กระทู้-13147 : การปล่อยเต่าทะเลสู่ธรรมชาติมากๆ เป็นการทำลายธุรกิจการประมง จริงหรือไม่ อย่างไร

Home » Board » อื่นๆ

การปล่อยเต่าทะเลสู่ธรรมชาติมากๆ เป็นการทำลายธุรกิจการประมง จริงหรือไม่ อย่างไร

ไหนๆ จะไม่อยู่อีกหลายวัน เลยขอตั้งกระทู้ล่อเป้าไว้แก้เหงา กลับมาวันใดก็จะมาดูคำตอบจากมุมมองแต่ละคนครับ

หมายเหตุ..กระทู้นี้ต้องการคำตอบที่ไม่มีกระแส หรือเอาความเป็นเวบนี้มาเป็นกรอบนะครับ
knotsnake approve [ 05 ต.ค. 2552 11:14:41 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ผมคิดว่าอัตราการรอดตายของเต่าที่ปล่อยไปน่าจะต่ำมากจนไม่มีผลกับการประมง หรือมีผลทำให้สัตว์ทะเลที่สามารถกินลูกเต่าเป็นอาหารได้เพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่านะครับ
vvay approve [ 05 ต.ค. 2552 11:19:25 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ปกติแล้วอัตราการรอดชีวิตของลูกเต่าที่ออกจากไข่จนกลับมาวางไข่ได้นั้น  น้อยมากๆ  น่าจะน้อยกว่าร้อยละหนึ่งด้วยซ้ำ  

อีกทั้งอัตราการเสียชีวิจของเต่าทะเลจากอุตสาหกรรมประมง และการบริโภคเนื้อเต่าก็สูงขึ้นตามลำดับ  ซึ่ง น่าจะแปรผกผันกับอัตราการเกิดด้วยซ้ำ  กล่าวคือ  อัตราการเกิด  ตามไม่ทันอัตราการตายนั่นเอง

ผมขอทำนายว่าเต่าทะเลจะต้องสูญพันธุ์แน่นอน   ถ้าไม่มีการเพาะพันธุ์ และปล่อยเพิ่มลงทะเล

อย่านำเหตุผลเดียวกับชาวญี่ปุ่น  ซึ่ง อ้างว่าวาฬ และโลมากินปลา และหมีกมากเกินไป  ต้องล่า (มากิน) เพื่อให้ธรรมชาติสมดุลย์...มันไม่เป็นตรรกะศาสตร์
นายหมอแมว [ 05 ต.ค. 2552 11:50:01 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ไม่แน่ใจว่าประเด็นเกิดขึ้นตรงไหน เพราะยังไม่ได้ผ่านตา  แต่ ถ้าเป็นการใช้เครื่องมือประมงแบบที่เป็นมิตรกับเต่าหล่ะเห็นด้วยครับ

ยุคที่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ธุรกิจอะไรมันก็ต้องมีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั้งนั้น มันต้องเริ่มเสียสละส่วนตัวเพื่อประโยนชน์ส่วนรวม ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นแล้วจะขึ้นราคาสินค้าหรือจะไปทำอะไรมันก็เป็นอีกเรื่องที่สังคมต้องร่วมกันรับผิดชอบ  

อย่างไรก็ดี กฏ และระเบียบของรัฐบาลที่จะออกมา มันก็ต้องตั้งอยู่ในหลักของความเป็นจริง การจะบีบให้เอกชนต้องลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงมากจนเกินไปในระยะเวลาอันสั้น จนไม่มีความคุ้มค่าทางธุรกิจ มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรจะกระทำเช่นกัน ทางสายกลาง เอา แต่พอดี ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป สิ่งแวดล้อมดีขึ้น มันก็จะดีกับทุกๆ คน
นณณ์ approve [ 05 ต.ค. 2552 13:22:52 ]
ความคิดเห็นที่: 4
เรามากันถุกทางแล้ว !   เราทำลายมาก็มาก ก็ควรเพิ่มให้คงสมดุลย์ฯ ไว้
PUPER DDT. [ 05 ต.ค. 2552 13:40:30 ]
ความคิดเห็นที่: 5
มีกรณีพิพาทอะไรกันเหรอครับ
alian [ 05 ต.ค. 2552 15:54:42 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ไม่จริง!!! ในธรรมชาติรอด 1 คู่ต่อไข่ 5000 ฟอง  ถ้าปล่อยผิดช่วงที่เหมาะ ก็ยิ่งรอดน้อยกว่า
waterpanda approve [ 05 ต.ค. 2552 16:33:35 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ก่อนหน้านี้มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทย ( ซึ่ง เป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ของโลก )  กับคู่ค้าต่างประเทศ  

