เพลินฝนพรำ ช่ำชีวี ที่ดอยเหนือ

ถือโอกาสช่วงวันหยุดยาว ทางครอบครัวก็ไปเที่ยวกันที่เชียงราย แต่ผมขอฉายเดี่ยวไปที่เชียงใหม่ เพื่อไปรำลึกความหลังของดอยแถวนี้สองดอยเสียหน่อยครับ

พอเท้าแตะพื้นเชียงใหม่ปั๊บ ฝนก็พรั่งพรูต้อนรับจนเปียกแฉะไปหมด แต่ยังไงเสีย...ผมก็บ่หยั่นอยู่แล้ว หลังจากฝนซา ก็ไปรบกวนพี่จิเจ้าถิ่นพาเดินรอบดอยครับ ช่วงเวลาที่ไปอยู่ที่นี่นั้น...มีเวลาวันละไม่ถึง 1 ชั่วโมงในการเดินสำรวจครับ นอกนั้น...ฝนตกตลอด

Comments

ความเห็นที่ 1

เดินไปด้วยความสนุกสนาน พี่เจ้าหน้าที่ก็ชี้ให้พี่จิดู ผมเลยขอมุงด้วย โอ้ว...ครั้งแรกในชีวิต ตะขาบฟักไข่ ^^ ว่าแต่ตะขาบกลุ่มไหนครับ  พอเดินไปอีกนิด ก็เจอกลุ่มไข่คล้ายๆ กันแต่เป็นสีขาว ไม่รู้ไข่ตะขาบหรือเปล่าครับ
ตะขาบกอดไข่ กลุ่มไข่ปริศนา

ความเห็นที่ 1.1

ไข่หอยมั้ง

ความเห็นที่ 1.2

ภาพล่างต้องเป็นไข่พญานาคแน่ๆครับ!!

ความเห็นที่ 1.3

รูปไข่กลุ่มล่างผมก็ว่าไข่หอยทากครับ ส่วนตะขาบดูแล้วน่าจะไม่ใช่กลุ่ม Scolopendra น่าจะเป็นกลุ่มอื่นดูจากลักษระของปล้องลำตัวและจำนวนปล้องที่มากกว่ากลุ่ม Scolopendra ตัวใหญ่มั้ยครับ แล้วเห็นทั้งตัวมั้ยครับ อยากเห็นตัวจริงจัง เดี๋ยวขอไปดูข้อมูลก่อนนะครับถ้าได้รายละเอียดอื่นเพิ่มน่าจะช่วยได้

ความเห็นที่ 1.3.1

ตัวไม่ใหญ่ครับพี่ ประมาณ 2-3 นิ้วได้ครับ (จากการสังเกตด้วยตานะครับ ผมไม่แน่ใจว่าใต้กองไข่มันจะขดยาวกว่านั้นหรือเปล่า) เนื่องจากเห็นมันนอนกกไข่อยู่ ผมเลยไม่กล้าเขี่ยมันออกมาดูว่า หน้าตาเป็นยังไงครับ พยายามถ่ายด้านที่เห็นส่วนลำตัวมากที่สุดครับ พบวางไข่อยู่ในช่องท่อนไม้ที่ล้มอยู่ครับ ระดับความสูงประมาณ 1,100-1,200 เมตรครับ

ความเห็นที่ 1.3.1.1

ถ้าดูจากขนาดที่บอกและดูจากลักษณะของหัวและลำตัวแล้วน่าจะเป็นตะขาบในวงศ์ Geophilomotpha หรือ ตะขาบดินครับ เอาไปใส่ใน SI แล้วครับ http://www.siamensis.org/species_index#2217--Order%20:%20Geophilomorpha

ความเห็นที่ 1.3.1.1.1

ขอบคุณครับพี่  ขอถามต่อนิดนึงครับ ผมลองไปดูใน centipede of Australia มาครับ เจ้าตัวนี้ เจ้าตัวนี้ใกล้เคียงกับ Craterostigmorpha เหมือนกันนะครับ ไม่ทราบว่าเมืองไทยมีอันดับนี้อยู่ไหมครับ?

