กระทู้-13122 : ภาพที่ส่งประกวดซากดึกดำบรรพ์

Home » Board » ฟอสซิล

ภาพที่ส่งประกวดซากดึกดำบรรพ์

สืบเนื่องจากกระทู้ของคุณสะตอซอรัส  และคุณปีย์ช่วยอนุเคราะห์ข้อมูลให้  (กระทู้ 13031)    เกิดแรงขับเล็กๆ  ว่า  น่าจะเผยแพร่ข้อมูลออกในวงกว้างขึ้นอีกบ้าง   เพราะเท่าที่ผ่านมา  สำหรับผมแล้ว  การหาข้อมูลสืบค้นกลุ่มนี้ยากจัง   แถมงานโรงเรียนเดี๋ยวนี้วุ่นวายมากก ก ก  ก  (บ่นอีก...อิอิ)    เลยส่งไฟล์ไปร่วมโครงการกับเค๊าบ้าง  

....อย่างน้อยๆ   ใครที่สนใจศึกษากลุ่มนี้จริงจัง   จะได้มีช่องทางมาศึกษาตัวอย่างของเรา   ....เราเซฟเก็บเค๊ามา  ก็ด้วยเหตุผลนี้ ไม่ใช่ฤา   .....ไม่หวังรางวัลนะครับ   เพราะตะละก้อนนี่เกิน 50-100 กิโลทั้งนั้น  จะพาไปร่วมจัดแสดงกับเค๊าที่ กทม.   ได้ยากมาก   ใครที่ไหนจะมาลุยกับเรานิ๊.


หากภาพใดโดนใจ  ผมขอยกความดีให้  ไอ้เจ้าพวกเด็กๆ  ที่ร่วมตะลอนๆ ไปกับผม   ภาพใดแสงสีดี  ขอยกความดีให้กับคุณนกกินเปี้ยว   โทษฐานที่อนุเคราะห์วิทยาทานให้หลงใหลแสงสี  

ส่วนส้มส้มที่เหลือก็ของผมเองล่ะคร๊าบ  แฮ่!! ^.^
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:14:21 ]
thammaratnd@gmail.com
ความคิดเห็นที่: 1

ซากดึกดำบรรพ์ของหอยตะเกียง (Brachiopod)  สภาพแบบ Mold   เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในยุคดีโวเนียน  อายุ 416-359 ล้านปี   

จำแนกสัณฐานตรงกับสกุล Mucrospirifer   พบเป็นจำนวนน้อยในชั้นหินบางๆ   ของหินดินดาน  เนื้อทรายแป้ง   ที่มีเศษอินทรีย์วัตถุแทรก ทำให้มีสีน้ำตาลเข้ม  แตกร่วน ชำรุดง่าย   สันนิษฐานว่า  เป็นหมวดหินวังตง (?)  กลุ่มหินทองผาภูมิ  ตามสภาพชั้นหินที่คล้ายกัน   แต่ยังไม่พบซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนกันเลย (ได้แก่ ไทรโลไบต์, แกรปโตไลต์ในพื้นที่สำรวจนี้)  

 ในบริเวณนี้ ยังพบหอยตะเกียงอีกหลายสัณฐาน, เสื่อทะเล, หอยหมวกเจ๊กอีกด้วย
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 09:17:16
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:16:54 ]
ความคิดเห็นที่: 2

เป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่ยังไม่สามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ครับ   จนปัญญาจะจัดกลุ่มให้จริงๆ  ^..^!

