กระทู้-13675 : นักวิทย์เจองานหิน ขยายพันธุ์ "บาสตาร์ดกัมวูด" ต้นสุดท้ายของโลก

Home » Board » พืช

นักวิทย์เจองานหิน ขยายพันธุ์ "บาสตาร์ดกัมวูด" ต้นสุดท้ายของโลก

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000009207

เอ...แล้ววันปักชำ เสียบตา ทาบกิ่งไม่ได้หรือไงเจ้าต้นนี้??
นณณ์ approve [ 22 ม.ค. 2553 11:18:21 ]
ความคิดเห็นที่: 1
: นณณ์
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000009207

เอ...แล้ววันปักชำ เสียบตา ทาบกิ่งไม่ได้หรือไงเจ้าต้นนี้??
นั่นดิ เพาะเนื้อเยื่อก็น่าจะได้ เอาให้มีสำรองไว้ก่อนแล้วค่อยหาทางอีกทีน่าจะดีกว่ารอปาฏิหาริย์ หรือโชคช่วยนะครับ
...แก้ไขเมื่อ 22 ม.ค. 2553 12:43:24
noppadol approve [ 22 ม.ค. 2553 12:37:21 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 2
นานสิ คิดเหมือนกันครับ ทำไม่ได้หาวิธีอื่นไม่ได้แล้วหรือไง ให้คนของสวนแถวปราจีนไป รับรองไม่พลาด
บี [ 22 ม.ค. 2553 13:40:18 ]
ความคิดเห็นที่: 3
อยากให้มองอีกมุมหนึ่งว่า การตอน ปักชำ  และเพาะเนื้อเยื่อนั้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเสมอไปครับ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เป็น specialized ครับ ไม่ใช่ generalized
OAT approve [ 22 ม.ค. 2553 16:29:45 ]
ความคิดเห็นที่: 4
เดี๋ยวนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกลายเป็นเทคนิคพื้นฐานไปแล้วค่ะ  แต่ว่าก็ต้องดูว่า พืชต้นนี้ส่วนไหนสามารถนำมาชักนำให้เกิดต้นใหม่ในสภาพปลอดเชื้อได้ดีที่สุด  เห็นเก็บละอองเรณูมา ความจริงก็เอามาเลี้ยงได้นะคะ จะได้ต้นที่มีลักษณะโครโมโซม 1n แล้วค่อยทำให้มันเป็น 2n ตามปกติก็ได้  ดีซะอีกนะคะ เพราะว่า จะได้ต้นที่มียีนเป็นยีนแท้ด้วยล่ะ  

ขอให้ทำสำเร็จนะคะ
callus approve [ 22 ม.ค. 2553 20:17:29 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ต้นที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ไร้ประโยชน์ในการรักษาเผ่าพันธุ์ และประชากร เพราะได้เพียงยีนเดียว และมีอายุตายตัว เมื่อสิ้นอายุขัยของต้นตอ ก็ตายแหงแก๋พร้อมๆ กัน
waterpanda approve [ 22 ม.ค. 2553 21:10:17 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ลองอ่านในข่าวดีๆ  สิครับ (ภาษาอังกฤษ)นะครับ รู้สึกว่าที่แปลเป็นไทยถอดความมาแบบไม่ได้หมดทั้งเนื้อหา เขาบอกว่า สิ่งที่เขาพยายามอยู่ก็คือการผลิตเมล็ดจากต้นนี้ เพราะต้นไม้มันมีกลไกในการป้องกันตัวเองในการผสม  และโอกาสที่จะผสมพันธุ์ในต้นเดียวกันมีน้อยมาก  แต่ก็มีโอกาสซึ่ง เขากำลังพยายามทำประเด็นนี้กันอยู่

ถามว่าทำไมจึงไม่เอาไปทำ clonning ด้วยวิธีการต่างๆ  เช่นการ เทียบกิ่ง ติดตา หรือว่าเอาไปทำเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คุณพี่ waterpanda ให้ความกระจ่างแล้วว่า

