กระทู้-12997 : DNA ของแย้กับไก่ เหมือนกันตรงไหน?

Home » Board » เลื้อยคลาน

DNA ของแย้กับไก่ เหมือนกันตรงไหน?

Karyological Characterization of the Butterfly
Lizard  ( Leiolepis reevesii rubritaeniata , Agamidae,
Squamata)  by Molecular Cytogenetic Approach

เปเปอร์ระดับอินเตอร์ฝีมือคนไทย
K. Srikulnath a, b K. Matsubara c Y. Uno b A. Thongpan a S. Suputtitada a
S. Apisitwanich a Y. Matsuda b, c C. Nishida b, c

a Department of Genetics, Faculty of Science, Kasetsart University, Bangkok , Thailand; b Biosystems Science Course,
Graduate School of Life Science and c Department of Biological Sciences, Graduate School of Science, Hokkaido
University, Sapporo , Japan

ใครคิดว่าจะอ่านรู้เรื่องฝากอีเมลไว้ครับ เดี๋ยวส่งไปให้
นณณ์ approve [ 09 ก.ย. 2552 10:23:44 ]
ความคิดเห็นที่: 1
Leviathan approve [ 09 ก.ย. 2552 12:28:17 ]
ความคิดเห็นที่: 2
คนนั้น approve [ 09 ก.ย. 2552 14:59:01 ]
ความคิดเห็นที่: 3
จัดเรียงเหมือนกันไหม ใช้คำว่าอะไรไม่รุ้
เหมือนที่เขาบอกใน endless form of beautiful ไหมครับ
ที่ว่า DNA สัตว์ทุกชนิดบนโลก เหมือนกัน
ผมอธิบายไม่ถูก - -"
GreenEyes approve [ 09 ก.ย. 2552 16:35:47 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ผมกำลังคิดว่าจะเชิญเจ้าของเปเปอร์มาสรุปให้ฟังคร่าวๆ  เพราะบอกตรงๆ ว่าผมเองก็อ่านไม่ค่อยเข้าใจ เป็นเปเปอร์ที่เทคนิคลึก และศัพท์เทคนิคเยอะมากครับ
นณณ์ approve [ 09 ก.ย. 2552 16:54:26 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ครับ ขอบคุณทุกท่านมากๆ นะครับสำหรับที่สนใจ เผอิญพี่นณณ์แกบอกให้มาเขียนให้เข้าใจง่ายๆ  หน่อย ผมเลยรบกวนขอมาเขียนแบบภาษาธรรมดาคร่าวๆ  นะครับ
           ประมาณว่างานวิจัยนี้ศึกษาระบบพันธุกรรมโดยเฉพาะโครโมโซมของแย้อะครับ โดยศึกษากับแย้อีสานบ้านเรา พบว่าแย้อีสานมีจำนวนโครโมโซฒเท่ากับ 36 แท่งอะครับ ประกอบด้วยโครโมโซมขนาดใหญ่ 12 แท่งครับ  และขนาดเล็กมากบอกไม่ได้ว่ารูปร่างอะไร 24 แท่ง  ซึ่ง จำนวนโครโมโซมนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นรูปแบบที่อนุรักษ์ในกลุ่มของ Iguania นะครับ ต่อมาเราก็ศึกษาว่าแล้วในแย้มันมีการกำหนดเพศแบบไหน  ถ้ากำหนดเพศด้วยระบบพันธุกรรม มันจะมีโครโมโซมเพศอย่างในไก่ (ZZ/ZW) หรือแบบในคน (XX/XY) หรือไม่ จากข้อมูลที่ได้เราไม่สามารถหาโครโมโซฒเพศได้ครับ ไม่ว่าจะใช้เทคนิคใดๆ  ก็ตาม ณ ตอนนี้ เลยยังสรุปไม่ได้ว่าแย้กำหนดเพศแบบใด
            จากนั้นเราศึกษาตำแหน่งยีนบางยีนครับเช่น ยีนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของไรโบโซม  และตำแหน่งของดีเอ็นเอส่วนปลายทีโลเมียร์ ซึ่ง ก็ปรากฏตำแหน่งต่างบนโครโมโซมอะครับ  แต่ที่สำคัญมากต่อมาคือ จากความรู้ที่ว่าสัตว์เลื้อยคลานกับสัตว์ปีกมีวิวัฒนาการร่วมกันมา เราก็เลยลองคิดว่า แล้วโครโมโซมเพศของสัตว์ปีก นั่นก็คือโครโมโซม Z จะมีตำแหน่งยีน  และลำดับของยีนบนโครโมโซมที่เหมือนในสัตว์เลื้อยคลานไหม ผลที่ได้ก็พบว่าเหมือนกันมากครับ จากตัวอย่างทดลองที่ทำมีทั้งในจระเข้ไทย งูญี่ปุ่น ตุ๊กแกโอกินาวา ตะพาบไต้หวัน แล้วก็แย้อีสานบ้านเรา ก็พบว่ารูปแบบของโครโมโซม Z ในสัตว์ปีก (ไก่) เหมือนกับแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่สองในแย้  และงู  และเหมือนกับ โครโมโซมที่หก ในตะพาบไต้หวัน เหมือนกับโครโมโซมคู่ที่สาม ในจระเข้ไทย  และเหมือนกับโครโมโซมเพศของตุ๊กแก ซึ่ง ผลเหล่านี้เราก็สรุปได้ว่าการวิวัฒนาการของโครโมโซม Z ในไก่  และสัตว์ปีก มีความอนุรักษ์สูงมากครับในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน  แต่ ถ้าพิจารณาในมนุษย์แล้ว พบว่าตำแหน่งของยีนต่างๆ  ที่อยู่บนโครโมโซม Z ของไก่ต่างแยกกระจัดกระจายไม่อยู่รวมกันเหมือนในสัตว์ปีก  และสัตว์เลื้อยคลานครับ
             อย่างไรก็ตามครับการศึกษาตัวอย่างให้มากๆ ขึ้นอีกย่อมสร้างทฤษฎีความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น ในอนาคตข้างหน้าก็พยายามครับที่จะสร้างองค์ความรู้  และอธิบายความสัมพันธ์ให้มากๆ ขึ้นไปอีกในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน  และสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆ  ครับ  ถ้าใครมีข้อแนะนำ หรือข้อเสนอแนะประการใด หรือความร่วมมืองานวิจัยใดๆ  ยินดีรับฟังทุกความเห็นนะครับ เพื่อสร้างฐานข้อมูลสัตว์เลื้อยคลานของบ้านเราให้มากขึ้น   และ ถ้าอยากทราบข้อมูลอะไรมากกว่าติดต่อพี่นณณ์ได้เลยนะครับ