พบร่วมกับซากดึกดำบรรพ์ด้านบนนั่นล่ะครับ
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:19:43 ]
ความคิดเห็นที่: 3


เป็นซากดึกดำบรรพ์ของแกรปโตไลต์   สภาพการเกิดแบบ Carbonization   เป็นรอยพิมพ์คล้ายๆ กับรอยดินสอล่ะครับ

เป็นซากดึกดำบรรพ์ในยุคไซลูเรียน  อายุ 443-416 ล้านปี    หมวดหินวังตง  กลุ่มหินทองผาภูมิ   ตามสภาพชั้นหินที่คล้ายกัน  พบร่วมกับแกรปโตไลต์สกุลClimacograptus   ที่พบอยู่เป็นจำนวนมาก    แต่แกรปโตไลต์ชนิดที่พบนี้  จะมีส่วนโค้ง  ไม่มีลำตัวตรงเหมือนกับชนิดอื่นๆ    และพบเป็นจำนวนน้อย   บางตัวมีความยาวถึง 6 cm   สันนิษฐานว่า   อาจเป็นชิ้นส่วนที่ขาดหลุดออกของสกุล Spirograptus    ตามสัณฐานที่โค้งมน(?)   ซึ่ง ต้องหาหลักฐานมาสนับสนุนต่อไป
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:21:13 ]
ความคิดเห็นที่: 4

ไทรโลไบต์เจ้าเก่า  ที่เคยโพสต์ให้ชมกัน    แต่หนนี้เอา แต่ด้าน Cast มาให้ชมแทน   หลายคนชอบด้าน Mold   แต่ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า    ถ้าอยากเห็นรายละเอียดชัดมากๆ   ด้าน Cast นี่แหละครับ  เด็ดดวงดีนัก

ก็จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในยุคไซลูเรียน – ยุคดีโวเนียน  จำแนกสัณฐานตรงกับสกุล Dalmanitina   หมายจากหัวปูดๆ  (Glabellar lobe)  ส่วนเงี่ยง และหางแหลมๆ  แคบ   แถมยังเป็นฟอสซิลดัชนีของหินชั้นนี้  ตามรายงานกรมทรัพฯ ทุกประการ  พบเป็นจำนวนน้อยในชั้นหินดินดาน  เนื้อทรายแป้ง   สีน้ำตาลเข้ม หมวดหินวังตง  กลุ่มหินทองผาภูมิ  

 ในบริเวณนี้ ยังพบหอยตะเกียง, เสื่อทะเล,  และแกรปโตไลต์อีกด้วย
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 09:59:00
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:26:04 ]
ความคิดเห็นที่: 5


เป็นซากดึกดำบรรพ์ของสาหร่ายสโตรมาโตไลต์ ในกลุ่ม Cyanobacteria    ในยุคออร์โดวิเชียน   อายุ488-443 ล้านปี   สาหร่ายสโตรมาโตไลต์ชนิดนี้ จะพบเฉพาะในหินปูนสีแดงของหมวดหินป่าแก่  กลุ่มหินทุ่งสง    

มีลักษณะเป็นเส้นวงต่อติดกันที่ผิวด้านบน  ตามการเจริญเติบโต    แต่จะเห็นเป็นชั้นเรียงอัดกันแน่นด้านข้าง    นอกจากนี้  ยังพบว่า  ในการก่อตัวกำเนิดหินปูนสีแดงนี้    อาจจะมีสภาพแวดล้อมที่แปรผันตามปัจจัยทางกายภาพ   โดยเมื่อสังเกตหินจากด้านข้าง  จะพบว่า  บางช่วงสโตรมาโตไลต์เจริญได้ดีทำให้ซากดึกดำบรรพ์อัดแน่นเป็นชั้น   จนแทบมองไม่เห็นเนื้อหินเลย   แต่ในบางชั้นจะพบซากดึกดำบรรพ์เจริญห่างๆ   บางๆ     ในสภาพปัจจัยทางกายภาพที่ไม่เหมาะสม   จนดูคล้ายกับวงปีของต้นไม้    (น่าจะทำอะไรกับข้อมูลส่วนนี้ได้อีกนะ.....)

