กระทู้-13051 : ขอความเห็นจากผู้รู้เรื่องปาดบ้านกับปาดเหนือ

Home » Board » ครึ่งบกครึ่งน้ำ

ขอความเห็นจากผู้รู้เรื่องปาดบ้านกับปาดเหนือ

ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องปาดเหนือ  (Polypedates mutus)  นะครับ  เนื่องจากเข้ามาดู Siamese.org. แล้วมีหลายท่านระบุรูปปาดที่จับได้จากพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทยที่โพส์ทไว้ใน Siamese.org. ว่าเป็น P. mutus   โดยให้เหตุผลว่า บนหัวไหล่มีลวดลายสีเข้มเป็นรูปตัวอักษรเอ็คซ์ภาษาอังกฤษ  และมีช่วงหัวสั้น และตาโตกว่า P. leucomystax รวมทั้งลักษณะของนิ้วตีน ทำให้ต้องกลับมาดูรูปที่ถ่ายไว้จากสะแกราช สระบุรี จันทบุรี กาญจนบุรี พิษณุโลก เชียงใหม่ อุบลราชธานี รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร  (ที่บ้านตัวเอง)  ปรากฎว่าบนหลังมีลวดลายสีเข้มเป็นรูปตัวอักษรเอ็คซ์ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด  ซึ่งชัดเจนมากในหลายตัว และไม่ชัดเจนในบางตัว ทำให้เป็นข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใด P. mutus ที่เพิ่งมีรายงานการแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยจึงพบได้บ่อยกว่า P. leucomystax  และแพร่กระจายกว้างมากในประเทศไทย จึงได้ตรวจสอบการแพร่กระจายของ P. mutus เท่าที่จะหาได้  ปรากฎว่า ข้อมูลจากหลายแหล่งระบุว่า P. mutus แพร่กระจายอยู่ในจีน พม่า เวียตนาม  และไทย  แต่การแพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยไม่ได้เป็นพื้นที่ต่อเนื่องลงมาจากจีน และพม่าเพราะมีพื้นที่เป็นช่องว่าง  (isolated)  ตลอดจนแพร่กระจายเฉพาะทางเหนือสุดของประเทศไทย  นอกจากนั้นเมื่อตรวจสอบลักษณะของ P. mutus ที่ Ziegler et al.  (2002 – Review of the amphibian and reptile diversity of Phong Nha-Ke Bang National Park and adjacent areas, central Truong Son, Vietnam)  ได้อธิบายไว้ โดยเปรียบเทียบกับ P. leucomystax  และ P. megacephalus มีข้อแตกต่างกันคือ
                    1. P. mutus มีขนาดตัวใหญ่กว่า P. leucomystax  และ P. megacephalus
                    2. P. mutus มีกระดูกแข้ง  (tibia)  ยาวกว่า P. leucomystax  และ P. megacephalus
                    3. P. mutus มีลวดลายบนหลังเป็นแถบสีเข้มตามยาวลำตัวหลายแถบ ขณะที่ P. leucomystax  และ P. megacephalus มีลวดลายบนหลังเป็นทั้งแถบตามยาวลำตัว  และรูปนาฬิกาทราย  (hourglass pattern)  หรือรูปตัวอักษรเอ็คซ์ภาษาอังกฤษ  
                    4. P. mutus มีทางด้านท้ายของต้นขาหลังหรือตะโพกสีน้ำตาลดำ และมีจุดกลมใหญ่สีขาวหรือสีครีม แต่ของ P. leucomystax  และ P. megacephalus เป็นจุดกลมเล็กสีขาวในพื้นสีน้ำตาลดำ และมีลวดลายคล้ายเป็นโครงข่ายร่างแห
                    5. P. mutus เพศผู้ไม่มีถุงเสียง แต่ส่งเสียงร้องได้ และเสียงร้องแตกต่างจากของ P. leucomystax  และ P. megacephalus  (แต่ Ziegler et al., 2002 ไม่ได้ระบุว่าแตกต่างอย่างไร)   ซึ่ง mutus ในภาษาลาตินมีความหมายว่า mute หรือ silent ในภาษาอังกฤษ
                    6. P. mutus อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า  (forest species)
                    จากข้อแตกต่างดังกล่าว เมื่อกลับไปดูรูปปาดที่ถ่ายไว้ และลักษณะที่ตรวจสอบได้จากรูปถ่ายมีเฉพาะ จุดสีขาวทางด้านท้ายของต้นขาหลัง ปรากฎว่า เป็นจุดกลมเล็กทั้งหมด ดังนั้นเมื่อผนวกกับข้อมูลการแพร่กระจายของ P. mutus จากแหล่งข้อมูลที่ได้   และจากปาดที่ถ่ายรูปไว้นั้นก็จับได้บริเวณบ้านเรือน และในพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนั้นเมื่อตรวจสอบจาก Taylor  (1962 – The Amphibian Fauna of Thailand)  ก็พบว่า Taylor  (1962)  ระบุว่าปาดบ้านมี 2 ชนิดย่อย  (แต่ Taylor ใช้ชื่อสกุล Rhacophorus)  ได้แก่ Rhacophorus leucomystax leucomystax ที่ลำตัวมีสีน้ำตาลหลายระดับ และบนหลังมีแต้มสีเข้มเป็นลวดลายแตกต่างกันหลากหลาย รวมทั้งรูปนาฬิกาทรายหรือรูปตัวอักษรเอ็คซ์ภาษาอังกฤษ  ชนิดย่อยนี้แพร่กระจายกว้างทั่วประเทศไทย  ส่วนอีกชนิดย่อยคือ Rhacophorus leucomystax sexvirgatus ที่มีลำตัวสีน้ำตาล และบนหลังมีทางสีเข้มพาดตามยาวลำตัว 4 ทาง  และด้านข้างลำตัวอีกข้างละ 1 ทาง  ชนิดย่อยนี้แพร่กระจายอยู่เฉพาะภาคใต้  จึงใคร่ขอความเห็นว่า ปาดที่แพร่กระจายอยู่ในภาคกลาง ภาคอีสาน  และภาคตะวันออก และมีลวดลายบนหลังเป็นรูปตัวอักษรเอ็คซ์  หรือมีจุดสีเข้มกระจายอยู่ที่สีข้างมากบ้างน้อยบ้างนั้นเป็น P. mutus หรือไม่
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 09:54:46 ]
AmphibianPics_reply_139156.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
ผมมีรูปประกอบให้ดูนิดหน่อย

