กระทู้-13730 : ช่วย ID หอยตัวนี้ให้หน่อยครับ

Home » Board » หอย

ช่วย ID หอยตัวนี้ให้หน่อยครับ

หอยตัวนี้เจอที่เขื่อนริมแม่น้ำปัตตานี ครับ  (น้ำจืด)
...แก้ไขเมื่อ 01 ก.พ. 2553 18:42:53
ypun approve [ 01 ก.พ. 2553 14:25:50 ]
Mollusc__reply_152177.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
อีกตัวครับ เจออยู่บริเวณเดียวกัน
ypun approve [ 01 ก.พ. 2553 14:36:13 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ทั้งสองตัวเป็นวงศ์หอยน้ำพริกครับ (Family Neritidae - Freshwater Species)

ตัวเปิดกระทู้ Septaria lineata (Lamarck, J.B.P.A. de, 1816)  Lined Limpet-like Nerite; Lined Septaria มีฝาปิดซ่อนอยู่ในเนื้อครับ ผมเรียกหอยเล็บนางเพราะดูคล้ายเล็บสาวๆ สวยๆ  ครับ  ถ้าล้างผิวชั้นนอกออกน่าจะมีลายเป็นเส้นเป็นแถบสีตามแนวยาวครับ หอยพันธุ์นี้ชอบเกาะติดอยู่ใต้ใบไม้ ท่อนไม้ กาบมะพร้าวที่ลอยน้ำเอื่ยๆ อยู่ตามแนวต่อระหว่างทางน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลครับ โดยจะเกาะอยู่ใต้ผิวน้ำ(คือแช่อยู่ในน้ำ)ตลอดชีวิตครับ
...แก้ไขเมื่อ 02 ก.พ. 2553 01:49:35
จอม approve [ 02 ก.พ. 2553 01:43:33 ]
Mollusc__reply_152212.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
ตัวความเห็นที่ 1 คือ Neritina cornucopia Benson 1836 หรือ Black-Mouth Nerite ครับ ขอบปากด้านดูดเกาะจะเป็นสีเทาเข้มจนมักออกดำเสมอ

เป็นหอยน้ำพริกที่ชอบเกาะอยู่ตามรากไม้ในป่าโกงกางโดยเกาะพ้นขึ้นมาจากผิวน้ำครับ

ภาพจาก http://wildshores.blogspot.com/2009/06/exploring-pandan-mangroves.html
...แก้ไขเมื่อ 02 ก.พ. 2553 01:53:10
จอม approve [ 02 ก.พ. 2553 01:52:52 ]
Mollusc__reply_152213.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
จะดูคล้ายอีกชนิดคือ ....

Neripteron violaceus (Gmelin, J.F., 1791)  หรือ Violet Nerite เป็นหอยน้ำพริกที่ชอบเกาะอยู่ตามรากไม้ในป่าโกงกางโดยเกาะพ้นขึ้นมาจากผิวน้ำเช่นกันครับ และมักพบปะปนกันทั้งสองชนิด้วยครับ มีขอบปากสีสีส้มจัดครับ ชื่อวิทย์ก็มีที่มาจากผิวเปลือกที่ ถ้าล้างผิวชั้นนอก(periostracum)ออกก็จะมีสีม่วงเข้มอ่อนสลับลายกันครับ ฃื่ออังกฤษสามัญอีกชื่อก็คือ Red-Mouth Nerite ครับ โดยเรียกตามลักษณะของปากที่มีสีส้มสดเอามากๆ ครับ!