 นอกจากนี้  มักจะพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลต่างๆ    แทรกติดร่วมไปกับการเจริญของสาหร่ายสโตรมาโตไลต์  เช่น  เศษก้านของพลับพลึงทะเล,  นอร์ติลอยด์, แอมโมนอยด์, หอยโข่ง (Maclurite) ฯ ลฯ  อีกด้วย
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:28:47 ]
ความคิดเห็นที่: 6

เป็นซากดึกดำบรรพ์ของเสื่อทะเล (Bryozoa)  สภาพแบบ Mold   
   
พบในชั้นหินในยุคดีโวเนียน  อายุ 416-359 ล้านปี   จำแนกสัณฐานคล้ายกับกับสกุล Fenestrellina (?)    พบเป็นจำนวนน้อยในชั้นหินบางๆ   ของหินดินดาน  เนื้อทรายแป้ง   ที่มีเศษอินทรีย์วัตถุแทรก ทำให้มีสีน้ำตาลเข้ม  แตกร่วน ชำรุดง่าย
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:30:25 ]
ความคิดเห็นที่: 7

หอยกาบ (Bivalve)  สภาพแบบ Mold  เป็นซากดึกดำบรรพ์ยุคคาร์บอนิเฟอรัส  อายุ 359-299 ล้านปี   
จำแนกสัณฐานตรงกับสกุล Posidonomya    พบเป็นจำนวนมากในชั้นหินบางๆ   ของหินดินดาน  เนื้อทรายแป้ง   สีขาว  แตกร่วน ชำรุดง่าย   ในบริเวณนี้ ยังพบพลับพลึงทะเลอีกด้วย   แต่เป็นจำนวนน้อย
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 10:00:46
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:33:05 ]
ความคิดเห็นที่: 8

เป็นซากดึกดำบรรพ์ของแอมโมนอยด์  สภาพแบบ Permineralization   ที่พบในชั้นหินยุคดีโวเนียน  อายุ 416-359 ล้านปี   ยังไม่สามารถจำแนกสกุลได้เอง  พบเป็นจำนวนมากในชั้นหินบางๆ  ของหินปูนสีแดง   หมวดหินควนทัง  กลุ่มหินทองผาภูมิ   แต่ชั้นหินนี้ก็พบน้อยจัง

 ในบริเวณนี้ ยังพบเศษพลับพลึงทะเล และนอติลอยด์อีกด้วย     แต่พบน้อย    สภาพการเกิดชั้นหินบอกให้ทราบถึงการเป็นแอ่งสะสมตะกอน
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:34:45 ]
ความคิดเห็นที่: 9

แอมโมนอยด์อีกตัว  ที่พบในชั้นตะกอนเดียวกับ คคห.8 ครับ
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:35:45 ]
ความคิดเห็นที่: 10

เป็นซากดึกดำบรรพ์ของหอยตะเกียง (Brachiopod) แบบ Permineralization

จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีของยุคออร์โดวิเชียน อายุ 488 - 443 ล้านปี
จำแนกสัณฐานตรงกับสกุล Strophomena   พบน้อยมากในพื้นที่สำรวจ อยู่ในหินปูนสีแดงของหมวดหินป่าแก่  กลุ่มหินทุ่งสง   ในหินก้อนเดียวกันนี้  ยังพบหอยโข่งทะเล, รูหนอนชอนไช และสาหร่ายสโตรมาโตไลต์อีกด้วย
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 09:37:22
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:37:03 ]
ความคิดเห็นที่: 11

เป็นซากดึกดำบรรพ์ของปลาหมึก (Nautiloid) แบบ Permineralization   อยู่ในยุคออร์โดวิเชียนตอนปลาย
   
ผมยังไม่สามารถจำแนกสัณฐานด้วยตนเองได้   เนื่องจากการแตกหักตามธรรมชาติของหิน  ไม่ได้เหลือร่องรอยของท่อปั๊มน้ำ (Siphon)ไว้  แต่จากสัณฐานของห้องอับเฉา (Siphuncle) มีขนาดใหญ่    และมีขนาดลำตัวใหญ่-ยาวมาก   เมื่อเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ปลาหมึก   ที่เคยพบในหมวดหินนี้   ...ก็นับเป็นการพบครั้งแรก และครั้งเดียวที่เราเจอชนิดพันธุ์นี้