ปาดที่พบที่กำแพงเพชร
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 10:00:48 ]
AmphibianPics_reply_139157.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
จากสะแกราช (นครราชสีมา)
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 10:02:00 ]
AmphibianPics_reply_139158.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
จากระนอง
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 10:02:46 ]
AmphibianPics_reply_139159.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
จากสะแกราชอีกตัว
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 10:03:35 ]
AmphibianPics_reply_139160.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
จากสะแกราชอีกตัวครับ
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 10:04:40 ]
AmphibianPics_reply_139161.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
จากจันทบุรี
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 10:05:33 ]
AmphibianPics_reply_139162.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
จากกุยบุรี
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 10:07:04 ]
AmphibianPics_reply_139167.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
จากคลองแสง  และที่นี่ยังมีตัวที่มีสีคล้ายตัวที่พบที่ระนองด้วย
คนกินกบ approve [ 17 ก.ย. 2552 10:14:55 ]
ความคิดเห็นที่: 9
มารอเก็บความรู้ครับ : )
plains|wanderer approve [ 17 ก.ย. 2552 14:08:17 ]
ความคิดเห็นที่: 10
แล้วไม่ id ให้เหรอครับ ว่า แต่ละภาพเป็นชนิดใด???
นณณ์ approve [ 17 ก.ย. 2552 14:59:42 ]
ความคิดเห็นที่: 11
คือผมอยากทราบความเห็นจากผู้รู้ทุกๆ  ท่านครับ อยากทราบความเห็นจริงๆ  นะ
คนกินกบ approve [ 18 ก.ย. 2552 11:50:26 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ปาดบ้าน Rhacophorus leucomystax นิ้วมือปลายกลม
เขียดตะปาด Rhacophorus mutus นิ้วมือปลายตัด
พี่แนน approve [ 18 ก.ย. 2552 14:26:53 ]
AmphibianPics_reply_139413.jpg
ความคิดเห็นที่: 13
ปาดบ้าน Rhacophorus leucomystax
พี่แนน approve [ 18 ก.ย. 2552 14:28:21 ]
AmphibianPics_reply_139414.jpg
ความคิดเห็นที่: 14
เขียดตะปาด Rhacophorus mutus
พี่แนน approve [ 18 ก.ย. 2552 14:29:05 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ขออภัย ..ลืมทำตัวเอนที่ชื่อวิทยาศาสตร์ค่ะ
พี่แนน approve [ 18 ก.ย. 2552 14:30:06 ]
ความคิดเห็นที่: 16
พี่แนนครับ

