ^^!

ส่วนจัดแสดงต่อไปเป็นส่วนจัดแสดงพันธุ์สัตว์ต่างถิ่นที่เป็นผู้รุกรานในบ้านเราครับผม
หอยเชอร์รี ปลาซักเกอร์ ซักเกอร์ จระเข้ลูกผสม ปลาปิรันยา ปิรันยา

ความเห็นที่ 13

อยากจะไปจังเลย ไม่เคยได้ไปเสียที่ ทำไมไม่เคยจัดฝั่งธนบ้างหน่อ
ถามว่า ปลาไส้ตัน ที่ผมได้ที่เมืองกาญฯ ครีบต่างๆมันเป็นสีแดง มันมีชื่อว่าอะไรครับ

ความเห็นที่ 13.1

ถ้าเป็นปลาไส้ตันที่พื้นตัวออกสีส้มแดง  ครีบสีแดง  ขอบตาสีออกแดง ๆ หน่อย  ก็น่าจะเป็น "ปลาไส้ตันตาแดง (Cyclocheilicthys apogon)" อ่ะครับ)))๗)   

ความเห็นที่ 14

โพสต์ข้ามไปรายการนึงแฮะ

ใกล้ ๆ กับส่วนจัดแสดงพันธุ์ปลาไทย  เป็นส่วนจัดแสดงหอยมุกน้ำจืดและตะพาบหับครับผม :)
หอยมุกน้ำจืด หอยมุกน้ำจืด ตะพาบหับ ตัวนี้ไม่ยอมให้ถ่ายรูป  จะมุดทรายหนีท่าเดียว ><

ความเห็นที่ 14.1

เจ้าตัวล่างสุดน่าจะเป็นม่านลายใช่ไหมครับ

ความเห็นที่ 15

พักกินข้าวแป๊บนึง  เดี๋ยวมาต่อครับ ^^

ความเห็นที่ 16

กินข้าวนานไปหน่อย  มาต่อครับ :)

เสร็จจากส่วนจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด  ก็เป็นส่วนงานพัฒนาประมงชายฝั่งครับ :)
img_2006.jpg img_1917.jpg img_1918.jpg นวลจันทร์ทะเล img_1999.jpg img_2000.jpg

ความเห็นที่ 17

ส่วนจัดแสดงกุ้งสาวยงามที่เกิดจากการเพาะพันธุ์ของกรมประมง  และปลาเก๋า ๓ ชนิดครับ

ขอสารภาพบาปว่า  ตอนยืนอยู่หน้าตู้ปลากุดสลาดแล้ว  แอบน้ำลายสออ่ะ ๕๕๕ ^^!!
กุ้งตัวตลก กุ้งมดแดง ปลากะรังเสือ ปลากะรังเสือ ปลาหมอทะเล ปลาหมอทะเล ปลากุดสลาด

ความเห็นที่ 18

ยังมีภาพเหลืออีกบางส่วนที่ยังไม่ได้ลง  แต่ตอนนี้ต้องออกไปทำธุระข้างนอกแล้ว  เดี๋ยวไม่คืนนี้ก็พรุ่งนี้จะมาโพสต์ต่อนะครับ  สวัสดีครับ ^^

ความเห็นที่ 19

มีปลากัดไหมครับ อิอิ
งานนี้เล่นเอาหลงไหลปลากัดไปเลยทีเดียว ชอบพวกสีด่างๆ หลายๆสี

ความเห็นที่ 19.1

ได้ดูแต่ที่เป็นปลากัดสีขาวกับสีมงคลอ่าครับ (จัดแสดงไว้โซนเดียวกันกับสัตว์น้ำสีมงคลในโซนเฉลิมพระเกียรติ)  ปีนี้เวลามีน้อย (ผมมีเวลาว่างไปเดินชมงานแค่ตอนเย็นวันที่ ๔ ก.ค.วันเดียว)  ผมก็เลยไม่ได้ไปเดินดูในส่วนของปลากัดประกวดเลย
ตอนแรกนึกว่าถ่ายรูปปลากัดสีมงคลต่าง ๆ มาแล้ว  แต่ตอนกลับมาถึงบ้าน  มาไล่รูปถ่ายทั้งหมดดู  ปรากฏว่าไม่ได้ถ่ายมาเลยสักภาพเดียว  แล้วก็ไม่มีเวลาไปเดินอีกจนงานสิ้นสุดอ่ะครับ  แง ๆ ๆ