ความเห็นที่ 1.3.1.1.1.1

ตอนแรกก็คิดว่าเป็นวงศ์นี้เหมือนกันครับ แต่นับข้อแล้วเกินครับ ตะขาบในวงศ์นี้ในเอกสารบอกว่ามีลำตัว 14-15 ปล้อง บางเว็บบอก 15-17 ปล้อง ในรูปของดิวพี่นับดูแล้วมันเกิน ในเอกสารบอกว่าพบได้แถบทัสเมเนียและนิวซีแลนด็ แต่เรื่องถิ่นที่อยู่พี่ไม่ได้เอามาดูประกอบ เพราะสภาพภูมิประเทศและอากาศแถบบ้านเราตะขาบแทบทุกชนิดสามารถอยู่ได้สบายเลย เลยคิดว่าน่าจะเป็นวงศ์ Geophilomotpha มากกว่าเพราะในวงศ์นี้ตามข้อมูลบอกว่ามีหลายชนิดมาก แต่ก็อีกนะอาจเป็นนิวก็ได้ เพราะตะขาบในโลกมีคนศึกษาน้อยมาก ในไทยยิ่งหายาก เอกสารก็หายาก ในไทยพี่ว่ามีนิวเพียบ

ความเห็นที่ 1.3.1.1.1.2

มีรูปไฟล์ละเอียดมั้ยจะเอามาดูเทียบกับคีย์ในเวบนี้ครับ หรือจะลองดูเองก็ได้ครับ เวบนี้เลย http://www.ces.csiro.au/biology/centipedes/key1.html

ความเห็นที่ 1.3.1.1.1.2.1

คีย์ไฮโซดีอ่ะ  ^^

ความเห็นที่ 1.3.1.1.1.3

เดี๋ยวผมส่งรูปเต็มไปให้ครับ ขออีเมลหลังไมค์ด้วยครับพี่ ^^ 

ความเห็นที่ 1.3.1.1.1.3.1

ตอนนี้ข้อมูลเบื้องต้นหลังจากได้รูปละเอียดจากดิวแล้ว เทียบรูปจากเว็บคีย์ได้ข้อมูลดังนี้
เจ้าตัวนี้อยู่ใน
Order : Geophilomorpha
Family : Mecistocephalidae
Genus : Mecistocephalus
รายละเอียดในการแยกชนิดในคีย์ไม่มีครับคงต้องหาเพิ่มอีก เดี๋ยวข้อมูลจะเอาลงใน SI ต่อครับ ตะขาบขยับช้าจริงๆ

ความเห็นที่ 1.3.1.1.1.3.2

สุดยอดเลยครับ ขอบคุณครับพี่
ไว้เข้าป่า...ถ้าเจอคงได้ถ่ายมาฝากแล้วครับ มีคนช่วยคีย์แล้ว ^^

ความเห็นที่ 2

และวันนั้นก็เจองูตัวหนึ่ง ดีใจมากครับ 55555 ในที่สุดก็มีของฝากแล้ว
เต็มตัว เฉพาะหัว

ความเห็นที่ 2.1

กดไลค์ yes

ความเห็นที่ 2.1.1

ตกลงไอ้นี่งูอะไร ไม่เห็นใครมา id เล๊ย  Amphiesma khasiense ??

ความเห็นที่ 2.1.1.1

งูคอขวั้นดำนิครับ?

ความเห็นที่ 3

หอยทาก เป็นอีกกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เจอได้ไม่ยาก เพราะชื้นเหลือเกิน

1 2 3

ความเห็นที่ 3.1

1 Durgella sp. --- กำลังกินขี้ตัวเอง ?
2 เดา Bradybaena sp. --- juvenile เหมือนจะเป็นพวก introduced
3 Chloritis deliciosa---juvenile

ความเห็นที่ 3.1.1

ขอบคุณครับ ตัวที่ 2 และ 3 นี่เจอใกล้ๆ กับแปลงปลูกดอกไม้ของชาวเขานะครับ

ความเห็นที่ 4

มาที่ดอกไม้กันหน่อย เจ้าแม่ขิงข่าฝากมาให้ถ่ายครับ เลยมองแต่พวกนี้ 555 เจอไม่เยอะอย่างที่เคยเจอเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ถือว่าน่าพอใจทีเดียว