                  ประเด็นแรกคือผมสงสัยว่าตกลงปาดบ้าน และเขียดตะปาดจัดอยู่ในสกุลอะไรแน่ครับ เท่าที่ผมใช้อยู่ก็เป็นสกุล Polypedates  แต่เห็นพี่แนนใช้สกุล Rhacophorus โดยที่ผมใช้สกุล Polypedates เพราะว่าใช้หลักว่าไม่มี web ตีนหน้า ส่วน Rhacophorus มี web ตีนหน้า
                  ประเด็นที่สอง คือ นอกจากความแตกต่างของทั้ง 2 ชนิด ต่างกันที่ปลายนิ้วตีนหน้าตัด และไม่ตัดแล้ว ยังมีความแตกต่างประการอีกหรือไม่ครับ
                  ประเด็นที่สาม คือ เขียดตะปาดแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ใดของประเทศไทยบ้างครับ  และภาพที่ลงไว้ถ่ายได้จากที่ไหนครับ
คนกินกบ approve [ 18 ก.ย. 2552 18:07:06 ]
ความคิดเห็นที่: 17
เห็นด้วยกับคนกินกบ เรื่องชื่อสกุลครับ

รูปของพี่แนน รูปหลังน่าสนใจครับ

เพราะผมสังเกตเห็นมี web ที่ตีนหน้า  และขอบปากกลมด้านหน้าเหมือนมีติ่ง ซึ่ง ไม่ใช่ลักษณะของปาดในสกุล Polypedates  แต่จะไปคล้ายทางกลุ่ม Rhacophorus มากกว่าครับ
เท่าที่ดูๆ  รูปร่างแบบนี้คล้ายกับปาดป้อม(Rhacophorus robinsoni)  แต่เนื่องจากมองไม่เห็นชายครุย  และ web ของปาดชนิดนี้ขึงเต็มนิ้ว ผมจึงหันกลับมาดูปาดอีกชนิดนึง คือ ปาดจารุจินต์(Rhacophorus jarujini) ซึ่ง มี web ขึงไม่เต็มนิ้ว  และไม่มีชายครุย เหมือนกับตัวในภาพเลยครับ

อ้างอิง : A New Species of Rhacophorus from Eastern Thailand (Anura : Rhacophoridae)
...แก้ไขเมื่อ 18 ก.ย. 2552 21:12:01
Mr.prutodang approve [ 18 ก.ย. 2552 20:46:05 ]
ความคิดเห็นที่: 18
อยากออกความเห็นด้วย  แต่ไม่ค่อยมีข้อมูลครับ

