กระทู้-07379 : เอกสาร: ผลกระทบของฝายต้นน้ำต่อระบบนิเวศลำธาร

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

เอกสาร: ผลกระทบของฝายต้นน้ำต่อระบบนิเวศลำธาร

http://www.siamensis.org/files/checkdam_stream.pdf

เขียนขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้เกรดงั้นๆ   (ข้อหาใช้ภาษาชาวบ้านไปหน่อย)  แต่คิดว่าคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ใครมีเพื่อนทำงานอยู่ในหน่วยงานที่กำลังระดมสร้างฝายสร้างภาพ โดยไม่เข้าใจธรรมชาติ รบกวนส่งต่อให้เค้าอ่านจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ
นณณ์ approve [ 23 ก.ค. 2551 12:40:23 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ขอบคุณครับ
aqueous_andaman approve [ 23 มี.ค. 2550 13:37:46 ]
ความคิดเห็นที่: 2
เออ ภาพวาดท้ายๆ บทความ ฝีมือผมเอง  ถ้าใครเก่งเรื่องกราฟฟิกจะอนุเคราะห์ทำให้มันสวยกว่านั้นได้ ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงเช่นกันครับ
นณณ์ approve [ 23 มี.ค. 2550 13:45:55 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ดีมากครับ เรื่องฝายเก็บน้ำนี่ผมเห็นว่าส่งผลต่อสัตว์น้ำจริงๆ   และส่วนมากเป็นพันธ์ุเฉพาะท้องถิ่น เพราะฝายกันน้ำก็มักทำกันตามท้องถิ่น โดยเฉพาะประโยชน์ในเรื่องของการกักเก็บน้ำ ซึ่ง มีส่วนตัดตอนการแพร่ขยายพันธุ์ และการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลัก

นอกจากนั้นยังพบเห็นการสร้างฝายที่ทำเพื่อหาผลประโยชน์ทางอื่นๆ  จากฝาย แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์นี่มากมาย อย่างที่ควรจะเป็น เพราะขาดการเข้าใจในการออกแบบ และการศึกษา บางครั้งก็มักมองไม่เห็นว่าในน้ำนั้นมีอะไรอาศัยอยู่ด้วย เป็นเรื่องน่าเศร้าอยู่มากครับ
วันสุข [ 23 มี.ค. 2550 13:59:10 ]
ความคิดเห็นที่: 4
อืม.. น้ำไหลแบบที่เสนอไว้จริงหรือเปล่าทั่น  แต่ว่าไปแล้วก็ดีกว่ากั้นทื่อๆ นั่นแหละ
knotsnake approve [ 23 มี.ค. 2550 14:57:17 ]
ความคิดเห็นที่: 5
โดยทฤษฏี กลศาสตร์ของไหล (ที่ผมเปิดหนังสืออ่านได้ ๓ หน้าแล้วเกิดอาการหน้ามืดเป็นลม) น่าจะไหลได้ครับ ( ถ้ามีความเร็วมามากพอ) อย่างที่พี่ว่า ยังไงก็ดีกว่าเป็นกำแพงทื้อๆ แน่ ตอนนี้เริ่มเสียใจที่ตอนมัธยมไม่ตั้งใจเรียนเลข อ่านเล่มนั้นแล้วคิดถึงพี่ natee จะช่วงส่องแสงสว่างลงมาให้เราได้บ้างไหมน้า....แหะ แหะ
นณณ์ approve [ 23 มี.ค. 2550 15:02:50 ]
ความคิดเห็นที่: 6
สิ่งที่จะช่วยบังคับให้น้ำจากล่างขึ้นบนได้มากขึ้นก็โดยการบีบทางน้ำให้แคบลงด้วยครับ ผลคือความเร็วของกระแสน้ำด้านล่างแรงขึ้นมากพอที่จะเอาชนะความแรงของกระแสน้ำด้านบน  ถ้าให้แรงขึ้นควรใช้เป็นร่องตัว V ด้วยครับ หากทำลาดขึ้นำไปทื่อๆ เลยก็ต้องใช้ slope น้อยๆ เป็นระยะทางไกลออกไปกว่าเดิม  แต่จะใช้กี่องศาถึงเหมาะสมก็ไม่รู้เหมือนกัน  แต่ ถ้ามากเกินไปก็กระทบต่อพื้นผิวเดิมมากขึ้นน่ะ

ถ้าอยากรู้ว่าจะทำรูปแบบไหนดีก็ลองทำทางน้ำจำลองแล้ววางฝายแบบต่างๆ ดูสิครับ(ใช้ดินน้ำมันก็ได้) น้ำที่ใช้ก็ต้องมีตะกอน เพื่อจะได้รู้พฤติกรรมการไหลของน้ำ ตลอดจนแนวโน้มการสะสมของตะกอนด้วย
knotsnake approve [ 23 มี.ค. 2550 15:19:46 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ที่พี่แนะนำนี่ก็คิดจะทำครับ  แต่เกินกำลัง ทำขนาดนั้นนี่เป็น thesis จบ Ph.D. ได้เลยนะพี่ (ซึ่ง จริงๆ ก็น่าคิดอยู่นะ)
นณณ์ approve [ 23 มี.ค. 2550 15:21:12 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ต้องให้น้อง ...man มาเรียนวิศวชลประทาน แล้วมาออกแบบฝายที่กระทบ สวล.น้อยที่สุด อิ อิ
knotsnake approve [ 23 มี.ค. 2550 16:18:17 ]
ความคิดเห็นที่: 9
กลศาสตร์ของไหล (Fluid dynamics) เวลาผมอ่านดูก็หน้ามืดเหมือนกันครับคุณนณณ์

ใครอยากเรียนต่อทางนี้ มีทุนเรียนเยอะนะครับ โดยเฉพาะ Computational Fluid Dynamics

เอาความรู้มาออกแบบฝายที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยๆ  ได้ละ เด็ดเลย
natee approve [ 23 มี.ค. 2550 16:55:39 ]
ความคิดเห็นที่: 10
เหอ เหอ พี่นทียังแย่ แล้วผมจะเหลือเร๊อะ....
นณณ์ approve [ 23 มี.ค. 2550 20:31:36 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ชลประทาน ป.ตรีที่จุฬาฯ ไม่มีครับ วันจันทร์หน้าจะเลือกแผนกแล้วคงเป็นสิ่งแวดล้อมแล้วจะมาช่วยทำวิจัยครับ

ฟลูอิด ไดนามิกส์ อ่านรู้เรื่องหรือครับ พวกปี3-4อ่านกันสลบแล้วสลบอีกนะครับ เหอ เหอ   อ้อส่วนมากนี่เรื่องนี้ต้องใช้ความรู้พวก เครื่องกล+โยธาเป็นหลักน่ะครับ
...man approve [ 23 มี.ค. 2550 21:12:59 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ทำภาพมาให้ครับ

vanot [ 24 มี.ค. 2550 21:51:51 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ไมภาพไม่ขึ้นอ่า

[img][/img]
vanot [ 24 มี.ค. 2550 21:52:51 ]
ความคิดเห็นที่: 14
http://img339.imageshack.us/img339/8506/pic01rr9.th.jpg
vanot [ 24 มี.ค. 2550 21:53:37 ]
ความคิดเห็นที่: 15
นณณ์ approve [ 24 มี.ค. 2550 22:05:42 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ขอบคุณครับ ดูดีขึ้นตั้งเยอะ
นณณ์ approve [ 24 มี.ค. 2550 22:06:04 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ภาพแรก

http://img339.imageshack.us/my.php?image=pic01rr9.jpg


ภาพสอง

http://img133.imageshack.us/my.php?image=pic02bh2.jpg

ภาพสาม

http://img54.imageshack.us/my.php?image=pic03ld1.jpg

ลองดูนะครับ
vanot [ 24 มี.ค. 2550 22:07:40 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ลืมถามไปว่า คุณนณณ์ต้องการคำตอบเรื่องลักษณะการไหลของน้ำ ผ่านฝายแบบที่มีลักษณะ"ลาดเอียง"ทั้งสองด้านอยู่หรือเปล่าครับ
(ในเอกสารใช้ว่า"ลาดชัน" เข้าใจว่าคงเหมือนกัน)
หรือว่าการที่สรุปได้ตามข้อ ๔.๒ นั้นเพราะมีคนทำการศึกษาไว้แล้ว

ที่จริงผมออกจะเห็นด้วยกับข้อเสนอที่ ๑ มากที่สุด เพราะคิดว่าการสร้างฝายเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

ที่สก็อตแลนด์ ( และอีกหลายๆ  แห่ง) มีการรักษาลำน้ำบางสายไว้ โดยไม่ให้มีการสร้างฝายหรือเขื่อนเลย เนื่องจากเป็นลำน้ำที่ปลาแซลมอนขึ้นมาวางไข่ (เรียกกันทั่วๆ  ไปว่า salmon river) สายอื่นๆ  ที่ไม่สมบูรณ์มากนัก หรือระบบเสียไปแล้วก็ให้สร้างฝาย หรือสูบน้ำเอามาทำวิสกี้ได้ (ซี้ด น้ำลายไหล)
natee approve [ 24 มี.ค. 2550 23:41:36 ]
ความคิดเห็นที่: 19
พี่นที

ที่สรุปไว้ใน 4.2 ผมนั่งนึกเอาเองก่อนว่าควรจะเป็นแบบนั้น แล้วผมก็ไปสอบถามจากเพื่อนที่ค่อนข้างเก่งทางด้าน fluid mechanic โดยการวาดรูปแล้วถามกันปากเปล่า ยังไม่มีสมการพิสูจน์ เนื่องจากอ่อนคณิตศาสตร์อย่างหาที่เปรียบมิได้  ถ้าพี่หาได้จะเป็นพระคุณครับ
นณณ์ approve [ 24 มี.ค. 2550 23:45:40 ]
ความคิดเห็นที่: 20
น้อง ....man จะเลือกวิดวะ สิ่งแวดล้อมเหรอจ้ะ
สู้ๆ  นะ  

เรื่องนี้น่าสนใจมากเลยนะคะ
อืม... เปลี่ยนเรื่องเลยก็น่าจะดีนะคะคุณนณณ์
ยายอ้วน approve [ 25 มี.ค. 2550 01:20:38 ]
ความคิดเห็นที่: 21
คุณนณณ์ครับ ผมยังหา flow simulation สำหรับงานนี้ไม่เจอ เคยเห็นประมาณว่าใช้โปรแกรม matlab หรือ maple ลองถามเพื่อนๆ  ไปแล้ว แต่ช่วงนี้ปิด Easter คงมัว แต่นั่งกินนอนกินอยู่บ้าน เลยยังไม่มีใครตอบมา

 ถ้าว่างลองไปดู River Analysis Package (RAP) อันนี้ดูนะครับ ใช้ยากหน่อย  แต่ไม่ใช่งานทาง โยธาอย่างเดียว มันใช้ได้ถึง biological resource management ด้วยครับ

http://www.toolkit.net.au/cgi-bin/WebObjects/toolkit.woa/wa/productDetails?productID=1000002
natee approve [ 25 มี.ค. 2550 11:40:26 ]
ความคิดเห็นที่: 22
น่าสนใจมากครับ ตอนนี้หน่วยงานต่างๆ เข้าใจผิดกำลังเร่งสร้างกันใหญ่
Alakazum approve [ 27 มี.ค. 2550 22:07:16 ]
ความคิดเห็นที่: 23
 ถ้าไม่รีบสร้างเดี๋ยวจะอ้วนไม่ทันหน่ะสิครับพ้ม
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 28 มี.ค. 2550 09:23:14 ]
ความคิดเห็นที่: 24
วันนี้พอจะมีเวลา ขอลองเล่าให้ดร.นณณ์ฟังคร่าวๆ  ก่อนนะครับ

จะจำลอง river flow นี่เราเริ่มต้นที่ Navier-Stokes equations ก็แล้วกันนะครับ

Navier-Stokes equations นี่เป็น system of nonlinear partial differential equation หรือ ภาษาไทยว่า "ระบบสมการเชิงอนุพันธ์ย่อยไม่เชิงเส้น" - แปลภาษาไทยเป็นภาษาคนอีกหน่อยคือ