....พบอยู่ในหินปูนสีแดงของหมวดหินป่าแก่  กลุ่มหินทุ่งสง    และในหินก้อนเดียวกันนี้  ยังพบซากดึกดำบรรพ์ปลาหมึกอีกหลายตัว, หอยโข่งทะเล 1 ตัว,  และสาหร่ายสโตรมาโตไลต์แทรกอยู่พืดไปหมด  

การพบซากดึกดำบรรพ์ถึง 3 ตัวเรียงติดกันไปในทางเดียวกัน  บ่งบอกถึงอิทธิพลของกระแสน้ำในแอ่งตะกอน   ขณะเกิดหินได้ดีนะครับ   ....ลองเดินไปดุเปลือกหอยเจดีย์ทั้งหลาย  ตอนน้ำลงสิครับ  ....ก็ชี้ไปทางเดียวกันทั้งหมด
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:42:00 ]
ความคิดเห็นที่: 12

เป็นซากดึกดำบรรพ์ในยุคออร์โดวิเชียนตอนกลาง   จำแนกสัณฐานแล้ว  สันนิษฐานว่า  เป็นปลาหมึกในสกุล Actinocerase (?)  โดยพิจารณาจากส่วนเปลือกของลำตัวตรง (Orthocone)  มีท่อปั๊มน้ำ (Siphon) แบบ Cyrtochoanitic  siphuncle   และห้องอับเฉา (Siphuncle) มีจำนวนมาก    แต่ไม่ถี่เหมือนในสกุล Onnocerase    พบอยู่ในหินปูนสีเทาดำ กลุ่มหินทุ่งสง   ในหินก้อนเดียวกันนี้  ยังพบซากดึกดำบรรพ์สาหร่ายสโตรมาโตไลต์แทรกบางๆ  อีกด้วย

ชิ้นนี้  เป็นชิ้นแรกที่ผมพบเมื่อ 8 ปีก่อน   จากนั้นก็เลยตระเวณเดินย่ำเขากันเลยล่ะครับ   ....แม่ยายตัดจากกองมรดกก็เจ้าก้อนนี้ล่ะ (ฮาาาาา)
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:44:25 ]
ความคิดเห็นที่: 13

เป็นซากดึกดำบรรพ์ของปลาหมึกในยุคออร์โดวิเชียนตอนปลาย เนื่องจากพบอยู่ในหินปูนส้ม-แดง  หมวดหินป่าแก่ กลุ่มหินทุ่งสง  

นับเป็นตัวอย่างที่ดี   เนื่องจากการกร่อนตามธรรมชาติ   ทำให้ซากดึกดำบรรพ์ก้อนนี้   ปรากฏให้เห็นส่วนประกอบภายในนูนขึ้นมาเป็น 3 มิติ   โดยแทบไม่มีตะกอนไปอุดตันอยู่ภายในเปลือก    และเห็นท่อปั๊มน้ำ (Siphon), ห้องอับเฉา (Siphuncle)อย่างชัดเจน   นอกจากนี้ ยังปรากฏส่วนที่เป็นที่อยู่ของลำตัว (Living Chamber) อีกด้วย  นับเป็นตัวอย่างเดียวที่เราพบ  

 แต่ผมก็ยังไม่สามารถจำแนกสกุลได้อยู่ดีครับ  เนื่องจากส่วนเปลือกของลำตัวตรง(Orthocone) มีท่อปั๊มน้ำอยู่ตรงกลางลำตัว คล้ายกับในสกุล Michelinocerase (?)    แต่ยังไม่เห็นโครงสร้างภายในของท่อปั๊มน้ำ การมีห้องอับเฉา (Siphuncle) จำนวนมาก แต่ไม่ถี่แน่น    และมีโครงสร้างเหมือนกับสกุล Endocerase (?)   ในหินก้อนเดียวกันนี้  ยังพบซากดึกดำบรรพ์สาหร่ายสโตรมาโตไลต์   แทรกอยู่เป็นจำนวนมากอีกด้วย