ปาดกลุ่มนี้ งงมาก อย่าเพิ่งหยุดกระทู้นะครับ รออ่านความเห็น
เสือหัวดำ [ 19 ก.ย. 2552 23:56:45 ]
ความคิดเห็นที่: 19
ขออภัยอย่างแรง..รีบร้อนไปหน่อย ช่วงนี้งานเยอะ เวลาน้อย
ขอแก้ไข (หวังว่าสังคมคงให้อภัย)
เขียดตะปาด Polypedates mutus (Smith, 1940)
ปาดบ้าน Polypedates leucomystax (Gravenhorst, 1829)
ขอบคุณ คนกินกบ  และ Mr.Prutodang ที่มาเตือนสติค่ะ
ที่เหลือไว้ค่อยมาคุยกันต่อนะคะเรื่องมันยาว ขอตัวทำงานก่อนค่า
พี่แนน approve [ 21 ก.ย. 2552 15:23:40 ]
ความคิดเห็นที่: 20
: พี่แนน
ขออภัยอย่างแรง..รีบร้อนไปหน่อย ช่วงนี้งานเยอะ เวลาน้อย
ขอแก้ไข (หวังว่าสังคมคงให้อภัย)
เขียดตะปาด Polypedates mutus (Smith, 1940)
ปาดบ้าน Polypedates leucomystax (Gravenhorst, 1829)
ขอบคุณ คนกินกบ   และ Mr.Prutodang ที่มาเตือนสติค่ะ
ที่เหลือไว้ค่อยมาคุยกันต่อนะคะเรื่องมันยาว ขอตัวทำงานก่อนค่า


พี่เพิ่งปั่นเปเปอร์เสร็จสองเล่ม งานด่วนจี๋เสร็จแล้ว เหลือ แต่งานด่วนที่สุด
knotsnake approve [ 21 ก.ย. 2552 15:34:42 ]
ความคิดเห็นที่: 21
อืม..เห็นตามน้อง Mr.Prutodang ที่รูปหลัง ในรูปขาหน้ามีชายครุย และข้อขาหลังมีติ่ง น่าจะเป็นรูป Rhacophorus จริงๆ  ขอเวลาไปค้นดูก่อนว่ารูปถ่ายที่ไหนนะ
แล้วอีกอย่าง..พอลองดูรูปอื่นๆ  ตัวที่มีลายสี่ขีด ปลายนิ้วเป็นปลายตัด ขณะที่ตัวสีอื่นๆ  ปลายนิ้วกลมกันหมดเลย
.....งงแล้ว!
พี่แนน approve [ 23 ก.ย. 2552 16:59:13 ]
ความคิดเห็นที่: 22
เอิ้ก...แฝดนรกคู่นี้ไม่ธรรมดาจริงๆ

ส่วนตัวผมเอง นอกจากดูลาย X แล้ว ยังต้องดูลักษณะหัวประกอบด้วยครับ เพราะเจ้า leucomystax บางตัวก็จะมีคล้ายๆ กัน  แต่ยังไงๆ ก็ไม่เหมือนกัน  ปัญหาในการจำแนกจากภาพ(หรือแม้ แต่ภาคสนาม) หลักๆ คือ เจอ mutus ที่สีซีด ไม่แสดงลาย หรือลายไม่สมบูรณฯ  ซึ่ง จะไปคล้าย leuco ที่ดันมีลายคล้ายๆ  X ส่วนเสียง..ตอนนี้นึกไม่ออกว่า mutus ร้องยังไง แล้วปาดทั้งสองชนิดดันอยู่ปนกันอีก

อย่างรูปของคุณกินกบ ก็มีแบบฟันธงได้  และไม่มีเหลี่ยมให้ฟัน  และฟันไม่ลงจริงๆ
knotsnake approve [ 24 ก.ย. 2552 10:26:30 ]
ความคิดเห็นที่: 23
อย่างข้อเปรียบเทียบตาม Ziegler et al.  (2002)
1. P. mutus มีขนาดตัวใหญ่กว่า P. leucomystax   และ P. megacephalus

กรณีนี้คงใช้ได้เมื่อเปรียบเทียบกับตัวใหญ่สุดของ แต่ละชนิดเท่านั้น  ถ้าไปเจอตัวเล็กของ mutus ก็ใช้ไม่ได้ ดังนั้นไม่แนะนำให้ใช้ข้อนี้เป็นตัวตั้งโดยเฉพาะมือใหม่ หรือไม่สามารถจำแนกวัยได้  แม้ว่าใรความเป็นจริง ตัวเมียของ mutus ที่ตัวโตเต็มที่ก็ใหญ่กว่าชาวบ้านเขาจริงๆ นั่นแหละ