"ต้นที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ไร้ประโยชน์ในการรักษาเผ่าพันธุ์  และประชากร เพราะได้เพียงยีนเดียว  และมีอายุตายตัว เมื่อสิ้นอายุขัยของต้นตอ ก็ตายแหงแก๋พร้อมๆ  กัน"

ซึ่ง ผมขออธิบายเพิ่มเติมว่า ในการสืบพันธุ์แบบอาัศัยเพศที่ผ่านการผสมเกสรนั้น มันเกิดจากการรวม nucleus  ของ sperm  และ ไข่ ทำให้เกิด recombination ของสายดีเอ็นเอได้ใหม่ ทำให้เกิดลักษณะที่หลากหลายของพืช แม้ว่ามันจะมาจากต้นเดียวกันก็ตาม ผิดกับการ cloning ด้วยวิธีต่างๆ  เราจะได้ต้นไม้แบบเดียว ที่มีลักษณะพันธุกรรมแบบเดียวกัน  ถ้ามีแบบนั้นเป็นพันเป็นหมื่นต้น มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะเป็นต้นไม้ที่มีชีวิต  แต่ว่าอาจจะอ่อนแอต่อโรคหรือแมลงที่เป็นเหมือนกันทั้งหมด  และเมื่อเกิดการระบาดจากโรค และแมลงดังกล่าว ต้นไม้ทั้งพันต้นที่เราพยายาม clone มาขึ้นมันก็ไม่มีเหลือเลย  ที่เขาพยายามทำคือ สร้างความหลากหลายให้กลับมาในประชากรของต้นไม้ชนิดนี้ใหม่อยู่ครับ
สมหมาย approve [ 23 ม.ค. 2553 03:34:04 ]
ความคิดเห็นที่: 7
เห็นด้วยครับว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเทคนิคพื้นฐาน  แต่พืชบางกลุ่มไม่ว่าจะใช้ส่วนไหน หรือสูตรอาหารอะไร ก็อยู่นิ่งอยู่อย่างนั้น ไม่ยอมขยับเขยื้อนเลย คุณ callus ไม่เคยประสบปัญหานี้เหรอครับ

เรื่องต้นบาสตาร์ดนี้ทำให้ผมฉุกคิดถึงกระดังงาสงขลาขึ้นมาครับ เพราะร้อยละ 95 มาจากการตอนหรือปักชำ จึงไม่เคยเห็นเค้าติดผลเลยครับ คงมีกลไกป้องกัน self-fertilization เช่นเดียวกัน  แต่เร็วๆ นี้ ผมเห็นกระดังงาสงขลาที่มีเพียงหกกลีบ คาดว่าน่าจะมีพันธุกรรมที่ต่างจากต้นกลีบเยอะ  และล่าสุดพบว่ามีการติดผลแล้วครับระหว่างหกกลีบกับกลีบเยอะ กำลังลุ้นไม่ให้ผลร่วงก่อนแก่ครับ
OAT approve [ 23 ม.ค. 2553 04:21:20 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกแล้ว
ต้ล [ 23 ม.ค. 2553 12:57:34 ]
ความคิดเห็นที่: 9
แล้ว ถ้าเรา clone เพื่อให้เกิดต้นใหม่ก่อน แล้วให้มันผสมเกสรอีกทีล่ะ เผื่อมันฉลาดไม่พอที่จะป้องกันการผสมกับตัวเองเมื่อไปโผล่เป็นต้นอื่นที่แยกไปอยู่ต่างที่กันก่อน(ให้มันลืมกัน) แต่ ถ้าเดี้ยงตั้ง แต่ไม่ยอมให้ clone ก็มึนครับ
knotsnake approve [ 23 ม.ค. 2553 14:29:10 ]
ความคิดเห็นที่: 10
อืมๆ  ทุกความคิดเห็นประเด็นให้คบคิดนะเนี่ย..  เจ้าต้นนี้ก็ประหลาดได้ใจจริงๆ
callus approve [ 24 ม.ค. 2553 09:18:33 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ไม่แน่ใจว่า ในทางพืช มีการพัฒนาเกี่ยวกับ
in Vitro Fertilisation ไปถึงไหนแล้วนะครับ
Paphmania approve [ 24 ม.ค. 2553 23:42:10 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org