เขาบอกว่าประเทศของเราใช้เครื่องมือประมงที่ทำร้ายเต่าทะเลให้ตายเป็นจำนวนมาก  

ฉะนั้น ถ้าจะขายกุ้งให้เขา  เราต้องซื้อเครื่งมือจับปลาที่ปลอดภัยกับเต่าทะเลจากเขาเสียก่อน  จึงจะทำการค้ากันได้

ขาวประมงของเราก็ต้องกัดฟันซื้อ....

ทั้งๆ  ที่ประเทศของเราเลี้ยงกุ้งในบ่อต่างหาก  มิได้จับมาจากทะเลโดยตรง  เหมือนประเทศอื่น

ไม่รู้ตรงประเด็นหรือเปล่า.....

สาเหตุหลักที่ทำให้ปลาในทะเลลดลง  

มาจากการพัฒนาอุปกรณ์จับปลาที่ดี และละเอียดยิ่งขึ้น  

ประชากรของโลกเพิ่มขึ้น

การไม่ปลูกฝังการประมงอย่างยั่งยืนให้เด็กรุ่นใหม่  เช่น  อย่าจับปลาในฤดูวางไข่

ประเทศที่เจริญกว่ามักเข้าไปลักลอบจับปลาในน่านน้ำของประเทศที่ด้อยกว่า  แล้วนำเงินมาแบ่งกัน   แต่ไม่คิดว่าจะเก็บไว้เป็นแหล่งหลบภัยหรือเพาะพันธุ์ลูกปลากันบ้าง