ภาพจาก http://wildshores.blogspot.com/2009/06/exploring-pandan-mangroves.html
...แก้ไขเมื่อ 02 ก.พ. 2553 01:56:48
จอม approve [ 02 ก.พ. 2553 01:54:52 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ขอบคุณครับ คุณจอม
ypun approve [ 02 ก.พ. 2553 06:09:12 ]
ความคิดเห็นที่: 6
: ypun
ขอบคุณครับ คุณจอม


ยินดีครับ ยังไงสืบค้นต่อในลิงค์ที่ผมให้ด้วยนะครับ ยังอาจคลาดเคลื่อนได้เพราะผมเองก็ถนัดแค่บางกลุ่มครับ :-)
จอม approve [ 02 ก.พ. 2553 09:53:01 ]
ความคิดเห็นที่: 7
หอยกลุ่มนี้จัดเป็นหอยฝาเดียว แบบหอยโข่ง(เป็นเกลียว)ไหมครับ?  หรือว่าใกล้กับพวกหอยสองฝามากกว่า?
นณณ์ approve [ 02 ก.พ. 2553 10:17:16 ]
ความคิดเห็นที่: 8
: นณณ์
หอยกลุ่มนี้จัดเป็นหอยฝาเดียว แบบหอยโข่ง(เป็นเกลียว)ไหมครับ?  หรือว่าใกล้กับพวกหอยสองฝามากกว่า?


หอยฝาเดี่ยว (Gastropods) ครับนณณ์
จอม approve [ 02 ก.พ. 2553 10:23:37 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ไม่ใช่หอยน้ำจืด  แต่ที่พบปากแม่น้ำปัตตานีอาจเพราะน้ำยังมีความเค็มอยุ่ในระดับของน้ำกร่อย ใช่รึเปล่าครับ
mussel approve [ 02 ก.พ. 2553 17:29:01 ]
ความคิดเห็นที่: 10
: mussel
ไม่ใช่หอยน้ำจืด   แต่ที่พบปากแม่น้ำปัตตานีอาจเพราะน้ำยังมีความเค็มอยุ่ในระดับของน้ำกร่อย ใช่รึเปล่าครับ


น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะที่ๆ เป็นต้นน้ำเลยไม่เคยเจอครับ หอยน้ำพริกเกือบจะทุกชนิดมีการวางไข่สืบพันธุ์ที่มีความสัมพันธุ์กับน้ำกร่อยหรือน้ำทะเลชายฝั่งมากๆ ครับ(คล้ายปลาแซลมอน  แต่กลับวงจรกัน คือหอยมาวางไข่ใกล้ทะเล แล้วโตย้อนกลับไปหากินบนต้นน้ำใกล้ๆ กัน) แม้ แต่ชนิดที่อยู่หินน้ำไหล ก็ไม่ไกลริมฝั่งไปมากครับ
จอม approve [ 02 ก.พ. 2553 18:14:15 ]
ความคิดเห็นที่: 11
: จอม
: mussel
ไม่ใช่หอยน้ำจืด    แต่ที่พบปากแม่น้ำปัตตานีอาจเพราะน้ำยังมีความเค็มอยุ่ในระดับของน้ำกร่อย ใช่รึเปล่าครับ

น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะที่ๆ  เป็นต้นน้ำเลยไม่เคยเจอครับ หอยน้ำพริกเกือบจะทุกชนิดมีการวางไข่สืบพันธุ์ที่มีความสัมพันธุ์กับน้ำกร่อยหรือน้ำทะเลชายฝั่งมากๆ  ครับ(คล้ายปลาแซลมอน   แต่กลับวงจรกัน คือหอยมาวางไข่ใกล้ทะเล แล้วโตย้อนกลับไปหากินบนต้นน้ำใกล้ๆ  กัน) แม้  แต่ชนิดที่อยู่หินน้ำไหล ก็ไม่ไกลริมฝั่งไปมากครับ


 ถ้าจะเปรียบเทียบวงจรชีวิต ก็น่าจะประมาณกุ้งก้ามกราม เป็นกุ้งที่จัดเป็นกุ้งน้ำจืด  แต่วงจรชีวิตต้องเกี่ยวข้องกับน้ำกร่อยความเค็มค่อนข้างสูงด้วย

