เรื่องการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงอำเภอมโนรมย์จังหวัดชัยนาท

สวัสดีครับผมไม่รู้จะปรึกษาปัญหานี้กับหน่วยงานใดแต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากถ้าสะพานตรงจุดบริเวณนี้เกิดขึ้น จังหวัดชัยนาทเองมีทางที่จะเดินทางติดต่อไปจังหวัดอุทัยธานีอยู่แล้วถึง3จุดด้วยกัน คือ 
 1.สะพานใหม่ชัยนาทเลี็ยวขวาสู่อำเภอวัดสิงห์และมุ่งสู่อุทัยธานี
 2.สะพานธรรมามูล-วัดปากคลองมะขามเฒ่าและมุ่งสู่อุทัยธานี
 3.สะพานท่าน้ำอ้อย-อุทัยธานี
หมายเหตุตรงนี้ไม่รวมแพขนานยนต์ข้ามฟากบริเวณจุดสร้างสะพานที่จะเกิดขึ้น
 ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาต้องเรียนให้ทราบว่าไม่มีส่วนได้และเสียกับแพขนานยนต์ แต่เห็นว่าสะพานตรงจุดที่จะสร้างตรงนี้เป็นจุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรังมาบรรจบกันเป็นจุดที่ชาวตลาดคุ้งสำเภาและฝั่งตรงข้ามอุทัยซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆสามารถประกอบอาชีพค้าขายได้จากผู้คนที่รอข้ามแพขนานยนต์ เป็นจุดที่มีทัศนีย์ภาพสวยงามมากแต่น่าเสียดายที่ผ่านการทำประชามติไปแล้วโดยฝ่ายการเมืองอ้างเหตุผลว่าสะพานจะนำความเจริญมาให้ความสะดวกสะบายมาให้ แต่ผมไม่เห็นว่าจะเป็นอย่างที่เขาพูดให้ดูสวยหรู เมื่อสะพานเส็จสิ่งแวดล้อมคงเปลี่ยน ชุมชนเล็กๆจะถูกสัญจรผ่านเลยไป 
  ท่านใดมีคำแนะนำให้ผมและกลุ่มคนเล็กๆจะคัดค้านการสร้างสะพานได้ยังไงบ้างครับ
    ธนกฤต เทียนเงิน 0907463422

Comments

ความเห็นที่ 1

ผมไม่ทราบสภาพพื้นที่ แต่โดยทั่วไปการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำในจุดที่เหมาะสมก็ไม่ค่อยสร้างปัญหาอะไร ความเหมาะสมก็เน้นในเชิงภูมิศาสตร์ เพราะหากสร้างในจุดที่มีการกัดเซาะชายฝั่งมากโดยธรรมชาติ หรือเพราะคนก็ตาม ก็คงเพิ่มความเสี่ยงให้สะพานซะเปล่าๆ หากมองถึงทัศนียภาพไม่สวยงาม ตรงนี้อาจมีการให้ความสำคัญน้อยสำหรับระดับตัดสินใจในสายปกครอง หรือพัฒนา ตัวอย่างที่เห็นมากมายที่ทำสิ่งกีดขวางสายตา มีคนเรียกร้อง แต่ก็ไม่มีการตอบสนองใดๆ ซึ่งบางกรณีผมก็เห็นว่าการเรียกร้องนั้นก็ไม่สมเหตุสมผลเช่นกัน ในขณะเดียวกันหากมีความเห็นแย้งไป ก็ควรมีข้อเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้และอาจต้องเพิ่มงบประมาณบ้างแต่ไม่มากเกินไปนัก  ผลกระทบที่เกิดขึ้นเชิงลบที่ผมนึกออกตอนนี้แน่ๆคือ "แพขนานยนต์" ส่วนการพัฒนาที่จะตรมมาจะเหมาะสมหรือเกินควรนั้นคงไม่ใช่ผลกระทบจากสะพานโดยตรง มันอยู่ที่คนต่างหากที่จะตัดสินใจให้เป็น