ขอบคุณมากครับ
kman [ 09 ก.ย. 2552 22:22:58 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ลองอ่านเล่มนี้เผื่อมีปมประเด็นในการศึกษา

Assembling the Tree of Life by Joel Cracraft and Michael J. Donoghue

ปล เคยอ่านเจอที่ไหน ที่ว่า มิวเซียมในอเมริกาเคยจัดซุ้มแสดงว่า ไดโนเสาร์ ไม่ได้สูญไปไหน มันปรับตัวกลายเป็นนก
sd [ 09 ก.ย. 2552 23:08:18 ]
ReptilesPics_reply_138303.gif
ความคิดเห็นที่: 7
เอิ้กๆ   อ่านแล้วถึงกับต้องหาความรู้โดนฉับพลันเลยทีเดียว...  

เหมือนจะได้ยินมา ( แต่ไม่แน่ใจ) ว่า.. เต่าเพศของเต่าอาจจะถูกกำหนดด้วยอุณหภูมิ จริงหรือเปล่าคะ  ^-^ ?
...แก้ไขเมื่อ 09 ก.ย. 2552 23:36:19
callus approve [ 09 ก.ย. 2552 23:35:44 ]
ความคิดเห็นที่: 8
: callus
เอิ้กๆ    อ่านแล้วถึงกับต้องหาความรู้โดนฉับพลันเลยทีเดียว...  

เหมือนจะได้ยินมา (  แต่ไม่แน่ใจ) ว่า.. เต่าเพศของเต่าอาจจะถูกกำหนดด้วยอุณหภูมิ จริงหรือเปล่าคะ  ^-^ ?