...ท่านอาจารย์เจี๊ยบเสร็จสิ้นภารกิจ-ว่างๆ แล้ว   ผมยังอยากพาท่านไปตระเวณชมความหลากลายทางสายพันธุ์  ของกลุ่มนี้กันอีกนะครับ
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 09:49:06
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:48:31 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ที่เหลือก็ขอยอมแพ้ก่อนนะครับ  ....ยังต้องใช้กรรมที่ทำไว้กับเด็กๆ    สั่งทำรายงานแยะ  เราก็ตรวจเยอะ ...อิอิ ^..^


ท่านใดสามารถช่วยเติมเต็มข้อมุลได้  ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ   ...แล้วห้องพิพิธภัณฑ์เล็กๆ  ที่โรงเรียนเรา   ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ  สยามเอนฯ  เสมอนะครับ ^..^

ขอบขอบคุณ คุณสะตอซอรัส และคุณปีย์ ที่ให้ความอนุเคราะห์ ณ โอกาสนี้นะครับ ^..^
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 10:39:11
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 09:54:30 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ยอดเลยครับ รวมไว้ได้เยอะทีเดียว
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 01 ต.ค. 2552 11:00:44 ]
FossilPic__reply_140487.jpg
ความคิดเห็นที่: 16
: ครูนก..
ที่เหลือก็ขอยอมแพ้ก่อนนะครับ  ....ยังต้องใช้กรรมที่ทำไว้กับเด็กๆ     สั่งทำรายงานแยะ  เราก็ตรวจเยอะ ...อิอิ ^..^



มิน่าล่ะหายไปนานเลยครับ


#6 โอ้ว เพิ่งทราบว่าไบรโอซัวลักษณะแบบนี้มีชื่อไทยเรียกด้วยว่า เสื่อทะเล

ผมฝากดูหินหน้าตาแบบนี้ด้วยครับ ว่ามันคืออะไร ถ่ายจากข้างล่างที่ทำงานนี่เองครับ
ภาพแรกจากด้านบน
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 14:22:11
นกกินเปี้ยว approve [ 01 ต.ค. 2552 14:21:53 ]
FossilPic__reply_140488.jpg
ความคิดเห็นที่: 17
ภาพนี้ด้านข้างครับ มีหลายชั้นซ้อนอยู่
นกกินเปี้ยว approve [ 01 ต.ค. 2552 14:22:53 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ภาพที่คุณนกกินเปี้ยว  เอามาฝากกันน่าสนใจแฮะ

ถ้าเป็นเมื่อก่อนล่ะก้อ  เตรียมหยิบธงมาฟันว่า เป็นซากดึกดำบรรพ์สาหร่ายสโตรมาโตไลต์   ...ค่าที่มัน มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ไม่น้อย


..... ถ้ารู้ชั้นหินเพิ่มมากกว่านี้   แล้วได้ดูเนื้อตะกอนชัดๆ   อาจจะไขปริศนาได้มั่ง   ...ลองซูมๆ รูปดูแล้ว  ไม่ค่อยเห็นตะกอนเนื้อทรายเลยครับ

ถ้าหากมีตะกอนเนื้อทรายก้จะคล้ายกับหินยุคไซลูเรียนที่นี่   ที่ผมหน้าแตกโพละไปแล้ว   ว่าเป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในยุคบรรพกาล (Burrow)   เอาเข้าจริงๆ    การก่อตะกอนในพื้นที่ที่พูดถึงนี้   เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นวัฏจักรในอดีต      ทำให้เกิดชั้นตะกอนของโคลน และทรายมาทับซ้อนกัน  หลายๆ ชั้น   อยากให้นึกถึงกรรมวิธีทำขนมชั้น   เวลาเค๊าเทแป้งทีละสี-สลับกันไป


แต่โคลนกับทรายที่ก่อตัวเป็นหิน   มีความแกร่งไม่เท่ากัน   ส่งผลให้ชั้นหินโคลน   ถูกกด และเสียรปทรงไป   ภาษาใต้ใช้คำว่า "เล็ด"  น่ะครับ    ทำให้เกิดรูปทรงแปลกๆ   ทั้งในหินโคลน และหินทราย    แต่หินทรายทนต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่า   สุดท้ายก้เหลือโครงสร้างหินทราย   ที่มีอะไรไม่รู้   ปูดไปมา  เป็นเส้นมั่ง, เป็นท่อยื่นออกมามั่ว,  เป็นปูดๆ  บวมๆ   ตลอดพื้นผิว