ฯ ลฯ   มากจนจารนัยไม่หมด  เกิดจากคนมักมากทั้งนั้น  

เต่าทะเลเป็นแค่ " แพะ " เท่านั้น  เพราะคนไม่รู้จะโทษใครดีน่ะ  ต้องหาคนพิษให้ได้.....
นายหมอแมว [ 05 ต.ค. 2552 19:43:10 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ผมมองมุมกลับกันนะครับ ผมว่าธุรกิจประมงที่เกินขอบเขต เป็นการทำลายเต่าทะเลหรือเร่งการสูญพันธุ์ของเต่าทะเลมากกว่า เต่าทะเลพัฒนาไปตามกระบวนการของธรรมชาตื  แต่มนุษย์พัฒนาเครื่องมือล่าได้เร็วกว่า  และไม่มีการเคารพกติกาของธรรมชาติ  ปล่อยเต่าล้านตัวเหลือให้ดูไม่ถึงสิบตัวมั้งครับ  แต่ ถ้ามนุษย์เคารพในธรรมชาติ รู้ว่าเวลาไหนควร เวลาไหนไม่ควร ผมว่าอย่างน้อยก็ยังช่วยประทังการสูญพันธุ์ไม่ให้เร็วขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิด และสูญสลายทั้งนั้นแหละครับ  แต่เราจะชลอให้มันช้าได้อย่างไรเท่านั้น ทิ้งท้ายเต่ามะเฟืองผมเคยเห็นตัวเป็นๆ เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว บริษัทที่ผมทำงานอยู่พาพนักงานไปเที่ยวไปเกาะขามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2552 เราไปดูทหารเลี้ยงเต่า เราไปช่วยกันเพาะประการัง ผมยังนึกในใจเดี๋ยวนี้เรื่องพวกนี้กลายเป็นภาระของทหารไปแล้วหรือครับ
noppadol approve [ 05 ต.ค. 2552 21:15:49 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 9
น่าโบกคนคิดครับ
conti approve [ 05 ต.ค. 2552 22:17:54 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ผมมองว่าเหมือนกับการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  เราจะไม่มีวันที่ได้รสชาตของน้ำพริกที่แท้จริง จะมีก็ แต่เศษเนื้อพริกที่ล่องลอยให้เห็นบ้าง
เฉกเช่นเดียวกัน  ที่เราจะพบเห็นเศษเนื้อพริกคือ เต่าที่เราปล่อยไปในธรรมชาติบ้างเท่านั้น
ประเด็นนี้ เป็นความคิดที่ขลาดกลัวของมนุษย์  
- กลัวว่าต่อไปจะไม่มีอาหารทะเลกิน หรือขาดแคลน
- เป็นการเอาเปรียบสัตว์โลกด้วยกัน เพราะพวกเรามีความรู้ที่จะใช้ในการสะสมอาหารไว้กินนานๆ   แต่สัตว์ไม่มี
- ธุรกิจการประมง มีหลายประเภท ทั้ง ฟาร์มเลี้ยง กระชัง ล่าจากธรรมชาติ ธุรกิจนี้มองไปไกลแค่ไหน
พอแค่นี้ก่อนไม่อยากให้ คห.มากไป  สรุป คห.ของผมว่า ผลกระทบที่ตามมาจะมีทั้งด้านลบ  และด้านบวก  ปัจจัยที่มีผล  มีมากมาย  คงพูดแค่บรรทัดนี้ไม่จบ  ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลทั้งศูนย์ขนาดเล็กใหญ่มีมากมายนับไม่ถ้วนในประเทศไทย  ปีหนึ่งมีลูกเต่าถูกปล่อยออกสู่ท้องทะเลนับหมื่นนับแสนตัว  แล้วเต่ามันไปอยู่ไหน ? ทำไมเราไม่ค่อยเห็นพวกมันเลย ? พวกมันจะไปจับกุ้ง หอย ปู ปลา กินจนเราขาดแคลนอาหารทะเล ขนาดนั้นหรือไร ?
ณ ป่าฝน approve [ 06 ต.ค. 2552 10:16:50 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนครับ
ใช่ครับทางการเลี้ยง และปล่อยกลับธรรมชาติ   แต่มันจะหากินได้เองไหมนี่คือคำถามที่คาใจผมมานาน พราะผมเองเคย ทำงานที่อ่าวไข่ ระยอง แบ่งลูกเต่ามาจากเกาะมันช่วยเลี้ยง โดยอาศัยปลาข้างเหลืองจากชาวประมงแถวๆ นั้น พอโต 6-8 นิ้วก็ส่งคืนเกาะมัน แล้วเอาชุดใหม่มา  มันกิน แต่ของตายไม่เคยล่าด้วยตัวเอง ไม่ทราบเหมือนกันว่าที่ศูนย์เพาะเลี้ยงจะฝึกให้ล่าก่อนปล่อยออกทะเลหรือไม่?
และไม่ต้องสงสัยว่าจะรอดแค่ไหน ผมไม่เคยพบเต่าทะเลบริเวณอ่าวไข่เช่นกัน เคยพบ แต่พยูนมาเกยหาด
อรรถ [ 06 ต.ค. 2552 11:26:13 ]
ความคิดเห็นที่: 12
จะบอกว่าเต่าที่ปล่อยไม่รอดเลยสักตัว ผมก็ไม่ค่อยเชื่อ?
ขนาดจระเข้หลุดจากฟาร์ม ที่ไม่เคยล่าเหยื่อเอง มันยังเรียนรู้การล่าเองเป็นเลย
ตะกองหรืองูที่หลุดกรง  ก็ยังเอาตัวรอดได้  ผมเชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานมีสัญชาติญาณดิบเพียงพอจะเอาตัวรอดได้ระดับนึง แม้จะไม่การันตีว่ารอดได้กี่ตัวก็ตาม

