กระทู้-08323 : ... ฤานกกระเรียนและพญาแร้งจะกลับมาเหนือฟากฟ้าเมืองสยาม ...

Home » Board » อื่นๆ

... ฤานกกระเรียนและพญาแร้งจะกลับมาเหนือฟากฟ้าเมืองสยาม ...

เคยเห็นนกเขียนในเมืองสยามกันไหมครับ

เคยเห็นพญาแร้งหัวแดงๆ  บ้างไหม

สนใจคลิกที่ลิงค์ครับ .... งานนี้ยาว ต้องลงแรงกันอีกมาก แต่ถ้าไม่เริ่มต้น ก็ไม่มีทางเกิดขึ้น
น่าดีใจที่เรื่องนกกระเรียนพอจะเห็นความหวังรำไร ของทางเดินที่จะไปสู่ the end of the tunnel แล้วล่ะ  :-)

http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1144
trogon approve [ 11 ก.ย. 2550 06:14:26 ]
ความคิดเห็นที่: 1
tavon approve [ 11 ก.ย. 2550 09:50:32 ]
ความคิดเห็นที่: 2
จะเป็นกำลังใจ และกำลังแรงครับ มีอะไรให้ช่วยเหลือ แม้เพียงนิด  ถ้าหากทำได้ วานบอกได้เลยครับผม สักวัน ถ้ามันบินอยู่บนฟ้าเมืองไทยจริงๆ  จะได้ชี้ให้ลูกดูแล้วบอกว่า พ่อก็มีส่วนร่วมนะเฟ้ย !!!
นณณ์ approve [ 11 ก.ย. 2550 10:00:26 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ท่านผู้รู้ และพี่ๆ ท่านใดมีเรื่องเล่าในอดีตระหว่าง"นกเขียน"ของ"ไทย"กับของ"เขมร"เมื่อหลายปีก่อน หากมีเวลากรุณาช่วยมาขับขานบอกกล่าวในนี้ด้วยก็จักเปนที่ยินดียิ่ง
สุวรรณภูมิ approve [ 11 ก.ย. 2550 12:07:04 ]
Suvarnabhumi@msn.com
ความคิดเห็นที่: 4
ที่ทุ่งกะมังชัยภูมิบ้านผมเมื่อหลายปีก่อนก็เพาะได้นะครับ  เคยไปดูอยู่ แต่ประมาร8-9ปีมาแล้ว

แต่เห็นบอกว่าไม่ใช่สายพันธุ์ไทยนะครับ  อันนี้ถามเจ้าหน้าที่ที่เลี้ยงอยู่
robin approve [ 11 ก.ย. 2550 17:20:13 ]
ความคิดเห็นที่: 5
เข้ามาเป็นอีกหนึ่งกำลังใจค่ะ
sparrow approve [ 11 ก.ย. 2550 20:08:55 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ที่ภูเขียวคาดว่า เป็นของ ออสเตรเลียที่คล้ายๆ ของไทย แตกต่างกันนิดหน่อยตรงแถบแดงที่หัว ของไทยเดิมจะมีแถบยาวมากกว่าของออสเตรเลีย และสีแจ๊ดกว่า
โน [ 11 ก.ย. 2550 21:27:18 ]
ความคิดเห็นที่: 7
พ่อแม่พันธุ์ในโครงการนี้เป็นพันธุ์หรือชนิดย่อย sharpii/sharpei หรือ eastern sarus crane ซึ่ง เป็นพันธุ์ประจำถิ่นของภูมิภาคอุษาคเนย์

นกไม่มี political boundary ครับ  และนกกระเรียนเป็นนกอพยพระยะสั้นแบบ nomadic คือเปลี่ยนอยู่ไปตามแหล่งอาหาร และฤดูกาลที่สร้างพื้นที่ชุ่มน้ำ ฉะนั้นการแลกเปลี่ยน และไหลเวียนของ gene flow ไม่หยุดนิ่งหรือตายตัว

