กระทู้-07754 : 20070208 เขาคอหงส์ มอ.

Home » Board » ครึ่งบกครึ่งน้ำ

20070208 เขาคอหงส์ มอ.

ลำธารจากเขาคอหงส์ภายใน มหาวิทยาลัยฯ



กองไม้ทับสุมรุมอยู่
ใกล้เคียงคันคูแหล่งน้ำ
เต่ากบพักหลบสงบงาม
ถึงยามออกดูรู้ตัว
หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:36:49 ]
ความคิดเห็นที่: 1


ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ใช้ชื่อใด
กบป่าไผ่
พบจำนวนมาก






ตัวนี้สีสดมาก ......หรือเป็นชนิดอื่นครับ
หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:39:34 ]
ความคิดเห็นที่: 2


สามัคคี-ชุมนุม



เจอไม่มากนัดสำหรับตัวนี้
หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:40:54 ]
ความคิดเห็นที่: 3
 แต่ตัวนี้พบได้ง่ายกว่า
ตัวโต หน้าตาน่ารัก ไม่ตื่นไฟด้วย  : -)

Rana glandulosa Boulenger, 1882

ทั้งตัวโต



 และตัวเด็ก
หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:44:56 ]
ความคิดเห็นที่: 4
เจ้าประจำ

ริมลำธารด้านนอกสีอ่อน




พวกอยู่ใกล้กอไม้ ด้านใน จะสีสดกว่า
หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:47:38 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ที่เคยสำรวจไม่ค่อยเจอตัวโตๆ  มาก่อน




หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:49:29 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ขาประจำเช่นกัน
 แต่จุดนี้พบน้อยกว่า ลำธารที่ระดับสูงกว่านี้

สีสดทั้งคู่




หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:51:35 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ตัวเด็ดประจำทริป

กบยักษ์  O_o!!



จับได้แล้ว
ด้วยความตื่นเต้นจึงหลุดมือไป
ทิ้งภาพไว้เป็นหลักฐาน

หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:54:45 ]
ความคิดเห็นที่: 8
เดินต่อก็เจอ

หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:56:21 ]
ความคิดเห็นที่: 9
...






หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 05:56:56 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ขากลับย้อนกลับทางเดิม

เจอ..................... นอนรออยู่ในลำธาร




เป็นครั้งแรกที่เจอเต่าหับ ในเขต มอ.
จากที่ก่อนหน้านี้เจอเต่านา  และตะพาบ ที่ริมอ่างน้ำ
รวมทั้งเต่าใบไม้ ที่เจอได้ไม่ยากนักบนเขาคอหงส์
 แต่ก็บอกไม่ได้ว่าเป็นประชากรเดิม หรือมีใครนำมาปล่อย





...แก้ไขเมื่อ 03 มิ.ย. 2550 06:14:19
หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 06:01:54 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ลาด้วยภาพนี้




ภาพของผู้มีวิชาตัวเบา
หนานโตน approve [ 03 มิ.ย. 2550 06:07:37 ]
ความคิดเห็นที่: 12
คางคกแดงภาพสุดท้ายน่ารักดีครับ
จับยังไงครับนั่นกบทูดน่ะครับ
Limnonectes blythii ไม่ต้องมี cf. ก้ได้มั้งครับ
Mr.prutodang approve [ 03 มิ.ย. 2550 17:36:22 ]
ความคิดเห็นที่: 13
คคหที่ 3 ภาพที่ 2 เหมือนจะเป็น อึ่งกรายมากกว่านะครับ

ในมหาลัยฯ มีแบบนี้ เจ๋งอ่ะครับ!!!!
นณณ์ approve [ 03 มิ.ย. 2550 20:59:03 ]
ความคิดเห็นที่: 14
# 9 บน ตั๊กแตนหนวดยาว Mecopada elongata
กวิวัฏ approve [ 03 มิ.ย. 2550 21:35:37 ]
ความคิดเห็นที่: 15
คห.6 ตัวบน คางคกแคระมลายู(Bufo divergens) ครับ

กบทูดยังต้องโตกว่านี้อีกโขครับ ตัวในรูปก็ขนาดประมาณ 3-4 ตัว/กก.
knotsnake approve [ 04 มิ.ย. 2550 01:47:40 ]
ความคิดเห็นที่: 16
^
^
ถ้าว่าเจอขนาดเท่าเด็กทารกนี่ ขนลุกซู่เลยขอรับ ออกไปทางกลัวมากกว่าอ่ะพี่

มีเต่า ตะพาบ ด้วย โห...เวลาพวกไอ้ลูกทุ่งออกทริปกลางคืนนี่ยังไม่เคยเจอตะพาบในธรรมชาติสักกะที เจอ แต่ในกะละมังในตลาด