ความเห็นที่ 20

จุใจเลยครับ ขอบคุณที่นำมาให้ชม

ความเห็นที่ 20.1

ยินดีครับ  อ.ลำพะเนียง (^^)

ความเห็นที่ 21

จุใจ ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 21.1

ยินดีครับ  คุณหนึ่ง (^^)

ความเห็นที่ 22

เต็มอิ่มสุดๆ เหมือนได้ไปงานเองเลยครับ 55
ขอบคุณสำหรับภาพบรรยากาศภายในงานครับ

ความเห็นที่ 22.1

ยินดีครับ  คุณ Due_n (^^)

ความเห็นที่ 23

เก็บละเอียดมาาาาาาก

ความเห็นที่ 23.1

ขอบคุณครับ  คุณ นณณ์

พอดีวันนั้นอารมณ์ดี + มีเวลาเดินเล่นได้ค่อนข้างมาก  ก็เลยเดินดู + เก็บภาพไปเพลิน ๆ จนงานเลิกอ่ะครับ :)

ออกจากงานมาหิวซ่ก  เหอ ๆ ๆ (แอบหิวตั้งแต่อยู่หน้าตู้ปลากุดสลาดแล้วอ่ะ) ^^!!

ความเห็นที่ 24

ช๊อบชอบ ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 24.1

ยินดีครับ  คุณ ตุ้ม (^^)

ความเห็นที่ 25

มีวิธีการถ่ายปลาในตู้อย่างไร ครับ .... เคยถ่าย มัน ไม่ค่อย สวย เท่าไหร่
 

ความเห็นที่ 25.1

จำได้ว่าคุณ นณณ์ เคยแนะนำวิธีการถ่ายรูปปลาในตู้ให้ออกมาสวยเป็นบทความใน siamensis นี่แหละครับ  ลองค้นหาดูนะครับ :)

ของผมจะใช้วิธีปรับมุมถ่ายไปเรื่อย ๆ เพื่อหามุมที่ถ่ายออกมาแล้วจะพอดูได้มากที่สุดอ่ะครับ (ปลาตัวนึงอาจจะใช้เป็นสิบรูปก็มีอ่ะ  กว่าจะได้รูปที่ออกมาพอดูได้ ^^!!)

ความเห็นที่ 26

มาต่อจากเมื่อวานครับ  พอดีเพิ่งจัดการกับงานภาคเช้าเสร็จ :)

ยังอยู่ในส่วนของงานพัฒนาประมงชายฝั่งครับผม  ส่วนจัดแสดงปะการังเทียมครับ ^^
ปะการังเทียม ช่อนทะเลตัวน้อย เต่ากระน้อยในแนวปะการัง img_2026.jpg img_2032.jpg img_2037.jpg img_2038.jpg img_2067.jpg img_2068.jpg img_2072.jpg

ความเห็นที่ 27

ส่วนจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับหอยเต้าปูน
img_2066.jpg img_2058.jpg img_2059.jpg img_2040.jpg img_2052.jpg img_2055.jpg img_2069.jpg img_2070.jpg img_2071.jpg

ความเห็นที่ 27.1

ชอบมุมนี้สุดๆเลยครับ ตาลายไปหมด

ความเห็นที่ 27.1.1

ปีหน้าอาจเป็นหอยเบี้ยครับ สงสัยได้ยืมคนแถวๆนี้แน่ๆเลย เพราะได้ข่าวว่าถอยมาเกือบครบชุด อิ อิ

