มีข้อสงสัยครับ

จากการได้หยุดงานอยู่บ้านเฉยๆ 1 เดือนเลยได้มีเวลาดูโน้นๆนี้ๆ แถวบ้านประกอบกับช่วงนี้ฝนตกน้ำป่าไหลมาเยอะ ตามปกติชาวบ้านจะยกยอกัน แล้วก็จะมีปลากระโดดขึ้นฝายแต่ปีนี้ไม่เห็นเลย ถามคนในหมู่บ้านเขาก็บอกว่าปลาน้อย ทั้งๆที่มีการปล่อยปลาเป็นประจำ และด้านตอนบนของฝายยังเป็นเขตอภัยทานด้วย แต่เมื่อสอบถามไปลึกๆปรากฏว่าปลาที่ปล่อยเป็นปลานิล -*- ประกอบกับด้านบนของฝายได้รับการปรับปรุงให้เป็นแบบในรูปเลยทำให้จำนวนปลาลดลงเป็นไปได้ไหมครับ แล้วอีกอย่างนึงเห็นชาวบ้านบอกว่าปลาก็ไม่ค่อยหลากหลายแล้ว พวกปลาในกลุ่มปลาหลดก็ไม่เห็นหลายปีแล้ว(อันนี้แม่ผมพูดเอง) ประเด็นที่ผมจะถามคือ สิ่งที่ทำให้จำนวนปลาธรรมชาติลดลงคืออะไรครับ???

Comments

ความเห็นที่ 1

น้ำในลำเหมืองนี้เป็นน้ำที่ผันมาจากลำน้ำแม่โป่งซึ่งเป็นสาขาของน้ำแม่กวงที่ไหลลงน้ำแม่ปิงอีกทีนึงอะครับ 

ความเห็นที่ 2

สาเหตุคือ ฝายที่สร้างใหม่เป็นรูปแบบ ฝายเลว ที่เอาแต่น้ำ ไม่สนใจการไหลของนิเวศ หรือปัจจัยอื่นๆ ในญี่ปุ่น ทุกฝายยกระดับน้ำจะมีทางปลาผ่านตลอด และออกแบบที่ไม่เกิดตะกอนขังที่หัวฝาย ทีจริงเหมืองฝายเก่าๆก้ออกแบบดีอยู่แล้ว ที่ให้น้ำผ่านมากกว่ากัก ในรอบปี

ความเห็นที่ 2.1

เอ..ดร.  แล้วเจ้าฝายใต้น้ำมันเป็นยังไง..

ความเห็นที่ 3

ฝายนี้สร้างมานานแระครับ สร้างก่อนผมเกิดอีก (ผม 25 ) แล้ววันพรุ่งนี้จะมีการปล่อยปลาแต่เป็นปลานิลอะ frown

ความเห็นที่ 4

พื้นคลองเพิ่งถูกดาดเป็นซีเมนท์หรือเปล่าครับ?  ปลากลุ่มปลาหลดชอบสภาพท้องน้ำที่มีซอกเหลือบมีก้อนหินดินทราย มีเศษซากขอนไม้กิ่งไม้ต่างๆ ถ้าคลองถูกดาดเป็นพื้นคอนกรีตเรียบๆ แล้วมีทรายตกตะกอนสะสมเป็นหาดเรียบๆ ก็ไม่แปลกถ้าปลาหลดจะหายไปครับ

ความเห็นที่ 5

ช่ายครับ ด้านบนของฝายถูกดาดเป็นซีเมนท์เมื่อไม่กี่ปีนี้เองครับ แต่ด้านล่างของฝายยังเป็นดินอยู่ครับ เวลาดูด้านบนของฝายมันดูไม่มีชีวิตชีวาต่างกับด้านล่างมากเลยครับ 

ความเห็นที่ 6

เอารูปมาเพิ่มครับ 2 รูปแรกเป็นรูปเหมืองที่ผ่านหน้าบ้านที่มีการสร้างฝายกับดาดซีเมนต์บริเวณตอนกลางของลำเหมือง 

รูปที่เหลือเป็นรูปของลำน้ำแม่โป่งครับ แต่ว่าช่วงนี้น้ำป่าเยอะไปนิดนึง 
2.jpg 6.jpg 3.jpg 4.jpg 5.jpg