2. P. mutus มีกระดูกแข้ง  (tibia)  ยาวกว่า P. leucomystax   และ P. megacephalus

ประเด็นนี้น่าสนใจมากในการเอามาช่วยจำแนกครับ

3. P. mutus มีลวดลายบนหลังเป็นแถบสีเข้มตามยาวลำตัวหลายแถบ ขณะที่ P. leucomystax   และ P. megacephalus มีลวดลายบนหลังเป็นทั้งแถบตามยาวลำตัว   และรูปนาฬิกาทราย  (hourglass pattern)  หรือรูปตัวอักษรเอ็คซ์ภาษาอังกฤษ  

ประเด็นนี้..ทำให้ผมต้องคิดหนัก  ถ้าจริงตามนี้ เราอาจต้องมา review ตัวอย่างปาดสกุลนี้กันเลย สมแล้วที่เจ้าแม่เปรยมาว่า เรื่องมันยาววววว

4. P. mutus มีทางด้านท้ายของต้นขาหลังหรือตะโพกสีน้ำตาลดำ  และมีจุดกลมใหญ่สีขาวหรือสีครีม  แต่ของ P. leucomystax   และ P. megacephalus เป็นจุดกลมเล็กสีขาวในพื้นสีน้ำตาลดำ  และมีลวดลายคล้ายเป็นโครงข่ายร่างแห


5. P. mutus เพศผู้ไม่มีถุงเสียง  แต่ส่งเสียงร้องได้  และเสียงร้องแตกต่างจากของ P. leucomystax   และ P. megacephalus  ( แต่ Ziegler et al., 2002 ไม่ได้ระบุว่าแตกต่างอย่างไร)   ซึ่ง  mutus ในภาษาลาตินมีความหมายว่า mute หรือ silent ในภาษาอังกฤษ

นี่แหละ ผมยังนึกเสียงของมันไม่ออกเลย

6. P. mutus อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า  (forest species)

เท่าที่เจอๆ มา ปาดสกุลนี้ทุกชนิดก็โดดลงพื้นป่า แล้วโดดเกาะต้นไม้ได้ทั้งนั้น เลยขอตัดประเด็นนี้ในการเป็นตัวช่วยครับ
knotsnake approve [ 24 ก.ย. 2552 10:36:54 ]
ความคิดเห็นที่: 24
เนื่องจากเจอตอของ Ziegler et al.  (2002) ข้อ 3 ดังนั้นเพื่อกันการไปใช้ตามที่อาจผิด ผมขอแยกเป็นกลุ่มชนิดแทนแล้วกันนะครับ
#1 = 1 เพราะ(snout)หน้ายาว(กว่า)
#2 = 2 เพราะหน้าสั้น เป็นตัวเมียที่ขนาดยังไม่ใหญ่สุด  แต่ก็ถึงวัยเจริญพันธุ์แล้ว
#3 = 1 ด้วยเหตุหน้ายาว ส่วนลายยาวๆ แบบนี้แล้วจะให้แยกเป็น mutus ตามอ้างอิงข้างบนนั้น ผมไม่เห็นด้วย เพราะปาดในครอกหนึ่งๆ  ผมก็เห็นทั้งลายยาว ลายจุด ไม่มีลายปนๆ กัน
#4 = ตัวนี้ไม่มีอะไรมาช่วยเลย มุมกล้องก็ไม่ให้  แต่ ถ้าใช้ใจช่วยจำแนก ผมให้เป็น 2 เพราะมีแนวโน้มว่าตาจะโตกว่า 1
#5 แสดงลักษณะเป็นชนิด 2 อย่างชัดเจน ตาโต๊โต หน้าสั้นๆ  ลายก็เด่น
#6 = 2 ด้วยลักษณะเป็นกลุ่ม 2 ค่อนข้างชัด แม้ลายจะไม่เด่นนัก  แต่อาศัยตาโต หน้าสั้นช่วยพิจารณา
#7 = 1 หน้ายาว
#8  ถ้าหลุดจาก 1 ก็ต้องเป็น 3 มิกล้าระบุ

ส่วนของน้องพี่แนนตัวหลัง ก็คงเป็นกลุ่มปาดร่อนอ่ะ
knotsnake approve [ 24 ก.ย. 2552 12:30:40 ]
ความคิดเห็นที่: 25
#1=1 พี่ knotsnake ครับ เลข 1 (2 และ3ด้วย) ที่อยู่ข้างหลังเครื่องหมายเท่ากับ (=) หมายถึงอะไรครับ