น่าจะใช่นะครับ....คล้ายคลึงกับในจระเข้( ที่กำลังดังครึกโครมชิงกระแสแพนด้าอยูขณะนี้) อุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเพศครับ....ผมเคยลองคิดเล่นๆ ...ดูน่ะครับ...แล้วก็ปรึกษาท่านอาจารย์เกี่ยวกับ Climate change ว่าจะมีผลอย่างไรบ้างต่อการวางไข่ของเต่า??......มันจะขุดลงไปต่ำกว่าเดิม...หรือสูงกว่าเดิม...จากระดับพื้นดินหรือไม่...??.....หรือว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น!!!!......น่าคิดครับ.....
heinetonk approve [ 10 ก.ย. 2552 08:57:19 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ครับสำหรับเต่าแล้วมีรานงายว่ามีระบบการกำหนดเพศ อยู่ทั้งสองแบบคือ
                          1. แบบที่กำหนดเพศด้วยสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ
                          2. แบบที่กำหนดเพศด้วยการระบบการถ่ายทอดทางพันธุกรรม คล้ายๆ  ของคนกับไก่ครับ ในระบบนี้ยังแบ่งได้เป็นพวกที่ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างโครโมโซมเพศกับพวกที่เห็นความแตกต่างระหว่างโครโมโซม
                           ในพวกที่เห็นความแตกต่างระหว่างโครโมโซมเพศนั้น ในสัตว์กลุ่มเต่าก็ยังพบได้สองแบบเลยครับ เป็นเรื่องที่น่าพิศวงมากๆๆ  คือพบทั้งระบบที่เป็น (ZZ/ZW)  และระบบที่เป็น (XX/XY) ครับ ตัวอย่างเช่นในตะพาบไต้หวัน ก็พบว่าตัวผู้มีโครโมโซมเพศเป็น ZZ  และตัวเมียมีโครโมโซมเพศเป็น ZW  แต่ในอย่างในเต่า side-necked turtle (Emydura macquarii) (ผมไม่รู้ชื่อไทยนะครับ) ก็มีระบบการกำหนดเพศแบบว่าตัวผู้มีโครโมโซมเป็น XY  และตัวเมียเป็น XX ครับ น่าเสียดายที่องค์ความรู้เหล่านี้มีการศึกษาเฉพาะในเต่าไม่กี่ชนิดของทางเมืองนอก โดยเฉพาะออสเตรเลียนะครับ ส่งนของทางบ้านเราไม่ค่อยมีการศึกษามากนักครับ ทั้งที่มีความหลากหลายของชนิดอยู่มาก
kman [ 10 ก.ย. 2552 11:13:40 ]
ความคิดเห็นที่: 10
agron28_8@yahoo.com ขอบคุณครับ
you [ 10 ก.ย. 2552 12:35:44 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ซึ่ง  ผลเหล่านี้เราก็สรุปได้ว่าการวิวัฒนาการของโครโมโซม Z ในไก่   และสัตว์ปีก มีความอนุรักษ์สูงมากครับในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน   แต่  ถ้าพิจารณาในมนุษย์แล้ว พบว่าตำแหน่งของยีนต่างๆ   ที่อยู่บนโครโมโซม Z ของไก่ต่างแยกกระจัดกระจายไม่อยู่รวมกันเหมือนในสัตว์ปีก   และสัตว์เลื้อยคลานครับ

ขอบคุณที่มาอธิบายครับ คุณ kman



ปล.รู้ตัวว่าอ่านไม่รู้เรื่องแน่ๆ  ก็เลยไม่ขอ 55
vvay approve [ 10 ก.ย. 2552 13:44:06 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ขอบคุณมากค่ะ ทั้งคุณ heinetonk  และคุณ Kman
callus approve [ 10 ก.ย. 2552 14:01:43 ]
ความคิดเห็นที่: 13
papatete@hotmail.com

ขออ่านด้วยคนนะคะ
ยายอ้วน approve [ 10 ก.ย. 2552 15:06:53 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ขอบคุณครับ kman

