กระทู้-13369 : การจำแนกชนิดอ๊อด อ๊อด

Home » Board » ครึ่งบกครึ่งน้ำ

การจำแนกชนิดอ๊อด อ๊อด

วันนี้ได้ดูสารคดีเรื่องกบมา ก็เลยนึกสงสัยค่ะว่า ตรงลงว่าไอ้คำว่า กบ ปาด อึ่งอ่าง และเขียดมีการกำหนดตายตัวมั้ยคะว่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่มีลักษณะแบบไหนใช้คำว่าอะไร หรือว่าเป็นแค่ชื่อท้องถิ่น ไม่มีนัยทางอนุกรมวิธาน

อีกอย่างยิ่งดูก็ยิ่งเห็นว่าเจ้ากบตัวเขียวๆ น่ารักๆ เนี่ยลักษณะเค้าคล้ายๆ กันนะคะ ยิ่งลายก็เลอะเทอไปหมดแล้วแบบนี้นักอนุกรมวิธานเค้าใช้ลักษณะอะไรเป็นตัวจัดจำแนกกบค่ะ ดูจากภายนอกเฉยๆ ได้มั้ย หรือว่าต้องล้วงลึกเข้าไปถึงกระดูกแต่ละชิ้น แล้วถ้าเป็นกระดูก ส่วนใหญ่ใช้กระดูกชิ้นไหนในการจัดกลุ่มค่ะ
ลูกกบ  [ 13 พ.ย. 2552 16:57:54 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ผมขอสรุปสั้นๆ  แล้วกันครับ

วงศ์กะท่าง    ( Salamandridae )
   รูปร่างคล้ายจิ้งจก ผิวหนังไม่มีเกล็ด ไม่มีเล็บ ว่ายน้ำได้ ที่รู้จักกันดีในบ้านเราก็ กะท่างแห่งดอยอินท์ครับ

วงศ์เขียดงู  ( Ichthyophiidae )
   รูปร่างคล้ายงู ผิวเรียบไม่มีเกล็ด ลำตัวเป็นปล้องๆ

วงศ์อึ่งกราย ( Megophryidae )
   ผิวเรียบบ้างมีตุ่มหนามกระจายอยู่บ้าง บางกลุ่มมีหนามอ่อนๆ  ที่ปลายเปลือกตาหรือหัว ตามีสีสดใส นิ้วตีนหน้าไม่มีพังผืดยึด เคลื่อนไหวเชื่องช้า ใต้ตีนไม่มีตุ่มหนาม

วงศ์คากคก ( Bufonidae )
   ลำตัวป้อม ขาสั้น ผิวหนังมีตะป่ำ  และมีต่อมพิษ รูม่านตารี ในแนวราบ

วงศ์ปาดเมืองจีน ( Hylidae )
   ขนาดเล็ก สีเขียว ตีนสีน้ำตาล นิ้วตีนหน้ามีแถบชายครุย

วงศ์อึ่งอ่าง ( Microhylidae )
   ลำตัวป้อมไปทางสามเหลี่ยม หัวเล็กแหลม บางสกุลมีมีตุ่มใต้ฝ่าตีนแหลม สำหรับขุดดิน

วงศ์กบ เขียด ( Ranidae )
  มีความหลากหลายมาก ลองๆ ไปดู

วงศ์ปาด ( Rhacophoridae )
   ลำตัวเรียว ปลายนิ้วขยายออกเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มีพังผืดระหว่างนิ้ว ขอบขามีชายคลุย ผิวหนังด้านข้างหยาบ รูม่านตารีในแนวราบ



ขาดเกินอะไรเสริมให้ด้วยเน่อ...
Leviathan approve [ 13 พ.ย. 2552 17:39:08 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ขอบคุณมากค่ะ แสดงว่าจากลักษณะภายนอกก็แยกได้แล้วสินะคะ เมื่อก่อน จำได้ว่าเคยเห็นในหนังสือคูมือจัดจำแนกเล่มหนึ่งเป็นภาษาไทย ที่เป็นภาพสี และเขียนค่อนข้างดี ผู้เขียนใช้ลักษณะกระดูกในการจัดจำแนกด้วยนะคะ
ลูกกบ [ 14 พ.ย. 2552 08:16:08 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org