1 2 3

ความเห็นที่ 4.1

ตาคนนี้ก็ไม่่ช่วยกันทำมาหากินเลยตัวเธอ

>>> Zingiber thorelii
>>> กระชายป่า (ตอนเอามาปลูกที่บ้านนานเกิ้น กลายเป็นกระชายบ้านไปแล้ว) 
        Boesenbergia rotunda
>>> กระทือ (มั้ง) Zingiber zerumbet

ความเห็นที่ 4.1.1

ขอบคุณหลายๆ เจ้าแม่ ฮี่ๆๆๆ

ความเห็นที่ 4.1.1.1

สกุลตั้งไว้หมดแล้ว ฝากใส่ species ใน Si ด้วยเน้อ ข้อมูลไม่มีใส่รูปไปก่อนก็ยังดี

ความเห็นที่ 5

ผีเสื้อก็เจอพอสมควรครับ แต่ที่น่าตื่นเต้นหน่อยก็คือ ผีเสื้อธารมรกต แม้จะเจอมาแล้ว 4 ครั้ง แต่ครั้งนี้พิเศษหน่อย เจอ 2 ตัว 2 สีกันเลยทีเดียว

ธารมรกต (ฟอร์มทั่วไป) ธารมรกต (ฟอร์มสีซีด) 1 2

ความเห็นที่ 6

ตานี้ก็หนอนครับ สีสวยๆ เยอะทีเดียว

1 2

ความเห็นที่ 6.1

ไอ้ตัวบนมันจ๊าบมาก

ความเห็นที่ 6.1.1

สีสวยมาก พี่เอิร์ธ 

ความเห็นที่ 6.1.2

เหมือจะเคยเจอ แต่ไม่สนใจอ่ะ

ความเห็นที่ 7

แมลงแปลกๆ อีกสักหน่อยครับ

แมลงวันก้านตายาว แมลงช้างหัวงู (snakefly) แมลงหางหนีบ

ความเห็นที่ 8

ด้วงก็เจออยู่นิดหน่อยครับ
1 2

ความเห็นที่ 8.1

ด้วงเสือเหมือนเล่นอะไรกันอยู่ ท่าถ่ายรูปใหม่ที่จะมาแทนแพลงกิ้งหรือเปล่าว้า?

ความเห็นที่ 8.1.1

ท่ามาตรฐาน(ใหม่)ครับ พี่ท่อก เอิ๊กกกกกกกกกกกกกก

ความเห็นที่ 9

แมลงปอก็เจออยู่สมควรครับ ถ้าแดดดีกว่านี้หน่อย น่าจะเจอเยอะกว่านี้ครับ
แมลงปอเสือปิ่นรัตน์ แมลงปอเสือเปรัค

ความเห็นที่ 9.1

ว้าว......แมลงปอเสือปิ่นรัตน์  ไม่เคยเห็น  หายาก หายาก

ความเห็นที่ 9.2

เสือปิ่นรัตน์...สวยมั่กๆ อยากเห็นๆ

ความเห็นที่ 9.3

หายากนี่คงจะจริงครับ แมลงปอเสือสกุลนี้ผมเจอแต่ตัวเมียอย่างเดียวเลย ตัวผู้หาไม่เจอครับ

ความเห็นที่ 10

ส่วนใหญ่จะเจอแมลงปอเข็มครับ
แมลงปอเข็มปีกกางใหญ่ไทย Megalestes kurahashii แมลงปอเข็มภูเขาพม่า Burmargiolestes melanothorax แมลงปอเข็มน้ำตกเล็กเหลือบฟ้า Noguchiphaea yoshikoae แมลงปอเข็มร่มไม้ดอยสุเทพ Drepanosticta anascephala แมลงปอเข็มรำไรปล้องขาว Protosticta curiosa

ความเห็นที่ 10.1

กรี๊ดดดดด...โยชิโกะ งามแต้ๆ

ความเห็นที่ 10.1.1

รีบๆโต ขยันเรียน ทำตัวดีๆ แม่จะได้ปล่อยให้เที่ยวกับพี่ๆลุงๆได้เสียที เหอ เหอ

ความเห็นที่ 10.1.1.1

yes
คร้าบบบ

ความเห็นที่ 10.1.1.2

พูดแบบนี้แล้วผมรู้สึกทำตัวแย่ๆยังไงไม่รู้ครับ -_-"