ภาพ คคห.17  ช่วยได้มากเลยครับ   อาจจะคล้ายกับที่เล่าสู่กันฟังข้างต้นนะครับ  ...ขอตอบตามที่เข้าใจ   แต่ม่ายฟันธงนะพี่น้อง

# คำว่า เสื่อทะเล  ก็แปลตรงตัว   เพราะคุยๆ กับเด็กๆ บ่อยๆ    ก้แปลให้ฟังมั่ง ทับศัพท์มั่ง  นานๆ ก็ชินไปเอง   ไม่มั่นใจว่าถูกมั๊ยนะ ^..^!!

แม้ แต่ คคห.11-13   ผมก็บัญญัติศัพท์เองว่า  Siphuncle  แปลว่า  ห้องอับเฉา   ความที่เป็นคนชอบดูหนังเรือดำน้ำ   โดยเฉพาะเรื่อง เรือดำน้ำนอติลุส - กัปตันเนโม   นี่ชอบมากๆ    พอมาศึกษาเจ้าแอมโมนอยด์เลย  ปิ๊ง!!   โอเค  ห้องอับเฉา    เด็กๆ ก็รับรู้ง่าย   เห็นๆ  ใครๆ ทางนี้ก็เริ่มใช้กันแล้วนะ   ไม่รู้ภาษาเค๊าจะวิบัติหรือเปล่า (ฮาาาา)  

ลป. ลืมบอกไป  ลักษณะที่พูดถึง  ทางธรณีใช้คำว่า  Cone-in-cone structure ครับ
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 15:35:47
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 15:01:34 ]
FossilPic__reply_140496.jpg
ความคิดเห็นที่: 19
ฝากรูปทางนี้ให้ดูบ้างครับ    แต่หาเจ้าภาพที่ปูดๆ ไปมาสลับไม่เจอ  ไม่รู้ว่าแหมะไว้ตรงไหนครับ  .....  ยังไม่ชัวร์นะ ทั่นนก อิอิ ^..^
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 15:34:57
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 15:10:02 ]
ความคิดเห็นที่: 20
มีอะไรเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดจากการหล่อพิมพ์     ก็เรียกง่ายๆ ว่า   แม่พิมพ์  -  ลูกพิมพ์แล้วกัน


ผมออกจะชอบด้าน   แม่พิมพ์เอามากๆ    เพราะเก็บรายละเอียดได้มากกว่าด้าน ลูกพิมพ์   ตามสภาพการเกิดซากดึกดำบรรพ์
ขอให้พิจารณาภาพพิมพ์ตะกอนซากดึกดำบรรพ์  ต่อไปนี้นะครับ   ดูสักพักก่อน

.
.
.
.
.
.
.
.
.
.

.
.
.
.
.แล้วก็พลิกภาพตีลังกาลง
.
.
.
.
.
.
.
.
ดูใหม่นะครับ


มีอะไรแปลกๆ มั๊ยครับ  ลองอ่านตัวหนังสือด้านบน  ที่ตีลังกากลับไปด้วยนะครับ


ผมเจอหลังจากอัดรูป  ซากดึกดำบรรพ์ด้านแม่พิมพ์มา  แล้วยื่นให้ใครๆ ดู     แต่พอเราเห็นกลับด้าน  อ๊าว  ไหงเป็นงั้นไปได้ฟระ  จากที่เห็นเป็นภาพบุ๋มลงไป   ทำไมมันกลายเป็นภาพนูนออกมา  แปลกมั๊ยนะ...เอิ๊ก!!!  ^.^
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2552 21:41:59
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 15:19:38 ]
FossilPic__reply_140525.gif
ความคิดเห็นที่: 21
หนับหนุนครับ ครูนก หนับหนุน
ผลยังไงไม่เกี่ยว  แต่มันทำให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วม  และพวกเค้าจะประทับไว้ในใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ร่วมกันครับ