จขกท. ได้บอกแล้วว่าได้บริเวณไหน แล้วหอยน้ำพริกบางชนิดสามารถอยู่น้ำจืดสนิทได้(ยังไม่นับช่วงสืบพันธุ์ เพราะยังไม่เคยตาม) ที่ระนองพบได้ในลำธารป่าต้นน้ำที่ second  และ third order ไม่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลเลยในทุกระดับชั้นน้ำส่วนที่พบหอย ที่น่าสนใจคือ พบเหนือฝายทดน้ำไปอีก แสดงถึงการอพยพของมันน่ามีตำนานไม่น้อย

ที่ภูเก็ต ก็พบในส่วนของน้ำจืดสนิทเช่นกัน  แต่ระยะทางจากเขตมีความเค็มไม่ไกลนัก
knotsnake approve [ 04 ก.พ. 2553 11:57:37 ]
ความคิดเห็นที่: 12
หอยลุ Neritina pulligera ที่เจอตามน้ำตกตามที่ได้เจอที่ภูเก็ต และพังงาวางไข่บนก้อนหินน้ำตกครับ












ไข่สีขาวแปะหินอยู่นั่นแหละครับ ไข่ของหอยชนิดนี้
...แก้ไขเมื่อ 04 ก.พ. 2553 12:56:48
นกกินเปี้ยว approve [ 04 ก.พ. 2553 12:50:36 ]
ความคิดเห็นที่: 13
: knotsnake
: จอม
: mussel
ไม่ใช่หอยน้ำจืด     แต่ที่พบปากแม่น้ำปัตตานีอาจเพราะน้ำยังมีความเค็มอยุ่ในระดับของน้ำกร่อย ใช่รึเปล่าครับ

น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะที่ๆ   เป็นต้นน้ำเลยไม่เคยเจอครับ หอยน้ำพริกเกือบจะทุกชนิดมีการวางไข่สืบพันธุ์ที่มีความสัมพันธุ์กับน้ำกร่อยหรือน้ำทะเลชายฝั่งมากๆ   ครับ(คล้ายปลาแซลมอน    แต่กลับวงจรกัน คือหอยมาวางไข่ใกล้ทะเล แล้วโตย้อนกลับไปหากินบนต้นน้ำใกล้ๆ   กัน) แม้   แต่ชนิดที่อยู่หินน้ำไหล ก็ไม่ไกลริมฝั่งไปมากครับ

  ถ้าจะเปรียบเทียบวงจรชีวิต ก็น่าจะประมาณกุ้งก้ามกราม เป็นกุ้งที่จัดเป็นกุ้งน้ำจืด   แต่วงจรชีวิตต้องเกี่ยวข้องกับน้ำกร่อยความเค็มค่อนข้างสูงด้วย

จขกท. ได้บอกแล้วว่าได้บริเวณไหน แล้วหอยน้ำพริกบางชนิดสามารถอยู่น้ำจืดสนิทได้(ยังไม่นับช่วงสืบพันธุ์ เพราะยังไม่เคยตาม) ที่ระนองพบได้ในลำธารป่าต้นน้ำที่ second   และ third order ไม่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลเลยในทุกระดับชั้นน้ำส่วนที่พบหอย ที่น่าสนใจคือ พบเหนือฝายทดน้ำไปอีก แสดงถึงการอพยพของมันน่ามีตำนานไม่น้อย

ที่ภูเก็ต ก็พบในส่วนของน้ำจืดสนิทเช่นกัน   แต่ระยะทางจากเขตมีความเค็มไม่ไกลนัก


อื้ม.... น่าสนใจครับพี่ :-)
จอม approve [ 05 ก.พ. 2553 09:20:45 ]
ความคิดเห็นที่: 14
เคยพบหอยลุ Neritina pulligera เหมือนกันค่ะ  แต่เป็นที่เกาะกูด จังหวัดตราด พบอาศัยอยู่บริเวณน้ำตกค่ะ
เหน่ง [ 09 ก.พ. 2553 15:57:11 ]
Bangon.neang@gmail.com

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org