ลองถามความเห็นของคนในพื้นที่ แล้วเสนอผลกระทบทั้งสองทาง(แบบถนอมน้ำใจ)เพื่อให้มีข้อมูลเท่าเทียมกันดูสิครับ หากคุณได้แนวร่วมในพื้นที่ในการเพิ่มอำนาจต่อรองมากขึ้นก็ได้ แล้วถ้า ผวจ. เกิดมีความคิดให้บริเวณดังกล่าวเป็นจุดขายของจังหวัด ก็อาจมีการเสนอช่องทางอื่นได้เช่นกัน

ความเห็นที่ 1.1

มีการทำประชามติเสร็จไปแล้ว1รอบ แต่การทำประชามตินั้นเป็นการทำประชามติรอบพื้นที่ชุมชนโดยมี นักการเมืองทั้งสองฝั่งพาประชาชนที่อยู่นอกพื้นที่ชุมชนมาทำประชามติให้ผ่านครับ

ความเห็นที่ 1.1.1

ปัญหานี้น่ากลัวจริงๆ เป็นกันทุกที่ แล้วตอนทำประชามติ เขาได้แจ้งถึงผลกระทบด้านลบด้วยไหมครับ ถ้าไม่ได้แจ้ง ผมว่าเราน่าจะใช้จุดนี้มาหักประชามติให้เป็นกรณีตัวอย่างไว้บ้างน่าจะดี เพราะที่ผ่านมาการทำประชามติใดๆก็จะยกแต่ข้อดีของประเด็นที่ทำประชามติเท่านั้น ส่วนการนำคนนอกพื้นที่มาด้วยนี่ ผมยังหาทางงามๆยังไม่ได้ เพราะเขาใช้สิทธิ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ได้นี่สิ

ตอนนี้เอาใจช่วยก่อนนะครับ

ความเห็นที่ 2

เคยใช้บริการแพขนานยนต์แถวนั้นหลายครั้งครับ แวะดูตลาดริมน้ำ ซื้อผลิตภัณฑ์ปลาจากแม่น้ำ ซื้อส้มโอกิน เป็นชุมชนเงียบๆที่น่ารักดีครับ เห็นใจกับสะพานที่กำลังจะมาครับ หวังว่าคงจะร่วมกันอนุรักษ์ภาพเก่าๆไว้ได้ครับ 

ความเห็นที่ 3

อยากให้สร้างครับการเดินทางสะดวก เพราะแพขนานยนต์ไม่ได้วิ่งตลอด 24 ชั่วโมง น้ำลง-น้ำขึ้นมากไป แพขนานยนต์ก็วิ่งไม่ได้ เดินทางลำบากครับ

ความเห็นที่ 4

สะพานแห่งนี้กรมทางหลวงชนบทเป็นหน่วยรับผิดชอบ มีผู้ร้องขอให้สร้างจำนวนมาก ตั้งแต่ก่อนปี 2545 ที่ติดขัดอยู่ที่แพขนานยนต์คัดค้านกับผู้ขายกาแฟโบราณและขายต้นไม้กลัวว่าคนซื้อจะหายไป จึงไม่ได้สร้าง (เมื่อมีสะพานลูกค้าน่าจะมากขึ้น ดังตัวอย่างสะพานที่วัดธรรมามูลกลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจใหม่) ประเด็นทัศณียภาพ เท่าที่เห็นทั่วไป สะพานกลับจะเป็นแลนด์มาร์ค ที่ทำให้คนทั่วไปได้เห็นความสวยงามของภูมิประเทศในอีกมุมมองหนึ่ง จากเมื่อก่อนมีแต่คนพื้นที่เท่านั้น 
ผู้ที่ให้สร้างก็ติดตามเรื่องมาตลอดเพราะแพไม่ 24 ชม. 
ท่านที่เห็นด้วยให้สร้าง หรือคัดค้านก็ดี ให้แสดงความคิดเห็นได้ที่ ศูนย์ระฆังกรมทางหลวงชนบท http://www.drr.go.th/bell/ ซึ่งผมเข้าใจว่าทางกรมน่าจะนำไปพิจารณาทุกๆ ประเด็น