อิจฉาเด็กๆ จังครับที่พบครูน่ารักๆ อย่างนี้

ไปหม่ำข้าวกะพ่องูระนองกะน้องปูภูเก็ตก่อนนะคร้าบ.... อิอิอิ
จอม approve [ 01 ต.ค. 2552 20:15:08 ]
ความคิดเห็นที่: 22
อ้าวคุณจอม  ไม่ตามทั่นน๊อตมาละงุด้วยล่ะคร๊าบ  อิอิ  จะหาเรือใหญ่ไว้รอท่า....
ครูนก.. approve [ 01 ต.ค. 2552 21:45:29 ]
ความคิดเห็นที่: 23
: ครูนก..
อ้าวคุณจอม  ไม่ตามทั่นน๊อตมาละงุด้วยล่ะคร๊าบ  อิอิ  จะหาเรือใหญ่ไว้รอท่า....


วันหลังวันหน้าจะไปเยือนขอรับ อาจติดเพื่อนฝูงไปด้วยสักสองสามหน่อครับ อิๆ
จอม approve [ 02 ต.ค. 2552 02:27:21 ]
ความคิดเห็นที่: 24
คห 12 ผมมองแล้วคิดว่าเป็น สัตว์มีกระดูกสันหลัง ซะอีก
GreenEyes approve [ 04 ต.ค. 2552 18:37:55 ]
ความคิดเห็นที่: 25
แวะมารับความรู้ ช่วงนี้ผมเริ่มว่างบ้าง เดี๋ยวปีนเขาเก็บภาพฟอสซิลมาฝากครับ
jos sky approve [ 04 ต.ค. 2552 20:15:54 ]
ความคิดเห็นที่: 26
#24
คคห.12 ผมพบครั้งแรกเปื้อนๆ โคลน  ยังคิดว่า ตะขาบ  เสียอีก
พอล้างน้ำออกเลยคิดว่า เป็นก้างปลา   ... แต่ งงๆ ว่า  ไหงก้างปลามันโค้งมนชี้ไปทางส่วนหัว?

...ได้ท่านอาจารย์ที่ศึกษาทางธรณี  ชี้แนะให้  ก็เลยถึงบางอ้อว่า  ปลาหมึกในยุคแรกๆ วิวัฒนาการแยกออกจากหอย  ยังคงสภาพเปลือก  ...อยากให้นึกถึงลูกหลานของมันจำพวกปลาหมึกที่รูปร่างคล้ายหอย  จำพวกหอยงวงช้าง (Nautilus) นั่นล่ะครับ

สภาพการแตกหักกร่อนตามธรรมชาติแล้วมีตะกอนดิน   ไปอุดตามห้องอับเฉา  แถมแบนราบ-มีแกนท่อปั๊มน้ำอย่างงี้  ชวนให้มองว่า มีกระดูกสันหลังไม่น้อยนะครับ ^..^


รอดูภาพเด็ดๆ ของคุณ jos sky อีกนะครับ

#คคห. 20  ท่านใดอธิบายได้บ้างครับ ว่า  ไหงประสาทตา มันเล่นตลกกับเราได้บ้างครับ  งงดี  แถมเป็นแบบนี้ทั้งในภาพถ่ายที่อัดมา  รวมทั้งในไฟล์ภาพดิจิตอลด้วยแฮะ
...แก้ไขเมื่อ 04 ต.ค. 2552 21:12:16
ครูนก.. approve [ 04 ต.ค. 2552 20:48:51 ]
ความคิดเห็นที่: 27

ยังมีภาพในสตอกเหลืออีก  เผื่อใครสนใจเชิงเปรียบเทียบกันครับ
...แก้ไขเมื่อ 04 ต.ค. 2552 21:48:23
ครูนก.. approve [ 04 ต.ค. 2552 21:47:32 ]
ความคิดเห็นที่: 28
แวะมาทักทาย สวัสดีครับครูนก