ระบบสมการ - คือสมการเป็นชุด  ถ้าจะแก้สมการเป็นชุดก็ต้องหาคำตอบที่ทำให้สมการทุกสมการเป็นจริง

อนุพันธ์ (derivatives)  - คืออัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อตัวแปรต้นมีค่าเปลี่ยนไปเป็นจำนวนน้อยๆ  การหา derivatives เรียกว่า differentiate หรือที่เรียกกันว่า "ดิฟ" นั่นแล

สมการเชิงอนุพันธ์ - คือสมการที่ไม่ได้มี แต่ตัวแปรธรรมดา  แต่ดันมีตัวแปรที่อยู่ในรูปของอนุพันธ์ด้วย เช่นการแก้สมการ y' + y = x ก็แปลว่าเราจะต้องหา y ที่พอหาอนุพันธ์แล้วหนึ่งครั้ง บวกกับตัวมันเองแล้วได้ x ออกมา ซึ่ง แน่นอนว่าหน้าตาของ y ก็จะออกมาเป็นฟังก์ชันของ x แทนที่จะเป็นค่าหรือตัวแปรธรรมดา

อนุพันธ์ย่อย - คืออนุพันธ์ที่หาเทียบกับตัวแปรเพียงตัวเดียว จากสมการที่มีตัวแปรหลายตัว

สมการไม่เชิงเส้น - คือการที่สมการมีกำลังมากกว่าหนึ่งขึ้นไป

Navier-Stokes equations ใช้จำลองการไหล (หรือการเคลื่อนที่หรือพลวัตร = dynamics) ของของที่ไหลได้ทั้งหลาย ทั้งที่อัดแน่นได้ (compressible, e.g. gases)  และอัดแน่นไม่ได้ (incompressible, e.g. liquid)

คำตอบของ Navier-Stokes equations เนี่ยมันเป็น exact solution ได้ก็ต่อเมื่อ การไหลไม่ซับซ้อนมากเกินไป เช่น การไหลที่ความเร็วน้อยๆ  หรือของเหลวมีความหนืดสูง เพราะมันแก้สมการยาก  ถ้ามี turbulent ด้วยแล้วโดยมากการจำลองมักจะใช้เครื่องมือทาง numerical methods เพราะการคำนวณเลขทศนิยมนี่คอมพิวเตอร์มันทำได้เร็วพอ จึงพอจะจำลองการไหลได้

ส่วนเรื่อง sediment นี่ผมเองก็ไม่แน่ใจ อาจใช้ Navier-Stokes ไม่ได้ อาจต้องไปใช้ finite element method แทน

ว่าจะลองหา fluid dynamic simulation program ให้  แต่ยังหาที่ถูกใจ (ฟรี) ไม่ได้ สองอันข้างล่างนี้ดูไม่ยาก ลองให้เพื่อนๆ  คุณนณณ์ลองเล่นน่าจะพอไหวครับ

http://www.viziflow.com/examples.htm
http://www.raczynski.com/pn/fluids.htm
natee approve [ 29 มี.ค. 2550 23:17:38 ]
ความคิดเห็นที่: 25
ขอบคุณพี่นทีที่สละเวลาสีสอให้ผมฟัง.....จะพยายามไปทำความเข้าใจ  แต่มันยากมากเลยก๊าบบบบบบบบ

พี่อย่าเพิ่งเรียกเป็น ดร.สิครับ เพิ่งเรียนได้ ๒ เทอม มันเป็นลางๆๆๆๆๆๆๆๆ
นณณ์ approve [ 30 มี.ค. 2550 10:55:31 ]
ความคิดเห็นที่: 26
ท่าทางจะได้ด็อกฯ วิศวะอีกใบแหงม
knotsnake approve [ 31 มี.ค. 2550 20:05:13 ]
ความคิดเห็นที่: 27
พิพิธภัณฑ์ปลากัด บ้านสวนบางกระเจ้า
ขอเรียนเชิญเป็นคณะกรรม และที่ปรึกษาโครงการ

ติดต่อคุณรัชนี / คุณประภาศรี 02-8150149,02-8151484
พิพิธภัณฑ์ปลากัด บ้านสวนบางกระเจ้า [ 07 พ.ค. 2550 08:11:48 ]
wayoyo7@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 28
อยากรู้จัง
พี่นณณ์เรียนสาขาอะไรเอ่ย ที่ไหน เอกหรือโท จ๊ะ
จะได้แวะเวียนไปหา :-)
จุมปุ๊ก [ 08 พ.ค. 2550 09:30:40 ]
FishesPics_reply_27237.jpg
ความคิดเห็นที่: 29
ไม่รู้ว่าจะได้ผลอะไรหรือไม่นะครับ จะช่วยบอกให้ แต่ผมเองเป็นพนักงานเล็กๆ ในที่ทำงาน เท่านั้นเองครับ ไว้มีเวลาจะทำรูปที่เหลือให้นะครับ
JJ approve [ 10 พ.ค. 2550 09:20:43 ]
FishesPics_reply_27251.jpg
ความคิดเห็นที่: 30
ตอนบ่ายจะมาทำอีกรูปให้นะครับ ขอทำงานก่อน
JJ approve [ 10 พ.ค. 2550 10:20:01 ]
FishesPics_reply_27255.jpg
ความคิดเห็นที่: 31
สุดท้ายครับ
JJ approve [ 10 พ.ค. 2550 11:09:32 ]
ความคิดเห็นที่: 32
I am a Ph.D scholar doing my research in Channa species, i am searching for the details of Channa limbata, i would be grateful if you can some details of the above said species.

Thanking You

Allen
Allen [ 16 พ.ค. 2550 11:00:06 ]
stanisallen@gmail.com
ความคิดเห็นที่: 33
็Hello Allen,

Please email more detail to my email address at npanitvong@gmail.com.  

Nonn Panitvong
นณณ์ approve [ 16 พ.ค. 2550 12:18:16 ]
ความคิดเห็นที่: 34
ผมเป็นสมาชิกใหม่เอี่ยมอ่องเพิ่งสมัครเมื่อวานนี้เอง เคยเปิดเวปนี้อยู่ไม่กี่ครั้ง พอมาเปิดเจอเรื่องฝายซึ่ง ข้อมูลเป็นประโยชน์ถูกใจมากๆ  เลยสมัครสมาชิกเลย

ได้รับผลกระทบโดยตรงกับการสร้างฝาย โดยข้างบ้านผมมีลำห้วยไหลผ่าน เมื่อก่อนเคยใช้น้ำจากลำห้วยนี้ประจำ พอมีการสร้างฝาย ลำห้วยก็ตื้นเขิน ใช้น้ำไม่ได้ ปลาที่เคยอาศัยอยู่ก็ไม่มีเลยหายไปกันหมดแม้กระทั่งตะพาบน้ำ ก่อนจะสร้างฝายชุกชุมมาก พอมีฝายหายไปหมดเลย แถมลำห้วยตื้นขึ้นทำให้ต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามริมลำห้วยตายหมดเลย กลายเป็นพื้นที่ฉ่ำน้ำไป ปลูกพืชไม่ได้เลย
เสือข้างลาย approve [ 10 ก.ค. 2550 16:54:32 ]
ความคิดเห็นที่: 35
ข้อมูลน่าสนใจมากเลยครับคุณเสือข้างลาย พอจะบอกได้ไหมครับว่าบ้านอยู่แถวไหน เผื่อจะตามไปดูพื้นที่จริงบ้าง
นณณ์ approve [ 11 ก.ค. 2550 08:38:32 ]
ความคิดเห็นที่: 36
ผมอยู่แถวๆ ยู่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ฝายที่สร้างเป็นแบบตั้งฉาก สร้างมาหลายปีแล้ว เดือดร้อนกันหลายปีเช่นเดียวกัน  วันหลังจะถ่ายรูปมาให้ดูด้วยครับ
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 2550 09:44:36
เสือข้างลาย approve [ 11 ก.ค. 2550 09:43:39 ]
ความคิดเห็นที่: 37
สู้ๆ นะพี่นณณ์ เอาใจช่วยอยู่ค่ะ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ  เนอะ
เทอม 2 แล้วเหมือนกันค่ะ
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 2550 14:35:29
kanok approve [ 11 ก.ค. 2550 14:34:04 ]
FishesPics_reply_34906.jpg
ความคิดเห็นที่: 38
ถ่ายหลังจากมีการขุดลอกได้ประมาณเดือนนึงได้ เลยไม่มีภาพตะกอนทรายเต็มฝาย คนขึ้นไปเดินได้เลย
เสือข้างลาย approve [ 12 ก.ค. 2550 08:40:17 ]
FishesPics_reply_34907.jpg
ความคิดเห็นที่: 39
ก่อนจะสร้างฝาย คนสามารถเดินลอดใต้สะพานได้ พอมีฝายตะกอนทรายก็ไหลมาเต็มจนล้นข้ามถนน ซึ่ง เป็นแบบนี้ทุกๆ ปี จึงต้องมีงบประมาณมาขุดลอกทุกปีเช่นกัน
เสือข้างลาย approve [ 12 ก.ค. 2550 08:44:35 ]
FishesPics_reply_34908.jpg
ความคิดเห็นที่: 40
หลังขุดลอกได้ไม่นาน เมื่อมีฝนตกทรายก็ไหลมาเช่นเคย  ทำให้ชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์จากฝายนี้เลย
เสือข้างลาย approve [ 12 ก.ค. 2550 08:46:56 ]
ความคิดเห็นที่: 41
ทรายที่ว่านี่คืออยู่หลังฝายใช่ไหมครับ?  

ภาพชุดนี้ผมขออนุญาตเซฟเก็บไว้ใช้ในโอกาศที่เหมาะสมต่อไปนะครับ
นณณ์ approve [ 12 ก.ค. 2550 09:54:10 ]
ความคิดเห็นที่: 42
ตามรูปเป็นด้านหลังฝายครับ  ถ้าคุณนณณ์อยากได้รูปอะไรเพิ่มเติมยินดีหามาให้เลยคับ
เสือข้างลาย approve [ 12 ก.ค. 2550 11:17:53 ]
ความคิดเห็นที่: 43
รูปลำธารก่อนที่จะสร้างฝายมีไหมครับ?
นณณ์ approve [ 12 ก.ค. 2550 11:25:23 ]
ความคิดเห็นที่: 44
ฝายนี้สร้างมาหลายปีแล้วคับ ก่อนสร้างฝายไม่ได้ถ่ายรูปเก็บไว้  แต่พอมีรูปลำธารที่ใกล้เคียงกัน จะส่งให้ทีหลังนะครับ
เสือข้างลาย approve [ 12 ก.ค. 2550 11:54:47 ]
ความคิดเห็นที่: 45
ผมเข้าใจว่า การสร้างฝาย ไม่ได้ทำให้ปริมาณหลังฝายลดลง ใช่ไหมคับ
เพราะพอฝายเต็ม น้ำที่ไหลก็จะไหลออกตามอัตราการไหลที่ไหลมาก่อนถึงฝาย
เว้น แต่ จะมีคนสูบน้ำจากฝายไปใช้มาก ทำให้น้ำเหลือไหลออกจากฝายลดลง

สงสัยอย่างนึงว่า ทำไม หลังฝาย ถึงเต็มไปด้วยทราย คือผมคิดว่า ทรายน่าจะถูกดักไว้หน้าฝายมากกว่า หรือว่า หน้าฝายก็ เต็มไปด้วยทรายจนล้นออกมาครับ
GreenEyes approve [ 12 ก.ค. 2550 13:09:06 ]
ความคิดเห็นที่: 46
ผมว่าน่าจะมีการตกลงว่าจะให้ด้านไหนเป็นหน้าฝายหรือหลังฝายก่อนนะ เหมือนผมคุยกับชาวประมงว่าทำหน้าเกาะหรือหลังเกาะนั่นแหละ