ความเห็นที่ 28

ส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวเลในไทยและโครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบบูรณาการโดยชุมชนของชาว อ.ปะทิว จ.ชุมพร
img_2061.jpg img_2060.jpg เรือกำบางของชาวมอแกน (จำลอง) ภายในเรือกำบาง img_2073.jpg img_2044.jpg หอยจุกพราหมณ์ img_2048.jpg img_2049.jpg หอยปากเป็ด

ความเห็นที่ 29

ถังทรงกลมสำหรับฉลามหูดำ  ยังคงเรียกความสนใจจากเด็ก ๆ ได้ดีไม่แพ้ปีก่อน ๆ :)
img_2181.jpg img_2009.jpg

ความเห็นที่ 30

ส่วนจัดแสดงของ SEAFDEC ในปีนี้ครับ :)
มีเปลือกหอยและกระปุกกลม ๆ ที่ทำเป็นที่อยู่ของหมึกสาย (เข้าใจว่าน่าจะแสดงถึงวิธีการจับหมึกสายโดยใช้เปลือกหอยหรือภาชนะกลม ๆ ล่อให้เข้ามาอาศัยด้วย)
img_2081.jpg img_2075.jpg img_2079.jpg img_2083.jpg img_2086.jpg img_2087.jpg img_2082.jpg img_2084.jpg img_2085.jpg

ความเห็นที่ 31

ส่วนจัดแสดงภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในปีนี้ครับผม :)
img_2143.jpg img_2144.jpg img_2145.jpg img_2146.jpg img_2147.jpg img_2149.jpg img_2148.jpg img_2150.jpg

ความเห็นที่ 32

ส่วนจัดแสดงต่อมาเป็นส่วนจัดแสดงของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ครับ  มีการจัดแสดงเกี่ยวกับปลาทองซีทรู  เต่าราดิอาตา  เต่าอัลดาบรา  โรคในสัตว์น้ำ  และส่วนจำหน่ายสัตว์น้ำสวยงามครับผม :)
img_2142.jpg img_2097.jpg img_2089.jpg img_2091.jpg img_2094.jpg เอิ่มมมมม - -!! img_2099.jpg ปลาทองซีทรู

ความเห็นที่ 33

ส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับปลากระเบนน้ำจืด  มีทั้งปลากระเบนไทยและกระเบนจากต่างประเทศครับผม

ในส่วนของปลากระเบนไทย  ประกอบด้วยปลากระเบนกิตติพงษ์  กระเบนแม่น้ำโขง (ฝาไล)  กระเบนขาว  และกระเบนราหู  ส่วนกระเบนต่างประเทศจะมีกระเบนโมโตโร  กับกระเบนสีสวย ๆ อะไรอีกักอย่างอ่ะครับ (จำชื่อไม่ได้ ^^!)
img_2100.jpg img_2126.jpg img_2102.jpg img_2105.jpg img_2107.jpg ตัวนี้ แอบเสียดายมาก T T img_2114.jpg img_2121.jpg img_2125.jpg img_2123.jpg img_2108.jpg img_2110.jpg

ความเห็นที่ 34

นอกจากปลากระเบนแล้ว  ยังมีสัตว์น้ำแปลก ๆ อีกบางส่วนที่มีการจัดแสดงไว้บริเวณทางเข้างานทั้ง ๒ ประตู  เพื่อดึงดูดคนเข้ามาร่วมงานครับผม