ความเห็นที่ 7

โอ้ว...ทำซะธรรมชาติไม่เหลือ แต่อย่างน้อยก็ยังเหลือด้้านล่าง เหอๆๆ

ความเห็นที่ 7.1

ลำน้ำแม่โป่งไม่ค่อยโดนเปลี่ยนแปลงครับ จะมีขุดลอกบ้างนานๆที แต่ลำเหมืองที่ผันน้ำจากลำน้ำแม่โป่งอะครับ จะเหลือแค่ช่วงแรกที่ผันน้ำมา กับด้านล่างของฝายที่เป็นธรรมชาติอยู่ แต่วันนี้เขาปล่อยปลาสวายลงลำเหมืองกันบอกว่าไถ่ชีวิตปลา สร้างเขตอภัยทานแต่ปลาสวายมันไม่ใช่ปลาประจำถิ่นนี้อะ น้ำก็ตื้นเกินไปสำหรับปลาสวาย 

ความเห็นที่ 8

ที่ลำน้ำวัง(ตอนบน)แถวบ้าน
ชาวบ้านเค้าจะใช้ไม่ไผ่ทำฝายครับ
โดยการเหลาไม้ไผ่ที่ได้ขนาด  แล้วน้ำมาตอกให้ลงดินให้มั่นคง
ไม่ถอนหรือหลุดง่าย  ด้วยปักหรือตอกไม้ไผ่นั้นให้เป็นแนวขวางลำน้ำไว้ 
แล้วอาศัย สิ่งที่น้ำพัดพามา  เช่น กิ่งไม้ใบไม้  ฯลฯ
ฝายแบบนี้นอกจากจะกั้นผันน้ำได้แล้ว  ยังเป็นที่อยู่ที่ดีของปลาครับ
เช่นตรงหน้าฝายจะมีปลาขนาดใหญ่อยู่  เช่น ปลาไน  ปลานิล  ปลาดุกรัสเซีย (หลุดออกจากสระชาวบ้านช่วงน้ำท่วม)   ปลาดุกด้าน  ปลากดเหลือง  ฯลฯ 
ตรงหลังฝายที่มีน้ำเชี่ยวหน่อยก็เป็นที่อยู่ของปลาที่มีขนาดเล็กกว่าหน่อย เช่น ปลาหนามหลัง  ปลากระทิง  ปลาแก้มช้ำ  ปลาเลียหิน  ฯลฯ  (ผมเป็นคนชอบดำน้ำยิงปลา)
เรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน  ที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติครับ
ไม่ขัดขวางเส้นทางการสัญจรของปลา
การไหลของน้ำไม่ค่อยมีการเปลี่ยนทิศทางมากนัก  แต่เดี๋ยวนี้  ทาง  อบต. แถวบ้าน  ได้มีการพัฒนาไปใช้ฝายแบบคอนกรีต จนทำให้เกิดการตื้นเขินของฝาย  โดยเฉพาะหน้าร้อนครับ  จะเห็นได้อย่างชัดเจนครับ  ทรายเต็มฝายเลย
 

ความเห็นที่ 8.1

เพราะ อบต. จริงๆครับ หลายๆอย่างเป็นเพราะองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นจริงๆ บางครั้งชาวบ้านทัดทานไปก็ไม่ฟัง เพราะต้องการที่จะกินงบประมาณ crying 

ความเห็นที่ 9

ไม่ใช่เเค่  อบต.  ครับ  ที่ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไป 
ตอนนั้นยังจำได้ดี ที่แม่น้ำวังแถวบ้านก็มี  การขุดลองลอกครับ
โดยกรมชลประทาน  ทำให้ตลิ่งไม่มีต้นไม้ยึดเกาะครับ และการไหลเปลี่ยน
ทิศทางของน้ำ
พอถึงหน้าน้ำหลาก  น้ำได้กัดเซาะริมตลิ่ง 
จนทำให้นาข้างของชาวบ้านเสียหายเป็นจำนวนมาก
ตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่
สภาพแม่น้ำตอนนั้น  พูดตามตรงครับ  ว่าหดหู่มาก 
ปลาพวกปลาเลียหินหายไปเลยครับ 
เพราะไม่ค่อยมีก้อนหินมากนัก  น้ำได้ไหลเชี่ยวเหมือนเมื่อก่อน
ซึ่งส่วนใมหญ่จะเป็นวังน้ำและน้ำไหลเอือย ๆ พื้อนน้ำเป็นโคลนตรม
หน้าร้อนที่น้ำน้อยไม่ต้องพูดถึงครับ
เทา  หรือ  ไก  เต็มแม่น้ำเลยครับ
บางช่วงความลึกของน้ำเหลือแค่ 2 ข้อมือ เท่านั้น  ความกว้างกระไม่เกิน 1 เมตร เลย
ตอนนี้โชคดีหน่อยครับ  ช่วงเมษายนที่ผ่านมา  ผมได้พบกับปลาเลียหิน  อีกครั้งหลังจากที่ไม่เคยเห็นมันอีกเลยไม่ต่ำกว่า 3 ปี หลังจากกรมชลประทานมาขุดลอกแม่น้ำ