ความเห็นที่ 10.1.2

กดไลค์ให้พี่นณณ์ล้านครั้งครับ

ความเห็นที่ 11

ต่ออีกนิดครับ

แมลงปอเข็มน้ำตกแฟนซีธรรมดา Anisopleura furcata แมลงปอเข็มท้องยาวดอยสุเทพ Coeliccia doisuthepensis แมลงปอเข็มท้องยาวลูกัล Coeliccia loogali แมลงปอเข็มหญ้าปลายดำ Calicnemia erythromelas

ความเห็นที่ 11.1

สวยงามแต้ๆข้าเจ้า

ความเห็นที่ 12

ขอบคุณพี่จิและพี่เจ้าหน้าทีทุกท่านพี่ช่วยพาเดินสำรวจครับ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้าชมกระทุ้นี้ด้วยครับ ^^

มอส

ความเห็นที่ 12.1

งามจริงๆภาพนี้ อยากมีแบบนี้ที่บ้านจัง

ความเห็นที่ 12.1.1

ขอบคุณคร้าบบบ  แค่สวนข้างบ้านของพี่ก็สวยแล้วนะพี่

ความเห็นที่ 12.1.2

เก็บมาปลูกได้นี่ ไม่ยาก วางแปะๆ ไว้ตามโอ่งน้ำดินเพา ก็ได้

ความเห็นที่ 12.1.2.1

แดดไม่พอก้ไม่รอดครับครู ลองมาหลายเทคนิค
พอแดดพอชื้นไม่พอ ตายอีก อากาศในกรุงมันไม่ดี จัดลำบากหน่อย

ความเห็นที่ 13

เดียวนี้ฝีมือด้านการถ่ายภาพพัฒนาไปไกลแล้วทุุกท่านจริงๆ ^^

ความเห็นที่ 13.1

ขอบคุณหลายๆ ท่านน้อง ^^

ความเห็นที่ 13.2

มีแต่ข้าพเจ้าย่ำถอยหลังลงลำธารที่มีฝายกั้น...

ความเห็นที่ 13.2.1

ต้องมีฝายกันด้วย --*
(เพื่อจะได้ไม่ไหลไปต่อ ตายสนิทเหมือนทรายหลังฝาย ฮาๆๆ)

ความเห็นที่ 14

แมลงปอเข็มสวยจริงน๊อ ไม่อยากจะนึกว่าถ้าตานี่มีเลนส์แมคโครแล้วจะเป็นยังไง

ความเห็นที่ 14.1

คู่แข่งคนสำคัญกับ ดร.ตาเขียว เลยล่ะครับ

ความเห็นที่ 14.2

รอให้ดิวถอยอยู่ีเนี่ย แต่ได้ข่าวว่าจะถอยเทเลแทน ซึ่งก็เป็นระยะที่เหมาะกับแมลงปอจริงๆนะ

ความเห็นที่ 14.2.1

แฮะๆๆๆ  เดี๋ยวศุกร์นี้คงได้ลองเทเลครับ ส่วนมาโคร...ต้องใช้เวลากี่ปีผมถึงจะซื้อได้เนี่ย...เศร้า

ความเห็นที่ 15

ต้องจัดด่วนเลยนะดิวท่าน เพราะภาพจากธรรมชาติที่จะนำไปใช้ภายหน้านั้นมันเป็นช่วงเวลานี้จริงๆ ผมยังรอหนังสือ แมลงปอในเมืองไทย อยู่นะคร้าบบบบ

ความเห็นที่ 15.1

คร้าบ พี่ถาวร 
ขอกู้เงินหน่อยได้ไหมครับพี่? เลนส์มันแพงได้ใจดีจริงๆ ครับ T_T

ความเห็นที่ 15.1.1

ให้ผ่อนอ่ะ

ความเห็นที่ 15.2

พี่ถาวรก็จัดให้ดิวสักตัว จะได้เห็นหนังสือเร็วๆ อิอิ

ความเห็นที่ 15.3

ข้าน้อยก็รอหนังสือแมลงปอของท่านดิวเหมือนกันครับ

ความเห็นที่ 16

รูปแมลงงามๆทั้งนั้นเลยนะขอรับ โดยเฉพาะเจ้าแมลงปอเข็มปีกกางใหญ่ไทย งามโดนใจมาก