Inthanon Census 2014

หลังจากห่างหายงานนี้มาสองปีติด ปีนี้นับเป็นการคืนสู่เหย้าเข้าสู่กิจกรรมเชิงอนุรักษ์ที่ยิ่งใหญ่ของดอยที่สูงที่สุดของประเทศไทยอีกครั้ง 

Comments

ความเห็นที่ 1

ครั้งนี้เป็นการดิ้นรนไปให้ได้ เพราะต้องติดต่อธุระสำคัญกับทางอุทยานฯในงานอดิเรกของข้าพเจ้า แล้วสามารถนำเข้าสู่งานหลักของทางอุทยานฯได้ด้วย
เป้าหมายขั้นต้นสำหรับตอนนี้ ที่ทำการอุทยานฯ มาเพื่อเจรจาภาระกิจหลักจริงๆของการมาครั้งนี้ รายทาง ข้างทาง

ความเห็นที่ 2

ในคืนแรก ทีมงานได้รับการอนุเคราะห์จากผู้ช่วยหัวหน้าอุทยาน และทีมเจ้าหน้าที่ในการไปทักทายเพื่อนเก่าที่ห่างหายกันมา และเพื่อเริ่มต้นงานที่จะได้ทำร่วมกัน นำไปสู่การยกระดับความสำคัญของพื้นที่ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

จิ้งจกเขาสูงเชียงใหม่ (Hemiphyllodactylus chiangmaiensis) สัตว์ชนิดใหม่ของโลกที่เพิ่งตีพิมพ์ร้อนๆ เดิมถูกจำแนกเป็น จิ้งจกเขาสูงยูนนาน (H. yunnanensis) มายาวนาน จนมีการตรวจสอบทางพันธุกรรม และสัณฐานวิทยา จึงพบว่าจิ้งจกชนิดนี้ต่างจากจิ้งจกเขาสูงยูนนานจากถิ่นกำเนิดต้นแบบ และจิ้งจกชนิดนี้พบชุกชุมใน จ.เชียงใหม่ และซีกตะวันตกของภาคเหนือของไทย ตัวอย่างต้นแแบบมาจากตัวอย่างเก่าที่เก็บรักษาไว้ในองค์การพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมาจากดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ มันจึงได้ชื่อวิทยาศาสตร์ใหม่มาจากจังหวัดที่ได้ชุดตัวอย่างนี้

ตุ๊กกาย (Cyrtodactylus sp.) ตุ๊กกายชนิดนี้มีสมาชิกร่วมกลุ่มมากมายหลายชนิด และทั้งหมดยังต้องตรวจสอบสถานภาพทางอนุกรมวิธาน 

กบลายหินเหนือ (Amolops marmoratus) กบที่มีลักษณะโดยรวม โดยเฉพาะเท้าคล้ายปาด มีความสามารถในการเกาะแนวดิ่งเช่นเดียวกับปาด มีสีกลมกลืนกับหินที่มีตะไคร่เกาะ จึงเป็นที่มาของชื่อไทยของกลุ่มกบชนิดนี้

แมลงสาบป่าชนิดหนึ่งซึ่งพบบนหินกลางลำธารขนาดใหญ่

น้ำตกวชิรธารในยามค่ำคืนวันพระ ๘ ค่ำ ปัจจุบันมีการปรับปรุงพื้นที่ และในค่ำคืนนี้ ผมไม่เจอเพื่อนเก่าเลย
Hemiphyllodactylus chiangmaiensis จิ้งจกที่เห็นดาษดื่นบนดอยนี้มีชื่อใหม่แล้ว ผู้ร่วมเดินทางครั้งนี้กำลังสนใจตุ๊กกายชนิดหนึ่ง Amolops marmoratus แมลงสาบอะไรสักอย่าง น้ำตกวชิรธาร เมื่อตอนสี่ทุ่ม

ความเห็นที่ 3

ท้องฟ้าสดใสในวันรุ่งขึ้น
ใกล้ๆที่พัก ณ ยอดดอย พระจันทร์ยามบ่าย

ความเห็นที่ 4

มางานนับนก ก็น่าจะมีภาพนกบ้าง ว่าแต่..นกอะไรบ้างเนี่ย
16.jpg 15.5.jpg 17.jpg 19.jpg

ความเห็นที่ 5

วันนี้ได้เจอเพื่อนเก่า..