ขออภัยนอกเรื่องครับ  สำหรับหัวข้อนี้ โดยส่วนตัวไม่ค่อยเชื่อว่าเต่าทะเลจะทำลายธุรกิจการประมง ต่อให้มันเพิ่มมากขึ้นก็ตาม เพราะพวกมันจำนวนนึงก็โดนล่าแบบเงียบๆ เช่นกัน
snakeeater approve [ 06 ต.ค. 2552 21:19:02 ]
ความคิดเห็นที่: 13
กลับกันขอรับ
การทำธุรกิจการประมงมากๆ  เป็นการทำลายเต่าต่างหากล่ะ....
ความจริงทุกวันนี้เราๆ ต่างก็แย่งอาหารมันกินอยู่มิใช่หรือขอรับ
แล้วติดอวนตายอีกเท่าไหร่ การปล่อยเต่าจึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบธุรกิจการประมง
มองซ้ายทีขวาที ก็เราเองแหละ ที่เป็นตัวปัญหาหลักๆ เลยในการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำ
corwin approve [ 08 ต.ค. 2552 01:06:14 ]
ความคิดเห็นที่: 14
: conti
น่าโบกคนคิดครับ


อ้าว..พี่คิดโจทย์นี้เองนะเฟ้ย

สำหรับความเห็นโดยรวมๆ ..ที่จริงยังไม่มีกรณีอย่างตุ๊กตาที่ผมตั้งมาหรอกครับ  แต่วันก่อนอยู่ระหว่างเดินทางแล้วดันฟุ้งซ่าน ลองสวมวิญญาณคนอื่นๆ ในวงการต่างๆ เล่นๆ  แล้วมาสนใจประเด็นตามโจทย์นี้ เลยเอามาถามเมื่อมีโอกาสกลับมาใช้เน็ต(แว๊บนึง) เสียดายนิดๆ ที่ความเห็นที่โพสมาในแนวทางเดียวกันหมดในเชิงอุดมคติ เลยขาดอรรถรสในการถกประเด็น  

ในการทำงานของหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับทรัพยากร(รวมทั้งที่ใช้โดยตรง และบังเอิญได้มาเลยใช้) และคนนั้น มักจะมีประเด็นขัดแย้งประมาณนี้เสมอๆ  ซึ่ง บางกรณีก็ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายหรือมีอยู่ แต่ยากในการปฏิบัติ ดังนั้นนอกจากการใช้วิชาการมาเป็นพื้นฐานในการวางกรอบแล้ว เรายังต้องใช้วิชามารในการเจรจา ต่อรอง หรืออื่นๆ (ซึ่ง ทางผู้เก็บเกี่ยวมักใช้มากกว่า) ผมเลยตั้งกระทู้นี้มาเผื่อเจอวิชามารที่น่าสนใจ  และนำไปใช้ได้  ที่ผมอยากเห็นคือความคิดที่มองไปมากกว่ามีเต่าอยู่ในทะเล เพราะความเป็นจริงอยู่ที่มีการทำการประมง มีทรัพยากรอื่นๆ  มีเต่า มีชาวประมง มีคนกินสัตว์น้ำเหล่านั้นทั้งใน และนอกประเทศ มีเศรษฐกิจ สังคม ฯ ลฯ  ซึ่ง สิ่งเหล่านี้ควรอยู่ในกระบวนการคิด  ผมเจอมาเยอะแล้วโดยขอยกตัวอย่างในระนอง คือ ระนองเป็นเมืองฝนแปดแดดสี่  แต่พอหน้าแล้งกลับขาดแคลนน้ำ คนต้องการน้ำก็เลยสร้างเขื่อน พอสร้างเขื่อนปลาท้องถิ่นบางชนิดก็ปรับตัวไม่ได้เลยหายไป ปลาในแหล่งน้ำเลยลดลง คนต้องการปลาที่เพียงพอก็ปล่อยปลาอะไรบ้างไม่รู้  แต่ไม่ใช่ปลาท้องถิ่น ฯ ลฯ   นอกจากนี้ยังได้ประเมินผลการดำเนินงานเบื้องต้นบางอย่างได้ด้วย