เริ่มจากประตูทางเข้าด้านที่ติดไปทางถนนพหลโยธินครับ

ตัวแรก  หอยไฟฟ้า :)
img_1782.jpg img_1784.jpg

ความเห็นที่ 35

ปลาดุกไฟฟ้า
img_2341.jpg

ความเห็นที่ 36

ตัวสุดท้าย  ปลาตูหนายักษ์

ตอนแรกที่เห็น  นึกว่าเจ้าตัวนี้ท่าทางจะแย่แล้วครับ  เห็นนอนตะแคงนิ่ง ๆ  ตอนผมเข้าไปดู  ยังไม่มีคนอื่นอยู่หน้าตู้  สักพัก  พอคนเข้ามาดูมาขึ้น  พี่แกก็เหลือบตามอง  แล้วค่อย ๆ กลิ้งกลับมาอยู่ในท่านอนปกติ  เหอ ๆ ๆ
ตอนแรกนอนตะแคงนิ่ง ๆ แบบนี้ พอคนมาดูก็ค่อย ๆ เหลือบมอง เริ่มกลิ้งตัวกลับมา กลับมาอยู่ในลักษณะปกติ  เหอ ๆ ๆ ^^!!

ความเห็นที่ 36.1

ท่านอนตะแคงคือท่านอนปกติของค้าละครับ
เพราะในธรรมชาติแล้ว มันน้อนซุกตามขอนไม้ รากไม้ ใต้น้ำครับ พอมาอยู่ในตู้ก็เลยไปไม่ถูก เหอๆ

ความเห็นที่ 37

มาดูทางเข้าด้านที่เข้ามาทางด้านในบ้างครับ

ตัวแรก  ปลาไหลไฟฟ้า :)
img_2175.jpg img_2177.jpg img_2176.jpg

ความเห็นที่ 38

ตัวต่อมา  ปูช็อกโกแลต :)

img_2153.jpg img_2157.jpg ปูมัดจุก ^^ img_2154.jpg

ความเห็นที่ 39

ตัวสุดท้ายของส่วนนี้ครับ  ปลาม้า

ทางผู้จัดงานจับปลาม้ามาร้องเพลงครับผม ^^
img_2169.jpg img_2171.jpg

ความเห็นที่ 40

ส่วนสุดท้ายที่ผมจะพาชมในครั้งนี้เป็นส่วนจัดแสดง "บ้านหอย...คอยหมึก" ซึ่งอยู่ติดกับส่วนงานเฉลิมพระเกียรติครับ  เป็นส่วนจัดแสดงภูมิปัญญาชาวบ้านในการใช้เปลือกหอยที่ร้อยด้วยเชือกในการดักหมึกสายครับ (^^)
img_2336.jpg img_2328.jpg img_2330.jpg img_2331.jpg ฮึบ ๆ ๆ ได้บ้านอยู่แล้ว ^^

ความเห็นที่ 41

ส่งท้ายงานนี้ด้วยมุมสุขภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็แล้วกันนะครับ

สำหรับท่านที่ได้ไปงานในวันอื่น ๆ ทั้งก่อนและหลังจากวันที่ ๔ ก.ค.๕๔  อาจจะเห็นอะไรในงานมากกว่าที่ผมนำมาแบ่งปันอีกก็ได้ครับ

ขอบคุณที่ติดตามรับชมครับผม (^^)

img_1915.jpg

ความเห็นที่ 42

เต็มอิ่มมมมม ขอบคุณครับ 

ความเห็นที่ 43

งานนี้เที่ยวฟรีไม่เสียตังค์(สนุกจังตังค์อยู่ครบ อิอิ)ขอบคุณที่พาเที่ยวเหมือนเดินไปด้วยกันเลยครับ

ความเห็นที่ 44

เก็บหมดทุกเม็ดเลย เหอๆๆ 
ผมไปวันเตรียมงาน กับวันรองสุดท้าย แทบจะไ่ม่ได้ถ่ายอะไรเลย

ความเห็นที่ 45

เอาปลากัดสีสวยๆ มาแจ่มครับ  ^^
betta_thai_color_b.jpg

ความเห็นที่ 45.1

http://เป้ พระวรสารcheekyงานนี้เป็นงานที่ดีของคนไทย เราควรอนุรักไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาไว้cheeky