อ่านข้อมูลเพิ่มเพื่อพิจารณาด้วยตนเองที่ลิงค์ในกระดานข่าวทีอาร์จีได้ครับ
trogon approve [ 12 ก.ย. 2550 08:32:54 ]
ความคิดเห็นที่: 8
เป็นสิ่งที่น่าภากภูมิใจมากเลยครับ แต่กว่าจะมาถึงตอนนี้มันมี แต่ความยากลำบากมากเลยครับ
หลามหยก approve [ 12 ก.ย. 2550 09:34:08 ]
ความคิดเห็นที่: 9
เอาใจช่วย  และชื่นชมในความคิดครับ
นกกินเปี้ยว approve [ 12 ก.ย. 2550 11:04:19 ]
ความคิดเห็นที่: 10
เอาใจช่วยด้วยคนนะคะ
ยายอ้วน approve [ 12 ก.ย. 2550 12:26:23 ]
ความคิดเห็นที่: 11
 แต่พญาแร้งคงจะขยายพันธุ์ยากกว่านกกระเรียนหลายเท่านะ
พวกเหยี่ยวหรือแร้งนี่ เป็นนกกลุ่มที่ผมโปรดปรานมากๆ กลุ่มนึงเลยล่ะ(ยกเว้นแร้งทึ้ง)
กับเรื่องเล่าสมัยก่อน ที่เคยกล่าวไว้ว่า นกแร้งเคยเป็นนกที่"โหล"มาก สำหรับคนโบราณ...ทุกวันนี้กลับตรงกันข้าม
snakeeater approve [ 12 ก.ย. 2550 22:43:36 ]
ความคิดเห็นที่: 12
อ.Trogon เข้ามาแวะที่นี่ งั้นผมขอความรู้อะไรบางอย่างด้วยครับ?(ผมล็อกอินเข้าเวบไทยแร็ปเตอร์ไม่ค่อยได้ ไม่ทราบสาเหตุเหมือนกัน)
นกแสกมีความสามารถในการล่าหนูสูงกว่าเหยี่ยวหรือเปล่าครับ? ทำไมมันจึงสามารถเลี้ยงลูกได้ครอกละหลายๆ ตัว? ในขณะที่เหยี่ยวกลับดูเหมือนจะมีข้อจำกัดในการแพร่พันธุ์มากกว่า(อ่านจากหนังสือ Thai advance geographic เล่มหนึ่ง ที่มีปกเป็นรูปนกแสก)
...แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 2550 22:53:41
snakeeater approve [ 12 ก.ย. 2550 22:50:34 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ไม่ใช่อาจารย์โทรกอน  แต่ขอลองตอบดู

คาดว่าหนูโดยทั่วไปจะออกหากินในเวลากลางคืนมากกว่า ดังนั้นนกแสกที่หากินกลางคืนจึงมีโอกาศเจอกับหนู มากกว่าเหยี่ยว กระมังครับ  แล้วคงดูที่ลักษณะการโจมตีด้วย กลุ่มนกแสก นกเค้า มีปีกกลมสั้น เหมาะที่จะบินโฉบระยะไม่ไกล  แต่เงียบนิ่ม มันจึงเหมาะกับการล่าในพื้นที่สวนปาล์มมากกว่ากลุ่มเหยี่ยวครับ เข้าใจว่าในเมืองไทยมีเหยี่ยวไม่กี่ชนิดที่หากินในระบบนิเวศน์แบบป่าจริงๆ
นณณ์ approve [ 12 ก.ย. 2550 23:12:59 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ผมว่าเหยี่ยวนกเขาสามารถฝึกให้ทำงานแบบนี้ได้นะครับ แต่การขายพันธุ์คงยากกว่าต่างจากเจ้านกเค้าแมว ขยายพันธุ์ง่าย และเชื่องมากกว่าสวนปาร์มจะเลี้ยงนกเค้าแมวกัน
FIsher [ 13 ก.ย. 2550 10:56:04 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org