ปล. ตะพาบนี่จุดที่พบจะเป็นหาดทรายหรือเปล่าครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 04 มิ.ย. 2550 10:37:15 ]
ความคิดเห็นที่: 17
น้องเขาถูกแล้วครับคุณนณณ์ มีแผ่นหนังยึดระหว่างนิ้วชัดเจนที่เท้าหลัง ส่วนมือ..ปลายนิ้วแผ่แบนเล็กน้อย ซึ่ง ไม่พบในอึ่งกรายครับ
knotsnake approve [ 04 มิ.ย. 2550 10:54:13 ]
ความคิดเห็นที่: 18
สำหรับเต่าหับ..คงต้องบอกลักษณะพื้นที่ตรงที่เจอประกอบครับ เราะใน อ.หาดใหญ่นั้นก็มีเต่าหับในธรรมชาติอยู่แล้ว  แต่ที่เขาคอหงส์บางส่วน อาจเป็นเต่าปล่อยครับ
knotsnake approve [ 04 มิ.ย. 2550 10:57:29 ]
ความคิดเห็นที่: 19
Can do Ecotourism promotion in the campus, very high potential!!!!
waterpanda approve [ 04 มิ.ย. 2550 13:16:10 ]
ความคิดเห็นที่: 20
น้องพรุฯ  ดูรูปสุดท้ายดีๆ สิว่าใช่คางคกแดงแน่รึ ไม่เห็นมี cephalic ridge เลย
knotsnake approve [ 04 มิ.ย. 2550 14:48:03 ]
ความคิดเห็นที่: 21
น่ารักโคตร เต่าๆๆๆๆ
dongga [ 04 มิ.ย. 2550 15:46:50 ]
ความคิดเห็นที่: 22
อืม..อาจเป็นตัวเด็กที่ทำให้เห็นสันไม่ชัดก็ได้แฮะ  แต่จะใช่คางคกแดงหรือ
knotsnake. approve [ 04 มิ.ย. 2550 16:03:51 ]
ความคิดเห็นที่: 23
อา....ดีจังครับ น้องเก่งกว่าพี่ ประเทศชาติพัฒนาครับ
นณณ์ approve [ 04 มิ.ย. 2550 16:08:59 ]
ความคิดเห็นที่: 24
สำหรับกบทูด Limnonectes blythii    มีเวลาดูมันแป็บเดียวก่อนจากกัน ประกอบกับตกใจ (-กลัวเล็กน้อย)
  และเคยเห็นเพียงแว๊บๆ
จึงไม่แน่ใจครับ

คางคกแคระมลายู (Bufo divergens) กับ คางคกแคระ (Bufo parvus)
จำแนกต่างกันอย่างไรครับ
คิดว่ามี สันบนหัวก็เป็น B. parvus  แล้ว
แล้วตัวนี้ก็ไม่ได้ดูสันใต้ขาด้วยครับ

แล้ว ใช้ชื่อไหนกันครับ ระหว่าง
Limnonectes hascheanus  (Stoliczka, 1870)
Taylorana hascheana  Dubois, 1992
หนานโตน approve [ 04 มิ.ย. 2550 16:12:32 ]
ความคิดเห็นที่: 25
มอ. หาดใหญ่     ใช่เดินจากอ่างขึ้นไปเรื่อยๆ  แล้วมีลำธารเล็กๆ  อยู่ใช่ไหมครับ      ตรงหลังแฟลตอาจารย์ มีทางเดินศึกษาธรรมชาติเก่าที่เพื่อนๆ  ในชมรมช่วยกันทำไว้ ตอนนี้คงรกหมดแล้วมั้ง



เสียดายตอนที่อยู่ มอ. ยังไม่สนใจเรื่อง กบ-เขียด
เสือหัวดำ [ 04 มิ.ย. 2550 16:43:38 ]
ความคิดเห็นที่: 26
ใช่ครับ คุณ เสือหัวดำ
หนานโตน approve [ 04 มิ.ย. 2550 17:38:12 ]
ความคิดเห็นที่: 27
อ้าว..คุณเสือหัวดำ เราเป็นลูกพระบิดาเหมือนกันรึเนี่ย

กบป่าไผ่ ตอนนี้ใช้ Taylorana ครับ

Bufo parvus ไอ่ตัววงเล็บบนหัวของจะโค้งเข้าหากันชัดเจน แล้วมักมีสีเข้มๆ   ด้านข้างลำตัวจะสีเข้มกว่าหลัง
B.divergens สันบนหัวจะตรง แล้วสอบเข้าหากันทางส่วนหน้า แล้วสีมักกลืนไปกับหัว ด้านข้างลำตัวสีจะไม่เข้มกว่าหลังแล้วไล่อ่อนลงอย่างชัดเจน

ช่วยตรวจสอบรูปหรือตัวอย่างตัว คห.11 ให้ด้วยครับ เพราะในรูปนี้ไม่เห็นสัน  แต่ท่าทางน่าจะมีสันที่สีกลืนไปกับหัว
knotsnake approve [ 04 มิ.ย. 2550 21:45:37 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org