จิ้งจกน้ำเหนือ (Tylototriton uyenoi) เพื่อเก่าในชื่อใหม่อีกชนิด เดิมเราใช้ว่า T. verrucosus แต่พอใช้ DNA มาตรวจสอบ จึงพบว่าเป็นชนิดที่แตกต่างกัน

งูเขียวหางไหม้เหนือ (Trimeresurus (Popeia) popeiorum) เพื่อนเก่าที่เจอกันแทบทุกครั้ง ไม่มากก็น้อย 

เขียดงู (Ichthyophis cf. kohtaoensis) เขียดงูที่จำแนกเป็นเขียดงูเก่าเต่า แต่..มันกำลังถูกรีวิว

จิ้งจกน้ำเหนือ งูเขียวหางไหม้ท้องเขียวเหนือ หมาน่อย ตัวนี้กำลังแทะเขียดงูว่าที่ชนิดใหม่ของโลก

ความเห็นที่ 6

สัพเพเหระ...
14.jpg 24.jpg 21.jpg 29.jpg 28.jpg 22.jpg 27.jpg 26.jpg 33.jpg

ความเห็นที่ 7

จบข่าว...
มีรูปตัวเองบ้าง อะไรบ้าง มีกวางผาในภาพนี้ หาเจอไหมเอ่ย จบข่าว..

ความเห็นที่ 8

กรี๊ดดดดด  นึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ตอนที่เคยไปร่วมกิจกรรมจังเลยครับบบบบบบบ

ความเห็นที่ 9

อ่านตอนแรกนึกว่าเจอเขียดงูแบบตัวเป็นๆ เหอๆ

ความเห็นที่ 10

เขียดงูแห้งมาเป็นเลขหวยเลยนะฮะ เอ้า ชาบู บูชา

ความเห็นที่ 11

สัตว์ป่าที่นำเสนอผมยังไม่เคยเห็นแม้แต่ตัวเดียว ชอบมากครับโดยเฉพาะรูปดอกไม้สวยๆ

ความเห็นที่ 12

Nonn and Co. are Chimping.

ความเห็นที่ 13

กวางผาอยู่ตรงตำแหน่งที่วงกลมถูกรึเปล่าอะครับ? ขยายดูจนภาพแตกเห็นว่าจุดนี้แหละคล้ายสุด surprise
55221.jpg

ความเห็นที่ 14

ไม่ใช่ครับ ^^ 
บอกตรงๆว่า ถ้าผมไม่ได้คนช่วยชี้เป้าแล้วถ่ายเอง ผมก็หาไม่เจอจากภาพนี้แน่ๆครับ สีมันกลืนกับหญ้ามากๆ ถ้าตอนส่องแล้วผมไม่เห็นเส้นดำๆที่หลังของมัน ผมก็หาไม่เจอแม้ส่องกล้องเองก็ตาม ต้องขอบคุณ จนท.ที่กิ่วแม่ปานจริงๆ ที่สอนให้ผมมองหากวางผาที่นอนอยู่นิ่งๆในที่ที่ไม่ทำให้ดูมันโดดเด่น

มันอยู่ประมาณกลางภาพครับ

ความเห็นที่ 15

ขอตัวช่วย ภาพใหญ่กว่านี้ครับ ดูจากเสกลแล้วแล้วมันเล็กเกินกว่าจะเดา

ความเห็นที่ 16

จัดให้..
34-1.jpg

ความเห็นที่ 17

เลนส์ 600 มม.  ^-^
ครอปมาให้ดูกัน จะได้เห็นชัดๆ 

34-1.jpg

ความเห็นที่ 18

angry ยากเกิ๊น

ความเห็นที่ 19

จนท.ที่นั่นเขาตาแม่นจริง

ความเห็นที่ 20

เฉลยก็ได้
34-2.jpg

ความเห็นที่ 21

เฉลยแล้วยังมองไม่ออกเลย ฮ่า ฮ่า 

ความเห็นที่ 22

ต้องไปดูภาพของไผ่ประกอบการดูเฉลยน่ะ