จากรูป..หลังฝายนั้น หมายถึงด้านที่มีทิศทางไปยังต้นน้ำ ซึ่ง น้ำที่ไหลมาจะพัดพาตะกอนมาสะสมอยู่ที่หลังฝาย เพราะก่อนน้ำจะล้นฝาย กระแสน้ำจะมีความเร็วลดลงจนความเร็วสัมพัทธ์เป็น 0 ผลของการชะลอความเร็วก็ทำให้ตะกอนเริ่มแพ้แรงโน้มถ่วงโลก แล้วค่อยๆ ไปนอนแด่วๆ อยู่ที่พื้นท้องลำธาร ในกรณีที่เป็นตะกอนทรายก็จะสะสมเกือบทั้งหมดที่หลังฝาย จากเมื่อก่อนได้เฉลี่ยเกลี่ยๆ ไปตลอดลำธารแล้วไปสะสมมากอีกทีที่ปากทางออกของลำธารที่จะลงสู่คลองใหญ่ แม่น้ำ หรือทะเล ที่ไม่เป็นพื้นที่ลาดชันมาก คราวนี้ พอมีฝายก็ต้องมาหางบฯ ในการขุดลอกอีก เห็นประโยชน์แอบแฝงของฝายกันหรือยังครับทีนี้
knotsnake approve [ 12 ก.ค. 2550 18:22:06 ]
ความคิดเห็นที่: 47
ฝายน่ะมีได้  แต่ควรเป็นฝายเล็กๆ ให้เจ้าถิ่น(สัตว์ พืช ตะกอน  และน้ำ)เดินทางได้ แม้จะมีจำนวนฝายมากขึ้นก็ตาม
knotsnake approve [ 12 ก.ค. 2550 18:23:38 ]
ความคิดเห็นที่: 48
เมื่อก่อนเคยไปบ้านเพื่อนที่ จ.มุกดาหาร ลงคลองงมหอยกาบตัวใหญ่ๆ มาทำกับข้าวกิน หอยกาบที่นั่นตัวใหญ่จริงๆ เท่ากับฝ่ามือผู้ใหญ่ทีเดียว หอยชนิดนี้จะอยู่ในธารน้ำไหลอย่างเดียว ไม่อยู่น้ำนิ่ง  พอมีการสร้างฝายขึ้นมาระบบนิเวศน์เปลี่ยนไปหอยกาบที่พูดถึงหายากมากๆๆ  ไม่รู้สูญพันธุ์ไปหมดรึยัง เป็นที่น่าเสียดายมากๆๆ
เสือข้างลาย approve [ 13 ก.ค. 2550 08:18:16 ]
ความคิดเห็นที่: 49
อืม อ.สมศักดิ์ บอกว่าหอยมุกน้ำจืดในแหล่งน้ำธรรมชาติเมืองกาญจน์ก็หายๆ ไปแล้ว เพราะการสร้างเขื่อน ซึ่ง ควบคุมการไหลของน้ำ ทำให้ผิดรูปแบบของธรรมชาติ เดี๋ยวนี้เลยเหลือ แต่ที่เพาะเลี้ยงแล้วมั้ง
นกกินเปี้ยว approve [ 13 ก.ค. 2550 09:08:25 ]
FishesPics_reply_35642.jpg
ความคิดเห็นที่: 50
แถมภาพฝายก่อนขุดลอกให้อีกรูปครับ เผื่อมีประโยชน์
เสือข้างลาย approve [ 17 ก.ค. 2550 08:53:34 ]
ความคิดเห็นที่: 51
แจ่มชัดเลยครับ
นณณ์ approve [ 18 ก.ค. 2550 01:47:43 ]
ความคิดเห็นที่: 52
อะไรก็ตามที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์  อย่างไรก็กระทบต่อธรรมชาติทั้งนั้นแหละ ในโฆษณาของปตท. มันตอแหล สร้างภาพ  ว่าสร้างฝาย  ปลูกป่า แล้วป่าจะฟื้นคืน  ทั้งที่จริงป่าหากถูกทำลายไปแล้ว  มันก็ไม่สามารถหวนคืนได้อีก เสียแล้วเสียเลย    สร้างฝายปลูกป่า อาจจะช่วยให้มนุษย์ได้รับประโยชน์เพียงแค่ระยะสั้นๆ   แต่ในระยะยาว มีปัญหา  เนื่องจากแท้จริงแล้วการแก้ไขปัญหาโดยวิธีข้างต้น เป็นการแก้ไขแบบ  ไม่เข้าใจธรรมชาติ   และฝืนกติกาธรรมชาติ  ซึ่ง ท้ายที่สุดมันจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์เอง  การสร้างฝายเป็นการดักตะกอนอย่างมาก ซึ่ง น่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่ง  และป่าชายเลน เนื่องจาก เดิมเคยพบ pollen ของพืชชายเลน ที่จังหวัดนครสวรรค์  ซึ่ง สันนิษฐานว่าที่ลุ่มภาคกลางเคยมีป่าชายเลน  แล้วเกิดการสะสมตะกอนพอกออกไปเรื่อยๆ   เป็นการเกิด succession ซึ่ง จากการทับถมของตะกอน ป่าชายเลน จะเขยิบไปเรื่อยๆ  เป็นป่าเดินได้    และที่เดิมที่มีตะกอนทับถมมากขึ้นก็กลายเป็นป่าบกในที่สุด  ซึ่ง สมมติฐานดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือ จากหลักฐานที่มีอยู่ที่ได้กล่าวไปแล้ว  ซึ่ง แม้ว่าเขื่อนหรือฝายจะมีประโยชน์กับมนุษย์มากน้อยเพียงใด  แต่ในที่สุด เรื่องดังกล่าวเป็นการขัดขวางวงจรธรรมชาติ  ซึ่ง เป็นอนิจจัง การอนุรักษ์ที่ถูกต้องมิใช่การทำให้ธรรมชาติคงเดิม   แต่จริงๆ คือ การปล่อยให้ธรรมชาติเปลี่ยนไปตามวิถีที่ควรจะเป็นของมันเอง โดยมีคนรบกวนระบบให้น้อยที่สุด  มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา  การขุดบ่อสร้างฝาย  แม้ว่าในระยะแรกจะดูเหมือนดี  เหมือนจะชุ่มชื้น แต่นานๆ ไป เราจะรู้ว่า ต่อให้เราขุดบ่อกว้างแค่ไหน  ไม่ได้ทำให้พื้นดินชื้นขึ้นเลย ซ้ำยัง ดึงเอาระบบน้ำใต้ดิน มาอยู่ในบริเวณใด บริเวณหนึ่ง ซึ่ง อาจจะส่งผลต่อ อีกที่หนึ่งๆ    และที่สำคัญ กระบวนการสะสมตะกอนจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง อีกไม่กี่ปี เขื่อนหลายๆ แห่ง ฝายหลายๆ แห่ง จะเต็มไปด้วยตะกอน   อีกทั้งปัจจุบัน การปล่อยปลาต่างถิ่นเพื่อให้ชาวบ้านมีอาชีพ ซึ่ง จะนำปสู่การสูญพันธุ์ของปลาพื้นเมือง  อย่างมาก อีกทั้งยังทำลายวงจรของปลา  เป็นการกีดกั้นการผสมพันธุ์  ทั้งปลา รวมไปถึงพืชที่มีการกระจายพันธุตาม ลำธาร หรือ ลำคลอง  ซึ่ง จะเป็นสาเหตุหลักที่เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างมาก    ซึ่ง ปัจจุบัน ภาครัฐ จะเห่อตามกระแส   และเน้นเชิงปริมาณ จนน่าตกใจ สร้างฝาย ปลูกป่าโดยไร้วิจารณญาน  ซึ่ง ไม่ได้ห้ามว่าทำไม่ได้   แต่หลายๆ ที่ไม่ควรทำ   เช่นพื้นที่ภาคใต้ ซึ่ง มีฝนชุกอยู่แล้ว  การปลูกป่าเองก็เถอะ  เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะทางกรมป่าไม้ก็ยังคงปลูกพันธุ์ไม้ต่างถิ่น   และทำลายป่าเดิมเพื่อปลูกป่าใหม่  เพราะหาพื้นที่ปลูกไม่ได้   ซึ่ง อย่าลืมว่าต้นกล้ามาจากไหน  และวัสดุมาจากที่ใด ลต้นทุนล้วน แต่ผลาญทรัพยากรธรรมชาติ   ดูเหมือนจะดีในเชิงสถิติ  กลับกันทุกวันนี้ ปีหนึ่งๆ มีป่าธรรมชาติ นับแสนไร่ ถูกทำลาย  ต่อให้คุณมาปลูกป่า มากกว่าที่ถูกทำลายไป มันก็ไร้ค่า เพราะสิ่งที่คุณปลูกมันไม่ใช่ป่า   แต่เป็นสวน   และยังไม่ได้มีคุณค่าอะไรเลยนอกจากร่มเงา ออกซิเจน  ซึ่ง  ถ้าอย่างนั้นก็ส่งเสริมให้ทำเกษตรกรรมเสีย ก็ไม่แตกต่างกัน    และตอนนี้ปรากฏว่าพวกมอดไม้ก็ได้ใจ เพราะเหตุว่า  ป่าปลูกได้ ฉะนั้น ฉันก็ทำลายปก่อน เดี๋ยวก็มีคนมาปลูกเพิ่มให้เอง  ซึ่ง ทำให้คนเข้าใจผิด แทนที่คนที่มีความรู้  จะบอกว่าป่าเมื่อถูกทำลายแล้ว  มันจะไม่มีวันย้อนกลับเป็นแบบเดิม หรือดีเหมือนเดิม   แต่มันจะเสียแล้วเสียเลย  มากกว่า    และทุกวันนี้ปัญหาต่างๆ  ที่คนไทยช่วยกันผลาญทรัพยากรธรรมชาติ ตั้ง แต่ในชีววิตประจำวัน  อาชีพต่างๆ  เช่น ล่าสัตว์ ตัดไม้ ขายของป่า ซึ่ง เป็นอาชีพหลักของคนไทยไปแล้ว เพราะคนไทยไม่มีความรู้ สิ่งที่ทำได้คือ ผลาญทรัพยากรให้หมดไปวันๆ  สงสัยมันคงจะมีมากเกินไป   มีคนเคยบอกว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก  แต่น่าเสียดายที่มีคนไทยอยู่   อีกไม่กี่ปี คนไทยก็คงจะผลาญสมบัติต่างๆ  เหล่านี้ให้หายไป จนหมด
ต๋อง [ 18 ส.ค. 2550 00:34:01 ]
ความคิดเห็นที่: 53
บริเวณนี้มันติดทะเลย่อมีทรายจากต้นน้ำมากอยู่แล้วครับพอเจอฝายทำให้ความเร็วของน้ำลดลงตะกอนทรายเลยทับถมได้มากขึ้นหละครับเหมือนตามปากแม่น้ำไงครับ ที่ใดที่ความเร็วลดลงจะมีตะกอนเกิดขึ้นครับผลกระทบของฝายย่อยน้อยนิดครับ  เมื่อเทียบกับเขื่อน ที่กั้นแม่น้ำสายหลักๆ   เช่นการระเบิดแก่งหินของจีนเพื่อให้เรือสินค้าล่องถึงไทยไปถึงเขมร แบบง่ายๆ เลยปลาบึกหายไปเลย จริงแล้วผมว่ามีปลาวิ่งผ่านไปมาครับ แต่ปริมาณน้ำในโขงสูงมากกว่าเดิมเป็นหลายเท่า สุดความสามารถของมองที่จะไหลไปพันปลาบึกได้  ก็ดีปลาบึกได้ไม่หมดจากโขง  แต่ที่น่ากลัวคือ ถ้าคนไทยบ้าตามจีนระเบิดแก่งด้วยเป็นเรื่องแน่ๆ  อีกอย่างคือการสร้างเขือนกั้นโขงไม่รู้ว่าไปถึงไหนกันแล้ว  ใครพอทราบบ้างครับ
Fisher approve [ 21 ส.ค. 2550 09:17:40 ]
ความคิดเห็นที่: 54
ฝายย่อยๆ ก็กระทบมากครับ  แต่จัดการให้กระทบน้อยได้ง่ายกว่า
knotsnake approve [ 21 ส.ค. 2550 11:11:50 ]
ความคิดเห็นที่: 55
คือต้องการนำข้อมูลไปโพสต์ลงที่อื่นได้ไหมครับคือน่าสนใจมากเลยน่ะครับ
แต่จะใส่เครดิตไว้ให้น่ะครับ
chakkit [ 26 ก.ย. 2550 22:43:05 ]
ความคิดเห็นที่: 56
ต้องถามว่า  อยากได้น้ำที่มีใช้ทั้งปี หรือน้ำแห้งละ บ้านผมไม่ได้สูบน้ำจากแม่น้ำใช้นิ

