กระยางดำ ม๊วฟๆ ^^

เดินเล่นๆยามเย็น ที่สวนรถไฟ กทม. ติดDSLR+18-250 ไปด้วย ดันเจอกระยางดำไซร์เด็กกำลังติดพันง่วนกะอะไรบางอย่างใน ในใจคิด โชคดีละ อยากถ่ายนกกินลังกลืนปลามาช้านาน 
ว่ากระนั้นก็ย่องไปใกล้ๆระยะประมาณ 5-6 เมตร แอบหลังต้นไม้ ... กดเเชะๆเบาๆ เด๋วมันตื่น นั่งมองมันจวกน้ำ ไป 4-5 ที... ไหงไม่มีปลาติดขึ้นมาหว่า 

... สังเกตุอาการพักใหญ่ เวรกำ มันนั่งจิกอาหารปลา =___="

Comments

ความเห็นที่ 1

นั่งดูมันพักใหญ่เลย ประมาณครึ่ง ชม. ไม่ได้ปลา อด ทั้งนก ทั้งคน =__="

ความเห็นที่ 2

อ้อๆ ลืมถามไปครับ ... ตัวนี้กระยางดำใช่มั้ย

ความเห็นที่ 3

ไม่น่าถึงขนาดกินอาหารปลา มันกินปลาเล็กๆที่มาตอดอาหารปลาอีกทีหรือเปล่าครับ? 

ความเห็นที่ 4

ไม่ใช่นกยางดำ Black Bittern ครับ แต่เป็นนกยางเขียว Little Heron วัยรุ่น
พฤติกรรมที่เห็นเป็นลักษณะเดียวกับการ "ตกปลา" โดยใช้อาหารปลาเป็นเหยื่อล่อ
นกเรียนรู้ว่าเมื่อมีอาหาร ปลาจะเข้ามาตอดกิน มันก็รอจังหวะจับกินแบบชิลๆ สบายใจเฉิบ
นกบางตัวฉลาดขนาดคาบอาหารที่ตกหล่นอยู่บนบก ไปโยนในน้ำล่อปลาเองเลย

ความเห็นที่ 5

ครับ คุณ Smith ผมไม่ได้ดูรายละเอียด เป็นกระยางเขียวจริงๆนั้นแหละ ขอโทษที ต่างกันเล็กน้อยกับกระยางดำตรงคิ้วเหลือง เห็นตรงคอมันคล้ายๆกระยางดำ 
ขอบคุณสำหรับความรู้ ผมเพิ่งหัดดูนกนะครับ โพสผิดบ่อยมาก ^^

ความเห็นที่ 5.1

ยางเขียวขนาดเล็กกว่ายางดำเยอะเลย แต่ภาพถ่ายบางทีก็ไม่สามารถประเมินขนาดได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสัดส่วนความยาวปาก (เมื่อเทียบกับหัว) รูปร่าง ลวดลายที่แก้มและคอ รวมทั้งพฤติกรรมการปรากฏตัวและหากิน บ่งบอกว่านกตัวนี้ไม่ใช่นกยางดำครับ แล้วก็ไม่เหมือนนกยางไฟวัยเด็ก

ช่วงฤดูฝนอย่างนี้ นกเด็กออกมาเพ่นพ่านกันเยอะ ต้องดูกันดีๆ นิดนึงนะครับ

ความเห็นที่ 6

เห็นที่แรกก็งงครับ เพราะไม่เคยเห็นยางดำเกาะเลย เคยเ้ห็นแต่บิน ดีนะครับ มีเทพ คอยตอบให้แล้ว

ความเห็นที่ 7

ถึงขนาดคาบอาหารไปล่อปลาเองนี่มัน tool using แล้วนะครับนั้น!

ความเห็นที่ 8

มีรูปมาแจม ยางดำอย่างนี้หรือเปล่าครับ

imgp2871.jpg

ความเห็นที่ 8.1

ครับ...ตัวเต็มวัย เพศผู้

ความเห็นที่ 9

เห็นแต่เงาบินบนฟ้า เผลอๆ จะนึกไปถึงเจ้านี่ อิอิอิ
imgp0056.jpg

ความเห็นที่ 9.1

โอ้...ต่างกันเยอะครับ อ้ายงั่วขนาดใหญ่กว่า คอเรียวยาวกว่ามาก ลักษณะการหดคอขณะบิน-การกระพือปีกบินก็ต่างกัน (ถ้ามีโอกาส ลองสังเกตดูนะครับ) ฤดูฝนช่วงเย็นๆ ขับรถผ่านไปตามท้องทุ่งนา มักพบยางดำบินผ่านได้เป็นประจำ ส่วนอ้ายงั่วมักพบตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ น้ำค่อนข้างลึก ไม่ค่อยพบตามทุ่งนา

ความเห็นที่ 10

ขอบคุณครับ