แว่บไปดูเวบของคุณครูมา
มากทั้งข้อมูล สาระ  และความสวยงาม
น่ายินดีจริงๆ


กลับไปเมืองไทยต้องหาโอกาสแวะไปเยี่ยมครูนกที่โรงแรียนบ้างซะแล้ว

ไดโนป้อง
DINO approve [ 05 ต.ค. 2552 01:11:58 ]
ความคิดเห็นที่: 29
ไดโนป้องมาเยี่ยมบอร์ดนี้ด้วยเหรอ

เรียนจบยัง หรือกลับมาไทยแล้ว
นกกินเปี้ยว approve [ 05 ต.ค. 2552 10:53:25 ]
ความคิดเห็นที่: 30
แอบโพสต์หนังสือไดโนเสาร์ของอายวิธเนสในนี้สักหน่อย

Link


อีกเล่มนึงไฟล์เจ็ดสิบกว่าเม็ก ชื่อวิวัฒนาการกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ผมยังไม่ได้โหลด เพราะไฟล์ใหญ่ไปหน่อย

Link
...แก้ไขเมื่อ 05 ต.ค. 2552 10:58:46
นกกินเปี้ยว approve [ 05 ต.ค. 2552 10:55:49 ]
ความคิดเห็นที่: 31
หวัดดีคับนกกินเปรี้ยว
ช่วงเครียดๆ  ก็แว่บไปแว่บมาล่ะ  แต่ก็ไม่ได้โพสเท่าไหร่

ใกล้จะสอบล่ะ... อีกไม่กี่วัน --'
เดือนหน้าก็เก็บกระเป๋ากลับบ้าน ^^

ขอบคุณสำหรับหนังสือคร้าบ
DINO approve [ 05 ต.ค. 2552 23:31:29 ]
ความคิดเห็นที่: 32
ความรู้อยู่ทุกหนแห่ง

ขอบคุณคะ คุณครู
fama [ 06 ต.ค. 2552 13:57:10 ]
fama_matcha@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 33
ดอคเตอร์ไดโนป้องจะกลับมาพัฒนาวงการบรรพชีวินเมืองไทยแล้ว แจ่มเลย
นกกินเปี้ยว approve [ 06 ต.ค. 2552 14:23:09 ]
ความคิดเห็นที่: 34
เยี่ยมไปเลยครับครูนก
สะตอซอรัส [ 08 ต.ค. 2552 03:59:20 ]
ความคิดเห็นที่: 35
แจ้งข่าวสมาชิกเพื่อทราบ ....ผ่านรอบแรกแล้วนะครับ
http://www.dmr.go.th/download/article/article_20091007181843.doc
^..^!!!
...แก้ไขเมื่อ 12 ต.ค. 2552 23:05:49
ครูนก.. approve [ 12 ต.ค. 2552 23:04:36 ]
ความคิดเห็นที่: 36
เอาล่ะสิ   เพิ่งจะเห็นว่า ส้มๆ จนได้

แก้ไขส่วนประกอบโครงสร้างของปลาหมึก Nautiloid ใน #11, 12, 13, 16

ห้องอับเฉา -- Septum ไม่ใช่ Siphuncle

ท่อปั๊มป์น้ำ - Siphuncle - ไม่ใช่ Siphon


เฮ้อ!!   โดน "โปลน - จ้น" บ่อยๆ    อย่าได้ถือสา  แล "หัวเยาะ - เราะ" เป็นอันขาด ^.^ อุอุ

หนูฟาติมะตามมาในบอร์ดนี้ด้วยหรือ   เกือบจบแล้วสินะ
...แก้ไขเมื่อ 13 ต.ค. 2552 06:38:03
ครูนก.. approve [ 13 ต.ค. 2552 06:35:18 ]
ความคิดเห็นที่: 37
ผลการตัดสินออกมาแล้วครับ
http://www.krunok.net/index2.php/?p=1485

....ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนสนับสนุนในครั้งนี้มากๆ ครับ ^..^
ครูนก.. approve [ 23 ต.ค. 2552 12:19:34 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org