แต่ ถ้าบ้านผมอยู่บนดอยหล่ะ  ผมจะเอาน้ำไหนใช้ตอนหน้าแร้ง  วัว ความผมละ  มนไม่ต้องกิน

น้ำเหรอ  ห้วยบ้านผมไม่ได้น้ำเต็มตลอดทั้งปีนิ    


จริงอยู่ มันกระทบต่อสัตว์น้ำ  จริงอยู่มันผิดธรรมชาติ   แต่คุณจะให้ผมเอาน้ำจากที่ไหนใช้

ให้ผมสร้างแทงค์ เก็บไว้เหรอ    ถ้าผมมีตังอย่างนั้น  ผมคงย้ายบ้านไปอยู่ในเมือง  เปิดร้าน

ขายหมี่เกี๊ยวในเมืองไม่ดีกว่าเหรอ  

ผมคิดว่า การสร้างฝายนั้น มีทั้งผู้ทีรู้ และไม่รู้  บ้างก็รู้ไม่จริง  ถามชาวบ้านในพื้นที่ก็น้อยคนนัก

ที่จะรู้ว่าสร้างไปเพื่ออะไร รู้ แต่ว่ามีน้ำไว้ใช้ก็พอ บ้างก็สร้างเพื่อให้มันพัง  ถ้าพัง ปีหน้าจะได้งบ

สร้างใหม่  บ้างก็พังเพราะไม่รู้  

ผมคิดว่า ฝาย คงเหมาะสำหรับ แต่ละพื้นที่   แต่ละความต้องการมากกว่า   ถ้าที่ไหนไม่ต้องการ

ก้ไม่ต้องไปสร้างให้มันเหนื่อยเลย  เอาไปสร้างในที่ที่เค้าต้องการจริงๆ ดีกว่า  

มันต้องหาจุดที่รับได้ทั้งสองฝ่าย
ฮาเอง [ 26 ก.ย. 2550 23:05:06 ]
Ae_ae_oz@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 57
ตามสบายเลยครับคุณ chakkit ขอเพียงชื่อคนเขียน และลิงค์กลับมาก็พอครับ

ถูกต้องที่สุดเลยครับคุณ ฮาเอง  และผมก็ได้เขียนไว้ในบทความว่าในกรณีของห้วยที่แล้งไปหมดในหน้าแล้ง มันเป็นห้วยที่ระบบนิเวศไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก  ถ้าอยากจะสร้างฝายเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช่ก็ยอมรับได้ในระดับหนึ่ง เพียง แต่ต้องดูว่าในหน้าที่มีน้ำนั้นมีการใช่ประโยชน์ของสัตว์น้ำมากน้อยเพียงใด อาจจะมีการออกแบบให้ไม่กีดขวางการอพยพของสัตว์น้ำมากนัก หรือทำเป็นฝายกึ่งถาวรคือรื้อออกได้ในหน้าน้ำ และพอใกล้หน้าแล้งก็ทำการติดตั้งเพื่อกันน้ำไว้ใช่ สิ่งทุกอย่างมีข้อดี/เสีย  แต่เราต้องชั่งใจใช่มันโดยไม่เห็นแก่ตัวจนเกินไปครับ
นณณ์ approve [ 27 ก.ย. 2550 01:01:42 ]
ความคิดเห็นที่: 58
มาเห็นด้วยกับคุณฮาเองครับ
knotsnake approve [ 27 ก.ย. 2550 15:20:50 ]
ความคิดเห็นที่: 59
อีกหลายความเห็นเรื่องฝายที่สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นไว้แล้ว

http://www.siamensis.org/board/7935.html
นกกินเปี้ยว approve [ 27 ก.ย. 2550 16:11:50 ]
ความคิดเห็นที่: 60
เขาไม่ได้คัดค้านห้ามสร้างฝาย   แต่บอกข้อเท็จจริงว่ามันมีผลเสียอย่างไร  และควรมีวิธีการหลีกเลี่ยงอย่างไรเพื่อลดผลกระทบมากกว่า   และเราต้องยอมรับว่าการสร้างฝาย เป็นเรื่องการใช้ประโยชน์  ควรทำในที่พื้นที่ที่ควรทำ มีความจำเป็นจิงๆ เช่น ภาคเหนือ ที่ไม่มีน้ำตลอดปี   แต่ ฝายควรเป็นฝายแบบชั่วคราว ใช้ไม้สร้างดีกว่าฝายปูน  หน้าแล้งจริงๆ ก็ไม่มีน้ำ เพราะน้ำซึมลงดินไปหมด
ต๋อง [ 29 ก.ย. 2550 15:04:22 ]
possto@chaiyo.com
Nature__reply_88601.jpg
ความคิดเห็นที่: 61
ตัวอย่างฝายที่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 14 ส.ค. 2551 11:21:32 ]
Nature__reply_88602.jpg
ความคิดเห็นที่: 62
ทำไปทำไม พท. ต้นน้ำในเขตฯ  แท้ๆ ถ่ายช่วงหน้าฝนสิงหาคม ณ จังหวัดจันทบุรี
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 14 ส.ค. 2551 11:23:41 ]
ความคิดเห็นที่: 63
กราบเรียนพ่อแม่พี่น้อง ท่านใด หากไปเที่ยว ไปทำงาน ผ่านประสพพบฝายดี/ฝายเลว หรือดีปนเลว  ถ้าไม่ลืมกรุณาถ่ายรูปแล้วเอามาแปะให้เห็นกันด้วยเถิด


ไม่ต้องภาพใหญ่นะครับ ขอขนาดกำลังพอดีๆ  เพราะผู้เกี่ยวข้องจะได้ไม่ต้องเปิดกระทู้นาน
ขอบคุณครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 14 ส.ค. 2551 11:26:04 ]
Nature__reply_88611.jpg
ความคิดเห็นที่: 64
ไว้หาเรื่องไปถ่ายซ่อม
knotsnake approve [ 14 ส.ค. 2551 12:12:59 ]
ความคิดเห็นที่: 65
62 เห็นแล้วอนาถนัก
นณณ์ approve [ 15 ส.ค. 2551 00:20:42 ]
ความคิดเห็นที่: 66
"ฝายที่ดี ต้องเป็นฝายที่ไม่ดีจนเกินไป"

แต่วิศวกรชลประทานคนไหนจะออกแบบฝายให้ได้ลักษณะดังกล่าวหนอ เพราะต่างมองในมุมของวิศวะ คือ ต้องมีความมั่นคง แข็งแรง ( และสวยงาม)
knotsnake approve [ 15 ส.ค. 2551 08:57:26 ]
ความคิดเห็นที่: 67
รวมกระทู้ฝาย
ฝายแบบเข้าใจชีวิต "ของพี่ยุ่น" เป็นฝายแบบแข็งแรงถาวร แต่มีการแก้ไขให้เหมาะสม
http://www.siamensis.org/board/9989.html
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 15 ส.ค. 2551 09:09:18 ]
ความคิดเห็นที่: 68
แบบนี้เขาเรียกว่าฝาย หรือ สนามเพาะ, บังเกอร์



ทำไมต้องอ้างท่านด้วย นำกระแสพระราชดำรัสมาตีความแบบผิดๆ  หรือไม่

ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 15 ส.ค. 2551 09:16:08 ]
ความคิดเห็นที่: 69
นี่ไงฝายจากอินทนนท์



 แต่ก่อนปลาค้างคาวคงว่ายไปมาสะดวก เดี๋ยวนี้ถึงหย่อนเชือกให้ก็ไม่รู้จะปีนขึ้นไปยังไง

ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 15 ส.ค. 2551 09:19:43 ]
ความคิดเห็นที่: 70
กระทู้ชวนคุยเรื่องฝาย

http://www.siamensis.org/board/7764.html
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 15 ส.ค. 2551 09:21:56 ]
ความคิดเห็นที่: 71
คลองสะตอจังหวัดตราด
จากกระทู้ http://www.siamensis.org/board/9650.html

แบบนี้เค้าเรียกว่าฝาย หรือเรียกว่าเขื่อนดิน

ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 15 ส.ค. 2551 09:28:40 ]
ความคิดเห็นที่: 72


พวกเราไม่ได้ทำเพื่อความสะใจส่วนตัว  แต่อยากชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ ไม่ได้ต่อต้านแบบหัวชนฝา เราต่อต้านเฉพาะฝายที่เลว

1. สำรวจพื้นที่ก่อนทำฝาย
2. เลือกชนิดฝายที่จะทำ ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศ พื้นที่
3. สร้างเสร็จแล้วติดตาม หาจุดบกพร่อง แก้ไข
4. ส่งเสริมปลูกป่า รักษาพื้นที่ต้นน้ำ


ผมขอสี่ข้อหลักนี้ครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 15 ส.ค. 2551 09:32:42 ]
ความคิดเห็นที่: 73
กราบ เรียนพ่อแม่พี่น้อง ท่านใด หากไปเที่ยว ไปทำงาน ผ่านประสพพบฝายดี/ฝายเลว หรือดีปนเลว   ถ้าไม่ลืมกรุณาถ่ายรูปแล้วเอามาแปะให้เห็นกันด้วยเถิด


ไม่ต้องภาพใหญ่นะครับ ขอขนาดกำลังพอดีๆ   เพราะผู้เกี่ยวข้องจะได้ไม่ต้องเปิดกระทู้นาน
ขอบคุณครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 15 ส.ค. 2551 09:36:24 ]
ความคิดเห็นที่: 74
อ่างเก็บน้ำ + ฝาย + เขื่อน อะไรที่คนทำหรือคนดูแยกจนไม่ออก

น้ำตกเขายายดาเมื่อหน้าฝน สค. ปี 2551
จากกระทู้ http://www.siamensis.org/board/10476.html



ขอไว้อาลัยกับธรรมชาติที่ถูกกระทำย่ำยี
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 23 ส.ค. 2551 21:38:33 ]
Nature__reply_89779.jpg
ความคิดเห็นที่: 75
ขอเสริมคุณไอ้ลูกทุงอีก 2 ข้อครับ  สำหรับพื้นที่ป่าในภาคเหนือตอนบน การสร้างฝายชะลอน้ำแบบผสมผสานที่ต้นน้ำลำธารเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ ป่า-น้ำ  ซึ่ง ฝายประเภทนี้สร้างโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยไม่ต้องซื้อหา  สร้างที่ลำธารสาขาขนาดเล็กที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่ง เป็นลำธารที่ไม่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี จะมีน้ำในช่วงเวลาสั้นๆ  ช่วงฝนตกเท่านั้น มีสภาพป่าเป็นป่าเสื่อมโทรม