ส่วนคำว่า "อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า"  (forest species) ผมหมายถึงเป็นชนิดที่อาศัยอยู่เฉพาะในพื้นที่ที่เป็นป่าเท่านั้น ไม่สามารถปรับตัวเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม  และตามอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมได้  แต่มิได้หมายความว่ามันจะ สามารถโดดลงพื้นป่า แล้วโดดเกาะต้นไม้ได้ ผมยังคงคิดว่าประเด็นนี้น่าจะใช้ช่วยในการจำแนกได้ดีนะครับ เพราะว่าหากพบอาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม หรือตามอาคารบ้านเรือนก็น่าช่วยในการระบุชนิดได้ดียิ่งขึ้นนะครับ

แล้วที่วารสารระบุว่า P. mutus มีทางด้านท้ายของต้นขาหลังหรือตะโพกสีน้ำตาลดำ   และมีจุดกลมใหญ่สีขาวหรือสีครีม   แต่ของ P. leucomystax    และ P. megacephalus เป็นจุดกลมเล็กสีขาวในพื้นสีน้ำตาลดำ   และมีลวดลายคล้ายเป็นโครงข่ายร่างแห พี่ knotsnake มีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ
คนกินกบ approve [ 29 ก.ย. 2552 17:58:24 ]
ความคิดเห็นที่: 26
ตัวเลขหมายถึงชนิดที่ 1 2 3 ซึ่ง ยังไม่ค่อยอยากระบุว่าเป็นชนิดไหน  แต่ ถ้าเอาที่ใช้ๆ กันมาจนเคยตัว 1 คือ leuco 2 คือ mutus  และ 3 คือ อะไรไม่รู้ไม่แน่ใจ

ตอนนี้ผมเลยไม่อยากสรุปอะไรมาก อาจต้องไปรื้อ original description  และตรวจสอบตัวอย่างใหม่กันเลย ผมเองก็ยังไม่ค่อยได้ตามกลุ่มนี้นัก เลยไม่รู้ว่าจะเอายังไงดี เลยใช้ตามๆ เขาไปก่อน  แต่พอดูไปดูมา ไอ่ที่เราใช้ mutus มานาน ก็อาจกลายเป็นปาดหัวโตก็ได้ คุณกินกบน่าจะมีข้อมูลกลุ่มนี้มากกว่า และชัดเจนกว่าผม  แต่ส่วนตัวผมเองก็ขอไม่สรุปในขั้นนี้ก่อนครับ มึน