ณ  ตอนนี้หน้าแล้ง  น้ำมีน้อยกว่าเดิมอีก  เพราะแม่น้ำตื้นเขิน

เฮ้อ.........................

ป.ล.  สมัยเด็กผมชอบดำยิงปลาครับ  เลยรู้ว่ามีปลาอะไรในแม่น้ำส่วนไหนของหมู่บ้านบ้าง

ความเห็นที่ 10

ผมคงตอบอย่างชัดเจนนักไม่ได้ แต่อยากให้ลองดูในพื้นที่ครับ ว่ามีอะไรเกิดขึ้น เช่น

สิ่งที่ทำให้จำนวนปลาธรรมชาติลดลงคืออะไร

ที่อยู่ไม่มี - ปลาแต่ละชนิด มันก็มีที่อยู่อาศัยต่างๆกัน เช่นที่พี่นณณ์ยกตัวอย่าง ทั้งพื้นลำคลอง ตลิ่ีง ความตื้น ลึก ความลาดเอียง กระแสน้ำ ใส ขุ่น เคมีต่างๆ ทุกอย่างจำเป็นหมด

อาหารไม่มี - ชีวิตหนึ่งหายไป ชีวิตอื่นหายตาม

คุณภาพน้ำ ไม่ดีพอ - บ้านเยอะ ทิ้งน้ำเสียเยอะ ออกซิเจนต่ำเกินไป เหลือแต่ปลาทนๆที่ยังอยู่ไหว   หรือ น้ำเสียจากเหมืองมีเคมีที่เป็นพิษ ฯลฯ

เอเลี่ยนบุก - เช่น ปลานิลที่ปล่อยนั่นไง ยังมีซัคเกอร์ หมอบัตเตอร์ ฯลฯ อาจล่าโดยตรงหรือแย่งอาหาร

ฝาย . . . . . . เกือบทุกอย่างที่เขียนในเรือ่งที่อยู่ เกิดขึ้นเกือบทุกอย่างเลย



ยกตัวอย่างน่ะครับ บางทีมันซับซ้อน และสาเหตุอาจไม่ได้มีสาเหตุเดียว

ความเห็นที่ 10.1

แต่ที่อาจมีหลายสาเหตุนั้น ก็อาจเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากสาเหตุหลักสาเหตุเดียวได้เช่นกัน (หรือมากกว่านั้น)

ความเห็นที่ 11

อย่างปลาเลียหินเป็นปลากินตะไคร่เป็นอาหาร ต้องมีหินมีขอนไม้ที่อยู่ตรึงกับที่และได้รับแสงแดดเพียงพอถึงมีตะไคร่มาเกาะได้ ดังนั้นน้ำต้องไหลแรงเพียงพอที่จะพัดพาเอาตะกอนออกไปจากท้องน้ำเพื่อเปิดพื้นที่ให้ก้อนหินหรือวัสดุใต้น้ำ สองคือน้ำต้องใสพอให้แสงแดดส่องผ่านน้ำลงไปโดนพื้นผิวให้ตะไคร่มันขึ้นได้ ถ้าปัจจัยไม่ครบปลาเลียหินอยู่ยากครับ  ถ้าตลิ่งพังลงมาถมหินไปหมดปลาเลียหินไม่มีหินเลียก็ละเหี่ยใจครับ

ความเห็นที่ 12

อืมม์...มันเป็นเรื่องซับซ้อนมากจริงๆ frown