หากการสร้างฝายที่ต้นน้ำลำธาร เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้ป่าที่หมดสภาพ หรือระบบนิเวศของ ป่า-น้ำ ที่ล่มสลายให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนสำหรับคนในชุมชนจริง ซึ่ง สร้างฝายในต้นน้ำลำธารสาขาที่เป็นลำธารแห้งเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผืนป่าต้อง
5. ชุมชนต้องเป็นเจ้าของ  ให้มีโอกาศลองผิด-ลองถูก โดยชุมชนเป็นผู้มีบทบาทตั้ง แต่การคิด ทำ บริหารจัดการ การเก็บข้อมูล  ไม่ใช้ใครมาจากไหนไม่รู้มาสร้างให้เขา โดยเขาไม่รู้ไม่เข้าใจถึงประโยชน์ ปัญหา การจัดการในอนาคต ที่จะเกิดขึ้น  และข้อมูลทั้งหมดต้องคืนกลับให้คนทุกคนในชุมชนทราบเพื่อเกิดความเข้าใจ เพื่อที่จะร่วมกันจัดการป่า-น้ำในบ้านของตนเองต่อไป
6. จากประสพการณ์  สร้างฝายแล้วไม่ใช่ว่าป่าจะฟื้นขึ้นมาทันที  หากใครว่าเช่นนั้นผมว่าโม้ครับ ป่าใช้เวลา 3 - 5 ปี ลูกไม้ ถึงเริ่มฟื้นตัวกลับคืนมาอย่างช้าๆ   แต่ก็ไม่ดีเหมือนเดิม ต้องใช้เวลาเป็น 100 ปี กว่าจะใกล้เคียงกับเดิม  ดังนั้นต้องทำกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งควบคู่ไปด้วยคือการ  ป้องกันไฟป่า  ตั้ง แต่การจัดทำแนวกันไฟป่า การดับควบคุมไฟป่า
พอเป็นเช่นนี้หากคนในชุมชนไม่เข้าใจถึงประโยชน์จาก ป่า-น้ำ ของตนเองแล้วก็ไม่มีใครสนใจไปจัดการดูแล ปล่อยให้ไฟไหมทุกๆ  ปี เหมือนป่าสงวนแห่งชาติ และป่าอื่นๆ  ที่คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ  ถึงมีหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงก็ไม่สามารถไปดูแลได้  เพราะภาระล้นมืออยู่แล้ว  จะไปจ้างชาวบ้านดูแลก็ไม่มีงบประมาณ  ถึงมีก็ไม่มีเงินจ้าง จะเอางบจากไหนให้ชุมชนดูแลป่าได้ทั้งประเทศได้  ในป่าธรรมชาติในภาคเหนือตอนบนไฟป่ารุนแรงมาก และความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้นทุกปี ไหม้ทำลายป่า ทำให้ป่าเสื่อมลงทุกปีๆ  เกือบทุกพื้นที่แม้ แต่ป่าดิบแล้งใน พท. อช.
ดังนั้นต้องทำใหความคิดของคนในชุมชนเกิดการตกผลึก เข้าใจ มีความเป็นเจ้าของให้ได้เสียก่อน  แล้วจึงค่อยไปสร้างฝาย จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาอย่างยืนได้   แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ และไม่สามารถทำได้ทุกบ้าน และใช้เวลานานมาก
จะเห็นว่าการเริ่มต้นต้องเริ่มการสร้างคนเสียก่อน  ก่อนที่จะไปสร้างฝาย  แล้วจึงจะเกิดความยั่งยืนได้
 แต่ป่าทุกวันนี้อัตราส่วนของการทำลายป่าสูงกว่าการรักษาหลายเท่าครับ  ไม่รู้จะรักษาป่าไว้ได้หรือเปล่า

ในภาพให้ดูกระบวนสร้างคนในชุมชนหนึ่งที่สร้างฝายชะลอน้ำ  เพื่อให้เกิดองค์รวมไม่มองแบบแยกส่วนหรือมิติ  คือความสัมพันธุ์ของ คน-ดิน-ป่า-น้ำ ครับ  
ว่างๆ  จะมาแลกเปลี่ยนใหม่ครับ
กางเขนดง_ปูนลำปาง approve [ 24 ส.ค. 2551 22:31:19 ]
Nature__reply_89782.jpg
ความคิดเห็นที่: 76
ให้ดูภาพประกอบครับ
กางเขนดง_ปูนลำปาง approve [ 24 ส.ค. 2551 22:35:56 ]
ความคิดเห็นที่: 77
#75 แสดงว่าตอนนี้เกิดโจทย์ข้อสำคัญ และยิ่งใหญ่กว่าก่อนสร้างฝายฯ  คือทำอย่างไรไม่ให้คน องค์การ ต่างๆ ไม่หลงทาง(ซึ่ง หลงไปเกือบหมดแล้ว)ไปมากกว่านี้ แล้วกลับมาแก้ไข ไม่ใช่หลงทางแล้วยังตะแบงว่าใช่ ถูก ควร ซึ่ง โจทย์ข้อนี้ทางฝ่ายของคุณกางเขนดงฯ คงต้องเป็นฝ่ายหลักเช่นเดิม เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าผลที่เกิดในปัจจุบันในภาพรวมเกิดจากการเหนี่ยวนำ แล้วตีโจทย์ในสารที่สื่อตอนนั้นผิด สำหรับทางผมก็พยายมแทรกซึมไปเรื่อยๆ   แต่ติดปัญหาที่ว่าฝายฯ ส่วนใหญ่เกิดจากการสั่งการจากผู้มีอำนาจ(ที่เข้าใจสารที่สื่อผิดไป)สั่งการแบบไม่ให้แย้ง ซึ่ง ส่วนหนึ่งก็ปรากฎในสื่อที่คุณกางเขนดงฯ ได้นำมาให้ดูในวันนั้นด้วย(แล้วดันเป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับน้ำอีกต่างหาก) หากเป็นไปได้ ทางฝ่ายคุณกางเขนดงฯ อาจต้องทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูงของประเทศ จังหวัด  และท้องถิ่นเพื่อให้เข้าใจเรื่องฝายฯ ตามที่เราเข้าใจตรงกันแล้ว อย่ามองว่าเป็นการโยนให้ดำเนินการเลยนะขอรับ  แต่ผมคิดว่าความเข้าใจผิดดังกล่าวเกิดจากสารเหล่านั้น ดังนั้นเลยอยากให้เจ้าของสารนั้นเป็นฝ่ายทำความเข้าใจกับผู้รับสารเองจะเหมาะกว่าครับ
knotsnake approve [ 25 ส.ค. 2551 08:52:24 ]
ความคิดเห็นที่: 78
http://www.siamensis.org/board/10596.html

ฝายจากสุโขทัย
นณณ์ approve [ 11 ก.ย. 2551 00:22:04 ]
ความคิดเห็นที่: 79
http://www.dnp.go.th/checkdam_site/page1.htm

ของกรมป่าไม้
นณณ์ approve [ 11 ก.ย. 2551 11:39:21 ]
ความคิดเห็นที่: 80
ดูของกรมป่าไม้เขาก็แบ่งเป็นประเภทอย่างชัดเจนนะครับ
EAK1980 approve [ 02 ต.ค. 2551 16:26:56 ]
EAK_BC_1980@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 81
ฝายหรือเขื่อนก็ไม่รู้ในรูปของความคิดเห็นที่ 74 มันก็เกินไปจริงๆ  นะครับ .... ขอบคุณ คุณ กางเขนดง-ปูนลำปาง ที่แสดงความคิดเห็นในอีกแง่มุมหนึ่งได้ทราบ
ฝนแรก approve [ 09 ต.ค. 2551 15:53:51 ]
ความคิดเห็นที่: 82
1.ขอตั้งกระทู้ถามว่าอะไรคือป่าเสื่อมโทรม อะไรคือป่าสมบูรณ์
2.ป่าเสื่อมโทรมเกิดจากอะไร แล้วสิ่งที่เรียกว่าฟื้นฟูคืออะไร
3. การปลูกป่าสร้างฝายคือการฟื้นฟูธรรมชาติ หรือที่เรียกว่ารักษาระบบนิเวศคืออะไร แล้วอนุรักษ์ธรรมชาติคืออะไรครับ ขอให้อธิบายให้ชัด
4. สิ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์คือธรรมชาติหรือไม่
5.จริงหรือไม่ที่สร้างฝายแล้วมีน้ำมากขึ้น
6.การดักเก็บตะกอนจำนวนมากที่มีการสร้างกันทั่วประเทศแปดหมื่นพันฝาย สร้างผลกระทบในแง่บวก  และลบอย่างไร
7.ระบบนิเวศทะเลทราย หรือป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้นที่แล้งร้าย ที่เรียกว่าป่าเสื่อมโทรม   ถ้าคุณสามารถทำให้มันกลายเป็นป่าดิบชื้นได้ คุณจะมีความภูมิใจว่าสร้างป่าขึ้นมาได้ใช่หรือไม่
8. พื้นที่ดำเนินการหากอยู่ในเขตที่ใช้ประโยชน์ หากสร้างฝายอย่างเหมาะสมย่อมมีประโยชน์  แต่หากสร้างผิดที่ย่อมเกิดผลเสีย   และผลเสียที่ว่าไม่ใช่ระยะสั้นๆ   แต่เป็นระยะยาว ป่าที่มีพลวัตรกลับถูกผนึกให้คงที่  และเดินถอยหลัง  เป็นแนวคิดที่สวนทางกับวิวัฒนาการตามธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง   ก็เลยมีคนสงสัย  ถ้าเช่นนั้นคนก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ    ถ้าคิดอย่างนั้น คงไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ไม่ใช่ธรรมชาติ เพราะทุกอย่างคือธรรมชาติไปเสียหมด แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลายอย่างเกิดโดยมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นก็ตาม
9. น่าเสียดายจริงๆ ว่าคน ว่าคนเรามองในมุมด้านเดียวคือด้านที่สว่าง  แต่ไม่เคยมองด้านมืด ที่เป็นความจริง อาจจะเป็นเพราะว่า เป็นความจริงที่ไม่น่าฟังนักก็ตาม ก็คือ ชมชอบคำเยินยอมากกว่า การติ
อยากเข้าใจธรรมชาติ [ 17 ต.ค. 2551 21:18:43 ]
ความคิดเห็นที่: 83
ฝายที่มีน้ำ นั่นหมายถึงฝายนั้นมีน้ำไหลตลอดปี  หรือมีน้ำใต้ดินมาก ต่อให้ไม่มีฝายก็มีน้ำ  แต่อาจจะไม่สะดวกในการใช้ ดังนั้น การขุดบ่อ หรือ ทำฝายกักน้ำไว้ใช้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในแถบนั้นๆ   รวมถึงค่อนข้างเห็นผลเป็นรูปธรรม ในแง่ที่มีสัตว์ป่า พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากินน้ำ ซึ่ง อาจจะทำให้คนเราเข้าใจว่าความอุดมสมบูรณ์ฟื้นกลับมาก    แต่สิ่งที่เห็นกับความจริง คือเปรียบเทียบระหว่าง สร้าง และไม่สร้าง  การเปรียบเทียบนั้นผิด  คือ ตัวแปรที่ใช้ในการเปรียบเทียบควรจะเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้สร้างฝายเปรียบเทียบกับพื้นที่สร้างฝาย โดยที่ทั้งสองพื้นที่มีความเหมือนกัน ณ วันที่เริ่มสร้างฝาย  ส่วนตัวเปรียบเทียบ ไม่ใช่เปรียบเทียบก่อน และหลังสร้างฝาย   แต่ควรเปรียบเทียบในกลุ่มพื้นที่ที่ปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่สร้าง เทียบกับพื้นที่ที่มีการสร้างฝายในระยะเวลาเท่ากัน  ก็จะเห็นผลว่า แตกต่างกันอย่างไร

การสร้างฝายเป็นเรื่องของความพอใจของมนุษย์ ที่ต้องการให้เป็นไป คือมีน้ำ มีต้นไม้   แต่เป็นคนละเรื่องการการทำให้ป่ามีความชุ่มชื้น  หรืออุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ  

เมื่อมีสร้างก็ต้องดูที่มาของการสร้างด้วย ล้วนมาจากการสูญเสียทั้งนั้น  เพราะวัสดุที่ใช้ล้วนได้มาจากธรรมชาติทั้งสิ้น   ไม้ หิน ดิน ทราย แร่  ฯ ลฯ    เป็นสิ่งที่เราเสกขึ้นมาไม่ได้   ปตท. ปูนซีเมนต์ ลูกโลกสีเขียว  จะให้รางวัลแด่ ผู้รักธรรมชาติใช่หรือไม่  ก็ส่งเสริมให้สร้างฝายปูนกันเยอะนะจ๊ะ เพราะป่าเขาหินปูนยังมีให้ทำลายอีกมากโข ชาตินี้ทั้งชาติก็อาจจะระเบิดกันไม่หมดไม่สิ้น  ดินทราย วัสดุธรรมชาติก็มีมาก สูบขึ้นมาใช้ อีกสิบชาติก็ไม่หมด   ทำเข้าไปเถิดพี่น้อง  ป่าจะได้ฟื้นคืน  เอามือมาปิดตาข้างหนึ่งไว้  เวลาผ่านพื้นที่สัมปทาน โรงโม่หิน เหมืองต่างๆ  ก็คิดในแง่ดีว่าเขาเอามาให้เราสร้างฝายกันนะ  ต้นไม้บนเขาหินก็แคระเก็น ไม่ต้องไปสนใจ เพราะบวกลบคูณหารแล้ว อีกอย่างพื้นที่ดังกล่าวก็ให้พวกนั้นสัมปทานไปแล้ว  เอามาฟื้นฟูป่าต้นน้ำบ้านเราดีกว่า  ส่วนสัมปทานตัดไม้ ก็ไปเอาที่พม่า เพราะบ้านเราไม่ตัดไม้  (ไม่ต้องสนใจคนอื่น  ขอให้บ้านเรามีป่าก็พอ) (ประชดหน่ะ)

แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่ไม่มีน้ำต่อให้สร้างฝายมันก็ไม่มีน้ำ ไม่เชื่อลองไปดูฝายร้างที่เกาะพงัน ในยามหน้าแล้ง
ฝายร้าง [ 17 ต.ค. 2551 22:07:41 ]
ความคิดเห็นที่: 84
1. อาจารย์ผมสอนว่าจะดูว่าอะไรพังไม่พังโดยเฉพาะระบบนิเวศให้ดูสองจุดคือที่ โครงสร้าง (structure)  และ การทำงานของมัน (function) แล้วเราก็จะแบ่งมันเป็น 4 ระดับ
1.   สมบูรณ์ที่สุด ก็คือทั้ง โครงสร้าง และการทำงานของมันสมบูรณ์แบบ
2.   ต้องเริ่มระวัง คือ โครงสร้างเริ่มเปลี่ยน แต่การทำงานยังทำไปได้ ถึงตรงนี้ ถ้าเรากลับมาดูแลไม่ทำให้โครงสร้างมันเปลี่ยนไปมากกว่านี้ มันก็อาจจะกลับไปสมบูรณ์ดังเดิมได้
3.   เริ่มพังแล้ว คือ โครงสร้างดูภายนอกเหมือนไม่เปลี่ยน  แต่การทำงานชักจะเพี้ยน ซึ่ง เราจะต้องให้ความสนใจอย่างมาก เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่
4.   พังแล้ว คือทั้งโครงสร้าง และการทำงานเปลี่ยนไป เมื่อระบบนิเวศเดินมาถึงจุดนี้แล้ว  ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างตั้งใจจากมนุษย์ ก็จะไม่สามารถกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้อีก

ทีนี้จะย้อนกลับมาดูว่าอะไรพัง หรืออะไรเสื่อมโทรมเราก็ต้องย้อนกลับมาดูที่ โครงสร้าง  และ การทำงานของมัน โครงสร้างของป่ามีหลายลักษณะ ในหนังสือ “ป่าของประเทศไทย” โดย อ.ธวัชชัย สันติสุข (บริจาคให้ผมโดยสมาชิกถาวร บอกแล้วเห็นไหมว่าจะได้ใช้ประโยชน์) ระบุว่าป่าในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ  คือป่าไม่ผลัดใบ ซึ่ง ถูกแบ่งออกเป็น 14 ประเภท เช่น ป่าดิบชื้น ป่าไม้สนเขา  และ ป่าชายหาด  และอีกประเภทคือป่าผลัดใบ ซึ่ง แบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย  ถ้าเราอยากรู้ว่าโครงสร้างของป่ามันเสื่อมโทรมหรือไม่ ก็ต้องไปเปิดตำราว่านิยามของป่าเหล่านี้เป็นอย่างไร โครงสร้างของพืช ของสังคมสัตว์เป็นอย่างไร เราก็จะทราบได้ว่าโครงสร้างของมันเปลี่ยนไปหรือไม่

ในส่วนของ “การทำงาน” หรือการใช้ประโยชน์คงต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ตามมุมมองของมนุษย์ (เนื่องจากผู้เขียนเป็นมนุษย์) คือ
1.   การใช้ทางตรง คือการเข้าไปหาเก็บของป่า หาอาหาร หาสมุนไพร ดื่มน้ำ ล่าสัตว์ ถามว่าระบบนั้นๆ สามารถที่จะให้บริการมนุษย์ในส่วนนั้นได้หรือไม่ ได้ดีแค่ไหนเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต?
2.   การใช้ทางอ้อม คือการใช้ป่าโดยปล่อยให้ป่าทำหน้าที่ของป่า เช่นเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตออกซิเจน เป็นฟองน้ำซึมซับน้ำฝนในยามฝนตกหนัก

การจะดูว่าป่าเสื่อมโทรมหรือไม่ก็คือการดูใน 2 ส่วนนี้ว่าโครงสร้างมันยังเป็นอย่างที่มันจะควรเป็นหรือไม่  และมันยังทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มที่หรือไม่

ตอบคำถามว่าอะไรคือป่าเสื่อมโทรม ป่าเสื่อมโทรมเอาให้เต็มที่เลยก็คือเข้าข้อ 3-4 ด้านบน คือมันเสื่อมโทรมเมื่อการทำงานของมันเปลี่ยนไป ถึงจุดๆ ที่มันไม่สามารถที่จะกลับไปเป็นป่าที่สมบูรณ์ได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมนุษย์  

2. ป่าเสื่อมโทรม หรือระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม  ถ้าให้เข้านิยามด้านบนคือโครงสร้าง และการทำงานเปลี่ยนไป ซึ่ง เกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1. ตามธรรมชาติ เช่นภูเขาไฟระเบิด อุกาบาตตก  2. เกิดขึ้นโดยมนุษย์ เช่นการตัดไม้ทำลายป่า สร้างฝาย ถมลำธาร เป็นต้น
การฟื้นฟูก็คือการที่โครงสร้าง และหน้าที่ ที่เคยเปลี่ยนไปกลับไปเป็นโครงสร้าง และหน้าที่อย่างที่มันเคยเป็น อาจจะเกิดตามธรรมชาติ เช่น ป่าที่ฟื้นตัวหลังจากภูเขาไฟกาลากาตั๋วระเบิด หรือ เกิดขึ้นโดยมนุษย์ เช่นการปลูกป่าที่ทำให้สัตว์กลับมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างที่เขาแผงม้า  

3.   การปลูกป่า  และ การสร้างฝาย ถือเป็นการฟื้นฟูธรรมชาติได้  ถ้าทำให้ถูกที่ เวลา  และ วิธีการ ส่วนการรักษาหรืออนุรักษ์ นิยามของมันค่อนข้างชัดเจนนะครับ  แต่การรักษาหรืออนุรักษ์มันก็มีหลายแบบ สำหรับบางคนการอนุรักษ์ระบบนิเวศหรือธรรมชาติ คือการอนุรักษ์เพื่อใช้ประโยชน์ทางอ้อมเท่านั้น  แต่สำหรับบางคนการอนุรักษ์คือการเข้าไปใช้ประโยชน์ทางตรงด้วย ตามสมควร เท่าที่จะปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูด้วยเองได้ คือยอมให้โครงสร้างเปลี่ยนไปบ้างในการใช้ประโยชน์  แต่ต้องมั่นใจว่าการทำหน้าที่ของมันยังสมบูรณ์ และฟื้นตัวได้ ผมเห็นด้วยกันการอนุรักษ์อย่างหลังมากกว่า ถึงแม้ว่าการจะหาขอบเขตของคำว่า “ใช้ประโยชน์อย่างพอเพียง” จะเป็นเรื่องยากแสนเข็ญก็ตาม

4.   มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่งมาก มนุษย์สร้างได้ทุกอย่าง มนุษย์สร้างสิ่งที่ไม่เป็นธรรมชาติเลย อย่างตึก รถ หรือ ปืนได้  และในขณะเดียวกันมนุษย์ก็สามารถสร้างสิ่งที่เป็นธรรมชาติได้ ถึงแม้จะไม่เป็นการ “สร้าง” เสียทีเดียว อย่างเช่น การปลูกป่า หรือแม้ แต่การขุดคลอง  ถ้าทำแล้วสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ ผมก็ถือว่ามันเป็นธรรมชาติ

5.   น้ำในป่ามาจาก 3 ทางคือ ฝน น้ำผิวดิน  และ น้ำใต้ดิน การสร้างฝายไม่ได้เป็นการทำให้น้ำมีเยอะขึ้น  มันไม่ได้ทำให้ฝนตกมากขึ้น หรือมีน้ำผิวดินหรือใต้ดินไหลมามากขึ้น  แต่ฝายจะช่วยชะลอให้น้ำไม่ไหลออกไปจากพื้นที่เร็วจนเกินไป ซึ่ง จริงๆ แล้วในสภาพป่าที่สมบูรณ์ ต้นไม้ ระบบราก และพูพอน ซากใบไม้ รูในดินที่เกิดจากสัตว์ขุด จะเป็นเหมือนฝายเหมือนฟองน้ำธรรมชาติที่จะอุ้มน้ำเอาไว้แล้วค่อยๆ ปล่อยให้มันไหลไป  แต่ในพื้นที่ๆ ป่าถูกทำลายหรือเสื่อมโทรมลง จะขาดสิ่งเหล่านี้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการสร้างฝาย จึงช่วยได้ในระดับหนึ่ง  แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูสภาพพื้นที่ด้วยว่าโดยธรรมชาติแล้วสภาพของมันสามารถอุ้มน้ำไว้ได้หรือไม่
 
6.   แนะนำให้ไปอ่านเอกสาร “ผลกระทบของฝายต้นน้ำต่อระบบนิเวศลำธาร” ที่หัวกระทู้ครับ

7.   ผมได้กล่าวไปแล้วว่าป่าในธรรมชาติก็แบ่งได้หลายประเภท ปัจจัยที่ก่อให้เกิดประเภทของป่าต่างๆ  ตามตำราเล่มเดิมระบุว่ามี  4 ปัจจัยคือ 1. ดินฟ้าอากาศ 2. ชนิดของดิน-หิน 3.ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 4. ชีวปัจจัย ทั้ง 4 ปัจจัยนี้จะหล่อรวมกันก่อให้เกิดป่าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่ง ป่า แต่ละประเภทก็มีโครงสร้าง และการทำงานแตกต่างกันออกไป การทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไป เช่น พยายามจะเปลี่ยนพื้นที่ป่าเต็งรังให้เป็นป่าดงดิบ หรือยกตัวอย่างให้โง่ๆ หน่อยก็เปลี่ยนป่าชายหาดเป็นป่าดิบเขาสูงหรือป่าเมฆ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ และเป็นไปไม่ได้ เพราะธรรมชาติได้สร้างป่าที่เหมาะสมกับภูมิประเทศ และสภาวะต่างๆ ในพื้นที่นั้นๆ อยู่แล้ว โดยมีสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้ปรับตัว และใช้ประโยชน์ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ อยู่แล้ว

8.    ถ้าสังเกตดู ผมจะแยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติค่อนข้างชัดเจน ผมมีความรู้สึกว่า มนุษย์วิวัฒนาการจนแปลกแยกออกจากธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มากพอที่มนุษย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเราอยู่ได้โดยไม่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติแล้ว  และผมก็เชื่อว่าธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ  (ยกเว้นพวก host specific กับ Homo sapiens) สามารถอยู่ได้โดยไม่มีมนุษย์ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยไม่เป็นธรรมชาติก็ไม่ใช่ธรรมชาติ  แต่ย้อนดูคำตอบในข้อ 4
9.   ผมยังมีความศรัทธาในสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “คนเรา”  และเชื่อว่าเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง “คนเรา” จะเข้าใจว่า “คนเรา” ยังต้องพึ่งพา และต้องการธรรมชาติ  และเมื่อนั้นความเห็นแก่ตัว และต้องการเอาตัวรอดของ “คนเรา"”ก็จะทำให้เขาหันกลับมาดูแล และรักษาธรรมชาติเอง