ขอบคุณครับสำหรับทุกๆ ความเห็น
knotsnake approve [ 09 ต.ค. 2552 11:19:37 ]
ความคิดเห็นที่: 15
สิ่งที่สงสัยคือ มีโอกาสทำลายธุรกิจประมง ตรงไหนบ้าง?(ไม่ได้ด่าหรือประชดนะครับ)
1) เต่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น? > กินปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ที่เป็นเหยื่อของมันในธรรมชาติมากขึ้น ซึ่ง เหยื่อเหล่านั้นบางทีก็เป็นเหยื่อของคนด้วย?  หรือว่า...
2) เต่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น? > มีโอกาสหลงมาติดอวนมากขึ้น? > ชาวประมงโดนสื่อมวลชนขุดกระแสมาด่าบ่อยขึ้น?
snakeeater approve [ 09 ต.ค. 2552 18:51:26 ]
ความคิดเห็นที่: 16
^
^
^
ได้ทั้งสองข้อ หรือกว่านั้นนั่นแหละขอรับ  แต่ประเด็นหลังจะโยงไปถึงการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ

กรณีคล้ายๆ ประเด็นแรกก็เคยเจอ..คนตีงูกาบหมากหางนิลตายเมื่อเจอ โดยอ้างว่ามันกินค้างคาวมากจนทำให้ขี้ค้างคาวลดลง เห็นป่ะว่า คิดไปด้ายยยยยยย เฮ้อ..

เราไม่สามารถใช้เฉพาะวิชาการในการแก้ปัญหา อธิบายข้อโต้แย้งได้เลย หากคู่กรณีเป็นคน ต้องบูรณาการไปกับวิชามารด้วยเสมอ
knotsnake approve [ 15 ต.ค. 2552 14:18:25 ]
ความคิดเห็นที่: 17
 ถ้าเป็นวิชามารในเรื่องพวกนี้ ยังนึกไม่ออกว่าจะบริหารอย่างไรเหมือนกัน ^^

แต่ ถ้าเกี่ยวกับวิชาชีพที่ผมทำอยู่ ใช้บ่อยเหมือนกันครับ  ประเภทต้มตุ๋น Placebo ฯ ลฯ (  แต่ต้องดูจังหวะ และกาละเทศะด้วย) อย่างน้อยต้องไม่เกิดผลเสียในเชิงรูปธรรม
snakeeater approve [ 15 ต.ค. 2552 17:33:18 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ใช่ขอรับ การใช้วิชามารของกระผมนั้นเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในภาพรวม เพราะบางโจทย์นั้นวิชาการไปไม่ถึง ขนาดบางอย่างพิสูจน์ให้เขาเห็นจะๆ  แม้เขาเชื่อ แต่ไม่ยอมรับ(เพราะขัดแย้งกับผลประโยชน์เขาเอง) ดังนั้นก็ต้องเป็นเรื่องของวิชามารที่จะมาต่อยอดตรงนี้
knotsnake approve [ 16 ต.ค. 2552 09:45:04 ]
ความคิดเห็นที่: 19
โดยส่วนตัว ผมไม่เคยแคร์กับศีลข้อ 4 ซะด้วยสิ
ถ้าเป็นการกล่าวเท็จเพื่อให้งานหรือเป้าหมายบรรลุผล ผมกล้าทำครับ
แต่ ถ้าเป็นการกล่าวเท็จเพื่อให้คนชื่นชมหรือชื่นชอบ หรือเพราะความเกรงใจคน ผมไม่ทำเด็ดขาด
ไม่ใช่กลัวบาป   แต่มันรู้สึกเสียศักดิ์ศรีอย่างแรง!
snakeeater approve [ 23 ต.ค. 2552 20:48:08 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org