ลป. การใช้ผิดมายาวนานก็มีเกิดบ่อยครั้ง แม้ในกลุ่มงูก็ตาม บางกลุ่มที่ผมตามเป็นหลักถึงเจอเหมือนกันครับ
knotsnake approve [ 30 ก.ย. 2552 12:31:04 ]
ความคิดเห็นที่: 27
ผมเห็นด้วยกับพี่ knotsnake ที่ว่าเราอาจเข้าใจผิดกันมาตลอดก็ได้  และเนื่องจากเราไม่มีตัวอย่างต้นแบบอยู่ในบ้านเราให้เราได้ตามดูมากนัก ซึ่ง นั้นเป็นสิ่งสำคัญเลยที่เดียว  ถ้าอย่างไรเสียผมอยากขอเสนอพี่ knotsnake สักนิดนะครับว่า หลังจากที่เราได้พยายามลองค้นหาข้อมูล และได้คุยกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว พวกเราเองก็ยังสับสนอยู่พอสมควร ด้วยเหตุผลนี้ผมขอว่าเวลาเป็นตัวที่ยังสับสน อย่าใช้ว่าฟันธงเลยนะครับ ผมขอเสนอให้ใช้ทำนองว่า "น่าจะเป็น... หรือคิดว่าเป็น..." จะดีกว่าไหมครับ เพราะจะได้ไม่เป็นการย้ำชื่อที่อาจยังสับสนกันอยู่  และน้องๆ  ที่สนใจติดตามมาภายหลังจะฝังใจ และเข้าใจผิดต่อเนื่องไปอีกครับ  และในตอนท้ายนี้ผมต้องขอโทษไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ หากอ่านแล้วทำให้รู้สึกขุ่นข้องหมองใจนะครับ เพราะผมก็ยังให้ความเคารพนับถือพี่ knotsnake อยู่เช่นเดิมนะครับ หวังว่าที่ผมเขียนมาคงไม่ทำให้มิตรภาพระหว่างเรามีอันต้องได้รับความกระทบกระเทือนนะครับ
คนกินกบ approve [ 02 ต.ค. 2552 12:55:43 ]
ความคิดเห็นที่: 28
เอ๊ะ เอ..ผมหาได้รู้สึกเยี่ยงนั้นไม่ขอรับ  ถ้าผมเคือง รับรองว่าผมไม่ตอบแบบนี้หรอก เพราะส่วนตัวผมเองก็เจอกับเรื่องแบบนี้กับตัวเองเสมอๆ เช่นกัน  อย่างก่อนหน้านี้ผมอาจไม่รู้ว่า(อาจ)มีความเข้าคลาดเคลื่อนเรื่องชนิด  แต่พอคุณกินกบเอาข้อมูลนี้มาให้ดู ผมถึงได้รู้สึกสะดุดไงขอรับ  และรู้สึกว่ากรณีนี้น่าจะมีปัญหาแน่ๆ  ถึงได้ตอบแบบ #24,26 ไงขอรับ แล้วรู้สึกขอบคุณด้วยซ้ำ ที่จริงผมชอบด้วยซ้ำที่พอมีใครตามเรื่องอะไรแล้วรู้สึกผิดปกติแล้วนำมาเสนอแบบนี้ ไม่งั้นผมก็จะเข้าใจผิดไปเรื่อยๆ

ในส่วนตัวผมยังมั่นใจในการจำแนกปาดสองชนิดนั้นออกจากกัน เพียง แต่จะให้ระบุชื่อชนิดว่าเป็นชนิดใดก็คงไม่สามารถระบุชื่อได้แล้ว เพราะไม่รู้ว่าตกลงมันชื่ออะไร

สำหรับสัตว์อื่นๆ ที่ยังไม่มีการชี้ประเด็นต้องสงสัย ผมก็ยังระบุชนิดปัจจุบันที่ใช้ตามเดิม( ถ้าทำได้) หากวันไหนมีข้อบ่งชี้ข้อสงสัยผมก็จะมาแนวปาดนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้กคนยึดติดกับชื่อที่ใช้ในปัจจุบันเป็นพระเจ้า เพราะวันหนึ่งเราอาจรู้ว่ามันไม่ใช่ หรือปรับเปลี่ยนสถานะ  แต่อยากให้คำนึงที่ตัวสัตว์ สามารถรู้ว่ามันเป็นชนิดที่(น่าจะ)ต่างหรือไม่ อย่างไร แม้ไม่รู้ชื่อชนิดที่คนยัดเยียดให้มันก็ตาม  ไม่ใช่การอนุรักษ์ ศึกษา พัฒนา ต้องทำกับชนิดที่มีชื่อระบุแล้วเท่านั้น  บ่อยครั้งเราทำเรื่องศึกษาในพื้นที่  แต่กลับถูกกรรมการให้ระบุชนิดที่จะศึกษาหรือจะเก็บตัวอย่าง ซึ่ง   ถ้าเรารู้แล้วจะไปศึกษาทำไม(ฟระ) เป็นต้น
knotsnake approve [ 02 ต.ค. 2552 18:14:27 ]
ความคิดเห็นที่: 29
ขอบคุณพี่ knotsnake ที่เข้าใจครับ
คนกินกบ approve [ 12 ต.ค. 2552 09:51:23 ]
ความคิดเห็นที่: 30
สงสัยไป กทม.เที่ยวหน้าต้องไปหาเรื่องกระชับมิตรกันสักตั้งซะแล้วววว
knotsnake approve [ 15 ต.ค. 2552 14:20:48 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org