เป็นธรรมชาติของคน (อ้าวตกลงคนก็มีธรรมชาติของคน งั้นคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติไหมเนี๊ย?) ที่จะชอบการยกยอปอปันสรรเสริญชมชอบคำเยินยอมากกว่าการติเตียน ธรรมชาติที่ไม่อาจฝืนจริงๆ
...แก้ไขเมื่อ 18 ต.ค. 2551 01:24:13
นณณ์ approve [ 18 ต.ค. 2551 01:18:22 ]
ความคิดเห็นที่: 85
ก็ยังงง อยู่ดีว่า แท้จริงธรรมชาติคืออะไร  ใครมีคำอธิบายที่เคลียร์กว่านี้หรือไม่
อยากเข้าใจธรรมชาติ [ 21 ต.ค. 2551 20:57:51 ]
ความคิดเห็นที่: 86
อ้อ ลืมไป
มนุษย์ก็สามารถสร้างสิ่งที่เป็นธรรมชาติได้ เช่น การปลูกป่า ขุดคลอง
แสดงว่าป่า  และคลองที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถือว่าเป็นธรรมชาติใช่ไหมครับ
แล้ว ถ้าผมมีที่ดินอยู่ 1 แปลง ผมปลูกป่าทุเรียน คือสวนผลไม้ แล้วก็ขุดคลอง หรือร่องให้น้ำไหลเข้ามาในสวน  ไม่ทราบว่า แบบนี้เรียกว่า มนุษย์สร้างธรรมชาติหรือไม่
ถ้าหากว่ามันเป็นสวน พท.เกษตร
ถ้าเราเปลี่ยนเป็น ปลูกไม้ป่า หลากชนิด รวมถึงไม้ผล เช่น  ต้นยางนา ยางพารา ต้นลองกอง ต้น มังคุด แล้วก็ขุดคลองแบบเดิม  มันก็เรียกว่า ป่าธรรมชาติ ถูกปะครับ
เย้  ถ้างั้นทางออกของเรื่องนี้ เราก็ปลูกต้นไม้ และ ขุดคลองกันมากๆ  จะได้สร้างธรรมชาติกันเยอะๆ  ให้สมช.อื่นๆ  ได้มีพื้นที่อยู่มากๆ   จะได้มีความหลากหลายทางชีวภาพมากๆ
คราวนี้เข้าใจถูกต้องไหมครับ หรือใครมีความเห็นอื่น ชอบอธิบายหน่อยครับ ขอบคุณครับ
อยากเข้าใจธรรมชาติ [ 21 ต.ค. 2551 21:06:57 ]
ความคิดเห็นที่: 87
ถูกต้องครับ  แต่ก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นคงไม่สามารถทดแทนธรรมชาติได้ทั้งหมด สวนผลไม้คงไม่มีทางมีความหลากหลายทางชีวภาพได้เท่ากับป่าดั้งเดิมแน่นอน
นณณ์ approve [ 21 ต.ค. 2551 21:28:52 ]
ความคิดเห็นที่: 88
ผมคิดว่า ธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ใช่มนุษย์ดัดแปลง
[size=12pt]คือประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ จุลินทรีย์  และสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ หิน ดินทราย เป็นต้น
 ถึงแม้ว่า  ตึก บ้าน  ก็ทำมาจากวัสดุที่ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ   แต่ไม่ใช่ธรรมชาติ
เช่นเดียวกับ  การปลูกต้นไม้  ปลูกป่า ขุดคลอง  เป็นแค่การดัดแปลงให้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป  แม้ว่าจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าเดิม หรือมีสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าเดิม    แต่มันก็ไม่ใช่ธรรมชาติ
อนึ่งธรรมชาติมีไดนามิก  มีการเปลี่ยนแปลงที่มีขบวนการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  สมช.ตายแล้วเกิด ทดแทนกันเรื่อยๆ  ซึ่ง ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนที่สามารถทำนายได้  

 แต่หลายครั้งพบว่า  นักอนุรักษ์หลายฝ่ายพยายามที่จะไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น พายุ แผ่นดินไหว หรือที่เกิดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ก็ตาม    แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีคำถามตามมาว่าการฟื้นฟูปรับให้ระบบนิเวศที่เปลี่ยนไปดังข้างต้นนั้น ถือเป็นธรรมชาติหรือไม่  
ให้ย้อนกลับไปดูว่า มีการดัดแปลงให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไปจากเดิมเกิดขึ้นหรือไม่   จะพบว่ามี  ดังนั้นกระบวนการฟื้นฟูของมนุษย์นั้นไม่อาจจะนับว่าเป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ   สิ่งที่ฟื้นฟู เป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับสภาวะแวดล้อมเดิม ( แต่คงไม่เหมือน) ของมนุษย์มากกว่า

มนุษย์อาจจะสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีได้  แต่ไม่สามารถสร้างธรรมชาติได้  เพราะสิ่งที่มนุษย์สร้าง (แค่ดัดแปลง-ไม่ได้เสก) ถือว่าไม่ธรรมชาติครับ
ส่วนธรรมชาติในความหมายของคุณนนณ์ น่าจะหมายถึง สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศ ป่าที่มีต้นไม้ ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิต คืออุดมด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ   ซึ่ง คนสามารถสร้างได้   แต่ต่างจากความคิดของผม  เพราะผมกลับคิดว่า นั้นเป็นแค่ความหมายของสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น(ดัดแปลง) ให้คล้ายสภาวะแวดล้อมเดิม   แต่เป็นของของเทียม  ดังนั้นเขาจึงเรียก  ป่าที่ปลูกว่า  สวนป่า(พื้นที่เกษตร)   และ คลองขุด  เขาไม่เรียกว่าธรรมชาติ  เพราะธรรมชาติเกิดจากวิวัฒนาการ  ไม่ใช่การดัดแปลงโดยมนุษย์

 แต่พื้นที่ที่ปล่อยให้มีการฟื้นฟูตามธรรมชาติ Natural reforestation ที่แห่งนั้นก็นับว่าเป็นพื้นที่ธรรมชาติครับ  นี่เป็นมุมมองของผม ที่เรียนทางด้าน Natural history ครับ ไม่ใช่ Environmental science หรือ Forest management ดังนั้น นิยาม คำว่าธรรมชาติ จึงต่างไปบ้าง   แต่ยังไงขอคำชี้แนะด้วยครับ
 
[/size]
อับดุลเลาะห์ [ 21 ต.ค. 2551 21:57:55 ]
ความคิดเห็นที่: 89
เริ่มงง อีกแล้วครับ
เริ่มคล้อยตามบังเลาะห์อะครับ คุณนนณ์  เพราะว่า คลองที่ขุด ฝายที่สร้าง ป่าที่ปลูกมันไม่ใช่ธรรมชาติที่มีอยู่ แต่เดิมอะครับ  ถึงแม้ว่าเราจะเอาต้นไม้มาปลูก  แต่มันก็ไม่ใช่ชนิดเดิม หรือต้นเดิมอะครับ

ส่วนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ น้อยกับมาก อันไหนดีกว่าครับ

เอ สมมติว่า ทะเลทรายมี ความหลากหลายน้อยมาก คือ สมช.พื้นเมืองหายากอยู่ 3 ชนิด   และไม่มีต้นไม้อยู่เลย  แล้วผมไปปลูกต้นไม้ทนแล้ง จนมีสัตว์เข้ามาดำรงอยู่มากมาย  มีความหลากหลายชีวภาพมากขึ้น  และสมมติว่าผมช่วยฟื้นฟูให้กลายเป็นป่าดิบ ถือว่าอุดมสมบูรณ์มากใช่ไหมครับ (สมมติว่าเป็นไปได้นะครับ)  แต่เอแล้ว ถ้าสมช.พื้นเมืองหายไปเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนละครับ  ถือว่าผมเพิ่มพูนความหลากหลายทางชีวภาพไหมครับ

แต่ ถ้า 3 ชนิดที่หายากนั้นสูญพันธุ์ไป  แต่ที่นั้นได้เพิ่มมาเป็นร้อยถือว่าดีกว่าหรือเปล่าครับ  แต่โลกเราสูญพันธุ์ไปสามชนิดนะครับ   แต่หากเรามองเฉพาะที่เราอาศัยอยู่ มันก็คุ้มค่านะครับ

กระทรวงสิ่งแวดล้อมน่าจะเพาะพันธุ์สมช.ทั่วโลก ให้ได้มากๆ  แล้วเอามาเลียง และปล่อยไปตามป่า ให้ได้ความหลากหลายมากๆ   น่าจะดีไม่น้อยนะครับ  เวลาเราไปต่างประเทศจะได้โม้ได้ว่า บ้านไอ มีทุกอย่างเลย น่าจะดีไม่น้อย บ้านเราน่าจะเริ่มจากสัตว์น้ำนะครับ จะได้มีความหลากหลายให้คนไทยลิ้มรสของแปลกๆ บ้าง  คลองบ้านผม ตอนนี้มี แต่ปลาซัคเคอร์อะครับ  อยากให้มีปลาแซลมอนกับเขาบ้าง ให้มีกุ้งมังกรน้ำจืดด้วยครับ ภาวนาให้มีคนปล่อยลงคลองด้วยอะครับ  เพราะจะได้ไม่ต้องไปซื้อหา เพราะที่บ้านสะสมสัตว์น้ำแปลกๆ อะครับ  นอกจากนี้ก็มีรวบรวมของป่าแปลกๆ ด้วยครับ  ผมคิดดูว่าน่าจะปล่อยคืนสู่ป่าเยอะๆ  ครับ  อนาคตจะได้ให้ชาวบ้านมีทรัพยากรใช้เยอะๆ   ครับ
วันหลังจะเอาภาพสมช.แปลกๆ มาฝากนะครับพี่นนณ์
อยากเข้าใจธรรมชาติ [ 21 ต.ค. 2551 22:30:27 ]
ความคิดเห็นที่: 90
คคห.ที่88 ผมว่าเราเข้าใจตรงกันนะ คือมนุษย์สามารถสร้างสภาพที่เหมาะสมให้ธรรมชาติสร้างตัวเองขึ้นมาได้ ทั้งการปลูกป่า การขุดคลอง หรือขุดบ่อน้ำให้สัตว์น้ำอยู่  แต่มนุษย์ไม่ได้สร้างธรรมชาติมนุษย์สร้างไม่ได้ ธรรมชาติสร้างตัวเอง และดูแลตัวเองได้ ถ้าไม่ถูกรบกวนโดยมนุษย์
นณณ์ approve [ 21 ต.ค. 2551 23:44:18 ]
ความคิดเห็นที่: 91
ได้ความรู้ดีมากเลยครับ  หมู่บ้านผมอยู่ชายเขา สักวันหนึ่งจะได้นำความรู้นี้ไปพัฒนาบ้านเกิดบ้าง ขอบคุณจริงครับ  ต้องขออภัยนะครับที่ผมได้ แต่อ่านเอาความรู้ไปไว้ใช้บ้าง ขณะที่ทุกคนแสดงความรู้ ความเห็นของตนเองออกมา (ถือว่าให้ความรู้เป็นทานแล้วกันครับ)
นันท์ [ 05 พ.ย. 2551 14:34:54 ]
nart17@hotmail.com
Nature__reply_103223.jpg
ความคิดเห็นที่: 92
พยายามทำความเข้าใจเรื่อง ฝาย เพราะเห็นโครงการสร้างฝายมากมายจริงๆ  
ใคร่จะไปบอกเขาว่า จะทำฝาย ต้องทำให้ถูกหลัก
ก็ติดที่ว่า ตัวเองก็ยังไม่เข้าใจว่า ตกลง ควรสร้างยังไง-ที่ไหน
แวะมาอ่านทีละนิด สุดท้าย ก็ยังไม่เข้าใจ
ต้องหาเวลามาอ่านต่อเนื่องจริงๆ  จังๆ  สักที  

ผมได้ลองทำฝายเอง ที่คลองข้างบ้านผม ซึ่ง มันคลองที่ตัน
คลองส่วนนี้ ไม่ได้รับการขุดลอก แม้จะแจ้งไป คงเพราะ เปนคลองที่ตันแล้ว ไม่ได้ต่อกับแม่น้ำอะไรอีก