เขียนให้เข้าใจง่ายแล้วยังเข้าใจยากเลยขอบอก!!!
นณณ์ approve [ 11 ก.ย. 2552 10:43:36 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ขอด้วยคนคะ wajira.kk@gmail.com
oicoss approve [ 11 ก.ย. 2552 13:12:03 ]
ความคิดเห็นที่: 16
น่าสนใจดีคร้าบ
...แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 2552 09:55:50
Due_n approve [ 11 ก.ย. 2552 20:10:14 ]
ความคิดเห็นที่: 17
จากที่ถามผมว่าต้องการจะหมายถึงมีโครโมโซมเพศมากกว่า 2 แท่งเช่น XY หรือ ZW ใช่ไหมครับ  ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ใช่เลยครับ
         สำหรับ howler monkey สัตว์ในกลุ่มนี้มีโครโมโซมทั้งหมดประมาณ 42-54 แท่งตาม แต่สปีชีส์  แต่ ถ้าพิจารณาเฉพาะโครโมโซมเพศแล้วพบว่ามีกมากว่าสองแท่งครับคือเป็นระบบ X1X2Y1Y2 สำหรับตัวผู้  และX1X1X2X2 สำหรับตัวเมียครับ (มีมากว่าตั้งหนึ่งคู่ในคน แหละ)
        ส่วนตุ่นปากเป็ด (platypus) ถือเป็นสัตว์ที่ตอนนี้กำลังมีนักวิทยาศาสตร์จากหลายที่อยากศึกษามาก เพราะจะเป็นจุดเชื่อมกันระหว่างวิวัฒนาของสัตว์ในกลุ่มมีกระดูกสันหลังจากกลุ่มเลื้อยคลาน  และสัตว์ปีกไปสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวนโครโมโซมทั้งหมด 52 คู่  และมีระบบโครโมโซมเพศเป็น X1X2X3X4X5Y1Y2Y3Y4Y5 แล้วก็สลับเอาตามเพศอะครับ น่าอัศจรรย์จริงๆๆ นะครับ ส่วนในสัตว์เลื้อยคลานนั้นก็มีนะครับเช่น lizard บางชนิดในกลุ่ม Iguania เอ แต่ผมจำชื่อสปีชีส์ไม่ได้ ก็เป็นระบบ X1X2Y อะไรประมาณนี้อะครับ ส่วนใหญ่มีพวกในกลุ่ม lizard หรือเต่าครับ  แต่ในงูไม่มีแน่ล่ะเพราะมี แต่เป็น ZW หมด ในขณะเดียวกันกลุ่มสัตว์ปีกก็ไม่มีแน่ล่ะเหมือนกัน เพราะมี แต่ ZW อะครับ (จากที่มีการศึกษา  และรายงานในปัจจุบันนะครับ)
kman [ 12 ก.ย. 2552 09:58:30 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ขอบคุณสำหรับคำตอบคร้าบ แฮะๆ
Due_n approve [ 12 ก.ย. 2552 15:07:10 ]
ความคิดเห็นที่: 19
น่าสนใจดี
mirror man approve [ 13 ก.ย. 2552 18:55:07 ]
ความคิดเห็นที่: 20
: kman
ครับสำหรับเต่าแล้วมีรานงายว่ามีระบบการกำหนดเพศ อยู่ทั้งสองแบบคือ
                          1. แบบที่กำหนดเพศด้วยสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ
                          2. แบบที่กำหนดเพศด้วยการระบบการถ่ายทอดทางพันธุกรรม คล้ายๆ   ของคนกับไก่ครับ ในระบบนี้ยังแบ่งได้เป็นพวกที่ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างโครโมโซมเพศกับพวกที่เห็นความแตกต่างระหว่างโครโมโซม
                           ในพวกที่เห็นความแตกต่างระหว่างโครโมโซมเพศนั้น ในสัตว์กลุ่มเต่าก็ยังพบได้สองแบบเลยครับ เป็นเรื่องที่น่าพิศวงมากๆๆ   คือพบทั้งระบบที่เป็น (ZZ/ZW)   และระบบที่เป็น (XX/XY) ครับ ตัวอย่างเช่นในตะพาบไต้หวัน ก็พบว่าตัวผู้มีโครโมโซมเพศเป็น ZZ   และตัวเมียมีโครโมโซมเพศเป็น ZW   แต่ในอย่างในเต่า side-necked turtle (Emydura macquarii) (ผมไม่รู้ชื่อไทยนะครับ) ก็มีระบบการกำหนดเพศแบบว่าตัวผู้มีโครโมโซมเป็น XY   และตัวเมียเป็น XX ครับ น่าเสียดายที่องค์ความรู้เหล่านี้มีการศึกษาเฉพาะในเต่าไม่กี่ชนิดของทางเมืองนอก โดยเฉพาะออสเตรเลียนะครับ ส่งนของทางบ้านเราไม่ค่อยมีการศึกษามากนักครับ ทั้งที่มีความหลากหลายของชนิดอยู่มาก