เกี่ยวกับคลองนี้
- กว้าง 2-3 เมตร เป็นคลองย่อยเล็กๆ  เคยต่อกับคลองภาษีเจริญตอนนี้ กทม ถมตันไปแล้ว ด้านตันห่างจากบ้านผมราว 50 เมตร ด้านประตูน้ำห่างไป 200 เมตร
- น้ำในคลองนี้ จะขึ้นลง ตามการสูบน้ำออก-ปล่อยน้ำเข้า ของ กทม เท่านั้น เนื่องจากด้านหนึ่งตัน อีกด้านหนึ่งเป็นประตูน้ำ ทั้งนี้ เพื่อควบคุมป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่
- สิ่งมีชีวิตที่เห็นบ่อยๆ  คือ ปลาช่อนตัวโตๆ  ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง หอยเชอรี่ ปลากระดี่ เหี้ย  และผักตบ
- ตอนน้ำลง (ถูกสูบออก) จะตื้นมาก บางจุดเปนเนินดิน
- บ้านผมอยู่ห่างจาก ปลายตันของลำคลองราว 50 เมตรเท่านั้น

ทำไมผมลองทำฝาย
- สงสารปลาช่อนในคลอง น้ำลงที แทบจะมุดโคลนกันเลยทีเดียว
- ทางแก้ที่ดีควรขุดลอก  แต่ ทาง กทม ไม่มาขุด เพราะไม่ได้ใช้มั้ง ผมเคยลองเอาที่ตัก ตักดินเอง สัปดาห์ละครั้งเปนการออกกำลัง ก็นะ แทบไม่ลึกขึ้นเลย เลยลองทำฝายเล็กๆ

แล้วลองทำยังไง
- ผมเอากระเบื้องหลังคา เสียบซ้อนกัน กันลำน้ำไว้ เอาโคลนในคลองใส่ไป
- สูงจากพื้นราว 1 -2 ฟุต

ผลที่คาดไว้
- เวลาน้ำขึ้น น้ำจะมาจากทางซ้าย (ด้านประตูน้ำ) น้ำจะท่วมสูงกว่าฝายนี้ ราว 2 ฟุต ผมให้ฝายอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำสูงสุดไว้ระยะหนึ่ง ให้ปลาว่ายไปมาได้
- เวลาน้ำลง น้ำจะถูกกักไว้ ในด้านขวา (ด้านตัน) ราว 2 ฟุต ปลาจะได้อยู่ได้

ผลที่ได้จริง
รอบแรก น้ำมา ฝายพัง .....
รอบสอง ผมเสริม เสียบแนวกระเบื้องรับแรงกระทำในแนวตั้งฉากกับฝายเสียบไว้เป็นระยะ
- เวลาน้ำขึ้น ได้ผลตามที่คิดไว้
- เวลาน้ำลง น้ำไม่ถูกกักไว้อย่างที่คิด  แต่ เมื่อน้ำลงถึงระดับฝาย น้ำจะลดระดับลงช้าๆ  ค่อนข้างจะถ่วงเวลาน้ำซึมออกได้นาน คลองไม่แห้งมาก จนเมื่อถึงเวลาน้ำมาอีกที
- จุดที่ผมกังวลกับฝายง่ายๆ  นี้ คือ ตอนน้ำขึ้น ปลามันออกไปนอกฝาย     ส่วนหนึ่งกว่ามันจะกลับมา น้ำก็ต่ำกว่าฝายแล้ว บางส่วนกระโดดข้ามกลับมา

ก็เลยไม่รู้ว่า ตกลงผมช่วยปลาช่อนได้ หรือ เป็นการกันปลาช่อนส่วนนึงที่ว่ายกลับมาถิ่นมันไม่ได้กันแน่...    แต่มันก็เปน ช่วง 50 เมตรส่วนท้าย

กำลังคิดว่าจะรื้อออกเหมือนกันครับ ยังคิดๆ  ว่าตกลงมัน ดี-ไม่ดี กันแน่

ปล  จากการรื้อตอนฝายพังรอบแรกพบว่าเทคนิคนี้ ทำง่าย รื้อง่าย  แต่การดึงกระเบื้องออกจากโคลน ยากกว่ากดลงไปมากมายนัก

ปล เติมภาพประกอบ นั่นหลานกระผมเอง มาช่วยผมเก็บขยะ ขุดโคลนขึ้นอยู่บ่อยๆ  เจ้าฝายที่ว่า อยู่ตรงสะพานเนี่ยหละครับ ฝายเตี้ยๆ
...แก้ไขเมื่อ 26 พ.ย. 2551 22:43:44
GreenEyes approve [ 26 พ.ย. 2551 10:36:47 ]
ความคิดเห็นที่: 93
- สงสารปลาช่อนในคลอง น้ำลงที แทบจะมุดโคลนกันเลยทีเดียว

เป็นพฤติกรรมปกติของปลาช่อน ( และปลาอื่นๆ )ครับ มันเอาตัวรอดได้สบายๆ

- จุดที่ผมกังวลกับฝายง่ายๆ   นี้ คือ ตอนน้ำขึ้น ปลามันออกไปนอกฝาย     ส่วนหนึ่งกว่ามันจะกลับมา น้ำก็ต่ำกว่าฝายแล้ว บางส่วนกระโดดข้ามกลับมา

ก็ไม่เห็นมีอะไรน่ากังวล ปกติมันมีการเคลื่อนย้ายเข้าออกอยู่แล้ว ถ้าไม่โดนขัง

ก็เลยไม่รู้ว่า ตกลงผมช่วยปลาช่อนได้ หรือ เป็นการกันปลาช่อนส่วนนึงที่ว่ายกลับมาถิ่นมันไม่ได้กันแน่...     แต่มันก็เปน ช่วง 50 เมตรส่วนท้าย

ลองสังเกตผลครับ คำตอบอยู่ตรงนั้นแล้ว

ฝาย..ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ครับ  ฝายที่เหมาะที่สุดไม่จำเป็นต้องถูกหลักวิชาการที่มักมองผลกระทบทางเดียว และไม่ยืดหยุ่น

ฝายของคุณตาเขียวนั้น ลองมองถึงตอนหน้าแล้งที่ไม่มีการสูบน้ำเพื่อระบายน้ำของ กทม.ดูว่า น้ำในคลองนั้นจะเป็นอย่างไรประกอบด้วยครับ
knotsnake approve [ 26 พ.ย. 2551 11:22:07 ]
Nature__reply_106586.jpg
ความคิดเห็นที่: 94
กระผมไปแอ่วดอยปุยมา เจอนี่ครับ กำลังเตรียมการเพื่อสร้างฝายเพิ่ม
desperado approve [ 22 ธ.ค. 2551 08:48:43 ]
Nature__reply_106587.jpg
ความคิดเห็นที่: 95
ลูกนี้สร้างเสร็จแล้ว
desperado approve [ 22 ธ.ค. 2551 08:50:00 ]
Nature__reply_106588.jpg
ความคิดเห็นที่: 96
หากมองดีๆ จะเห็นเหล็กเส้น มัดเป็นโครงเพื่อยึดกระสอบ (ขออภัยด้วยครับ ภาพเล็กไปหน่อย)
desperado approve [ 22 ธ.ค. 2551 08:51:54 ]
ความคิดเห็นที่: 97
ขอบคุณมากครับ  ถ้าได้ภาพมุมกว้างกว่านี้เพื่อที่จะได้เห็นพื้นที่โดยรอบ จะแจ่มมากเลยครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 22 ธ.ค. 2551 08:53:24 ]
Nature__reply_106590.jpg
ความคิดเห็นที่: 98
นี่ก็อีกลูก (ไม่มีมุมที่จะถ่ายครับ อีกด้านเป็นทางชันลงหุบ)
desperado approve [ 22 ธ.ค. 2551 08:54:17 ]
Nature__reply_106593.jpg
ความคิดเห็นที่: 99
อีกด้านครับ
desperado approve [ 22 ธ.ค. 2551 08:58:48 ]
ความคิดเห็นที่: 100
ก็อย่างที่คุณ knot ว่าไว้นั่นแหละครับ ว่า ฝาย..ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์  เช่น

ถ้าต้องการเพื่ออนุรักษ์ดิน และน้ำก็ทำเป็น Rock check dam เอาหินมากองรวมๆ  กันเพื่อกักตะกอนดิน ซึ่ง สมควรทำบริเวณต้นน้ำที่ป่าถูกทำลาย  และเขาสูงชัน

ถ้าสร้างเพื่อกักเก็บน้ำไว้สำหรับการอุปโภคหรือบริโภค ก็ว่ากันไปอีกแบบ เช่น ฝายกั้นเพื่อผันน้ำเป็นน้ำประปาภูเขา

ถ้าสร้างเป็นเขื่อชลประธาน เพื่อการผลิตไฟฟ้าก็ต้องสร้างกันอีกแบบ

ถ้าสร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำให้ดินชุ่มชื้น และฟื้นฟูสภาพฟ่า ตรงนี้ที่ผมยังมองไม่เห็นประโยชน์อันใด  และไม่คิดว่ามันจะได้ผล แต่อย่างใด ไม่งั้นริมอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศคงมีป่าเขียวขจีเต็มไปหมด..  

ที่เห็นทำๆ  กัน และกำลังโด่งดัง ก็คืออย่างหลังสุด ซึ่ง เสียเงินเปล่าๆ  หน้าฝนกันน้ำได้นิดหน่อย แป๊บเดียวก็แห้ง หน้าแล้งไม่ต้องพูดถึง ไม่ว่าจะสร้างกี่แสน กี่ล้านฝายก็ไม่ได้ผลอะไรขึ้นมา
สุรชิต approve [ 22 ธ.ค. 2551 11:21:43 ]
ความคิดเห็นที่: 101
เข้ามาติดตามครับ ยังคงเห็นความคิดหลายๆ  ด้านครับ  แต่ฝายที่สร้างอย่างไม่เหมาะสมเราจะหยุดการกระทำนั้นอย่างไรดีครับ
ฝนแรก approve [ 27 ธ.ค. 2551 06:06:50 ]
ความคิดเห็นที่: 102
^
^
^
ตอนนี้ การสร้างฝายเขาไม่ได้ควบคุมกรอบความคิดที่ความเหมาะสมแล้ว มันดันไปอยู่ที่อื่น...สร้างเพราะอยากสร้าง เพื่อ...
knotsnake approve [ 28 ธ.ค. 2551 07:07:17 ]
ความคิดเห็นที่: 103
เข้ามาอ่านแล้วกระจ่างขึ้นคะ
ดีเลยคะ เพราะกำลังจะไปชวนเด็กๆ ที่โรงเรียนมาศึกษาเรื่องนี้
ขออนุญาติเอาไปให้เด็กๆ อ่าน  และพูดคุย
ได้ข้อสรุป หรือข้อสงสัยอะไรจะมาสอบถามนะคะ
ถ้าใครอยู่ หรือผ่านมาทางเชียงใหม่ ขอเชิญมาบอกเล่าให้เด็กๆ ได้
จะขอบคุณมากๆ เลยคะ เพราะตอนนี้เข้าใจผิดกันไปหมดแล้ว

ติดต่อมาได้นะคะ แม่เช็ง 0890250090
แม่เช็ง [ 14 ม.ค. 2552 13:52:33 ]
chengfanboy@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 104
ดีแล้วครับ ช่วยกันทำดีครับ ผมก้อทำมาประมาณ200กว่าฝายแล้วครับ ทำดีเพื่อในหลวงนะครับ
รักประเทศไทย [ 26 ก.พ. 2552 17:22:35 ]
ความคิดเห็นที่: 105
ขุดบ่อแบ่งน้ำไปกักเก็บยังดีซกว่าทำฝาย
เพราะฝายคือการทำลายะรรมชาติ ความเห็นรแก่ตัวของคนที่ไม่ยอมหาน้ำกินน้ำใช้ตามวิธีปรกติดั้งเดิมที่สอดคล้องกับธรรมชาติ  แต่ต้องการดัดแปลงะรรมชาติมารับใช้ตน โดยไม่สนใจสิ่งรอบด้าน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยการไหลของน้ำ
กร [ 28 ก.พ. 2552 22:08:54 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org