แล้วเต่าชนิดอื่นในกลุ่มEmydura ssp. จะมีการกำหนดเพศเป็นXY/XXด้วยหรือปล่าวครับ พอดีมีEmydura subglobosa (Red-Belly Side Neck Tuetle)อยู่ครับ
เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าเต่าMacquarii Side neckแบ่งเพศทางพันธุกรรม เมื่อก่อนคิดอยู่อย่างเดียวว่าอุณหภูมิเท่านั้นที่กำหนดเพศพวกสัตว์เลื้อยคลาน
แล้วการศึกษาเรื่องโครโมโซมเพศแบบนี้ใช้ตัวอย่างเยอะมั้ยครับ
หัดเดิน approve [ 13 ก.ย. 2552 22:14:30 ]
ความคิดเห็นที่: 21
เอเต่าชนิดอื่นๆ  ใน Emydura ssp. ไม่ทราบนะครับ ประมาณว่ามีไม่กี่ชนิดอะครับที่เขาศึกษาเรื่องระบบการกำหนดเพศไว้ ส่วนใหญ่ก็ชนิดที่อยู่ที่ต่างประเทศอะครับ ทางแถบออสเตรเลีย อเมริกา หรือญี่ปุ่น เลยต้องขอโทษจริงๆ ครับ ส่วนการศึกษาเฉพาะเรื่องโครโมโซมเพศนั้น ในทางการศึกษาโครโมโซมแล้ว การใช้ตัวอย่างเป็นตัวผู้หนึ่งตัว ตัวเมียหนึ่งตัวก็ถือว่ายอมรับนะครับ  แต่ ถ้าให้ดีก็ประมาณอย่างละสามตัว โดยปกติจะเจาะเลือดครับ  แต่ก็อาจมีการฆ่าเอาอวัยวะอื่นบ้าง  และอาจจำเป็นที่จะต้องเอาอัณฑะมาด้วยอะครับ
kman [ 15 ก.ย. 2552 20:47:43 ]
ความคิดเห็นที่: 22
: kman
เอเต่าชนิดอื่นๆ   ใน Emydura ssp. ไม่ทราบนะครับ ประมาณว่ามีไม่กี่ชนิดอะครับที่เขาศึกษาเรื่องระบบการกำหนดเพศไว้ ส่วนใหญ่ก็ชนิดที่อยู่ที่ต่างประเทศอะครับ ทางแถบออสเตรเลีย อเมริกา หรือญี่ปุ่น เลยต้องขอโทษจริงๆ  ครับ ส่วนการศึกษาเฉพาะเรื่องโครโมโซมเพศนั้น ในทางการศึกษาโครโมโซมแล้ว การใช้ตัวอย่างเป็นตัวผู้หนึ่งตัว ตัวเมียหนึ่งตัวก็ถือว่ายอมรับนะครับ   แต่  ถ้าให้ดีก็ประมาณอย่างละสามตัว โดยปกติจะเจาะเลือดครับ   แต่ก็อาจมีการฆ่าเอาอวัยวะอื่นบ้าง   และอาจจำเป็นที่จะต้องเอาอัณฑะมาด้วยอะครับ


ขอบคุณที่เข้ามาตอบครับ พอดีมีเต่าRed belly side neck อยู่หลายตัว  แต่เป็นลูกตัวเล็กๆๆ นะครับ ขนาด 1 นิ้ว
หัดเดิน approve [ 16 ก.ย. 2552 18:35:13 ]
ความคิดเห็นที่: 23
: นณณ์
Karyological Characterization of the Butterfly
Lizard  ( Leiolepis reevesii rubritaeniata , Agamidae,
Squamata)  by Molecular Cytogenetic Approach

เปเปอร์ระดับอินเตอร์ฝีมือคนไทย
K. Srikulnath a, b K. Matsubara c Y. Uno b A. Thongpan a S. Suputtitada a
S. Apisitwanich a Y. Matsuda b, c C. Nishida b, c

a Department of Genetics, Faculty of Science, Kasetsart University, Bangkok , Thailand; b Biosystems Science Course,
Graduate School of Life Science and c Department of Biological Sciences, Graduate School of Science, Hokkaido
University, Sapporo , Japan

ใครคิดว่าจะอ่านรู้เรื่องฝากอีเมลไว้ครับ เดี๋ยวส่งไปให้
ณัฐธิตา [ 14 พ.ย. 2552 14:45:11 ]
tomjoyza@hotmail.com

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org